ในฐานะเจ้าของประเทศและเจ้านายของรัฐบาล
ถึงเวลาแล้วที่ผู้เสียภาษีต้องออกมาแสดงตน
เศรษฐกิจประเทศไทยอยู่กับชุดนโยบายเศรษฐกิจแบบประชานิยมของทักษิณที่เรียกว่า ทักษิโณมิกส์ มากว่า 10 ปีแล้ว ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่ปรากฏออกมาไม่ได้สนับสนุนเลยว่าทักษิโณมิกส์ทำให้ประเทศไทยดีขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไร
จากกองทุนหมู่บ้านจนถึงจำนำข้าว จากหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จนถึงหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน (การศึกษา) รถคันแรก บ้านหลังแรก จนถึงนายกฯ หญิงคนแรก นโยบายเหล่านี้ได้สร้างมรรคผลอะไรกับเศรษฐกิจสังคมไทยบ้าง มีแต่จับตรงไหนก็เน่าตรงนั้น ทุกอย่างที่ทำไปแบบ “เหวี่ยงแห โปรยหว่าน” ไปทั่วทุกหัวระแหงก็เพื่อการซื้อเสียงโดยอาศัยเงินภาษีให้สามารถเข้าสู่ตำแหน่ง
เมื่อประชาชนคนไทยเริ่มรู้เท่าทันทักษิโณมิกส์มากขึ้น ทักษิโณมิกส์จึงต้องออกนโยบายประชานิยมแบบสุดขั้วสิ้นคิดออกมา การจำนำข้าวในราคาแพงที่กำลังเป็น “ช้างตาย” ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ไม่สามารถหาใบบัวสักใบมาปิด ส่งกลิ่นเหม็นโฉ่ไปทั่วโลกมิจำเพาะแต่เพียงภายในประเทศไทยเท่านั้น
เป็นตัวอย่างที่ดีของการเสพติดนโยบายประชานิยมที่เมื่อติดแล้วก็ต้องการเสพมากขึ้นเรื่อยๆ หยุดไม่ได้
ทักษิโณมิกส์เป็นนโยบายที่ล้างผลาญบ้านเมือง ทำขึ้นมาเพื่อจ่ายแจกโดยมิได้นำพาว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ แต่ที่สำคัญก็คือหลอกลวงให้ผู้เสพหลงไปว่าเป็น “สิ่งดี” เพราะมีแต่ได้จากรัฐบาล หาได้สำเหนียกใคร่ครวญดูให้ถ่องแท้ในอีกด้านหนึ่งว่าเงินที่มาทำนโยบายเหล่านี้มาจากแหล่งใด นี่คือเครื่องชี้ภาระที่ทักษิโณมิกส์สร้างให้กับคนไทยทุกคนโดยเฉพาะผู้เสียภาษี
รัฐบาลมีแหล่งที่มาของเงินทุนอยู่เพียง 2 ทางหลักคือ ภาษีและการกู้ยืม นโยบายของนักการเมืองจึงมักเลี่ยงที่จะห็ข้อมูลถึงอีกด้านหนึ่งของเหรียญว่าจะเอาเงินจากแหล่งใดมาทำนโยบายและสื่อฯ ส่วนใหญ่ก็มักจะแกล้งโง่ไม่ซักถาม มีแต่ประโคมว่านโยบายนี้มีดีอย่างนั้นดีอย่างนี้ซึ่งเป็นผลจากการใช้จ่ายแต่เพียงด้านเดียว
โลกนี้ “ไม่มีอาหารกลางวันฟรี” จึงเป็นความจริงตลอดกาล เพียงแต่จะหลอกตนเองหรือไม่ก็เท่านั้นเอง
