ในการชุมนุมขับไล่รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือ เสธ.อ้าย ประธานองค์การพิทักษ์สยาม เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา และได้จบลงในวันเดียวกัน โดยอ้างเหตุผลในการยุติการชุมนุม 2 ประการ คือ
1. คนมาชุมนุมน้อยกว่าที่ได้ประกาศไว้
2. เพื่อป้องกันอันตรายอันอาจเกิดขึ้นแก่ผู้ชุมนุม
นอกจากเหตุอ้าง 2 ประการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ประธานการชุมนุมยังมีอาการบ่นน้อยใจทหารรุ่นน้องที่ไม่ออกมาช่วยดูแลผู้ชุมนุม และเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ทำตามที่ขอร้องไม่ให้ปิดกั้นผู้มาชุมนุม
ดังนั้น เมื่อสรุปโดยรวมแล้วการชุมนุมได้ยกเลิกไปด้วยเหตุผลและอาการน้อยใจดังกล่าวแล้ว
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนำเหตุอ้างในการเลิกการชุมนุมมาวิเคราะห์โดยใช้ตรรกะแล้วมีเหตุอันหนึ่งควรแก่การนำมาอนุมาน เหตุที่ว่านี้ก็คือ ถ้าคนมาน้อยก็จะเลิกซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ประธานที่ชุมนุมได้พูดไว้ก่อนหน้าจะมีการชุมนุม และจะด้วยเงื่อนไขนี้หรือไม่ที่รัฐบาลสั่งการให้ตำรวจ และฝ่ายปกครองใช้มาตรการกีดกันมิให้คนมาชุมนุม เริ่มตั้งแต่การตั้งด่านตรวจค้น และหาทางชะลอการเดินทางเข้ามาจนทำให้คนต่างจังหวัดมีอันต้องเดินทางเข้ามาไม่ได้ หรือได้ก็ล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น จึงเป็นเสมือนช่วยให้เงื่อนไขการเลิกชุมนุมสอดคล้องกันแทบไม่น่าเชื่อว่าเป็นเรื่องบังเอิญ หรือเหนือการคาดการณ์ของบุคคลผู้ผ่านการวางแผนมาแล้วอย่างโชกโชน
อีกประการหนึ่ง การบ่นถึงการที่ทหารไม่ออกมาช่วยดูแลประชาชน ก็เท่ากับบอกให้รู้เป็นนัยๆ ว่าก่อนหน้าชุมนุมได้มีการตกลงอะไรกันไว้หรือไม่ ถ้าไม่แล้วจะแสดงอาการท้อแท้และผิดหวังได้อย่างไร ถ้ามี มีการตกลงกับใคร และระดับไหน แล้วเหตุใดจึงไม่มา
ทุกอย่างที่หยิบยกขึ้นมาก็เพื่อให้มองเห็นว่าฝ่ายจัดการม็อบขาดประสบการณ์ในการจัดชุมนุม หรือมีประสบการณ์แต่ก็มีสาเหตุบางประการที่ทำให้การตกลงหรือนัดหมายมีอันต้องสะดุด และไม่เป็นไปตามที่ตกลงไว้ นี่ก็เป็นอีกประการหนึ่งที่บ่งบอกถึงการขาดประสบการณ์ในการอนุมานคนในเชิงคุณภาพ
แต่ไม่ว่าประธานการชุมนุมจะบอกเลิกการชุมนุมด้วยเหตุผลใด ผู้เขียนขอยกย่อง พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ด้วยความจริงใจในประเด็นที่ว่า เมื่อรู้ทุกอย่างไม่เป็นไปตามแผน และถ้าปล่อยไปผู้มาชุมนุมจะเป็นอันตรายบาดเจ็บล้มตายเสียหายแล้วได้ไม่คุ้มเสีย จึงได้บอกเลิกการชุมนุม ถือว่ามีความกล้าหาญในการยอมถอยเพื่อรักษาชีวิตผู้มาชุมนุม ถึงแม้ว่ายอมถอยแล้วตนเองจะถูกมองในทางลบบ้างก็ตาม
แต่อย่างไรก็ตาม การที่ม็อบยอมถอยและประธานการชุมนุมอาจเสื่อมถอยศรัทธาในสายตาผู้มาชุมนุม แต่การมาชุมนุมในครั้งนี้ได้ทำให้ประชาชนรับรู้พฤติกรรมอันเป็นธาตุแท้ของรัฐบาลในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การที่รัฐบาลใช้วิธีการลดจำนวนผู้มาชุมนุมด้วยการตั้งด่านขัดขวาง และชะลอการเดินทางโดยการตั้งจุดตรวจ อันเป็นการสร้างความรำคาญและความท้อแท้ให้แก่ประชาชนที่ต้องการมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองด้วยการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ถือได้ว่าเป็นการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพอันเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน
