บทอาเศียรวาทของหนังสือพิมพ์มติชน ก่อให้เกิดกระแสโจมตีทั่วสารทิศ เพราะเนื้อหาคำกลอนมีลักษณะส่อเสียดเข้าข่ายหมิ่นเหม่พระบรมเดชานุภาพอย่างจงใจ
แม้หนังสือพิมพ์มติชน จะออกแถลงการณ์อธิบายถึงบทอาเศียรวาท แต่ก็ไม่สามารถลบล้างความคลางแคลงใจในบทกวีครั้งนี้ได้
บทกลอนสรรเสริญพระบารมี ไม่ควรจะมีตัวอักษรใดที่นำไปสู่การตีความสองแง่สองง่าม แต่หนังสือพิมพ์ค่ายนี้แสดงตัวชัดมาก่อนหน้าแล้วว่า ฝักใฝ่ระบอบทักษิณ ปกป้องรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และเป็นกระบอกเสียงของคนเสื้อแดง
บทอาเศียรวาทจึงเป็นการตอกย้ำว่า เครือมติชนได้เปลี่ยนตัวเองแล้ว จากที่เคยประกาศเป็นหมาเฝ้าบ้าน แปลงตัวเป็นเหมือนสุนัขรับใช้ ทำหน้าที่เห่าหอนแทนพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
และเหิมเกริมถึงขั้นแต่งบทกวี ส่อเสียดสถาบันพระมหากษัตริย์
“มติชน” เป็นผลพวงของหนังสือพิมพ์ “ประชาชาติ” รายวันในอดีต ซึ่งถือเป็นหนังสือพิมพ์ที่มีคุณภาพมากที่สุด เป็นหนังสือพิมพ์ของปัญญาชนคนรุ่นใหม่ และเป็นหนังสือพิมพ์สัญลักษณ์การต่อสู้ของนักอุดมการณ์
“ประชาชาติ” รายวัน เคยเป็นศูนย์รวมของนักคิดนักเขียน เป็นศูนย์รวมของนักข่าวรุ่นใหม่ไฟแรง และถือเป็นอีกต้นแบบของหนังสือพิมพ์ที่ไม่ยอมก้มหัวให้อำนาจรัฐ
แต่เหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ทำให้ “ประชาชาติ” รายวันถูกสั่งปิด และคนที่ออกคำสั่งปิดคือ นายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหลังการปฏิวัติของ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่
ค่าย “ประชาชาติ” รายวันต้องแตกเป็นเสี่ยง ไม่รู้ชะตากรรม เพราะนอกจากถูกอำนาจรัฐหมายหัว จนกองบรรณาธิการหลายคนต้องหนีเข้าป่าไปร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยหลายคนแล้ว ยังต้องตกงานกันเป็นแพ
คน “ประชาชาติ” ในช่วงนั้น เป็นเดือดเป็นแค้นนายสมัคร และไม่มีใครคิดจะร่วมเผาผีกับนักการเมืองคนนี้ ซึ่งสุดท้าย ต้องยอมก้มหัวให้ระบอบทักษิณ เพราะอยากเป็นนายกรัฐมนตรี
ใครจะคิดว่า ผู้ร่วมก่อตั้งหนังสือพิมพ์ “ประชาชาติ” รายวัน เมื่อประมาณ 37 ปีก่อน ผู้บุกเบิกหนังสือพิมพ์ที่ไม่หวั่นเกรงอำนาจอันไม่ชอบธรรมของรัฐ จะกลายเป็นสื่อที่รับใช้อำนาจรัฐอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู และกลายเป็นแนวร่วมกับนายสมัคร ยอมก้มหัวให้ระบอบทักษิณ
หลังยุค 6 ตุลาฯ หนังสือพิมพ์คุณภาพถูกกำจัด ถูกสั่งปิดกันเหี้ยน แม้จะเปิดกันใหม่ในภายหลัง แต่ทีมงาน จุดยืนหรือแนวทางก็เปลี่ยนไป ทำให้ไม่ได้รับความนิยม สุดท้ายก็ต้องล้มหายตายจากแผงหนังสือ
