วานนี้(26 พ.ย.55) นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงยุติธรรมไทยและสำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (เอฟบีไอ) เพื่อทำระบบฐานข้อมูลสารพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) โดยโครงการดังกล่าวจะมีสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กรมราชทัณฑ์ร่วมจัดเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากผู้ต้องขังที่สมัครใจ ซึ่งตั้งเป้าว่าภายใน 3 ปีนับจากนี้จะมีตัวอย่างดีเอ็นเอจากผู้ต้องขังประมาณ 100,000 คน ถูกจัดเก็บในฐานข้อมูลความปลอดภัยของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งฐานข้อมูลดีเอ็นเอเหล่านี้จะนำมาใช้เปรียบเทียบกับดีเอ็นเอในที่เกิดเหตุอาชญากรรมและรูปแบบสารพันธุกรรมที่พบจะถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลลักษณะเดียวกันโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นอกจากนี้ระบบข้อมูลสารพันธุกรรมจะช่วยในการระบุตัวและจับอาชญากรกระทำผิดร้ายแรงของประเทศมาลงโทษ รวมทั้งคุ้มครองประชาชนให้รอดพ้นจากภัยอาชญากรรมได้
ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงเหตุที่จำเป็นต้องทำฐานข้อมูล เพราะจากนี้ประเทศไทยต้องมีกฎหมายอนุญาตให้ทำการจัดเก็บสารพันธุกรรมจากบุคคลบางกลุ่ม ซึ่งจำเป็นต้องออกกฎหมายรองรับและจัดทำงบประมาณในการจัดทำระบบฐานข้อมูลดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มี 44 ประเทศ ประกอบด้วย จีน มาเลเซีย สิงค์โปร์ ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น ได้ผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้แล้วและมีการจัดทำข้อมูลสารพันธุกรรมแห่งชาติ ทั้งนี้ ส่วนประกอบหลักที่จะทำให้นำฐานข้อมูลมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพคือการนำระบบซอฟแวร์ CODIS DNA ซึ่งระบบดังกล่าวพัฒนามาจากเอฟบีไอมาใช้เป็นมาตรฐานสากลสำหรับซอฟแวร์ระบบที่ขณะนี้ใช้กันอยู่ใน 39 ประเทศ ซึ่งระบบดังกล่าวจะจับคู่ระหว่างข้อมูลจากฐานข้อมูลสารพันธุกรรมกับสารพันธุกรรมของผู้ต้องหาและสารพันธุกรรมที่พบในสถานที่เกิดเหตุได้อย่างแม่นยำ ดังนั้น กระทรวงยุติธรรมจึงได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่างสถาบันนิติวิทย์ฯและเอฟบีไอ ทำให้ไทยสามารถใช้ระบบ CODIS DNA ได้ โดยไทยจะเป็นประเทศที่ 41 ที่ใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าว
ด้านพญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ระบบซอฟต์แวร์ดังกล่าวไม่ได้ช่วยคลี่คลายคดีและป้องกันการเกิดอาชญากรรมรุนแรงเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถติดตามพวกลักลอบค้ามนุษย์และติดตามบุคคลสูญหาย รวมทั้งช่วยเหลือผู้บริสุทธิ์ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อถูกกล่าวหาซึ่งถือเป็นหลักปฏิบัติของรัฐบาลทุกประเทศ โดย CODIS DNA มีคุณสมบัติพิเศษที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้สารพันธุกรรมในการระบุผู้สูญหายและซากชิ้นส่วนจากร่างกายได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้วิธีการจับคู่ดีเอ็นเอ
ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงเหตุที่จำเป็นต้องทำฐานข้อมูล เพราะจากนี้ประเทศไทยต้องมีกฎหมายอนุญาตให้ทำการจัดเก็บสารพันธุกรรมจากบุคคลบางกลุ่ม ซึ่งจำเป็นต้องออกกฎหมายรองรับและจัดทำงบประมาณในการจัดทำระบบฐานข้อมูลดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มี 44 ประเทศ ประกอบด้วย จีน มาเลเซีย สิงค์โปร์ ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น ได้ผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้แล้วและมีการจัดทำข้อมูลสารพันธุกรรมแห่งชาติ ทั้งนี้ ส่วนประกอบหลักที่จะทำให้นำฐานข้อมูลมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพคือการนำระบบซอฟแวร์ CODIS DNA ซึ่งระบบดังกล่าวพัฒนามาจากเอฟบีไอมาใช้เป็นมาตรฐานสากลสำหรับซอฟแวร์ระบบที่ขณะนี้ใช้กันอยู่ใน 39 ประเทศ ซึ่งระบบดังกล่าวจะจับคู่ระหว่างข้อมูลจากฐานข้อมูลสารพันธุกรรมกับสารพันธุกรรมของผู้ต้องหาและสารพันธุกรรมที่พบในสถานที่เกิดเหตุได้อย่างแม่นยำ ดังนั้น กระทรวงยุติธรรมจึงได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่างสถาบันนิติวิทย์ฯและเอฟบีไอ ทำให้ไทยสามารถใช้ระบบ CODIS DNA ได้ โดยไทยจะเป็นประเทศที่ 41 ที่ใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าว
ด้านพญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ระบบซอฟต์แวร์ดังกล่าวไม่ได้ช่วยคลี่คลายคดีและป้องกันการเกิดอาชญากรรมรุนแรงเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถติดตามพวกลักลอบค้ามนุษย์และติดตามบุคคลสูญหาย รวมทั้งช่วยเหลือผู้บริสุทธิ์ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อถูกกล่าวหาซึ่งถือเป็นหลักปฏิบัติของรัฐบาลทุกประเทศ โดย CODIS DNA มีคุณสมบัติพิเศษที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้สารพันธุกรรมในการระบุผู้สูญหายและซากชิ้นส่วนจากร่างกายได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้วิธีการจับคู่ดีเอ็นเอ