2. เมื่อเปรียบการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีต่อประชาชนในการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่พัทยา และที่กระทรวงมหาดไทยสมัยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับการชุมนุมเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน แล้วจะเห็นได้ว่าเป็นการปฏิบัติสองมาตรฐานชัดเจน คือในกรณีแรกเจ้าหน้าที่ไม่พยายามขัดขวางการกระทำของคนเสื้อแดงอย่างจริงจัง ปล่อยให้กลุ่มคนเสื้อแดงบุกโรงแรมที่พัทยา และบุกทุบรถที่กระทรวงมหาดไทยได้อย่างสะดวกง่ายดายเหมือนไม่มีตำรวจอยู่ แต่ในครั้งนี้ได้ยกกำลังมามากมายมหาศาล ทั้งๆ ที่ผู้ชุมนุมมิได้แสดงท่าทีจะกระทำผิดกฎหมายแต่ประการใด นี่คือสองมาตรฐานอย่างชัดเจน
3. ในการป้องกันการบุกเข้าสถานที่หวงห้ามตามประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคง ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจมิได้ดำเนินการตามมาตรฐานสากลจากเบาไปหาหนัก แต่ลัดขั้นตอนโดยใช้แก๊สน้ำตาแทนที่จะใช้น้ำฉีด และใช้โล่ผลักดันให้ออกไปทำให้คนบาดเจ็บโดยที่ยังหลีกเลี่ยงได้ นี่ก็เป็นการปฏิบัติงานต่ำกว่ามาตรฐานเมื่อเทียบกับสากลทั่วไป
ทั้ง 3 ประการที่ว่ามานี้เป็นการแสดงให้เห็นธาตุแท้ของรัฐบาลว่ามีมาตรฐานในการทำมากน้อยขนาดไหน และเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับประเทศที่เป็นประชาธิปไตยในโลกตะวันตก ที่ทางฝ่ายรัฐบาลอ้างมาตลอดว่ารัฐบาลนี้เป็นประชาธิปไตย เอาเข้าจริงเท่าที่เห็นแล้วเป็นประชาธิปไตยจริงหรือไม่ และมากน้อยแค่ไหน
อีกประการหนึ่ง ในขณะที่ม็อบชุมนุมก็เป็นระยะเวลาใกล้กับที่ฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภา และจากการอภิปรายของฝ่ายค้านก็สามารถนำมารวมกับพฤติกรรมต่อต้านรัฐบาลของผู้ชุมนุมเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ก็จะมีน้ำหนักพอจะบอกได้ว่ารัฐบาลชุดนี้ขาดความชอบธรรมที่จะอยู่บริหารประเทศโดยอ้างความเป็นประชาธิปไตยได้แล้ว ทั้งนี้ด้วยเหตุผลในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. ตลอด 1 ปีกว่าๆ ที่รัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารประเทศภายใต้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่แก้แค้น แต่เน้นแก้ไขนั้น บัดนี้เห็นได้ชัดเจนว่าได้ทำตรงกันข้าม จะเห็นได้จากปฏิบัติการต่างๆ เริ่มจากเร่งดำเนินคดีต่อการเมืองฝ่ายตรงกันข้าม เช่นถอดยศหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน และการดำเนินคดีกับแกนนำพันธมิตรฯ แต่ในทางตรงกันข้ามไม่เร่งรัดคดีของคนเสื้อแดง และที่สำคัญที่สุดก็คือการช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ ให้แก่พวกพ้อง เช่น การคืนพาสปอร์ตให้อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้น ทั้งๆ ที่ความผิดในทางอาญาก็ยังอยู่
2. ความพยายามที่จะออกกฎหมายปรองดอง โดยช่วยการนิรโทษกรรมให้แก่พวกพ้องก็ยังเป็นภารกิจที่รัฐบาลนี้รอจังหวะจะดำเนินการ
ทั้ง 2 ประการนี้ก็เพียงพอที่จะบอกว่า รัฐบาลชุดนี้เข้ามาแก้แค้นมากกว่าแก้ไข
ด้วยเหตุผล 2 ประการที่ว่ามานี้ ผู้เขียนเชื่อว่าการชุมนุมขับไล่รัฐบาลชุดนี้คงไม่จบลงแค่ม็อบเสธ.อ้าย แต่จะยังคงมีม็อบเกิดขึ้นเรื่อยๆ แต่จะเป็นการนำของใครนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในเวลานั้น แต่ทุกม็อบจะมาด้วยเหตุผลเดียวกันคือ ไม่ต้องการให้รัฐบาลที่หมดความชอบธรรมแล้วอยู่บริหารประเทศต่อไป และในที่สุดรัฐบาลชุดนี้คงจะจบลงด้วยการสะดุดขาตัวเองล้ม หรือโชคร้ายก็มีคนมาเหยียบซ้ำ ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากรัฐบาลก่อเงื่อนไขขึ้นมาเองทั้งสิ้น
