วานนี้ ( 19 ธ.ค.) นายนิคม บุญวิเศษ ประธานสภาผู้ประกอบการวิชาชีพวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย นายธงชัย แก้วรมย์ และพวก ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการวิทยุชุมชน ได้เข้ายื่นฟ้องสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต่อ ศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้มีคำสั่งยกเลิกประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง 2555 และ ระงับการดำเนินการจับกุม ดำเนินคดีโดยอาศัยกฎเกณฑ์อันมิชอบตามประกาศดังกล่าว และให้สั่งให้ กสทช. เปิดลงทะเบียนประเภทประกอบกิจการทางธุรกิจให้กับผู้ฟ้องคดี หรือผู้ที่มิได้ลงทะเบียนประเภทชุมชนชั่วคราว หรือมิได้ขยายระยะเวลาไว้ ยกเลิกการกระทำที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม และการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น ที่สร้างภาระที่เกิดกับผู้ฟ้อง หรือประชาชนที่เป็นผู้ประกอบกิจการ
ทั้งนี้ คำฟ้องระบุว่า ประกาศดังกล่าว จำกัดสิทธิ และปิดกั้นเสรีภาพในการประกอบอาชีพ โดยกสทช.ได้กำหนดกฎเกณฑ์ และเงื่อนไขในประกาศให้เฉพาะผู้ที่ได้รับใบอนุญาต หรือ ผู้ที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริหารชุมชนชั่วคราว ซึ่งได้ประกาศเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 52 เป็นผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอทดลองประกอบกิจการตามประกาศฉบับดังกล่าวเท่านั้น
โดยที่การออกประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. 2555 ไม่ได้จัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ทำให้กลุ่มผู้ฟ้องต้องเสียสิทธิ์ในการประกอบกิจการ เนื่องจากต้องกลายเป็นบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในกฎเกณฑ์ และตามประกาศเงื่อนไข
นอกจากนี้ กฎเกณฑ์ในประกาศดังกล่าวยังมีลักษณะเลือกปฏิบัติ ไม่เป็นธรรม โดยสำนักงานกสทช. ในฐานะเป็นผู้กำกับดูแลคลื่นความถี่ แต่กลับประกอบกิจการสถานีวิทยุแข่งกับผู้ประกอบกิจการเสียเองถึง 6 สถานี โดยที่สถานีของผู้ถูกฟ้อง ไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ขณะที่ผู้ฟ้องต้องถูกกำหนดให้ใช้เครื่องส่งกำลังคลื่นมีค่าไม่เกิน 500 วัตต์ ความสูงของสายอากาศวัดจากพื้นดินไม่เกิน 60 เมตร ซึ่งทำให้ผู้ฟ้องต้องเดือดร้อน จากการถูกกำจัดขอบเขตการเผยแพร่ด้านการสื่อสาร รวมทั้งสำนักงานกสทช. ยังได้กำหนดกฎเกณฑ์ การอบรม และการทดสอบเพื่อรับบัตรผู้ประกาศ โดยให้ผู้มีสิทธิ์เข้าอบรมจะต้องสำเร็จการศึกษาสาขาวิชาสื่อสารมวลชน (วิทยุ-โทรทัศน์ฯ) ตั้งแต่ ปริญญาตรีขึ้นไป และมีอายุไม่ตำกว่า 18 ปี ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเข้าอบรม 3 ขั้นตอน คือ ระดับต้น 4,000 บาท ระดับกลาง 5,000 บาท และ ระดับสูง 6,000 บาท รวมทั้งยังเสียค่าทดสอบผู้ประกาศอีก 1,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 16,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น
ขณะเดียวกันประกาศของผู้ถูกฟ้องดังกล่าว ยังออกมาใช้บังคับไม่ถูกต้องตามรูปแบบที่ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 41โดยให้มีการยื่นคำขอใบอนุญาตประกอบกิจการ เพื่อขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ ซึ่งหาก กสทช. อนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่แล้ว ให้ถือว่าอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง และอนุญาตให้มี ให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และตั้งสถานีวิทยุคมนาคมด้วย ซึ่งเท่ากับว่า มีใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ใบเดียวก็จะครอบคลุมถึงใบอนุญาตอื่นๆด้วย ซึ่งวิทยุของผู้ฟ้องเป็นประเภทวิทยุกระจายเสียง ไม่ใช่วิทยุคมนาคม แต่ผู้ถูกฟ้องกลับแจ้งขอกล่าวหา และดำเนินคดี ในความผิดเกี่ยวกับวิทยุคมนาคม ซึ่งทำให้เกิดความเดือดร้อน เสียหายกับผู้ฟ้อง ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง จึงขอให้ศาลปกครองกลาง พิจารณาและมีคำพิพากษาตามที่ร้องขอ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงบ่าย กลุ่มผู้ประกอบกิจการวิทยุชุมชน ยังได้เดินทางไปยื่นหนังสือข้อเรียกร้องดังกล่าว ถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลด้วย โดยระบุเพิ่มเติมว่า ที่ผานมา วิทยุภาคประชาชน เป็นกระบอกเสียงที่ดีให้กับรัฐบาลเสมอมา เคยร่วมต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย ฝ่าฟันผ่านวิกฤตยากลำบากมาด้วยกันทุกรูปแบบ แม้ว่าขณะนี้รัฐบาลจะมีความมั่นคง แต่วิทยุที่เป็นสื่อภาคประชาชน กลับถูกคุกคามจากหน่วยงานของภาครัฐ จึงขอให้รัฐบาลคุ้มครองเสรีภาพสื่อภาคประชาชนด้วย หากรัฐบาลไม่ยื่นมือมาช่วยเหลือเกรงว่าจะกระทบต่อฐานเสียง และเสถียรภาพของรัฐบาลอย่างแน่นอน ทั้งนี้ ขอให้นายกฯใช้สิทธิ์ตามกฎหมาย เรียก กสทช. มาชี้แจงตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. 2553 มาตรา 5 เพื่อปกป้องสิทธิ์เสรีภาพของประชาชน
