วานนี้ ( 9 ธ.ค.) นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)กระทรวงเกษตรฯเปิดเผยถึงมาตรการเตรียมรับภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 56 ต่อทิศทางเกษตรไทยและสินค้าเกษตรก้าวสู่โลกยุคใหม่ ว่ามาภาคเกษตรถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศเนื่องจากภาคเกษตรนับเป็นแหล่งผลิตพืชอาหารและพลังงานและมีความเชื่อมโยงกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งการจ้างงาน การท่องเที่ยวและการค้าระหว่างประเทศดังนั้นการพัฒนาภาคเกษตรให้มีความยั่งยืนจึงเป็นภารกิจที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาและความท้าทายต่างๆทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก เช่นการฟื้นตัวของประเทศภายหลังสถานการณ์อุทกภัยปี 54 การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี 58 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศการประสบปัญหาทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป
“ซึ่งความท้าทายดังกล่าวย่อมต้องมีปัญหาและส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ภาคเกษตรของไทยจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ ใน 4 องค์ประกอบเช่นแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจไทยอย่างเหนียวแน่น การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาประเทศอันเป็นวิธีหนึ่งในการยกระดับรายได้ของประชาชนและเป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ การสร้างเขตเศรษฐกิจสีเขียว เช่นเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นคาร์บอนต่ำ สนับสนุนประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และสุดท้ายสำคัญที่สุดตัวเกษตรกรผู้เป็นรากฐานของเศรษฐกิจและสังคมไทยเป็นหัวใจสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมซึ่งต้องไปสู่การที่เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงด้านอาชีพย่อมเป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศและเป็นนโยบายหลักของรัฐที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรกว่า 5 ล้านครัวเรือนในทุกอาชีพทั้งประเทศโดยยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นหลักพัฒนาองค์ความรู้สามารถปรับตัวปรับการผลิตแบบยั่งยืนและเป็นภูมิคุมกันให้กับเกษตรกรไทย”นายอภิชาต กล่าว
“ซึ่งความท้าทายดังกล่าวย่อมต้องมีปัญหาและส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ภาคเกษตรของไทยจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ ใน 4 องค์ประกอบเช่นแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจไทยอย่างเหนียวแน่น การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาประเทศอันเป็นวิธีหนึ่งในการยกระดับรายได้ของประชาชนและเป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ การสร้างเขตเศรษฐกิจสีเขียว เช่นเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นคาร์บอนต่ำ สนับสนุนประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และสุดท้ายสำคัญที่สุดตัวเกษตรกรผู้เป็นรากฐานของเศรษฐกิจและสังคมไทยเป็นหัวใจสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมซึ่งต้องไปสู่การที่เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงด้านอาชีพย่อมเป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศและเป็นนโยบายหลักของรัฐที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรกว่า 5 ล้านครัวเรือนในทุกอาชีพทั้งประเทศโดยยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นหลักพัฒนาองค์ความรู้สามารถปรับตัวปรับการผลิตแบบยั่งยืนและเป็นภูมิคุมกันให้กับเกษตรกรไทย”นายอภิชาต กล่าว