“มติชน” ซึ่งก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาใหม่ในปี 2520 กลายเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวที่พอจะมีคุณภาพ แต่ก็ใช้เวลาหลายปีจึงจะยืดหยัดขึ้นมา และเป็นสื่อค่ายใหญ่ มีสิ่งพิมพ์ในเครือมากมาย ไม่ว่า “มติชน” สุดสัปดาห์ ประชาชาติธุรกิจ หรือหนังสือพิมพ์ข่าวสด
เครือ “มติชน” เกือบตกไปอยู่ภายใต้กำมือของนายทุนเมื่อหลายปีก่อน โดยนายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรมหรือ “อากู๋” นักธุรกิจที่มีความสนิทชิดเชื้อกับระบอบทักษิณ จะเข้ามาครอบงำกิจการหรือเทคโอเวอร์จนคนในค่ายมติชนต้องร้องขอเพื่อนสื่อมวลชนร่วมต่อต้าน
และสื่อแทบทุกค่ายก็ผนึกกำลังต่อต้านการเทกโอเวอร์ของ “อากู๋” เพราะเสียดายความเป็น “มติชน” ไม่อยากให้หนังสือพิมพ์ที่พอจะมีคุณภาพตกไปเป็นเครื่องมือทางการเมือง
ไม่อยากให้เพื่อนนักหนังสือพิมพ์ต้องถูกบงการโดยนายทุนที่ใกล้ชิดระบอบทักษิณ
การลุกฮือต่อต้านการครอบงำ “มติชน” ของสื่อ ทำให้ “อากู๋” ต้องประกาศล่าถอยล้มเลิกแผนการเทกโอเวอร์
เรื่องราวระหว่าง “อากู๋” กับ “มติชน” เงียบไปหลายปี แต่ก็มีข่าวลือเป็นระยะว่านายขรรค์ชัยได้ยินยอมขายหุ้นให้ “อากู๋” เปิดทางให้เทกโอเวอร์ค่าย “มติชน”อย่างเงียบๆ
และไม่เคยมีใครได้ยินเสียงคร่ำครวญของคนในค่ายมติชน ร้องขอให้เพื่อนสื่อมวลชนช่วยต่อต้านการเทกโอเวอร์อีกเลย
กระทั่งล่าสุด ปรากฏว่า บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) ของอากู๋ เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ “มติชน” ในลำดับที่ 2 รองจากนายขรรค์ชัย บุนปาน โดยถือหุ้นในสัดส่วน 22% ของทุนจดทะเบียน
ตั้งแต่ยุครัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ค่ายมติชนก็เปลี่ยนไป โดยในช่วงแรกเพียงแค่ทำตัวเป็น “อีแอบ” แอบชมแอบสนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ แอบทำหน้าที่เป็นองครักษ์พิทักษ์ระบอบทักษิณ
คอลัมนิสต์หลายคน กองบรรณธิการบางส่วนแสดงจุดยืนฝักใฝ่ระบอบทักษิณ จนถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงแรกๆ ค่าย “มติชน” ไม่ยอมรับในอุมการณ์ที่เปลี่ยนไป ไม่ยอมรับว่าเป็นกระบอกเสียงให้ระบอบทักษิณ
แต่ปัจจุบันไม่ปฏิเสธแล้ว และถึงปฏิเสธก็ไม่มีใครเชื่อ
เพราะแทบทุกหัวหนังสือในเครือ “มติชน” แสดงจุดยืนเป็นกระบอกเสียงให้รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์อย่างสุดตัว กลายเป็นหนังสือพิมพ์ที่หมอบราบคาบให้อำนาจรัฐ เชิดชูระบอบทักษิณ และเป็นสัญลักษณ์ของสื่อเสื้อแดง
ใครจะไปเชื่อว่า หนังสือพิมพ์ที่ประกาศตัวเป็นสื่อคุณภาพ คนหนังสือพิมพ์ที่เคยต่อสู้กับอำนาจรัฐมาค่อนชีวิต และกองบก.เครือ “มติขน” ทั้งหมดจะหัวหดกับระบอบทักษิณ
ยอมเปลี่ยนตัวเองจากคำประกาศเป็นหมาเฝ้าบ้าน ยอมรับฐานะการเป็นสุนัขรับใช้ของระบอบทักษิณในสายตาของประชาชนได้
