วานนี้ (15 พ.ย.) ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.ต.ท.ถวัล มั่งคั่ง หัวหน้าคณะพนักงานสอบสวน คดีทุจริตจัดซื้อครุภัณฑ์อาชีวะ ตามโครงการไทยเข้มแข็ง ระยะที่ 2 หรือ เอสพี 2 ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กล่าวถึง กรณีที่ได้ออกหมายเรียกผู้เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวจำนวน 4 ราย ได้แก่ นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ อดีต รมว.ศึกษาธิการ น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ อดีตรมช.ศึกษาธิการ นายเจี่ยง วงศ์สวัสดิ์สุริยะ ผอ.สำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา และ นายบำรุง อร่ามเรือง ผอ.วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา เข้าให้ปากคำในวันที่ 15 พ.ย. ว่า นายชินวรณ์ ได้มอบหมายให้ทนายความเข้าพบพนักงานสอบสวน เพื่อยื่นหนังสือขอเลื่อนการให้ปากคำ เป็นช่วงปลายเดือนนี้ โดยให้เหตุผลว่า ได้รับหมายเรียกในเวลากระชั้นชิด จึงขอเวลาเตรียมเอกสารชี้แจง ดังนั้น พนักงานสอบสวน จะประชุมเพื่อกำหนดวันนัดเข้าให้ปากคำอีกครั้ง
ส่วนที่เหลืออีก 3 ราย ดีเอสไอ ยังไม่ได้รับการติดต่อว่าจะเข้าให้ปากคำหรือไม่ โดยดีเอสไอกำหนดให้นายเจี่ยง และนายบำรุงเข้าให้ปากคำในเวลา 14.00 น. (15 พ.ย.) อย่างไรก็ตาม หากไม่มาตามหมายเรียก พนักงานสอบสวนจะออกหมายเรียกให้เข้าพบอีกครั้ง และหากยังไม่มาตามกำหนดนัดหมาย พนักงานสอบสวนจะส่งสำนวนให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รับไปดำเนินการต่อ เพราะมีกรอบกำหนดเวลาที่ดีเอสไอ ต้องส่งสำนวนให้ป.ป.ช. ภายใน 30 วัน
ด้านนายชินวรณ์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ตนพร้อมที่จะเข้าให้ข้อมูลต่อดีเอสไอ ในทุกกรณี ซึ่งทางดีเอสไอ ได้ขอเอกสารหลักฐานต่างๆจากตน ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องรวบรวมเอกสาร หลักฐาน ที่อยู่ในความครอบครองของกระทรวงศึกษาฯ ซึ่งตนจะทำหนังสือขอเอกสารจากระทรวงศึกษาธิการก่อน จึงได้ขอเลื่อนการส่งเอกสารหลักฐานให้กับดีเอสไอ ออกไปก่อน ส่วนการเข้าไปชี้แจงนั้นตนก็พร้อม แต่ในขณะนี้อยู่ในระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎร และเตรียมความพร้อมในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
"ผมขอยืนยันในความบริสุทธิ์ เพราะโครงการดังกล่าว เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2552 ก่อนที่ผมจะเข้ามารับตำแหน่ง เมื่อเข้ามาเป็น รมว.ศธ. ได้ออกคำสั่งที่ 54/2553 มอบอำนาจให้ น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ อดีต รมช.ศึกษาฯ มีอำนาจสั่งการแทนกำกับดูแล สำนักงานคณะกรรมการอาชีวะศึกษา และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นการมอบอำนาจเด็ดขาด ซึ่งคิดว่ารายละเอียดและกระบวนการขั้นตอน น.ส.นริศรา และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาชีวะศึกษา ในขณะนั้น จะเป็นชี้แจงรายละเอียดได้ดีกว่าผม" นายชินวรณ์ กล่าว
**ข้องใจดีเอสไอไม่เรียก"ศศิธารา"
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนั้นมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน เนื่องจากมีเรื่องร้องเรียนการทุจิต เหตุใดไม่ระงับโครงการกลับเดินหน้าจัดซื้อครุภัณฑ์ต่อ นายชินวรณ์ กล่าวว่า ผลการตรวจสอบไม่ได้มีการยืนยันเรื่องของการทุจริต แต่มีความผิดปกติบางอย่าง ตนก็ให้ตั้งให้นิติการกระทรวงดำเนินการต่อ แต่โครงการดังกล่าวก็ต้องเดินหน้า เหตุเพราะยังไม่มีการจัดซื้อจัดจ้าง อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ ยืนยันว่า ตนไม่เกี่ยวข้อง
รายงานข่าวแจ้งว่า นายชินวรณ์ กำลังทำหนังสือขอเอกสารการลงนามของตนเองในโครงการดังกล่าวหลายฉบับ ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการ เพื่อนำมาชี้แจงต่อดีเอสไอ นอกจากนี้นายชินวรณ์ ยังตั้งข้อสงสัยว่า เหตุใดดีเอสไอ ไม่แจ้งข้อกล่าวหากับ น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะอดีตสำนักงานคณะกรรมการอาชีวะ(สอศ.) เนื่องจาก น.ส.ศศิธารา เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง
