ASTVผู้จัดการรายวัน- พรรคร่วมรัฐบาลประกาศเจตนารมย์ เดินหน้าแก้รธน. นัดถกหาข้อสรุปวันนี้ ส.พระปกเกล้า เตือนทุกฝ่ายต้องเคารพรธน. หากปรับแก้ต้องคำนึงประเพณี วัฒนธรรม ประเทศ และบ้านเมือง การใช้เสียงข้างมาก ต้องให้สังคมยอมรับด้วย
วานนี้ (10 ธ.ค.) ได้มีบรรดาตัวแทนพรรคการเมือง อาทิ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ เป็นตัวแทนจากรัฐบาล พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.บัญชี รายชื่อพรรคเพื่อไทย นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคภูมิใจไทย นายสันต์ศักย์ งามพิเชษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคพลังชล รวมทั้งส่วนราชการ หน่วยงาน คณะบุคคล ประชาชนทั่วไป ได้นำพานประดับพุ่มดอกไม้ มาถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 หน้าอาคารรัฐสภา เนื่องในวันพระราชพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อเป็นการน้อมรำลึกพระเกียรติคุณ และแสดงความกตัญญูกตเวที ต่อพระองค์ผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกแก่ปวงชนชาวไทย
ต่อมาเวลา 13.30 น. นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยส.ส. นำพานประดับพุ่มดอกไม้ถวายบังคมในนามสภาผู้แทนราษฎร และนายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นำพานประดับพุ่มดอกไม้ถวายบังคม ในนามสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ด้วย
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ใช้เวลาพักผ่อนกับครอบครัว ภายในบ้านพักในซอยโยธินพัฒนา 3 โดยมอบหมายให้ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ นำ ครม.มาวางพานพุ่มดอกไม้ถวายบังคมพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวแทน
**พรรคร่วมฯประกาศเดินหน้าแก้รธน.
หลังการถวายสักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 7 นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ท่องเที่ยวและกีฬา นายประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.อุตสาหกรรม นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย และ นายสันต์ศักย์ งามพิเชษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังชล ในฐานะคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ร่วมกันแถลงเจตนารมณ์เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดย นายวราเทพ กล่าวว่า ตนได้รับมอบหมายจาก นายโภคิน พลกุล หัวหน้าคณะทำงานฯ ให้ดำเนินการแถลงการณ์พรรคร่วมรัฐบาล เนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปี ของการพระราชทานรัฐธรรมนูญ
นายจารุพงศ์ ประกาศเจตนารมณ์ว่า เพื่อให้สังคมไทยได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่ชอบธรรม เป็นประชาธิปไตย ค้ำประกันหลักนิติรัฐ นิติธรรม มีสันติสุข และความมั่นคง พรรคร่วมรัฐบาลซึ่งประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา และพรรคพลังชล จึงขอประกาศเจตนารมณ์ ดังนี้
1. จะร่วมกันพิทักษ์รักษา ส่งเสริม สนับสนุน และธำรงไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ จะต้องมีที่มาจากประชาชน โดยประชนมีส่วนร่วมในการจัดทำตั้งแต่การยกร่าง จนถึงการให้ความเห็นชอบ
3. รัฐธรรมนูญ ต้องมีสาระสำคัญเป็นการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของทุกองค์กรอย่างเต็มที่ มีการปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
นายวราเทพ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของรายงานฉบับสมบูรณ์จะนัดคณะทำงานฯ หารือในวันนี้ (11 ธ.ค.) เวลา 14.30 น. ที่ทำการพรรคเพื่อไทย และคาดว่าจะมีความชัดเจนในเรื่องท่าที และการดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ในส่วนของกระแสข่าวที่ว่า จะมีการโหวตวาระ 3 ที่ค้างอยู่ให้ตกไป แล้วเสนอร่างรัฐธรรมนูญเข้ามาใหม่ นั้น นายวราเทพ ระบุว่า ยังไม่มี จะต้องปรึกษา และร่วมตัดสินใจกับพรรคร่วมรัฐบาลก่อน ทั้งนี้ โจทย์ของเราคือ ทำอย่างไรให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตย และประชาชนมีส่วนร่วมให้มากที่สุด