ทักษิโณมิกส์จึงหลีกเลี่ยงที่จะบอกว่าเอาเงินที่ไหนมาใช้จ่ายทำนโยบายที่ฟุ่มเฟือยใช้จ่ายเงินแบบขาดสติเช่นนี้ รถคันแรกจึงเป็นนโยบายที่ขาดสติไม่แพ้จำนำข้าวแพงเพราะไปช่วยอุดหนุน “คนไม่จน” ให้สามารถซื้อรถได้ถูกลง เป็นเหมือนวิกฤต Subprime ของสหรัฐฯ ที่ไปสร้างหนี้ให้กับผู้กู้ต่ำกว่ามาตรฐาน
เพื่อที่อุตสาหกรรมรถยนต์ที่ส่วนใหญ่คนไทยไม่ได้เป็นเจ้าของจะมาประโคมโอ้อวด “อวย” คนไทยให้เคลิบเคลิ้มว่าไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในภูมิภาคทั้งๆ ที่มีอะไรบ้างที่เราผลิตได้เอง
เพื่อที่จะมีลูกหนี้เช่าซื้อรถยนต์เพิ่มมากอีกอย่างน้อยก็ไม่ต่ำกว่า 6-7 แสนราย พร้อมๆ กับหนี้เสียส่วนบุคคลที่กำลังจะติดตามมา หากความจำไม่สั้น วิกฤตปี พ.ศ. 2540 มี “เปิดท้ายขายของ” วิกฤตต่อไปอันใกล้นี้จะมี “เปิดท้ายขายรถ” ไม่เชื่อก็ลองดู
เพื่อที่จะมีลูกค้าต้องซื้อน้ำมันเพิ่มมากขึ้นเพื่อติดเครื่องมา “จอด” แทน “วิ่ง” บนท้องถนนในกรุงเทพฯ ที่ไม่เพิ่มตามจำนวนรถแต่อย่างใด
มันเป็นนโยบายที่ขาดสติฝืนความจริงหรือไม่ ผู้เสียภาษีควรตั้งคำถามกับรัฐบาลนี้ว่าภาษีที่ไปลดนั้นทำไมจึงต้องลด หากต้องคืนภาษีถึง 6 หมื่นล้านบาทให้กับผู้ซื้อรถคันแรกก็ใกล้เคียงกับค่าก่อสร้างรถใต้ดินอีก 1 สายแล้ว ทางเลือกใดยั่งยืนกว่ากัน
จึงอาจกล่าวได้ว่าทักษิโณมิกส์ได้ทรยศหักหลังผู้เสียภาษีมากกว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมา มิพักจะพูดถึงเรื่องการทุจริต “โกงไม่ว่า แต่มีผลงาน (ดีกว่าคนอื่น)” จึงเป็นตรรกะที่ไม่จริง เพราะรัฐบาลของระบอบทักษิณ “โกงมากกว่า แต่ผลงานไม่แตกต่าง (เลวพอๆกัน)”
หนี้สาธารณะจากการกู้ยืมของรัฐบาลเพื่อมาทำนโยบายต่างๆ เหล่านี้จึงเป็นเสมือนการเลื่อนการขึ้นภาษีไปในอนาคต เพราะ “เงินกู้” ไม่ใช่ “เงินกู” เมื่อกู้ก็ต้องมีกำหนดใช้คืนก็เท่านั้นเองจะผัดผ่อนได้นานสักเท่าใด งานเลี้ยงจึงต้องมีเวลาเก็บเงินคิดสตางค์สิ่งที่ได้กระทำไป
อย่าเข้าใจผิดว่าหนี้สาธารณะคือหนี้ของรัฐบาลที่ผู้เสียภาษีไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง หนี้สาธารณะเป็นหนี้ของผู้เสียภาษีโดยตรงไม่ใช่หนี้ของรัฐบาลเพราะรัฐบาลเป็น “ผู้อภิบาลรัฐ” ทำการแทนประชาชน รัฐบาลไปก่อหนี้โดยอ้างเพื่อประโยชน์ของประชาชน ดังนั้นคนใช้หนี้คือประชาชนผู้ที่เสียภาษีทุกคนหาใช่รัฐบาลไม่
แต่คนไทยไม่ใช่ผู้ที่เสียภาษีทุกคน ส่วนใหญ่ของผู้เสียภาษีคือคนทำงานในระบบและบุคคลตามกฎหมายคือนิติบุคคลที่เป็นห้างร้านบริษัทขนาดใหญ่ ส่วนนิติบุคคลรายย่อยหรือคนที่ทำงานนอกระบบที่เป็นคนส่วนใหญ่ไม่เคยเสียภาษีเลยก็ว่าได้ กินโต๊ะ 10 คนแต่มีคนจ่ายเงินแค่ไม่เกิน 3 คนเท่านั้น