**นริศรายังไม่ได้รับหนังสือเรียกตัว
น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ อดีต รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนยังไม่ได้รับหนังสือเรียกดังกล่าวจากพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ หากประสงค์จะเรียกไปให้ถ้อยคำ ตนก็พร้อมจะให้ความร่วมมือ เพราะมั่นใจว่า มิได้กระทำผิดดังที่มีการกล่าวหา ขอให้ส่งหนังสือนัดหมายอย่างเป็นทางการมาให้ตนอีกครั้ง การที่ตนทราบข่าวนี้จากสื่อสารมวลชน คงไม่ใช่เป็นการเรียกอย่างเป็นทางการตามกฎหมาย เพราะยังไม่ทราบว่า ต้องการทราบข้อมูลและต้องการหลักฐานในประเด็นใดบ้าง จะได้เตรียมจัดไปให้ถูกต้อง เพื่อพิสูจน์ว่า ตนเองมิได้มีส่วนเกี่ยวข้อง
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ทำหนังสือถึง ดีเอสไอ เพื่อขอข้อมูลแล้ว คาดว่าน่าจะได้คำตอบมาในเร็วๆ นี้ ส่วนการสอบสวนทางวินัย ที่มีการดำเนินการอยู่นั้นก็ให้ทำต่อไป โดยยืนยันจะทำเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา
เมื่อถามว่าก่อนหน้านั้น ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีต รมว.ศึกษาธิการ เคยได้ตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดซื้อครุภัณฑ์อาชีวศึกษา มีปลัดยุติธรรมเป็นประธาน ซึ่งผลการสอบสวนดังกล่าวยังไม่เคยมีการเปิดเผย โดยอดีต รมว.ศึกษาธิการ บอกเพียงว่า ได้ส่งไปยังนายกรัฐมนตรีแล้ว นายพงศ์เทพ กล่าวว่า ตนยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว และยังไม่มีโอกาสได้คุยกับนายกรัฐมนตรีในเรื่องนี้ แต่ขอให้ทำความเข้าใจว่า การสอบสวนของดีเอสไอ เป็นการสอบสวนทางอาญาเท่านั้น แต่การสอบทางวินัย อาจจะมีชื่อผู้ที่ต้องถูกสอบทางวินัยมากกว่าที่ดีเอสไอระบุก็ได้
ด้านนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า สอศ. ได้ทำหนังสือถึงดีเอสไอ เพื่อขอข้อมูลแล้ว หากได้ข้อมูลมา ก็จะมาพิจารณาว่ามีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดทางวินัยหรือไม่ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป หากข้อมูลของ ดีเอสไอ ชี้ว่ามีมูลความผิดทางวินัยด้วย ก็จะตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย
อย่างไรก็ตาม เท่าที่ดูกรณีดังกล่าวอาจไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงก็ได้ เนื่องจากที่ผ่านมามีการตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงมาหลายคณะแล้ว ส่วนที่จะให้ข้าราชการทั้ง 2 ออกจากราชการก่อนหรือไม่ รมว.ศึกษาธิการ บอกกับตนว่าให้รอข้อมูลจากดีเอสไอก่อน เพราะต้องให้ความเป็นธรรมกับข้าราชการด้วย
ส่วนที่เหลืออีก 3 ราย ดีเอสไอ ยังไม่ได้รับการติดต่อว่าจะเข้าให้ปากคำหรือไม่ โดยดีเอสไอกำหนดให้นายเจี่ยง และนายบำรุงเข้าให้ปากคำในเวลา 14.00 น. (15 พ.ย.) อย่างไรก็ตาม หากไม่มาตามหมายเรียก พนักงานสอบสวนจะออกหมายเรียกให้เข้าพบอีกครั้ง และหากยังไม่มาตามกำหนดนัดหมาย พนักงานสอบสวนจะส่งสำนวนให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รับไปดำเนินการต่อ เพราะมีกรอบกำหนดเวลาที่ดีเอสไอ ต้องส่งสำนวนให้ป.ป.ช. ภายใน 30 วัน
ด้านนายชินวรณ์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ตนพร้อมที่จะเข้าให้ข้อมูลต่อดีเอสไอ ในทุกกรณี ซึ่งทางดีเอสไอ ได้ขอเอกสารหลักฐานต่างๆจากตน ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องรวบรวมเอกสาร หลักฐาน ที่อยู่ในความครอบครองของกระทรวงศึกษาฯ ซึ่งตนจะทำหนังสือขอเอกสารจากระทรวงศึกษาธิการก่อน จึงได้ขอเลื่อนการส่งเอกสารหลักฐานให้กับดีเอสไอ ออกไปก่อน ส่วนการเข้าไปชี้แจงนั้นตนก็พร้อม แต่ในขณะนี้อยู่ในระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎร และเตรียมความพร้อมในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