ขณะที่นายชุมพล กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะทำเนื้อหารัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยให้มากที่สุด และประเทศจะต้องมีประชาธิปไตยที่เดินหน้า อย่างไรก็ตาม คณะทำงานฯ ศึกษาเพียงวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น
** ยังไม่สรุปโหวต วาระ 3
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง ความพยายามของรัฐบาล ที่จะให้เดินหน้าโหวตวาระ 3 ว่า ส่วนตัวมองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องทำอยู่แล้ว แต่จะแก้อย่างไรเท่านั้นเอง ซึ่งรายละเอียดของหลักการ ยังไม่ได้ข้อสรุป
ส่วนการเดินหน้าโหวต วาระ 3 เพื่อให้มีการตั้ง ส.ส.ร. ถือเป็นแนวทางที่เหมาะสม หรือไม่ นั้น นายสมศักดิ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องของคณะทำงานที่พรรคร่วมตั้งขึ้นมาพิจารณาร่วมกัน ซึ่งต้องสรุปมา และเสนอให้แต่ละพรรคการเมืองที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาลได้พิจารณาร่วมกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุป
เมื่อถามว่า ส่วนตัวคิดว่าแนวทางให้ตั้ง ส.ส.ร. ถือเป็นแนวทางที่ดีที่สุดหรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ยังไม่อยากก้าวล่วงตรงนั้น ขอให้คณะทำงานได้พิจารณาก่อนดีกว่า เพื่อให้ได้ข้อสรุป
"แต่ถ้าให้ผมแสดงความเห็นส่วนตัว ก็ขออนุญาตให้เพียงสั้นๆ ว่ามีถนนคอนกรีตให้เดิน ทำไมต้องไปเลือกถนนลูกรัง"
ด้านนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ตราบใดที่ทัศนคติของคนในสังคม ยังมีความเห็นไปในทิศทางตรงกันข้าม การเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญคงสำเร็จได้ยาก ดังนั้นต้องเริ่มแก้ที่ตัวบุคคลก่อน
**เตือนเสียงข้างมากต้องให้สังคมยอมรับ
นายวุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวถึงความสำคัญของรัฐธรรมนูญ ว่า เราต้องเคารพ ขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญทุกฉบับสามารถที่จะปรับปรุงแก้ไข ตามสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง เพราะห้วงเวลาหนึ่งอาจจะเหมาะสม และก็เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นในทางการเมืองรัฐธรรมนูญสามารถปรับเปลี่ยน สิ่งสำคัญก็คือ ต้องยึดหลักรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายแม่บทที่พูดถึงเรื่องประชาธิปไตยภายใต้ระบอบพระมหากษัตริย์ อะไรที่ปรับปรุงแก้ไขจะต้องคำนึงถึงประเพณี วัฒนธรรม ของประเทศ และบ้านเมือง
นายวุฒิสาร กล่าวว่า กระบวนการสำคัญของการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ คือการสื่อสารไปยังประชาชนในเชิงสาระ ว่าจะแก้ไขอะไร เพราะต้องยอมรับว่า สถานการณ์ขณะนี้อยู่ในท่ามกลางความไม่ไว้วางใจกัน ดังนั้นการที่จะปรับปรุงแก้ไขอะไร ต้องระวัง จะลงมติอย่างไร ก็ต้องคิดถึงผลที่จะตามมาว่าจะสุ่มเสี่ยง หรือความเปราะบาง ว่าสังคมจะได้รับผลการดำเนินการต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น ที่สำคัญคือการสื่อสารให้สังคมรู้ ว่าอะไรเป็นอะไร ในเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ข้อเท็จจริงการแก้ไขด้วยพื้นฐานที่ว่า อะไรที่ตกลงกันได้ แก้ไขได้ ก็แก้ก่อน ไม่จำเป็นต้องทำทั้งฉบับ เพราสถานการณ์แบบนี้ คนยังอยู่บนพื้นฐานของความไม่ไว้วางใจ
เมื่อถามว่าขณะนี้รัฐบาลใช้กลไกมหาดไทย ในการขับเคลื่อนการรณรงค์ นายวุฒิสาร กล่าวว่า ฝ่ายที่ขับเคลื่อนต้องคำนึงถึงผลที่จะตามมา ทุกแง่มุม เพราะวันนี้มันมีความเปราะบางสูง ดังนั้นกระบวนการที่ทำให้สังคมเห็นตรงกัน เข้าใจตรงกันให้มากขึ้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่ากระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้เสียงข้างมาก แต่ขณะเดียวกันเสียงข้างมากต้องสร้างการยอมรับในสังคมนั้น ต้องสร้างความเข้าใจให้เห็น
