เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสร่วมเวทีเสวนาเรื่อง “สัมปทานพลังงานไทยกับส่วนแบ่งผลประโยชน์ที่เป็นธรรม” กับคณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา ซึ่งจัดโดยกลุ่มที่ใช้ชื่อว่า “องค์กรประชาชนตื่นรู้” ที่จังหวัดอุทัยธานี
ความจริงผมตั้งใจจะไปแค่ร่วมฟังและดูบรรยากาศเท่านั้น ไม่ได้ตั้งใจจะขึ้นเวทีนำเสนอประเด็นอะไรหรอกครับ แต่แล้วก็โดนผู้ดำเนินรายการขอร้องพร้อมกับมอบประเด็นและแบ่งเวลาให้พูดประมาณ 5-10 นาที จากเวลาทั้งหมด 4 ชั่วโมงเต็ม รายการนี้มีการถ่ายทอดสดทาง FMTV ด้วย
ในระหว่างที่นั่งฟังและรอการสรุปซึ่งผู้ดำเนินรายการมอบให้ผม 2 นาที ผมก็นั่งคิดว่า “เดี๋ยวจะสรุปอย่างไรดีหนอ” จากการสดับตรับฟังมาตลอดผมก็ได้ข้อสรุปว่าจะสรุปอย่างไร แต่ก็นั่นแหละครับ ผมคิดว่าสิ่งที่ผมได้สรุปไปแล้วท่านผู้ฟังคงจะไม่เข้าใจ จึงขอถือโอกาสนี้มาขยายความครับ
ผมเริ่มต้นด้วยประเด็นว่า ประเทศไทยเรามีความอุดมสมบูรณ์ในทรัพยากรธรรมชาติมากทั้งในด้านจำนวนและประเภท ทั้งสินแร่ใต้ดิน ทั้งความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศเขตร้อนชื้น ทั้งบนบกและในทะเล แต่ปัญหามีอยู่ว่าเรามีการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักการเพื่อความยั่งยืนและเป็นธรรมหรือไม่
เราเคยส่งออกแร่ดีบุกมากเป็นอันดับสองของโลกในช่วงก่อนเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมาจำนวนกว่า 1.5 ล้านตันในราคาตอนนั้นกิโลกรัมละ 30 บาท แต่ที่น่าเสียดายมากกว่านั้นก็คือในสินแร่ดีบุกนั้นมีแร่แทนทาลัมซึ่งหายากและราคาแพงมาก (กิโลกรัมละ 500 บาท) ปนอยู่ด้วย ในวันนี้ราคาดีบุกกิโลกรัมละ 600 บาท แทนทาลัม 5,000 -15,000 บาท ปัจจุบันเรามีดีบุกให้ส่งออกแค่ปีละไม่ถึง 30 ตันเท่านั้น
นี่เป็นการจัดการที่ไม่ยั่งยืนและไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง รวมทั้งการจัดการป่าไม้ ไม้สัก ไม้มะค่า ฯลฯ คำถามก็คือว่าเราได้สรุปบทเรียนอะไรมั่ง
ในเรื่องพลังงาน (ซึ่งเป็นประเด็นหลักของการเสวนาในวันนั้น) ผมได้ปูพื้นให้ทราบว่า ปัจจุบันคนไทยได้ถูก “ชนกลุ่มน้อย” ซึ่งได้แก่พ่อค้าพลังงานและข้าราชการระดับสูงเป็นผู้กำหนดนโยบายพลังงานให้เราเดินตาม
และเป็นการเดินตามไปสู่ความหายนะ 2 อย่างเสียด้วยสิ!