"ผมขอยืนยันในความบริสุทธิ์ เพราะโครงการดังกล่าว เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2552 ก่อนที่ผมจะเข้ามารับตำแหน่ง เมื่อเข้ามาเป็น รมว.ศธ. ได้ออกคำสั่งที่ 54/2553 มอบอำนาจให้ น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ อดีต รมช.ศึกษาฯ มีอำนาจสั่งการแทนกำกับดูแล สำนักงานคณะกรรมการอาชีวะศึกษา และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นการมอบอำนาจเด็ดขาด ซึ่งคิดว่ารายละเอียดและกระบวนการขั้นตอน น.ส.นริศรา และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาชีวะศึกษา ในขณะนั้น จะเป็นชี้แจงรายละเอียดได้ดีกว่าผม" นายชินวรณ์ กล่าว
**ข้องใจดีเอสไอไม่เรียก"ศศิธารา"
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนั้นมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน เนื่องจากมีเรื่องร้องเรียนการทุจิต เหตุใดไม่ระงับโครงการกลับเดินหน้าจัดซื้อครุภัณฑ์ต่อ นายชินวรณ์ กล่าวว่า ผลการตรวจสอบไม่ได้มีการยืนยันเรื่องของการทุจริต แต่มีความผิดปกติบางอย่าง ตนก็ให้ตั้งให้นิติการกระทรวงดำเนินการต่อ แต่โครงการดังกล่าวก็ต้องเดินหน้า เหตุเพราะยังไม่มีการจัดซื้อจัดจ้าง อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ ยืนยันว่า ตนไม่เกี่ยวข้อง
รายงานข่าวแจ้งว่า นายชินวรณ์ กำลังทำหนังสือขอเอกสารการลงนามของตนเองในโครงการดังกล่าวหลายฉบับ ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการ เพื่อนำมาชี้แจงต่อดีเอสไอ นอกจากนี้นายชินวรณ์ ยังตั้งข้อสงสัยว่า เหตุใดดีเอสไอ ไม่แจ้งข้อกล่าวหากับ น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะอดีตสำนักงานคณะกรรมการอาชีวะ(สอศ.) เนื่องจาก น.ส.ศศิธารา เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง
**นริศรายังไม่ได้รับหนังสือเรียกตัว
น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ อดีต รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนยังไม่ได้รับหนังสือเรียกดังกล่าวจากพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ หากประสงค์จะเรียกไปให้ถ้อยคำ ตนก็พร้อมจะให้ความร่วมมือ เพราะมั่นใจว่า มิได้กระทำผิดดังที่มีการกล่าวหา ขอให้ส่งหนังสือนัดหมายอย่างเป็นทางการมาให้ตนอีกครั้ง การที่ตนทราบข่าวนี้จากสื่อสารมวลชน คงไม่ใช่เป็นการเรียกอย่างเป็นทางการตามกฎหมาย เพราะยังไม่ทราบว่า ต้องการทราบข้อมูลและต้องการหลักฐานในประเด็นใดบ้าง จะได้เตรียมจัดไปให้ถูกต้อง เพื่อพิสูจน์ว่า ตนเองมิได้มีส่วนเกี่ยวข้อง
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ทำหนังสือถึง ดีเอสไอ เพื่อขอข้อมูลแล้ว คาดว่าน่าจะได้คำตอบมาในเร็วๆ นี้ ส่วนการสอบสวนทางวินัย ที่มีการดำเนินการอยู่นั้นก็ให้ทำต่อไป โดยยืนยันจะทำเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา
เมื่อถามว่าก่อนหน้านั้น ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีต รมว.ศึกษาธิการ เคยได้ตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดซื้อครุภัณฑ์อาชีวศึกษา มีปลัดยุติธรรมเป็นประธาน ซึ่งผลการสอบสวนดังกล่าวยังไม่เคยมีการเปิดเผย โดยอดีต รมว.ศึกษาธิการ บอกเพียงว่า ได้ส่งไปยังนายกรัฐมนตรีแล้ว นายพงศ์เทพ กล่าวว่า ตนยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว และยังไม่มีโอกาสได้คุยกับนายกรัฐมนตรีในเรื่องนี้ แต่ขอให้ทำความเข้าใจว่า การสอบสวนของดีเอสไอ เป็นการสอบสวนทางอาญาเท่านั้น แต่การสอบทางวินัย อาจจะมีชื่อผู้ที่ต้องถูกสอบทางวินัยมากกว่าที่ดีเอสไอระบุก็ได้
ด้านนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า สอศ. ได้ทำหนังสือถึงดีเอสไอ เพื่อขอข้อมูลแล้ว หากได้ข้อมูลมา ก็จะมาพิจารณาว่ามีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดทางวินัยหรือไม่ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป หากข้อมูลของ ดีเอสไอ ชี้ว่ามีมูลความผิดทางวินัยด้วย ก็จะตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย
อย่างไรก็ตาม เท่าที่ดูกรณีดังกล่าวอาจไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงก็ได้ เนื่องจากที่ผ่านมามีการตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงมาหลายคณะแล้ว ส่วนที่จะให้ข้าราชการทั้ง 2 ออกจากราชการก่อนหรือไม่ รมว.ศึกษาธิการ บอกกับตนว่าให้รอข้อมูลจากดีเอสไอก่อน เพราะต้องให้ความเป็นธรรมกับข้าราชการด้วย