คนไทยยอมเสียภาษีไปเพื่ออะไร? คำตอบก็เพื่อรักษาบ้านเมืองเอาไว้ หากบ้านไม่มีคนยอมเสียค่าส่วนกลางไว้ทำความสะอาด รักษาความปลอดภัย จ้างครู มีโรงเรียน เอาไว้สอนคนให้มีความรู้จะได้ไม่ต้องไปปล้นจี้คนอื่นหาเลี้ยงชีพ มีถนน มีโรงพยาบาลเอาไว้ให้ใช้ ที่สำคัญคือเพื่อให้รัฐมาดูแลตนเองตอนแก่หรือคนรุ่นต่อไป
แต่หากรัฐบาลในระบอบทักษิณแทนที่จะ “อภิบาลรัฐ” กลับก่อหนี้เอาไว้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่นโยบายต่างๆ ที่ได้ทำเอาไว้ไม่เกิดดอกออกผลคุ้มค่าเงินที่ลงทุนไป ภาษีหรือค่าส่วนกลางในอนาคตก็ต้องเพิ่มมากขึ้นเพื่อมาใช้หนี้ ยิ่งผัดผ่อนไปในอนาคตนานมากเท่าใดต้นทุนของการใช้หนี้ก็ยิ่งแพงมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
การแบกหนี้สาธารณะจึงเป็นการลดสวัสดิการสังคมของคนรุ่นปัจจุบันไปสู่ลูกหลานอย่างแท้จริง หากคุณไม่ใช้หนี้ ลูกคุณ หลานคุณก็ต้องใช้แทน ภาษีกับความตายจึงเป็นของ 2 สิ่งที่จริงแท้แน่นอน การลดหนี้สาธารณะจึงเป็นการเพิ่มสวัสดิการโดยแท้โดยไม่ต้องคิดไปทำอย่างอื่นให้ยุ่งยากเสียเวลา
บทเรียนจากประเทศที่นักการเมืองใช้นโยบายประชานิยมไปก่อหนี้สาธารณะเอาไว้มาก เช่น อาร์เจนติน่า กรีซ หรือ สเปน ล้วนประสบชะตากรรมไม่แตกต่างจากกัน เมื่อระดับหนี้สาธารณะเพิ่มมากขึ้นเจ้าหนี้ก็ไม่อยากให้กู้งอแงคิดดอกแพง เมื่อรายได้ตนเองถดถอยจากนโยบายประชานิยมที่มุ่งเอาใจผู้ออกเสียงแต่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ การชำระหนี้ที่ไปกู้มาก็ทำได้ยาก เมื่อถึงที่สุดรัฐบาลก็ “ถังแตก” ต้องลดรายจ่าย ปลดคนงาน ลดสวัสดิการสังคม ความทุกข์เข็ญจึงเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า
การขีดเส้นระดับหนี้สาธารณะเอาไว้ที่ระดับร้อยละ 60 ของรายได้ประชาชาติไม่ได้เป็นเครื่องรับรองว่าไทยจะไม่ประสบชะตากรรมเดียวกับกรีซ
รัฐบาลที่ไม่โปร่งใส เช่น รัฐบาลในระบอบทักษิณมีแรงจูงใจอย่างสูงที่จะปกปิดข้อมูลซุกหนี้สาธารณะ การไม่ยอมเปิดเผยสัญญาขายข้าวที่ไปจำนำ (ซื้อ) มาแพงทั้งๆ ที่เอาเงินประชาชนไปซื้อจึงเป็นตัวอย่างที่ดี หากมีผู้ซื้อจริงและสามารถขายข้าวโดยไม่ขาดทุนได้ทำไมจึงไม่เปิดเผย สิ่งที่คาดเดาได้ไม่ยากก็คือไม่อยากเปิดข้อมูลเพราะโครงการล้มเหลวไม่สามารถขายข้าวได้โดยไม่ขาดทุน หากเปิดข้อมูลก็ต้องปิดบัญชีซึ่งจะเพิ่มยอดหนี้สาธารณะนั่นเอง