** "แก๊งแดง"จัดแรลลี่ดันแก้รธน.
กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. นำโดย พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ นายพายัพ ปั้นเกตุ นางดารุณี กฤตบุญญาลัย นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง นายประแสง มงคลศิริ และนายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ได้นัดรวมตัวกลุ่ม ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พร้อมกับแสดงสัญลักษณ์ความเป็นประชาธิปไตยด้วยการวางพวงหรีด ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า บริเวณหมุดคณะราษฎร์ เพื่อจัดกิจกรรมภายใต้ชื่อว่า “แรลลี่โค่นอำมาตย์ สถาปนารัฐธรรมนูญของประชาชน" โดยเคลื่อนขบวนไปที่รัฐสภา ยื่นข้อเรียกร้องให้ผ่าน ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291
หลังจากนั้น ขบวนแรลลี่ ได้เคลื่อนไปยังพรรคชาติไทยพัฒนา ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องให้สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ ขบวนแรลลี่ จะกลับมาสิ้นสุดที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พร้อมเปิดเวทีปราศรัยในช่วงเย็น ตั้งแต่เวลา 17.00 เป็นต้นไป ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นการปราศรัยในเวลา 23.00 น.
ส่วนมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยตลอดเส้นทางที่ขบวนแรลลี่ ได้เคลื่อนไปนั้น ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ประมาณ 150นาย คอยอำนวยความสะดวก โดยทางตำรวจนครบาลได้จัดส่งชุดสายตรวจจักรยานยนต์ ประกบติดขบวนดังกล่าวตลอดเส้นทาง เพื่อป้องกันการก่อความวุ่นวาย
อย่างไรก็ตาม ก่อนเคลื่อนขบวนแรลลี่ ได้มีการประกาศจุดยืนสำหรับข้อเรียกร้องในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4 ข้อ คือ 1. ผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดขึ้น 2. ทวงคืนความยุติธรรมให้กับกลุ่มคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบ เมื่อปี 53 3. เรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองให้ออกมาต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม 4 . หยุดการรัฐประหาร ที่ถือว่าเป็นการริดรอนสิทธิ์ของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย
นอกจากนี้ ในวันที่ 13 ธ.ค. กลุ่มนปช. จะนัดรวมตัวกันอีกครั้งที่บริเวณหน้าศาลอาญา เพื่อฟังคำไต่สวนพิจารณานัดสืบพยานเพิ่ม คดี ส.ส.เพื่อไทย และแกนนำเสื้อแดงในข้อหาก่อการร้ายด้วย ขณะเดียวกันจะเดินทางไปที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพื่อร่วมสังเกตการณ์ กรณีการเดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์
** ภท.นัดถกมติพรรค 23-24 ธ.ค.
นายศุภชัย ใจสมุทร รองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึง การประกาศเจตนารมย์เดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของรัฐบาล ว่า กรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย จะประชุมพูดคุยกันถึงจุดยืน และแนวทางของพรรคต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 23-24 ธ.ค. ซึ่งต้องมีมติพรรคว่า จะลงมติอย่างไร หากมีการพิจารณาวาระแก้ไขรัฐธรรมนูญในรัฐสภา
อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นทางพรรคเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นสิ่งที่จำเป็น แต่การตัดสินใจร่วมลงมติหรือไม่ ต้องคำนึงถึงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ โทษทางกฎหมายในประเด็นที่ว่า ถ้าฝ่าฝืนคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จะมีผลให้ถูกถอดถอนหรือไม่ รวมถึงสถานการณ์ของบ้านเมืองเป็นหลัก โดยทางพรรคภูมิใจไทย จะยึดหลักความสงบ เรียบร้อยของสถานการณ์ทางการเมืองเป็นหลัก ทั้งนี้ การใช้ดุลยพินิจของส.ส.ในพรรค จะไม่ยึดโยงกับความเห็นของฝ่ายรัฐบาล หรือ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)