ใครจะคิดว่า หนังสือพิมพ์เคยสร้างประวัติศาสตร์การเป็นต้นแบบของหนังสือพิมพ์คุณภาพที่สุดของประเทศ จะทำให้ตัวเองตกต่ำกลายเป็นหนังสือพิมพ์ห่วยๆ ที่ยอมก้มหัวให้นักการเมืองเน่าๆ ได้ถึงเพียงนี้
ใครที่ยังหยิบ “มติชน” มาอ่าน จะเห็นโฆษณาที่เป็นตัวสร้างรายได้หลักของหนังสือพิมพ์ค่ายนี้ ส่วนใหญ่เป็นโฆษณาของหน่วยงานราชการ
และส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานที่ไม่มีความจำเป็นต้องโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้เปลืองงบประมาณ ซึ่งหน่วยงานราชการเหล่านี้ก็ไม่ลงโฆษณาที่ไหน
แต่กลับแห่กันลงโฆษณาใน “มติชน”
ถ้าโฆษณาหน่วยงานราชการที่ “มติชน” ได้มา เป็นการเกื้อกูลตอบแทนผลประโยชน์กัน “มติชน” ก็เป็นหนังสือพิมพ์ที่ร่วมมือกับนักการเมืองปล้นเงินภาษีของประชาชน
บทอาเศียรวาทที่หมิ่นเหม่พระบรมเดชานุภาพ เสียงแก้ตัวของ “มติชน” ไม่ใช่เสียงจากหมาเฝ้าบ้านแล้ว แต่ฟังเหมือนเสียงสุนัขรับใช้ระบอบทักษิณมากกว่า
ประวัติศาสตร์ 37 ปีของค่าย “มติชน” วันนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า คนหนังสือพิมพ์ค่ายนี้ ท้ายที่สุดแล้วเป็นเพียงพวกเอาตัวรอด
นักหนังสือพิมพ์ที่มีจิตวิญญาณย่อมรู้อยู่แก่ใจว่า ถ้าทุกคนมุ่งแต่เอาตัวรอด สังคมจะไปไม่รอด คน “มติชน” ไม่ถามตัวเองบ้างหรือ จิตวิญญาณความเป็นหนังสือพิมพ์ยังเหลืออยู่หรือไม่
แม้หนังสือพิมพ์มติชน จะออกแถลงการณ์อธิบายถึงบทอาเศียรวาท แต่ก็ไม่สามารถลบล้างความคลางแคลงใจในบทกวีครั้งนี้ได้
บทกลอนสรรเสริญพระบารมี ไม่ควรจะมีตัวอักษรใดที่นำไปสู่การตีความสองแง่สองง่าม แต่หนังสือพิมพ์ค่ายนี้แสดงตัวชัดมาก่อนหน้าแล้วว่า ฝักใฝ่ระบอบทักษิณ ปกป้องรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และเป็นกระบอกเสียงของคนเสื้อแดง
บทอาเศียรวาทจึงเป็นการตอกย้ำว่า เครือมติชนได้เปลี่ยนตัวเองแล้ว จากที่เคยประกาศเป็นหมาเฝ้าบ้าน แปลงตัวเป็นเหมือนสุนัขรับใช้ ทำหน้าที่เห่าหอนแทนพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
และเหิมเกริมถึงขั้นแต่งบทกวี ส่อเสียดสถาบันพระมหากษัตริย์
“มติชน” เป็นผลพวงของหนังสือพิมพ์ “ประชาชาติ” รายวันในอดีต ซึ่งถือเป็นหนังสือพิมพ์ที่มีคุณภาพมากที่สุด เป็นหนังสือพิมพ์ของปัญญาชนคนรุ่นใหม่ และเป็นหนังสือพิมพ์สัญลักษณ์การต่อสู้ของนักอุดมการณ์
“ประชาชาติ” รายวัน เคยเป็นศูนย์รวมของนักคิดนักเขียน เป็นศูนย์รวมของนักข่าวรุ่นใหม่ไฟแรง และถือเป็นอีกต้นแบบของหนังสือพิมพ์ที่ไม่ยอมก้มหัวให้อำนาจรัฐ