ถ้ารัฐบาลไทย “ถังแตก” เหมือนเช่น กรีซ ก็ต้องลดรายจ่าย ลดสวัสดิการสังคม ปลดคนออกจากงานเหมือนกัน หลีกเลี่ยงได้ยาก ผู้เสียภาษีที่เป็นคนส่วนน้อยจึงควรตระหนักว่าตนเองเป็นผู้รับภาระในปัจจุบันและมีโอกาสเป็นอย่างมากที่จะต้องรับภาระอนาคตต่อไปอีกด้วยจากสวัสดิการที่ลดลง แทนที่จะได้เสวยสุขจากการที่รับภาระเสียภาษีมาตลอดชีวิตการทำงานของตน
ในขณะที่คนอีกพวกที่เป็นคนส่วนใหญ่ที่ไม่เคยเสียภาษี แม้จะไม่ต้องรับภาระภาษีในปัจจุบัน แต่ในอนาคตก็หลีกเลี่ยงชะตากรรมนี้ไปไม่พ้นเช่นกัน นโยบายประชานิยมต่างๆ จะทำต่อไปได้อย่างไร 30 บาทรักษาทุกโรคจะมีคุณภาพรักษาโรคได้หรือเมื่อต้องลดหรือไม่มีงบประมาณ จะหาใครมารับซื้อข้าวราคาแพงเช่นนี้อีก น้ำมันดีเซลหรือก๊าซที่เอาเงินคนใช้เบนซินมาอุดหนุนจะทำได้ยาก ถนนพังสะพานขาดก็ไม่มีเงินซ่อม เผลอๆ เงินเดือนจ่ายข้าราชการอาจจะต้อง “แปะโป้ง” ติดหนี้ไว้ครึ่งหนึ่งโดยจ่ายเป็นพันธบัตรรัฐบาลแทนธนบัตร
เชื่อไม่เชื่อลองพนันกันดูสนุกๆ ก็ได้ว่า นางนายกฯ จะหนีการอภิปรายฯอย่างไร จะมาสภาฯ หรือไม่ แต่ที่แน่ๆ ก็คือรัฐบาลทรยศคนเสียภาษี เหตุผลพอเพียงหรือยังที่ทั้งคนเสียภาษีและที่ไม่เคยเสียต้องออกมาแสดงตนว่าไม่สนับสนุนรัฐบาลในระบอบทักษิณและทักษิโณมิกส์ของพวกเขาเพราะผลลัพธ์ประการเดียวที่ได้คือ “ทุกข์” ของแผ่นดินโดยแท้
ถึงเวลาแล้วที่ผู้เสียภาษีต้องออกมาแสดงตน
เศรษฐกิจประเทศไทยอยู่กับชุดนโยบายเศรษฐกิจแบบประชานิยมของทักษิณที่เรียกว่า ทักษิโณมิกส์ มากว่า 10 ปีแล้ว ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่ปรากฏออกมาไม่ได้สนับสนุนเลยว่าทักษิโณมิกส์ทำให้ประเทศไทยดีขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไร
จากกองทุนหมู่บ้านจนถึงจำนำข้าว จากหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จนถึงหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน (การศึกษา) รถคันแรก บ้านหลังแรก จนถึงนายกฯ หญิงคนแรก นโยบายเหล่านี้ได้สร้างมรรคผลอะไรกับเศรษฐกิจสังคมไทยบ้าง มีแต่จับตรงไหนก็เน่าตรงนั้น ทุกอย่างที่ทำไปแบบ “เหวี่ยงแห โปรยหว่าน” ไปทั่วทุกหัวระแหงก็เพื่อการซื้อเสียงโดยอาศัยเงินภาษีให้สามารถเข้าสู่ตำแหน่ง
เมื่อประชาชนคนไทยเริ่มรู้เท่าทันทักษิโณมิกส์มากขึ้น ทักษิโณมิกส์จึงต้องออกนโยบายประชานิยมแบบสุดขั้วสิ้นคิดออกมา การจำนำข้าวในราคาแพงที่กำลังเป็น “ช้างตาย” ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ไม่สามารถหาใบบัวสักใบมาปิด ส่งกลิ่นเหม็นโฉ่ไปทั่วโลกมิจำเพาะแต่เพียงภายในประเทศไทยเท่านั้น