1. คนมาชุมนุมน้อยกว่าที่ได้ประกาศไว้
2. เพื่อป้องกันอันตรายอันอาจเกิดขึ้นแก่ผู้ชุมนุม
นอกจากเหตุอ้าง 2 ประการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ประธานการชุมนุมยังมีอาการบ่นน้อยใจทหารรุ่นน้องที่ไม่ออกมาช่วยดูแลผู้ชุมนุม และเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ทำตามที่ขอร้องไม่ให้ปิดกั้นผู้มาชุมนุม
ดังนั้น เมื่อสรุปโดยรวมแล้วการชุมนุมได้ยกเลิกไปด้วยเหตุผลและอาการน้อยใจดังกล่าวแล้ว
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนำเหตุอ้างในการเลิกการชุมนุมมาวิเคราะห์โดยใช้ตรรกะแล้วมีเหตุอันหนึ่งควรแก่การนำมาอนุมาน เหตุที่ว่านี้ก็คือ ถ้าคนมาน้อยก็จะเลิกซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ประธานที่ชุมนุมได้พูดไว้ก่อนหน้าจะมีการชุมนุม และจะด้วยเงื่อนไขนี้หรือไม่ที่รัฐบาลสั่งการให้ตำรวจ และฝ่ายปกครองใช้มาตรการกีดกันมิให้คนมาชุมนุม เริ่มตั้งแต่การตั้งด่านตรวจค้น และหาทางชะลอการเดินทางเข้ามาจนทำให้คนต่างจังหวัดมีอันต้องเดินทางเข้ามาไม่ได้ หรือได้ก็ล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น จึงเป็นเสมือนช่วยให้เงื่อนไขการเลิกชุมนุมสอดคล้องกันแทบไม่น่าเชื่อว่าเป็นเรื่องบังเอิญ หรือเหนือการคาดการณ์ของบุคคลผู้ผ่านการวางแผนมาแล้วอย่างโชกโชน
อีกประการหนึ่ง การบ่นถึงการที่ทหารไม่ออกมาช่วยดูแลประชาชน ก็เท่ากับบอกให้รู้เป็นนัยๆ ว่าก่อนหน้าชุมนุมได้มีการตกลงอะไรกันไว้หรือไม่ ถ้าไม่แล้วจะแสดงอาการท้อแท้และผิดหวังได้อย่างไร ถ้ามี มีการตกลงกับใคร และระดับไหน แล้วเหตุใดจึงไม่มา
ทุกอย่างที่หยิบยกขึ้นมาก็เพื่อให้มองเห็นว่าฝ่ายจัดการม็อบขาดประสบการณ์ในการจัดชุมนุม หรือมีประสบการณ์แต่ก็มีสาเหตุบางประการที่ทำให้การตกลงหรือนัดหมายมีอันต้องสะดุด และไม่เป็นไปตามที่ตกลงไว้ นี่ก็เป็นอีกประการหนึ่งที่บ่งบอกถึงการขาดประสบการณ์ในการอนุมานคนในเชิงคุณภาพ
แต่ไม่ว่าประธานการชุมนุมจะบอกเลิกการชุมนุมด้วยเหตุผลใด ผู้เขียนขอยกย่อง พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ด้วยความจริงใจในประเด็นที่ว่า เมื่อรู้ทุกอย่างไม่เป็นไปตามแผน และถ้าปล่อยไปผู้มาชุมนุมจะเป็นอันตรายบาดเจ็บล้มตายเสียหายแล้วได้ไม่คุ้มเสีย จึงได้บอกเลิกการชุมนุม ถือว่ามีความกล้าหาญในการยอมถอยเพื่อรักษาชีวิตผู้มาชุมนุม ถึงแม้ว่ายอมถอยแล้วตนเองจะถูกมองในทางลบบ้างก็ตาม
แต่อย่างไรก็ตาม การที่ม็อบยอมถอยและประธานการชุมนุมอาจเสื่อมถอยศรัทธาในสายตาผู้มาชุมนุม แต่การมาชุมนุมในครั้งนี้ได้ทำให้ประชาชนรับรู้พฤติกรรมอันเป็นธาตุแท้ของรัฐบาลในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การที่รัฐบาลใช้วิธีการลดจำนวนผู้มาชุมนุมด้วยการตั้งด่านขัดขวาง และชะลอการเดินทางโดยการตั้งจุดตรวจ อันเป็นการสร้างความรำคาญและความท้อแท้ให้แก่ประชาชนที่ต้องการมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองด้วยการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ถือได้ว่าเป็นการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพอันเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน
