ASTVผู้จัดการรายวัน - “กกร.” ถกสรุป 7 มาตรการหลักด้านการเงินและคลังเตรียมเสนอรัฐอุ้มเอสเอ็มอีฝ่าวิกฤตค่าแรง 300 บาทต่อวันบังคับทั่วประเทศ 1 ม.ค. 56 คาดจะสรุปเสนอกรอ.สัปดาห์นี้
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) วันที่ 3 ธ.ค. ว่า กกร.ได้สรุป 7 มาตรการเกี่ยวกับการเงินและคลังที่จะเสนอรัฐบาลเพื่อลดผลกระทบธุรกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)จากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวันทั่วประเทศที่จะมีผล 1 ม.ค. 56 จาก 27 มาตรการและจะเสนอคณะกรรมการร่วมรัฐและเอกชน(กรอ.)ในสัปดาห์นี้เพื่อเสนอครม.ประกาศใช้ให้ทันม.ค.56
สำหรับ 7 มาตรการได้แก่ 1. การลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างฝ่ายละ 5 % เหลือฝ่ายละ 2.5% เป็นเวลา 3 ปีโดยไม่ลดสิทธิของลูกจ้าง 2. ตั้งกองทุนจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการเริ่มจากปี 2556 นายจ้างจ่าย 25% รัฐจ่าย 75% ปี2557 นายจ้างและรัฐจ่ายอย่างละ 50% ปี 2558 นายจ้างจ่าย 75% รัฐจ่าย 25%
3.ลดภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับผู้ประกอบการรับเหมาช่วง จาก 3% เหลือ 0.1% 4.ลดค่าธรรมเนียมเรียกเก็บค่าน้ำประปาให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 50% เป็นระยะเวลา 3 ปี 5.ลดค่าธรรมเนียมห้องพักและที่ตั้งโรงงานให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 50% เป็นระยะเวลา 3 ปี 6.ต่ออายุมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีวงเงิน 2 หมื่นล้านบาท ออกไปอีก 3 ปีจากเดิมที่จะหมดภายในปี 2556 รวมทั้งผ่อนปรนเงิ่นไขในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ และ 7.ลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) 7% ให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถนำมาหักคืนภาษี (รีฟันด์) ได้เป็นระยะเวลา 3 ปี
“ เราจะเน้นช่วยเอสเอ็มอีที่ได้สำรวจถึงผลกระทบค่อนข้างมากซึ่งส่วนใหญ่จะครอบคลุม 29 จังหวัดและเน้นที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 200 ล้านบาทลูกจ้างรวมไม่เกิน 200 คน ส่วนมาตรการอื่นๆคงจะเข้ามาเสริมเพิ่มเติมแต่ 7 มาตรการนี้จะเป็นมาตรการหลักที่ช่วยได้มาก”นายพยุงศักดิ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมกกร.ครั้งนี้ตัวแทนของส.อ.ท.ส่วนของกรรมการมีการปรับเปลี่ยนตามคำสั่งนายพยุงศักดิ์ที่ปรับสายงานใหม่โดยมีนายวัลลภ วิตนากร รองประธานที่เข้ามาดูแลสายแรงงาน และนายทวี ปิยะพัฒนา รองประธานอาวุโสมาดูแลงานสายสภาอุตสาหกรรม ซึ่งเดิมการประชุมจะมีนายธนิต โสรัตน์ และนายสมมาต ขุนเศษฐ เข้าประชุมเป็นส่วนใหญ่
เมื่อผู้สื่อข่าวสอบถามปัญหาความขัดแย้งนายพยุงศักดิ์ไม่ได้ตอบแต่ใดและเมื่อติดต่ออีกฝ่ายก็ไม่รับโทรศัพท์ แต่ส่วนใหญ่ต่างก็ระบุว่าทุกอย่างได้คลี่คลายแล้ว
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) วันที่ 3 ธ.ค. ว่า กกร.ได้สรุป 7 มาตรการเกี่ยวกับการเงินและคลังที่จะเสนอรัฐบาลเพื่อลดผลกระทบธุรกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)จากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวันทั่วประเทศที่จะมีผล 1 ม.ค. 56 จาก 27 มาตรการและจะเสนอคณะกรรมการร่วมรัฐและเอกชน(กรอ.)ในสัปดาห์นี้เพื่อเสนอครม.ประกาศใช้ให้ทันม.ค.56
สำหรับ 7 มาตรการได้แก่ 1. การลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างฝ่ายละ 5 % เหลือฝ่ายละ 2.5% เป็นเวลา 3 ปีโดยไม่ลดสิทธิของลูกจ้าง 2. ตั้งกองทุนจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการเริ่มจากปี 2556 นายจ้างจ่าย 25% รัฐจ่าย 75% ปี2557 นายจ้างและรัฐจ่ายอย่างละ 50% ปี 2558 นายจ้างจ่าย 75% รัฐจ่าย 25%
3.ลดภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับผู้ประกอบการรับเหมาช่วง จาก 3% เหลือ 0.1% 4.ลดค่าธรรมเนียมเรียกเก็บค่าน้ำประปาให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 50% เป็นระยะเวลา 3 ปี 5.ลดค่าธรรมเนียมห้องพักและที่ตั้งโรงงานให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 50% เป็นระยะเวลา 3 ปี 6.ต่ออายุมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีวงเงิน 2 หมื่นล้านบาท ออกไปอีก 3 ปีจากเดิมที่จะหมดภายในปี 2556 รวมทั้งผ่อนปรนเงิ่นไขในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ และ 7.ลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) 7% ให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถนำมาหักคืนภาษี (รีฟันด์) ได้เป็นระยะเวลา 3 ปี
“ เราจะเน้นช่วยเอสเอ็มอีที่ได้สำรวจถึงผลกระทบค่อนข้างมากซึ่งส่วนใหญ่จะครอบคลุม 29 จังหวัดและเน้นที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 200 ล้านบาทลูกจ้างรวมไม่เกิน 200 คน ส่วนมาตรการอื่นๆคงจะเข้ามาเสริมเพิ่มเติมแต่ 7 มาตรการนี้จะเป็นมาตรการหลักที่ช่วยได้มาก”นายพยุงศักดิ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมกกร.ครั้งนี้ตัวแทนของส.อ.ท.ส่วนของกรรมการมีการปรับเปลี่ยนตามคำสั่งนายพยุงศักดิ์ที่ปรับสายงานใหม่โดยมีนายวัลลภ วิตนากร รองประธานที่เข้ามาดูแลสายแรงงาน และนายทวี ปิยะพัฒนา รองประธานอาวุโสมาดูแลงานสายสภาอุตสาหกรรม ซึ่งเดิมการประชุมจะมีนายธนิต โสรัตน์ และนายสมมาต ขุนเศษฐ เข้าประชุมเป็นส่วนใหญ่
เมื่อผู้สื่อข่าวสอบถามปัญหาความขัดแย้งนายพยุงศักดิ์ไม่ได้ตอบแต่ใดและเมื่อติดต่ออีกฝ่ายก็ไม่รับโทรศัพท์ แต่ส่วนใหญ่ต่างก็ระบุว่าทุกอย่างได้คลี่คลายแล้ว