เป็นตัวอย่างที่ดีของการเสพติดนโยบายประชานิยมที่เมื่อติดแล้วก็ต้องการเสพมากขึ้นเรื่อยๆ หยุดไม่ได้
ทักษิโณมิกส์เป็นนโยบายที่ล้างผลาญบ้านเมือง ทำขึ้นมาเพื่อจ่ายแจกโดยมิได้นำพาว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ แต่ที่สำคัญก็คือหลอกลวงให้ผู้เสพหลงไปว่าเป็น “สิ่งดี” เพราะมีแต่ได้จากรัฐบาล หาได้สำเหนียกใคร่ครวญดูให้ถ่องแท้ในอีกด้านหนึ่งว่าเงินที่มาทำนโยบายเหล่านี้มาจากแหล่งใด นี่คือเครื่องชี้ภาระที่ทักษิโณมิกส์สร้างให้กับคนไทยทุกคนโดยเฉพาะผู้เสียภาษี
รัฐบาลมีแหล่งที่มาของเงินทุนอยู่เพียง 2 ทางหลักคือ ภาษีและการกู้ยืม นโยบายของนักการเมืองจึงมักเลี่ยงที่จะห็ข้อมูลถึงอีกด้านหนึ่งของเหรียญว่าจะเอาเงินจากแหล่งใดมาทำนโยบายและสื่อฯ ส่วนใหญ่ก็มักจะแกล้งโง่ไม่ซักถาม มีแต่ประโคมว่านโยบายนี้มีดีอย่างนั้นดีอย่างนี้ซึ่งเป็นผลจากการใช้จ่ายแต่เพียงด้านเดียว
โลกนี้ “ไม่มีอาหารกลางวันฟรี” จึงเป็นความจริงตลอดกาล เพียงแต่จะหลอกตนเองหรือไม่ก็เท่านั้นเอง
ทักษิโณมิกส์จึงหลีกเลี่ยงที่จะบอกว่าเอาเงินที่ไหนมาใช้จ่ายทำนโยบายที่ฟุ่มเฟือยใช้จ่ายเงินแบบขาดสติเช่นนี้ รถคันแรกจึงเป็นนโยบายที่ขาดสติไม่แพ้จำนำข้าวแพงเพราะไปช่วยอุดหนุน “คนไม่จน” ให้สามารถซื้อรถได้ถูกลง เป็นเหมือนวิกฤต Subprime ของสหรัฐฯ ที่ไปสร้างหนี้ให้กับผู้กู้ต่ำกว่ามาตรฐาน
เพื่อที่อุตสาหกรรมรถยนต์ที่ส่วนใหญ่คนไทยไม่ได้เป็นเจ้าของจะมาประโคมโอ้อวด “อวย” คนไทยให้เคลิบเคลิ้มว่าไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในภูมิภาคทั้งๆ ที่มีอะไรบ้างที่เราผลิตได้เอง
เพื่อที่จะมีลูกหนี้เช่าซื้อรถยนต์เพิ่มมากอีกอย่างน้อยก็ไม่ต่ำกว่า 6-7 แสนราย พร้อมๆ กับหนี้เสียส่วนบุคคลที่กำลังจะติดตามมา หากความจำไม่สั้น วิกฤตปี พ.ศ. 2540 มี “เปิดท้ายขายของ” วิกฤตต่อไปอันใกล้นี้จะมี “เปิดท้ายขายรถ” ไม่เชื่อก็ลองดู
เพื่อที่จะมีลูกค้าต้องซื้อน้ำมันเพิ่มมากขึ้นเพื่อติดเครื่องมา “จอด” แทน “วิ่ง” บนท้องถนนในกรุงเทพฯ ที่ไม่เพิ่มตามจำนวนรถแต่อย่างใด
มันเป็นนโยบายที่ขาดสติฝืนความจริงหรือไม่ ผู้เสียภาษีควรตั้งคำถามกับรัฐบาลนี้ว่าภาษีที่ไปลดนั้นทำไมจึงต้องลด หากต้องคืนภาษีถึง 6 หมื่นล้านบาทให้กับผู้ซื้อรถคันแรกก็ใกล้เคียงกับค่าก่อสร้างรถใต้ดินอีก 1 สายแล้ว ทางเลือกใดยั่งยืนกว่ากัน