นายศุภชัย กล่าวด้วยว่า ในความเห็นส่วนตัวมองว่า ช่วงจังหวะนี้ไม่ควรรีบเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะจะเป็นการเร่งสถานการณ์ความไม่สงบของบ้านเมือง นอกจากนั้นแล้วตนมองว่า หากคิดจะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับจริง เนื้อหาเกินครึ่งน่าจะยังคงเหมือนเดิม ดังนั้นทางที่ดี ควรหารือร่วมกันทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน เพื่อหาจุดร่วม ที่จะไม่สร้างความขัดแย้ง เช่น มาตรา 237 ว่าด้วยเรื่องการยุบพรรค ที่ทุกพรรคการเมืองต่างมีความเห็นร่วมกันว่า ควรมีการแก้ไข
วานนี้ (10 ธ.ค.) ได้มีบรรดาตัวแทนพรรคการเมือง อาทิ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ เป็นตัวแทนจากรัฐบาล พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.บัญชี รายชื่อพรรคเพื่อไทย นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคภูมิใจไทย นายสันต์ศักย์ งามพิเชษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคพลังชล รวมทั้งส่วนราชการ หน่วยงาน คณะบุคคล ประชาชนทั่วไป ได้นำพานประดับพุ่มดอกไม้ มาถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 หน้าอาคารรัฐสภา เนื่องในวันพระราชพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อเป็นการน้อมรำลึกพระเกียรติคุณ และแสดงความกตัญญูกตเวที ต่อพระองค์ผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกแก่ปวงชนชาวไทย
ต่อมาเวลา 13.30 น. นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยส.ส. นำพานประดับพุ่มดอกไม้ถวายบังคมในนามสภาผู้แทนราษฎร และนายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นำพานประดับพุ่มดอกไม้ถวายบังคม ในนามสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ด้วย
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ใช้เวลาพักผ่อนกับครอบครัว ภายในบ้านพักในซอยโยธินพัฒนา 3 โดยมอบหมายให้ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ นำ ครม.มาวางพานพุ่มดอกไม้ถวายบังคมพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวแทน
**พรรคร่วมฯประกาศเดินหน้าแก้รธน.
หลังการถวายสักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 7 นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ท่องเที่ยวและกีฬา นายประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.อุตสาหกรรม นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย และ นายสันต์ศักย์ งามพิเชษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังชล ในฐานะคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ร่วมกันแถลงเจตนารมณ์เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดย นายวราเทพ กล่าวว่า ตนได้รับมอบหมายจาก นายโภคิน พลกุล หัวหน้าคณะทำงานฯ ให้ดำเนินการแถลงการณ์พรรคร่วมรัฐบาล เนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปี ของการพระราชทานรัฐธรรมนูญ
นายจารุพงศ์ ประกาศเจตนารมณ์ว่า เพื่อให้สังคมไทยได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่ชอบธรรม เป็นประชาธิปไตย ค้ำประกันหลักนิติรัฐ นิติธรรม มีสันติสุข และความมั่นคง พรรคร่วมรัฐบาลซึ่งประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา และพรรคพลังชล จึงขอประกาศเจตนารมณ์ ดังนี้
1. จะร่วมกันพิทักษ์รักษา ส่งเสริม สนับสนุน และธำรงไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ จะต้องมีที่มาจากประชาชน โดยประชนมีส่วนร่วมในการจัดทำตั้งแต่การยกร่าง จนถึงการให้ความเห็นชอบ
3. รัฐธรรมนูญ ต้องมีสาระสำคัญเป็นการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของทุกองค์กรอย่างเต็มที่ มีการปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
นายวราเทพ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของรายงานฉบับสมบูรณ์จะนัดคณะทำงานฯ หารือในวันนี้ (11 ธ.ค.) เวลา 14.30 น. ที่ทำการพรรคเพื่อไทย และคาดว่าจะมีความชัดเจนในเรื่องท่าที และการดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ในส่วนของกระแสข่าวที่ว่า จะมีการโหวตวาระ 3 ที่ค้างอยู่ให้ตกไป แล้วเสนอร่างรัฐธรรมนูญเข้ามาใหม่ นั้น นายวราเทพ ระบุว่า ยังไม่มี จะต้องปรึกษา และร่วมตัดสินใจกับพรรคร่วมรัฐบาลก่อน ทั้งนี้ โจทย์ของเราคือ ทำอย่างไรให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตย และประชาชนมีส่วนร่วมให้มากที่สุด