2. เมื่อเปรียบการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีต่อประชาชนในการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่พัทยา และที่กระทรวงมหาดไทยสมัยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับการชุมนุมเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน แล้วจะเห็นได้ว่าเป็นการปฏิบัติสองมาตรฐานชัดเจน คือในกรณีแรกเจ้าหน้าที่ไม่พยายามขัดขวางการกระทำของคนเสื้อแดงอย่างจริงจัง ปล่อยให้กลุ่มคนเสื้อแดงบุกโรงแรมที่พัทยา และบุกทุบรถที่กระทรวงมหาดไทยได้อย่างสะดวกง่ายดายเหมือนไม่มีตำรวจอยู่ แต่ในครั้งนี้ได้ยกกำลังมามากมายมหาศาล ทั้งๆ ที่ผู้ชุมนุมมิได้แสดงท่าทีจะกระทำผิดกฎหมายแต่ประการใด นี่คือสองมาตรฐานอย่างชัดเจน
3. ในการป้องกันการบุกเข้าสถานที่หวงห้ามตามประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคง ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจมิได้ดำเนินการตามมาตรฐานสากลจากเบาไปหาหนัก แต่ลัดขั้นตอนโดยใช้แก๊สน้ำตาแทนที่จะใช้น้ำฉีด และใช้โล่ผลักดันให้ออกไปทำให้คนบาดเจ็บโดยที่ยังหลีกเลี่ยงได้ นี่ก็เป็นการปฏิบัติงานต่ำกว่ามาตรฐานเมื่อเทียบกับสากลทั่วไป
ทั้ง 3 ประการที่ว่ามานี้เป็นการแสดงให้เห็นธาตุแท้ของรัฐบาลว่ามีมาตรฐานในการทำมากน้อยขนาดไหน และเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับประเทศที่เป็นประชาธิปไตยในโลกตะวันตก ที่ทางฝ่ายรัฐบาลอ้างมาตลอดว่ารัฐบาลนี้เป็นประชาธิปไตย เอาเข้าจริงเท่าที่เห็นแล้วเป็นประชาธิปไตยจริงหรือไม่ และมากน้อยแค่ไหน
อีกประการหนึ่ง ในขณะที่ม็อบชุมนุมก็เป็นระยะเวลาใกล้กับที่ฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภา และจากการอภิปรายของฝ่ายค้านก็สามารถนำมารวมกับพฤติกรรมต่อต้านรัฐบาลของผู้ชุมนุมเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ก็จะมีน้ำหนักพอจะบอกได้ว่ารัฐบาลชุดนี้ขาดความชอบธรรมที่จะอยู่บริหารประเทศโดยอ้างความเป็นประชาธิปไตยได้แล้ว ทั้งนี้ด้วยเหตุผลในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. ตลอด 1 ปีกว่าๆ ที่รัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารประเทศภายใต้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่แก้แค้น แต่เน้นแก้ไขนั้น บัดนี้เห็นได้ชัดเจนว่าได้ทำตรงกันข้าม จะเห็นได้จากปฏิบัติการต่างๆ เริ่มจากเร่งดำเนินคดีต่อการเมืองฝ่ายตรงกันข้าม เช่นถอดยศหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน และการดำเนินคดีกับแกนนำพันธมิตรฯ แต่ในทางตรงกันข้ามไม่เร่งรัดคดีของคนเสื้อแดง และที่สำคัญที่สุดก็คือการช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ ให้แก่พวกพ้อง เช่น การคืนพาสปอร์ตให้อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้น ทั้งๆ ที่ความผิดในทางอาญาก็ยังอยู่
2. ความพยายามที่จะออกกฎหมายปรองดอง โดยช่วยการนิรโทษกรรมให้แก่พวกพ้องก็ยังเป็นภารกิจที่รัฐบาลนี้รอจังหวะจะดำเนินการ
ทั้ง 2 ประการนี้ก็เพียงพอที่จะบอกว่า รัฐบาลชุดนี้เข้ามาแก้แค้นมากกว่าแก้ไข
ด้วยเหตุผล 2 ประการที่ว่ามานี้ ผู้เขียนเชื่อว่าการชุมนุมขับไล่รัฐบาลชุดนี้คงไม่จบลงแค่ม็อบเสธ.อ้าย แต่จะยังคงมีม็อบเกิดขึ้นเรื่อยๆ แต่จะเป็นการนำของใครนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในเวลานั้น แต่ทุกม็อบจะมาด้วยเหตุผลเดียวกันคือ ไม่ต้องการให้รัฐบาลที่หมดความชอบธรรมแล้วอยู่บริหารประเทศต่อไป และในที่สุดรัฐบาลชุดนี้คงจะจบลงด้วยการสะดุดขาตัวเองล้ม หรือโชคร้ายก็มีคนมาเหยียบซ้ำ ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากรัฐบาลก่อเงื่อนไขขึ้นมาเองทั้งสิ้น