จึงอาจกล่าวได้ว่าทักษิโณมิกส์ได้ทรยศหักหลังผู้เสียภาษีมากกว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมา มิพักจะพูดถึงเรื่องการทุจริต “โกงไม่ว่า แต่มีผลงาน (ดีกว่าคนอื่น)” จึงเป็นตรรกะที่ไม่จริง เพราะรัฐบาลของระบอบทักษิณ “โกงมากกว่า แต่ผลงานไม่แตกต่าง (เลวพอๆกัน)”
หนี้สาธารณะจากการกู้ยืมของรัฐบาลเพื่อมาทำนโยบายต่างๆ เหล่านี้จึงเป็นเสมือนการเลื่อนการขึ้นภาษีไปในอนาคต เพราะ “เงินกู้” ไม่ใช่ “เงินกู” เมื่อกู้ก็ต้องมีกำหนดใช้คืนก็เท่านั้นเองจะผัดผ่อนได้นานสักเท่าใด งานเลี้ยงจึงต้องมีเวลาเก็บเงินคิดสตางค์สิ่งที่ได้กระทำไป
อย่าเข้าใจผิดว่าหนี้สาธารณะคือหนี้ของรัฐบาลที่ผู้เสียภาษีไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง หนี้สาธารณะเป็นหนี้ของผู้เสียภาษีโดยตรงไม่ใช่หนี้ของรัฐบาลเพราะรัฐบาลเป็น “ผู้อภิบาลรัฐ” ทำการแทนประชาชน รัฐบาลไปก่อหนี้โดยอ้างเพื่อประโยชน์ของประชาชน ดังนั้นคนใช้หนี้คือประชาชนผู้ที่เสียภาษีทุกคนหาใช่รัฐบาลไม่
แต่คนไทยไม่ใช่ผู้ที่เสียภาษีทุกคน ส่วนใหญ่ของผู้เสียภาษีคือคนทำงานในระบบและบุคคลตามกฎหมายคือนิติบุคคลที่เป็นห้างร้านบริษัทขนาดใหญ่ ส่วนนิติบุคคลรายย่อยหรือคนที่ทำงานนอกระบบที่เป็นคนส่วนใหญ่ไม่เคยเสียภาษีเลยก็ว่าได้ กินโต๊ะ 10 คนแต่มีคนจ่ายเงินแค่ไม่เกิน 3 คนเท่านั้น
คนไทยยอมเสียภาษีไปเพื่ออะไร? คำตอบก็เพื่อรักษาบ้านเมืองเอาไว้ หากบ้านไม่มีคนยอมเสียค่าส่วนกลางไว้ทำความสะอาด รักษาความปลอดภัย จ้างครู มีโรงเรียน เอาไว้สอนคนให้มีความรู้จะได้ไม่ต้องไปปล้นจี้คนอื่นหาเลี้ยงชีพ มีถนน มีโรงพยาบาลเอาไว้ให้ใช้ ที่สำคัญคือเพื่อให้รัฐมาดูแลตนเองตอนแก่หรือคนรุ่นต่อไป
แต่หากรัฐบาลในระบอบทักษิณแทนที่จะ “อภิบาลรัฐ” กลับก่อหนี้เอาไว้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่นโยบายต่างๆ ที่ได้ทำเอาไว้ไม่เกิดดอกออกผลคุ้มค่าเงินที่ลงทุนไป ภาษีหรือค่าส่วนกลางในอนาคตก็ต้องเพิ่มมากขึ้นเพื่อมาใช้หนี้ ยิ่งผัดผ่อนไปในอนาคตนานมากเท่าใดต้นทุนของการใช้หนี้ก็ยิ่งแพงมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
การแบกหนี้สาธารณะจึงเป็นการลดสวัสดิการสังคมของคนรุ่นปัจจุบันไปสู่ลูกหลานอย่างแท้จริง หากคุณไม่ใช้หนี้ ลูกคุณ หลานคุณก็ต้องใช้แทน ภาษีกับความตายจึงเป็นของ 2 สิ่งที่จริงแท้แน่นอน การลดหนี้สาธารณะจึงเป็นการเพิ่มสวัสดิการโดยแท้โดยไม่ต้องคิดไปทำอย่างอื่นให้ยุ่งยากเสียเวลา