ขณะที่นายชุมพล กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะทำเนื้อหารัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยให้มากที่สุด และประเทศจะต้องมีประชาธิปไตยที่เดินหน้า อย่างไรก็ตาม คณะทำงานฯ ศึกษาเพียงวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น
** ยังไม่สรุปโหวต วาระ 3
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง ความพยายามของรัฐบาล ที่จะให้เดินหน้าโหวตวาระ 3 ว่า ส่วนตัวมองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องทำอยู่แล้ว แต่จะแก้อย่างไรเท่านั้นเอง ซึ่งรายละเอียดของหลักการ ยังไม่ได้ข้อสรุป
ส่วนการเดินหน้าโหวต วาระ 3 เพื่อให้มีการตั้ง ส.ส.ร. ถือเป็นแนวทางที่เหมาะสม หรือไม่ นั้น นายสมศักดิ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องของคณะทำงานที่พรรคร่วมตั้งขึ้นมาพิจารณาร่วมกัน ซึ่งต้องสรุปมา และเสนอให้แต่ละพรรคการเมืองที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาลได้พิจารณาร่วมกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุป
เมื่อถามว่า ส่วนตัวคิดว่าแนวทางให้ตั้ง ส.ส.ร. ถือเป็นแนวทางที่ดีที่สุดหรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ยังไม่อยากก้าวล่วงตรงนั้น ขอให้คณะทำงานได้พิจารณาก่อนดีกว่า เพื่อให้ได้ข้อสรุป
"แต่ถ้าให้ผมแสดงความเห็นส่วนตัว ก็ขออนุญาตให้เพียงสั้นๆ ว่ามีถนนคอนกรีตให้เดิน ทำไมต้องไปเลือกถนนลูกรัง"
ด้านนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ตราบใดที่ทัศนคติของคนในสังคม ยังมีความเห็นไปในทิศทางตรงกันข้าม การเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญคงสำเร็จได้ยาก ดังนั้นต้องเริ่มแก้ที่ตัวบุคคลก่อน
**เตือนเสียงข้างมากต้องให้สังคมยอมรับ
นายวุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวถึงความสำคัญของรัฐธรรมนูญ ว่า เราต้องเคารพ ขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญทุกฉบับสามารถที่จะปรับปรุงแก้ไข ตามสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง เพราะห้วงเวลาหนึ่งอาจจะเหมาะสม และก็เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นในทางการเมืองรัฐธรรมนูญสามารถปรับเปลี่ยน สิ่งสำคัญก็คือ ต้องยึดหลักรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายแม่บทที่พูดถึงเรื่องประชาธิปไตยภายใต้ระบอบพระมหากษัตริย์ อะไรที่ปรับปรุงแก้ไขจะต้องคำนึงถึงประเพณี วัฒนธรรม ของประเทศ และบ้านเมือง
นายวุฒิสาร กล่าวว่า กระบวนการสำคัญของการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ คือการสื่อสารไปยังประชาชนในเชิงสาระ ว่าจะแก้ไขอะไร เพราะต้องยอมรับว่า สถานการณ์ขณะนี้อยู่ในท่ามกลางความไม่ไว้วางใจกัน ดังนั้นการที่จะปรับปรุงแก้ไขอะไร ต้องระวัง จะลงมติอย่างไร ก็ต้องคิดถึงผลที่จะตามมาว่าจะสุ่มเสี่ยง หรือความเปราะบาง ว่าสังคมจะได้รับผลการดำเนินการต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น ที่สำคัญคือการสื่อสารให้สังคมรู้ ว่าอะไรเป็นอะไร ในเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ข้อเท็จจริงการแก้ไขด้วยพื้นฐานที่ว่า อะไรที่ตกลงกันได้ แก้ไขได้ ก็แก้ก่อน ไม่จำเป็นต้องทำทั้งฉบับ เพราสถานการณ์แบบนี้ คนยังอยู่บนพื้นฐานของความไม่ไว้วางใจ
เมื่อถามว่าขณะนี้รัฐบาลใช้กลไกมหาดไทย ในการขับเคลื่อนการรณรงค์ นายวุฒิสาร กล่าวว่า ฝ่ายที่ขับเคลื่อนต้องคำนึงถึงผลที่จะตามมา ทุกแง่มุม เพราะวันนี้มันมีความเปราะบางสูง ดังนั้นกระบวนการที่ทำให้สังคมเห็นตรงกัน เข้าใจตรงกันให้มากขึ้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่ากระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้เสียงข้างมาก แต่ขณะเดียวกันเสียงข้างมากต้องสร้างการยอมรับในสังคมนั้น ต้องสร้างความเข้าใจให้เห็น
