ASTVผู้จัดการรายวัน - ศุลกากรงัดมาตรการดึงผู้ประกอบการส่งออก- นำเข้าหันมาใช้ระบบ AEO รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หวังอำนวยความสะดวกพิธีการศุลกากรรวดเร็วยิ่งขึ้น
นางเบญจา หลุยเจริญ อธิบดี กรมศุลกากร เปิดเผยว่า กรมศุลกากรอยู่ระหว่างการดึงผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้า รวมถึงผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนศุลกากรเข้ามาอยู่ในระบบการรับรองผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าตลอดห่วงโซ่อุปทาน(AEO) ว่ามีการดำเนินงานที่ปลอดภัยและได้รับการรับรองจากศุลกากรว่าได้ปฏิบัติตามมาตรฐานขององค์การศุลกากรโลก(WCO)ที่ได้กำหนดกรอบมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยและการอำนวยความสะดวกทางการค้าโลก หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมการที่สหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกทางการค้าตลอดเส้นทางการขนส่ง
โดยผู้ประกอบการได้รับมาตรฐาน AEOจากกรมศุลกากร จะทำให้ไม่ต้องเสียเวลาลอยเรือรอขนสินค้าระหว่างรอการตรวจสอบจากศุลกากรแต่ละประเทศที่มีการส่งออกและนำเข้า เพราะเป็นการรับรองว่า สินค้าได้ผ่านมาตรฐานตั้งแต่ต้นทางการผลิตจนจบกระบวนการ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ประกอบการได้รับในอนุญาตเออีโอแล้ว 17 ราย และอยู่ระหว่างการดำเนินการอีกหลายราย ซึ่งตามแผนงานแล้วต้องการให้ผู้ประกอบการทุกรายได้รับเออีโอก่อนที่ไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)ในปี 2558 เพื่อความสะดวกทางการค้า
“กรมศุลกากรจะต้องมีการลงนามความร่วมมือกับประเทศต่างๆที่จะยึดถือหลักAEO เพื่อให้สินค้าที่จะเข้าออกแต่ละประเทศสะดวกขึ้น แต่ก่อนจะลงนามกับประเทศใด จะต้องมีผู้ประกอบการที่ได้รับการรับอรองเออีซีมากพอ เพื่อไม่ให้ไทยต้องเสียเปรียบในข้อตกลง กรมศุลกากรจึงมีแผนที่จะไม่ต่ออายุสิทธิพิเศษต่างๆที่เคยให้กับผู้ประกอบการที่ได้บัตรทองและในอนุญาตตัวแทน เพื่อให้ผู้ประกอบการเหล่านั้นหันมาปฏิบัติตามาตรฐานเออีโอแทน เพราะเป็นมาตรฐานที่สากล และไม่ได้เสียสิทธิเดิมๆที่เคยได้ รวมถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายของประกอบการเองก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก เพียงแต่ผู้ประกอบการอาจจะยังไม่รู้” นางเบญจากล่าว
นางเบญจากล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่ได้รับบัตรทอง 249 ราย และใบอนุญาตเป็นตัวแทน รวมกันประมาณ 400 ราย หากผู้ประกอบการเหล่านนี้หันมาปฏิบัติจามมาตรฐาน เพื่อให้ได้รับรองเออีโอ แล้วก็จะทำมากพอลงนามกับประเทศต่างๆได้ โดยคาดว่า จะเริ่มที่ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และมาเลเซีย ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีการค้าขายมากในขณะนี้ จะเพิ่มความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสินค้า จากนั้นจึงจะขยายไปยังสหรัฐอเมริกาและยุโรป
นางเบญจา หลุยเจริญ อธิบดี กรมศุลกากร เปิดเผยว่า กรมศุลกากรอยู่ระหว่างการดึงผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้า รวมถึงผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนศุลกากรเข้ามาอยู่ในระบบการรับรองผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าตลอดห่วงโซ่อุปทาน(AEO) ว่ามีการดำเนินงานที่ปลอดภัยและได้รับการรับรองจากศุลกากรว่าได้ปฏิบัติตามมาตรฐานขององค์การศุลกากรโลก(WCO)ที่ได้กำหนดกรอบมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยและการอำนวยความสะดวกทางการค้าโลก หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมการที่สหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกทางการค้าตลอดเส้นทางการขนส่ง
โดยผู้ประกอบการได้รับมาตรฐาน AEOจากกรมศุลกากร จะทำให้ไม่ต้องเสียเวลาลอยเรือรอขนสินค้าระหว่างรอการตรวจสอบจากศุลกากรแต่ละประเทศที่มีการส่งออกและนำเข้า เพราะเป็นการรับรองว่า สินค้าได้ผ่านมาตรฐานตั้งแต่ต้นทางการผลิตจนจบกระบวนการ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ประกอบการได้รับในอนุญาตเออีโอแล้ว 17 ราย และอยู่ระหว่างการดำเนินการอีกหลายราย ซึ่งตามแผนงานแล้วต้องการให้ผู้ประกอบการทุกรายได้รับเออีโอก่อนที่ไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)ในปี 2558 เพื่อความสะดวกทางการค้า
“กรมศุลกากรจะต้องมีการลงนามความร่วมมือกับประเทศต่างๆที่จะยึดถือหลักAEO เพื่อให้สินค้าที่จะเข้าออกแต่ละประเทศสะดวกขึ้น แต่ก่อนจะลงนามกับประเทศใด จะต้องมีผู้ประกอบการที่ได้รับการรับอรองเออีซีมากพอ เพื่อไม่ให้ไทยต้องเสียเปรียบในข้อตกลง กรมศุลกากรจึงมีแผนที่จะไม่ต่ออายุสิทธิพิเศษต่างๆที่เคยให้กับผู้ประกอบการที่ได้บัตรทองและในอนุญาตตัวแทน เพื่อให้ผู้ประกอบการเหล่านั้นหันมาปฏิบัติตามาตรฐานเออีโอแทน เพราะเป็นมาตรฐานที่สากล และไม่ได้เสียสิทธิเดิมๆที่เคยได้ รวมถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายของประกอบการเองก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก เพียงแต่ผู้ประกอบการอาจจะยังไม่รู้” นางเบญจากล่าว
นางเบญจากล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่ได้รับบัตรทอง 249 ราย และใบอนุญาตเป็นตัวแทน รวมกันประมาณ 400 ราย หากผู้ประกอบการเหล่านนี้หันมาปฏิบัติจามมาตรฐาน เพื่อให้ได้รับรองเออีโอ แล้วก็จะทำมากพอลงนามกับประเทศต่างๆได้ โดยคาดว่า จะเริ่มที่ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และมาเลเซีย ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีการค้าขายมากในขณะนี้ จะเพิ่มความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสินค้า จากนั้นจึงจะขยายไปยังสหรัฐอเมริกาและยุโรป