แต่เหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ทำให้ “ประชาชาติ” รายวันถูกสั่งปิด และคนที่ออกคำสั่งปิดคือ นายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหลังการปฏิวัติของ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่
ค่าย “ประชาชาติ” รายวันต้องแตกเป็นเสี่ยง ไม่รู้ชะตากรรม เพราะนอกจากถูกอำนาจรัฐหมายหัว จนกองบรรณาธิการหลายคนต้องหนีเข้าป่าไปร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยหลายคนแล้ว ยังต้องตกงานกันเป็นแพ
คน “ประชาชาติ” ในช่วงนั้น เป็นเดือดเป็นแค้นนายสมัคร และไม่มีใครคิดจะร่วมเผาผีกับนักการเมืองคนนี้ ซึ่งสุดท้าย ต้องยอมก้มหัวให้ระบอบทักษิณ เพราะอยากเป็นนายกรัฐมนตรี
ใครจะคิดว่า ผู้ร่วมก่อตั้งหนังสือพิมพ์ “ประชาชาติ” รายวัน เมื่อประมาณ 37 ปีก่อน ผู้บุกเบิกหนังสือพิมพ์ที่ไม่หวั่นเกรงอำนาจอันไม่ชอบธรรมของรัฐ จะกลายเป็นสื่อที่รับใช้อำนาจรัฐอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู และกลายเป็นแนวร่วมกับนายสมัคร ยอมก้มหัวให้ระบอบทักษิณ
หลังยุค 6 ตุลาฯ หนังสือพิมพ์คุณภาพถูกกำจัด ถูกสั่งปิดกันเหี้ยน แม้จะเปิดกันใหม่ในภายหลัง แต่ทีมงาน จุดยืนหรือแนวทางก็เปลี่ยนไป ทำให้ไม่ได้รับความนิยม สุดท้ายก็ต้องล้มหายตายจากแผงหนังสือ
“มติชน” ซึ่งก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาใหม่ในปี 2520 กลายเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวที่พอจะมีคุณภาพ แต่ก็ใช้เวลาหลายปีจึงจะยืดหยัดขึ้นมา และเป็นสื่อค่ายใหญ่ มีสิ่งพิมพ์ในเครือมากมาย ไม่ว่า “มติชน” สุดสัปดาห์ ประชาชาติธุรกิจ หรือหนังสือพิมพ์ข่าวสด
เครือ “มติชน” เกือบตกไปอยู่ภายใต้กำมือของนายทุนเมื่อหลายปีก่อน โดยนายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรมหรือ “อากู๋” นักธุรกิจที่มีความสนิทชิดเชื้อกับระบอบทักษิณ จะเข้ามาครอบงำกิจการหรือเทคโอเวอร์จนคนในค่ายมติชนต้องร้องขอเพื่อนสื่อมวลชนร่วมต่อต้าน
และสื่อแทบทุกค่ายก็ผนึกกำลังต่อต้านการเทกโอเวอร์ของ “อากู๋” เพราะเสียดายความเป็น “มติชน” ไม่อยากให้หนังสือพิมพ์ที่พอจะมีคุณภาพตกไปเป็นเครื่องมือทางการเมือง
ไม่อยากให้เพื่อนนักหนังสือพิมพ์ต้องถูกบงการโดยนายทุนที่ใกล้ชิดระบอบทักษิณ
การลุกฮือต่อต้านการครอบงำ “มติชน” ของสื่อ ทำให้ “อากู๋” ต้องประกาศล่าถอยล้มเลิกแผนการเทกโอเวอร์
เรื่องราวระหว่าง “อากู๋” กับ “มติชน” เงียบไปหลายปี แต่ก็มีข่าวลือเป็นระยะว่านายขรรค์ชัยได้ยินยอมขายหุ้นให้ “อากู๋” เปิดทางให้เทกโอเวอร์ค่าย “มติชน”อย่างเงียบๆ
และไม่เคยมีใครได้ยินเสียงคร่ำครวญของคนในค่ายมติชน ร้องขอให้เพื่อนสื่อมวลชนช่วยต่อต้านการเทกโอเวอร์อีกเลย