หายนะแรก พวกเขาพยายามล้างสมองคนไทยว่า แหล่งปิโตรเลียมของประเทศไทยมีน้อย มีขนาดเล็ก ดังนั้น จะไปเก็บค่าภาคหลวงหรือค่าสัมปทานในอัตราสูงก็ไม่ได้ เดี๋ยวจะไม่มีใครมาลงทุน ประเทศจะไม่เติบโตเป็นต้น
ขณะเดียวกัน ชนกลุ่มน้อยนี้ก็ขัดขวางไม่ให้ประชาชนใช้แหล่งพลังงานที่เขายังไม่ได้สัมปทาน คือ พลังงานหมุนเวียน ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ แสงแดด ลม ไม้ หรือแม้แต่ขี้หมู ขี้วัว ซึ่งในประเทศสวีเดนเขานำมาใช้กับรถเมล์นับพันคัน รถไฟฟ้ากลางเมืองหลวงได้อย่างเป็นล่ำเป็นสันและในเชิงพาณิชย์
แต่ประเทศไทยเราไม่เคยได้รับรู้ถึงเรื่องราวเหล่านี้เลย ทั้งนี้เพราะว่าพ่อค้าพลังงานและข้าราชการระดับสูงเป็นผู้เขียนนโยบายพลังงานงาน พร้อมๆ กับข่มประชาชนว่า เรื่องพลังงานเป็นเรื่องของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น พวกประชาหน้าซีดทั้งหลายไม่มีปัญญาจะมารู้เรื่องที่ซับซ้อนได้หรอก จงเชื่อตามที่พวกข้ากำหนดก็แล้วกัน
ด้วยเหตุนี้ราคาพลังงานจึงแพงเอาๆ ในปี 2554 คนไทยจ่ายค่าพลังงานถึงร้อยละ 19 ของรายได้ประชาชาติ ทั้งๆ ที่เมื่อย้อนหลังไป 25 และ 50 ปีที่แล้ว ค่าใช้จ่ายอยู่แค่ร้อยละ 7 และ 1 เท่านั้น
ถ้าเราไม่ปรับเปลี่ยนนโยบายพลังงานแล้ว คุณภาพชีวิตของประชาชนมีแต่จะแย่ลงๆ ในขณะที่กลุ่มพ่อค้าพลังงานผูกขาดกลับร่ำรวยมหาศาล
หายนะที่สอง การที่คนทั้งโลกเดินตามนโยบายพลังงานฟอสซิล จะทำให้เกิดปัญหาโลกร้อนซึ่งนำไปสู่ภัยพิบัติทางธรรมชาติทั่วโลก เดี๋ยวพายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภัยแล้ง เล่นเอาจดสถิติกันแทบไม่ทัน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วก็เจอกับ “โคตรพายุ” ในสหรัฐอเมริกา
ที่น่าเสียใจกว่านั้นก็คือ ร้อยละ 96 ของผู้เสียชีวิตจากภัยดังกล่าวอยู่ในประเทศยากจน (ทั้งๆ ที่เป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด) เพราะระบบการเตือนภัยและหนีภัยไม่มีประสิทธิภาพพอเมื่อเทียบกับประเทศร่ำรวย
นอกจากการเดินทางไปสู่กับดักแห่งหายนะสองประการแล้ว การมีแหล่งปิโตรเลียมมากๆ มักจะเป็นต้นเหตุของสงคราม เช่น สงครามอิรัก เป็นต้น อดีต ส.ส.เยอรมนี (ดร.แฮร์มัน เชีย) เคยเปิดเผยว่า 1 ใน 3 ของงบประมาณกลาโหมสหรัฐอเมริกาถูกใช้ไปกับการรักษาแหล่งปิโตรเลียมที่บริษัทของตนได้รับสัมปทาน
ผมได้สรุปการนำเสนอในช่วงแรกว่า พี่น้องประชาชนต้องรู้เท่าทันโยบายพลังงาน ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากอะไร หากเราเริ่มต้นด้วยการสงสัย คือ ร้อง “เอ๊ะ” ไม่ใช่ฟังไปเรื่อยๆ แล้วร้อง “อ๋อ” ยอมรับไปทุกเรื่อง
ผมได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อ 15 ปีก่อน ผมก็ไม่รู้เรื่องพลังงานหรอก แต่ชาวบ้านคนหนึ่งที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ใกล้ๆ โรงแยกก๊าซไทย -มาเลเซีย ได้มาพูดให้ผมต้องมาติดตามเรื่องพลังงานมายาวนาน
ผมยังจำเนื้อหาที่เธอพูดได้ทุกคำพร้อมทั้งจำอารมณ์ที่ผมรู้สึกในวันนั้นได้อย่างไม่ลืมเลือน
“พวกฉันเป็นชาวบ้าน พวกฉันไม่มีความรู้ อาจารย์เป็นคนมีความรู้ อาจารย์อย่าเอาแต่นอน ช่วยหาความรู้มาให้พวกฉัน แล้วพวกฉันจะคิดเอง”
ขอยืนยันว่าทุกคำดังกล่าวไม่มีการดัดแปลงแต่งเติมแม้แต่นิดเดียว และเมื่อผมกลับมาใคร่ครวญแล้ว ผมรู้สึกว่าเป็นคำพูดที่มีความลึกซึ้งมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แล้วพวกฉันจะคิดเอง”
มาถึงบทสรุปที่ผมมีเวลาแค่ 2 นาที ผมพูดไปอย่างนี้ครับ
“กระบวนการที่เขาเรียกกันว่าพัฒนาๆ ซึ่งฟังแล้วดูซับซ้อน ดูขลังและสวยหรูนั้น แท้ที่จริงแล้วสามารถถอดออกมาเป็นรหัสสั้นๆ ได้เพียง 2 ขั้นตอนเท่านั้น คือ หนึ่ง ล้างสมอง และ สองปล้น”
ผลประโยชน์และส่วนแบ่งจากแหล่งปิโตรเลียมที่ประเทศและประชาชนได้รับนั้นมีน้อยมาก เพราะถูกปล้นไปอย่างคาดไม่ถึง แต่ก่อนจะลงมือปล้นเขาได้ใช้วิธีการล้างสมอง ให้ข้อมูลเท็จบ้าง จริงครึ่งเดียวบ้าง ดังที่วิทยากรท่านอื่นๆ ได้กล่าวมาแล้ว
ถ้าเป็นการพัฒนาที่แท้จริง ประชาชนจะมีความสุข ยิ้มแย้มแจ่มใส ภายใต้สภาวะสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่ ปลอดภัย แต่ที่ผ่านมามันกลับตรงกันข้าม
ด้วยความที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ผมนึกถึงคำพูดของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ขึ้นมาทันที คืออยากจะสรุปสั้นๆ ได้ใจความและกินใจให้ผู้ฟังเอาไปคิดต่อ
มีคนถามท่านว่า “สิ่งประดิษฐ์ใดที่มีพลังในการทำลายล้างมากที่สุด?”