** "แก๊งแดง"จัดแรลลี่ดันแก้รธน.
กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. นำโดย พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ นายพายัพ ปั้นเกตุ นางดารุณี กฤตบุญญาลัย นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง นายประแสง มงคลศิริ และนายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ได้นัดรวมตัวกลุ่ม ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พร้อมกับแสดงสัญลักษณ์ความเป็นประชาธิปไตยด้วยการวางพวงหรีด ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า บริเวณหมุดคณะราษฎร์ เพื่อจัดกิจกรรมภายใต้ชื่อว่า “แรลลี่โค่นอำมาตย์ สถาปนารัฐธรรมนูญของประชาชน" โดยเคลื่อนขบวนไปที่รัฐสภา ยื่นข้อเรียกร้องให้ผ่าน ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291
หลังจากนั้น ขบวนแรลลี่ ได้เคลื่อนไปยังพรรคชาติไทยพัฒนา ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องให้สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ ขบวนแรลลี่ จะกลับมาสิ้นสุดที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พร้อมเปิดเวทีปราศรัยในช่วงเย็น ตั้งแต่เวลา 17.00 เป็นต้นไป ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นการปราศรัยในเวลา 23.00 น.
ส่วนมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยตลอดเส้นทางที่ขบวนแรลลี่ ได้เคลื่อนไปนั้น ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ประมาณ 150นาย คอยอำนวยความสะดวก โดยทางตำรวจนครบาลได้จัดส่งชุดสายตรวจจักรยานยนต์ ประกบติดขบวนดังกล่าวตลอดเส้นทาง เพื่อป้องกันการก่อความวุ่นวาย
อย่างไรก็ตาม ก่อนเคลื่อนขบวนแรลลี่ ได้มีการประกาศจุดยืนสำหรับข้อเรียกร้องในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4 ข้อ คือ 1. ผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดขึ้น 2. ทวงคืนความยุติธรรมให้กับกลุ่มคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบ เมื่อปี 53 3. เรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองให้ออกมาต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม 4 . หยุดการรัฐประหาร ที่ถือว่าเป็นการริดรอนสิทธิ์ของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย
นอกจากนี้ ในวันที่ 13 ธ.ค. กลุ่มนปช. จะนัดรวมตัวกันอีกครั้งที่บริเวณหน้าศาลอาญา เพื่อฟังคำไต่สวนพิจารณานัดสืบพยานเพิ่ม คดี ส.ส.เพื่อไทย และแกนนำเสื้อแดงในข้อหาก่อการร้ายด้วย ขณะเดียวกันจะเดินทางไปที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพื่อร่วมสังเกตการณ์ กรณีการเดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์
** ภท.นัดถกมติพรรค 23-24 ธ.ค.
นายศุภชัย ใจสมุทร รองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึง การประกาศเจตนารมย์เดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของรัฐบาล ว่า กรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย จะประชุมพูดคุยกันถึงจุดยืน และแนวทางของพรรคต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 23-24 ธ.ค. ซึ่งต้องมีมติพรรคว่า จะลงมติอย่างไร หากมีการพิจารณาวาระแก้ไขรัฐธรรมนูญในรัฐสภา
อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นทางพรรคเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นสิ่งที่จำเป็น แต่การตัดสินใจร่วมลงมติหรือไม่ ต้องคำนึงถึงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ โทษทางกฎหมายในประเด็นที่ว่า ถ้าฝ่าฝืนคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จะมีผลให้ถูกถอดถอนหรือไม่ รวมถึงสถานการณ์ของบ้านเมืองเป็นหลัก โดยทางพรรคภูมิใจไทย จะยึดหลักความสงบ เรียบร้อยของสถานการณ์ทางการเมืองเป็นหลัก ทั้งนี้ การใช้ดุลยพินิจของส.ส.ในพรรค จะไม่ยึดโยงกับความเห็นของฝ่ายรัฐบาล หรือ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)
นายศุภชัย กล่าวด้วยว่า ในความเห็นส่วนตัวมองว่า ช่วงจังหวะนี้ไม่ควรรีบเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะจะเป็นการเร่งสถานการณ์ความไม่สงบของบ้านเมือง นอกจากนั้นแล้วตนมองว่า หากคิดจะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับจริง เนื้อหาเกินครึ่งน่าจะยังคงเหมือนเดิม ดังนั้นทางที่ดี ควรหารือร่วมกันทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน เพื่อหาจุดร่วม ที่จะไม่สร้างความขัดแย้ง เช่น มาตรา 237 ว่าด้วยเรื่องการยุบพรรค ที่ทุกพรรคการเมืองต่างมีความเห็นร่วมกันว่า ควรมีการแก้ไข