กระทั่งล่าสุด ปรากฏว่า บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) ของอากู๋ เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ “มติชน” ในลำดับที่ 2 รองจากนายขรรค์ชัย บุนปาน โดยถือหุ้นในสัดส่วน 22% ของทุนจดทะเบียน
ตั้งแต่ยุครัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ค่ายมติชนก็เปลี่ยนไป โดยในช่วงแรกเพียงแค่ทำตัวเป็น “อีแอบ” แอบชมแอบสนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ แอบทำหน้าที่เป็นองครักษ์พิทักษ์ระบอบทักษิณ
คอลัมนิสต์หลายคน กองบรรณธิการบางส่วนแสดงจุดยืนฝักใฝ่ระบอบทักษิณ จนถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงแรกๆ ค่าย “มติชน” ไม่ยอมรับในอุมการณ์ที่เปลี่ยนไป ไม่ยอมรับว่าเป็นกระบอกเสียงให้ระบอบทักษิณ
แต่ปัจจุบันไม่ปฏิเสธแล้ว และถึงปฏิเสธก็ไม่มีใครเชื่อ
เพราะแทบทุกหัวหนังสือในเครือ “มติชน” แสดงจุดยืนเป็นกระบอกเสียงให้รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์อย่างสุดตัว กลายเป็นหนังสือพิมพ์ที่หมอบราบคาบให้อำนาจรัฐ เชิดชูระบอบทักษิณ และเป็นสัญลักษณ์ของสื่อเสื้อแดง
ใครจะไปเชื่อว่า หนังสือพิมพ์ที่ประกาศตัวเป็นสื่อคุณภาพ คนหนังสือพิมพ์ที่เคยต่อสู้กับอำนาจรัฐมาค่อนชีวิต และกองบก.เครือ “มติขน” ทั้งหมดจะหัวหดกับระบอบทักษิณ
ยอมเปลี่ยนตัวเองจากคำประกาศเป็นหมาเฝ้าบ้าน ยอมรับฐานะการเป็นสุนัขรับใช้ของระบอบทักษิณในสายตาของประชาชนได้
ใครจะคิดว่า หนังสือพิมพ์เคยสร้างประวัติศาสตร์การเป็นต้นแบบของหนังสือพิมพ์คุณภาพที่สุดของประเทศ จะทำให้ตัวเองตกต่ำกลายเป็นหนังสือพิมพ์ห่วยๆ ที่ยอมก้มหัวให้นักการเมืองเน่าๆ ได้ถึงเพียงนี้
ใครที่ยังหยิบ “มติชน” มาอ่าน จะเห็นโฆษณาที่เป็นตัวสร้างรายได้หลักของหนังสือพิมพ์ค่ายนี้ ส่วนใหญ่เป็นโฆษณาของหน่วยงานราชการ
และส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานที่ไม่มีความจำเป็นต้องโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้เปลืองงบประมาณ ซึ่งหน่วยงานราชการเหล่านี้ก็ไม่ลงโฆษณาที่ไหน
แต่กลับแห่กันลงโฆษณาใน “มติชน”
ถ้าโฆษณาหน่วยงานราชการที่ “มติชน” ได้มา เป็นการเกื้อกูลตอบแทนผลประโยชน์กัน “มติชน” ก็เป็นหนังสือพิมพ์ที่ร่วมมือกับนักการเมืองปล้นเงินภาษีของประชาชน
บทอาเศียรวาทที่หมิ่นเหม่พระบรมเดชานุภาพ เสียงแก้ตัวของ “มติชน” ไม่ใช่เสียงจากหมาเฝ้าบ้านแล้ว แต่ฟังเหมือนเสียงสุนัขรับใช้ระบอบทักษิณมากกว่า
ประวัติศาสตร์ 37 ปีของค่าย “มติชน” วันนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า คนหนังสือพิมพ์ค่ายนี้ ท้ายที่สุดแล้วเป็นเพียงพวกเอาตัวรอด
นักหนังสือพิมพ์ที่มีจิตวิญญาณย่อมรู้อยู่แก่ใจว่า ถ้าทุกคนมุ่งแต่เอาตัวรอด สังคมจะไปไม่รอด คน “มติชน” ไม่ถามตัวเองบ้างหรือ จิตวิญญาณความเป็นหนังสือพิมพ์ยังเหลืออยู่หรือไม่