ทั้งนี้ คำฟ้องระบุว่า ประกาศดังกล่าว จำกัดสิทธิ และปิดกั้นเสรีภาพในการประกอบอาชีพ โดยกสทช.ได้กำหนดกฎเกณฑ์ และเงื่อนไขในประกาศให้เฉพาะผู้ที่ได้รับใบอนุญาต หรือ ผู้ที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริหารชุมชนชั่วคราว ซึ่งได้ประกาศเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 52 เป็นผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอทดลองประกอบกิจการตามประกาศฉบับดังกล่าวเท่านั้น
โดยที่การออกประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. 2555 ไม่ได้จัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ทำให้กลุ่มผู้ฟ้องต้องเสียสิทธิ์ในการประกอบกิจการ เนื่องจากต้องกลายเป็นบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในกฎเกณฑ์ และตามประกาศเงื่อนไข
นอกจากนี้ กฎเกณฑ์ในประกาศดังกล่าวยังมีลักษณะเลือกปฏิบัติ ไม่เป็นธรรม โดยสำนักงานกสทช. ในฐานะเป็นผู้กำกับดูแลคลื่นความถี่ แต่กลับประกอบกิจการสถานีวิทยุแข่งกับผู้ประกอบกิจการเสียเองถึง 6 สถานี โดยที่สถานีของผู้ถูกฟ้อง ไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ขณะที่ผู้ฟ้องต้องถูกกำหนดให้ใช้เครื่องส่งกำลังคลื่นมีค่าไม่เกิน 500 วัตต์ ความสูงของสายอากาศวัดจากพื้นดินไม่เกิน 60 เมตร ซึ่งทำให้ผู้ฟ้องต้องเดือดร้อน จากการถูกกำจัดขอบเขตการเผยแพร่ด้านการสื่อสาร รวมทั้งสำนักงานกสทช. ยังได้กำหนดกฎเกณฑ์ การอบรม และการทดสอบเพื่อรับบัตรผู้ประกาศ โดยให้ผู้มีสิทธิ์เข้าอบรมจะต้องสำเร็จการศึกษาสาขาวิชาสื่อสารมวลชน (วิทยุ-โทรทัศน์ฯ) ตั้งแต่ ปริญญาตรีขึ้นไป และมีอายุไม่ตำกว่า 18 ปี ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเข้าอบรม 3 ขั้นตอน คือ ระดับต้น 4,000 บาท ระดับกลาง 5,000 บาท และ ระดับสูง 6,000 บาท รวมทั้งยังเสียค่าทดสอบผู้ประกาศอีก 1,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 16,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น
ขณะเดียวกันประกาศของผู้ถูกฟ้องดังกล่าว ยังออกมาใช้บังคับไม่ถูกต้องตามรูปแบบที่ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 41โดยให้มีการยื่นคำขอใบอนุญาตประกอบกิจการ เพื่อขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ ซึ่งหาก กสทช. อนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่แล้ว ให้ถือว่าอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง และอนุญาตให้มี ให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และตั้งสถานีวิทยุคมนาคมด้วย ซึ่งเท่ากับว่า มีใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ใบเดียวก็จะครอบคลุมถึงใบอนุญาตอื่นๆด้วย ซึ่งวิทยุของผู้ฟ้องเป็นประเภทวิทยุกระจายเสียง ไม่ใช่วิทยุคมนาคม แต่ผู้ถูกฟ้องกลับแจ้งขอกล่าวหา และดำเนินคดี ในความผิดเกี่ยวกับวิทยุคมนาคม ซึ่งทำให้เกิดความเดือดร้อน เสียหายกับผู้ฟ้อง ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง จึงขอให้ศาลปกครองกลาง พิจารณาและมีคำพิพากษาตามที่ร้องขอ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงบ่าย กลุ่มผู้ประกอบกิจการวิทยุชุมชน ยังได้เดินทางไปยื่นหนังสือข้อเรียกร้องดังกล่าว ถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลด้วย โดยระบุเพิ่มเติมว่า ที่ผานมา วิทยุภาคประชาชน เป็นกระบอกเสียงที่ดีให้กับรัฐบาลเสมอมา เคยร่วมต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย ฝ่าฟันผ่านวิกฤตยากลำบากมาด้วยกันทุกรูปแบบ แม้ว่าขณะนี้รัฐบาลจะมีความมั่นคง แต่วิทยุที่เป็นสื่อภาคประชาชน กลับถูกคุกคามจากหน่วยงานของภาครัฐ จึงขอให้รัฐบาลคุ้มครองเสรีภาพสื่อภาคประชาชนด้วย หากรัฐบาลไม่ยื่นมือมาช่วยเหลือเกรงว่าจะกระทบต่อฐานเสียง และเสถียรภาพของรัฐบาลอย่างแน่นอน ทั้งนี้ ขอให้นายกฯใช้สิทธิ์ตามกฎหมาย เรียก กสทช. มาชี้แจงตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. 2553 มาตรา 5 เพื่อปกป้องสิทธิ์เสรีภาพของประชาชน