บทเรียนจากประเทศที่นักการเมืองใช้นโยบายประชานิยมไปก่อหนี้สาธารณะเอาไว้มาก เช่น อาร์เจนติน่า กรีซ หรือ สเปน ล้วนประสบชะตากรรมไม่แตกต่างจากกัน เมื่อระดับหนี้สาธารณะเพิ่มมากขึ้นเจ้าหนี้ก็ไม่อยากให้กู้งอแงคิดดอกแพง เมื่อรายได้ตนเองถดถอยจากนโยบายประชานิยมที่มุ่งเอาใจผู้ออกเสียงแต่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ การชำระหนี้ที่ไปกู้มาก็ทำได้ยาก เมื่อถึงที่สุดรัฐบาลก็ “ถังแตก” ต้องลดรายจ่าย ปลดคนงาน ลดสวัสดิการสังคม ความทุกข์เข็ญจึงเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า
การขีดเส้นระดับหนี้สาธารณะเอาไว้ที่ระดับร้อยละ 60 ของรายได้ประชาชาติไม่ได้เป็นเครื่องรับรองว่าไทยจะไม่ประสบชะตากรรมเดียวกับกรีซ
รัฐบาลที่ไม่โปร่งใส เช่น รัฐบาลในระบอบทักษิณมีแรงจูงใจอย่างสูงที่จะปกปิดข้อมูลซุกหนี้สาธารณะ การไม่ยอมเปิดเผยสัญญาขายข้าวที่ไปจำนำ (ซื้อ) มาแพงทั้งๆ ที่เอาเงินประชาชนไปซื้อจึงเป็นตัวอย่างที่ดี หากมีผู้ซื้อจริงและสามารถขายข้าวโดยไม่ขาดทุนได้ทำไมจึงไม่เปิดเผย สิ่งที่คาดเดาได้ไม่ยากก็คือไม่อยากเปิดข้อมูลเพราะโครงการล้มเหลวไม่สามารถขายข้าวได้โดยไม่ขาดทุน หากเปิดข้อมูลก็ต้องปิดบัญชีซึ่งจะเพิ่มยอดหนี้สาธารณะนั่นเอง
ถ้ารัฐบาลไทย “ถังแตก” เหมือนเช่น กรีซ ก็ต้องลดรายจ่าย ลดสวัสดิการสังคม ปลดคนออกจากงานเหมือนกัน หลีกเลี่ยงได้ยาก ผู้เสียภาษีที่เป็นคนส่วนน้อยจึงควรตระหนักว่าตนเองเป็นผู้รับภาระในปัจจุบันและมีโอกาสเป็นอย่างมากที่จะต้องรับภาระอนาคตต่อไปอีกด้วยจากสวัสดิการที่ลดลง แทนที่จะได้เสวยสุขจากการที่รับภาระเสียภาษีมาตลอดชีวิตการทำงานของตน
ในขณะที่คนอีกพวกที่เป็นคนส่วนใหญ่ที่ไม่เคยเสียภาษี แม้จะไม่ต้องรับภาระภาษีในปัจจุบัน แต่ในอนาคตก็หลีกเลี่ยงชะตากรรมนี้ไปไม่พ้นเช่นกัน นโยบายประชานิยมต่างๆ จะทำต่อไปได้อย่างไร 30 บาทรักษาทุกโรคจะมีคุณภาพรักษาโรคได้หรือเมื่อต้องลดหรือไม่มีงบประมาณ จะหาใครมารับซื้อข้าวราคาแพงเช่นนี้อีก น้ำมันดีเซลหรือก๊าซที่เอาเงินคนใช้เบนซินมาอุดหนุนจะทำได้ยาก ถนนพังสะพานขาดก็ไม่มีเงินซ่อม เผลอๆ เงินเดือนจ่ายข้าราชการอาจจะต้อง “แปะโป้ง” ติดหนี้ไว้ครึ่งหนึ่งโดยจ่ายเป็นพันธบัตรรัฐบาลแทนธนบัตร
เชื่อไม่เชื่อลองพนันกันดูสนุกๆ ก็ได้ว่า นางนายกฯ จะหนีการอภิปรายฯอย่างไร จะมาสภาฯ หรือไม่ แต่ที่แน่ๆ ก็คือรัฐบาลทรยศคนเสียภาษี เหตุผลพอเพียงหรือยังที่ทั้งคนเสียภาษีและที่ไม่เคยเสียต้องออกมาแสดงตนว่าไม่สนับสนุนรัฐบาลในระบอบทักษิณและทักษิโณมิกส์ของพวกเขาเพราะผลลัพธ์ประการเดียวที่ได้คือ “ทุกข์” ของแผ่นดินโดยแท้