วานนี้ ( 28 พ.ย.) นายบวร ยสินทร ประธานกลุ่มราษฎรอาสาปกป้อง 3 สถาบัน ในฐานะภาคีเครือข่ายองค์การพิทักษ์สยาม ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชน ขอให้ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง เพื่อเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลปกครองว่า กฎ คำสั่ง และการประกาศใช้มาตรการตาม พ.ร.บ.ความมั่นคง เป็นประกาศที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งได้มีการขัดขวางการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ และมีการดำเนินการด้วยความรุนแรงต่อผุ้ชุมนุม ที่ไม่เป็นไปตามหลักปฏิบัติสากล และขอให้ดำเนินการเอาผิดกับ นายกรัฐมนตรี ครม. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่รัฐระดับผู้บังคับบัญชาทั้งหมด
นายบวร กล่าวว่า การประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงของรัฐบาลล่วงหน้า ก่อนที่จะมีการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยามในวันที่ 24 พ.ย. นั้น ด้วยการอ้างข้อมูลที่เลื่อนลอยไม่อาจกระทำได้ และเกินสมควรแก่เหตุ สร้างความตื่นตระหนกแก่สังคมโดยรวม มีลักษณะกระทำเพื่อความมั่นคงของรัฐบาลเองด้วยการขัดขวางการชุมนุมทุกวิถีทาง ขณะที่การควบคุมการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก็ไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่เป็นสากล ทำให้ประชาชนและผู้ชุมนุมได้รับผลกระทบถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ จึงขอให้กรรมการสิทธิมนุษยชนเร่งตรวจสอบ
ขณะเดียวกัน น.ส.พิชญ์สินี พิพลัชภามล กับพวก ซึ่งเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม และเป็นผู้ได้รับบาดเจ็บ ก็ได้เข้าร้องต่อกรรมการสิทธิมนุษยชน ขอให้ตรวจสอบรัฐบาลกรณีการประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงโดยเห็นว่าเหตุผลในการประกาศใช้มาตรการดังกล่าวของรัฐบาลเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง โดยมีเจตนาเพื่อใช้กฎหมายดังกล่าวขัดขวางสร้างอุปสรรคในการใช้สิทธิเสรีภาพประชาชนในการชุมนุม มีเจตนาละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง
ด้านนพ.นิรันดร์ กล่าวว่า จะทำจดหมายเชิญหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี องค์การพิทักษ์สยาม และสื่อมวลชน มาชี้แจงข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมืองที่ตนเองเป็นประธานในวันที่ 7 ธ.ค.เวลา 13.00 น. ซึ่งการไต่สวนหาข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว คาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน และหากข้อเท็จจริงที่รวบรวมพบว่า เจ้าหน้าที่ได้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการประกาศใช้กฎหมายเป็นไปโดยไม่ชอบ ตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างจริง ทางกรรมการสิทธิฯ ก็จะส่งข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรายงานให้ทราบถึงผลการกระทำที่อาจจะไม่เหมาะสม รวมถึงส่งความเห็นไปยังศาลปกครอง หรือศาลรัฐธรรมนูญให้ดำเนินการต่อไป อีกทั้งสามารถดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรมในฐานะผู้แทนผู้เสียหายได้เช่นกัน
อย่างไรตาม ทราบว่าในเร็ว ๆนี้ทางสมาคมนักข่าวและนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยก็จะได้มีการยื่นร้องต่อกรรมการสิทธิมนุษยชนให้ตรวจสอบในประเด็นเดียวกันกรณีกลุ่มสื่อมวลชนถูกละเมิดสิทธิ จากการถูกควบคุมตัวขณะปฏิบัติหน้าที่ในการนำเสนอข่าวการชุมนุม
**ส.นักข่าวฯร้องกมธ.สิทธิมนุษยชน
นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า วันนี้ (29พ.ย.) เวลา 13.00 น. จะเข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ควบคุมดูแลการชุมนุน กระทำที่เกินกว่าเหตุ และเป็นการคุกคามสิทธิเสรีภาพในการปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน และส่งผลให้ผู้สื่อข่าวได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์การชุมนุมเมื่อวันที่ 24 พ.ย.ที่ผ่านมา
นายบวร กล่าวว่า การประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงของรัฐบาลล่วงหน้า ก่อนที่จะมีการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยามในวันที่ 24 พ.ย. นั้น ด้วยการอ้างข้อมูลที่เลื่อนลอยไม่อาจกระทำได้ และเกินสมควรแก่เหตุ สร้างความตื่นตระหนกแก่สังคมโดยรวม มีลักษณะกระทำเพื่อความมั่นคงของรัฐบาลเองด้วยการขัดขวางการชุมนุมทุกวิถีทาง ขณะที่การควบคุมการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก็ไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่เป็นสากล ทำให้ประชาชนและผู้ชุมนุมได้รับผลกระทบถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ จึงขอให้กรรมการสิทธิมนุษยชนเร่งตรวจสอบ
ขณะเดียวกัน น.ส.พิชญ์สินี พิพลัชภามล กับพวก ซึ่งเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม และเป็นผู้ได้รับบาดเจ็บ ก็ได้เข้าร้องต่อกรรมการสิทธิมนุษยชน ขอให้ตรวจสอบรัฐบาลกรณีการประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงโดยเห็นว่าเหตุผลในการประกาศใช้มาตรการดังกล่าวของรัฐบาลเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง โดยมีเจตนาเพื่อใช้กฎหมายดังกล่าวขัดขวางสร้างอุปสรรคในการใช้สิทธิเสรีภาพประชาชนในการชุมนุม มีเจตนาละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง
ด้านนพ.นิรันดร์ กล่าวว่า จะทำจดหมายเชิญหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี องค์การพิทักษ์สยาม และสื่อมวลชน มาชี้แจงข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมืองที่ตนเองเป็นประธานในวันที่ 7 ธ.ค.เวลา 13.00 น. ซึ่งการไต่สวนหาข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว คาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน และหากข้อเท็จจริงที่รวบรวมพบว่า เจ้าหน้าที่ได้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการประกาศใช้กฎหมายเป็นไปโดยไม่ชอบ ตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างจริง ทางกรรมการสิทธิฯ ก็จะส่งข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรายงานให้ทราบถึงผลการกระทำที่อาจจะไม่เหมาะสม รวมถึงส่งความเห็นไปยังศาลปกครอง หรือศาลรัฐธรรมนูญให้ดำเนินการต่อไป อีกทั้งสามารถดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรมในฐานะผู้แทนผู้เสียหายได้เช่นกัน
อย่างไรตาม ทราบว่าในเร็ว ๆนี้ทางสมาคมนักข่าวและนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยก็จะได้มีการยื่นร้องต่อกรรมการสิทธิมนุษยชนให้ตรวจสอบในประเด็นเดียวกันกรณีกลุ่มสื่อมวลชนถูกละเมิดสิทธิ จากการถูกควบคุมตัวขณะปฏิบัติหน้าที่ในการนำเสนอข่าวการชุมนุม
**ส.นักข่าวฯร้องกมธ.สิทธิมนุษยชน
นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า วันนี้ (29พ.ย.) เวลา 13.00 น. จะเข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ควบคุมดูแลการชุมนุน กระทำที่เกินกว่าเหตุ และเป็นการคุกคามสิทธิเสรีภาพในการปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน และส่งผลให้ผู้สื่อข่าวได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์การชุมนุมเมื่อวันที่ 24 พ.ย.ที่ผ่านมา