ผู้ถามก็คงคาดหมายว่าท่านน่าจะตอบว่า “ระเบิดนิวเคลียร์นะสิ” เพราะความรู้ที่ท่านคิดค้นได้มีส่วนสำคัญในการทำระเบิดนิวเคลียร์ แต่ท่านตอบว่า
“สูตรดอกเบี้ยทบต้น”
ในฐานะอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ผมรู้สึกขำและเข้าใจความหมายดีครับ หลานผมคนหนึ่งไปกู้เงินเขา 8.5 หมื่นบาท ต้องจ่ายคืนถึง 2 แสนบาท โดยผ่อนเดือนละ 5 พันบาทถึง 40 เดือนๆ ละ 5 พันบาทนั้นมันสูงมากเมื่อเทียบกับรายได้ที่เขาได้รับ มันทำลายล้างความสุขในครอบครัวของเขาอย่างชัดเจน และยอดเงินที่ต้องจ่ายก็มากกว่า 2 เท่าในเวลา 40 เดือน
สูตรดอกเบี้ยทบต้น มันเพิ่มจำนวนขึ้นโดยไม่หยุดวันเสาร์-อาทิตย์และนักขัตฤกษ์ แต่ระเบิดนิวเคลียร์ 70-80 ปีมานี้เพิ่งเกิดเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ตอนนั้นผมเห็นด้วยกับไอน์สไตน์ร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ
แต่วันนี้ผมเปลี่ยนใจแล้วครับ เพราะสูตรดอกเบี้ยทบต้นนั้น มันทำลายล้างเฉพาะผู้ที่กู้เท่านั้น คนที่ไม่กู้ ไม่เป็นหนี้ก็จะไม่ถูกทำลายล้าง
แต่กลไกการโกงของชนกลุ่มน้อยที่ประกอบด้วยพ่อค้าพลังงาน ข้าราชการระดับสูงและนักการเมืองนั้น ได้ทำลายประชาชนทุกคนโดยไม่มีการจำแนกและไม่มีวันหยุดราชการ
ผมเชื่อว่าถ้าท่านไอน์สไตน์ยังมีชีวิตอยู่และอยู่ในเมืองไทยด้วย ท่านน่าจะเปลี่ยนใจมาตอบแบบเดียวกับที่ผมตอบนะครับ
ความจริงผมตั้งใจจะไปแค่ร่วมฟังและดูบรรยากาศเท่านั้น ไม่ได้ตั้งใจจะขึ้นเวทีนำเสนอประเด็นอะไรหรอกครับ แต่แล้วก็โดนผู้ดำเนินรายการขอร้องพร้อมกับมอบประเด็นและแบ่งเวลาให้พูดประมาณ 5-10 นาที จากเวลาทั้งหมด 4 ชั่วโมงเต็ม รายการนี้มีการถ่ายทอดสดทาง FMTV ด้วย
ในระหว่างที่นั่งฟังและรอการสรุปซึ่งผู้ดำเนินรายการมอบให้ผม 2 นาที ผมก็นั่งคิดว่า “เดี๋ยวจะสรุปอย่างไรดีหนอ” จากการสดับตรับฟังมาตลอดผมก็ได้ข้อสรุปว่าจะสรุปอย่างไร แต่ก็นั่นแหละครับ ผมคิดว่าสิ่งที่ผมได้สรุปไปแล้วท่านผู้ฟังคงจะไม่เข้าใจ จึงขอถือโอกาสนี้มาขยายความครับ
ผมเริ่มต้นด้วยประเด็นว่า ประเทศไทยเรามีความอุดมสมบูรณ์ในทรัพยากรธรรมชาติมากทั้งในด้านจำนวนและประเภท ทั้งสินแร่ใต้ดิน ทั้งความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศเขตร้อนชื้น ทั้งบนบกและในทะเล แต่ปัญหามีอยู่ว่าเรามีการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักการเพื่อความยั่งยืนและเป็นธรรมหรือไม่
เราเคยส่งออกแร่ดีบุกมากเป็นอันดับสองของโลกในช่วงก่อนเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมาจำนวนกว่า 1.5 ล้านตันในราคาตอนนั้นกิโลกรัมละ 30 บาท แต่ที่น่าเสียดายมากกว่านั้นก็คือในสินแร่ดีบุกนั้นมีแร่แทนทาลัมซึ่งหายากและราคาแพงมาก (กิโลกรัมละ 500 บาท) ปนอยู่ด้วย ในวันนี้ราคาดีบุกกิโลกรัมละ 600 บาท แทนทาลัม 5,000 -15,000 บาท ปัจจุบันเรามีดีบุกให้ส่งออกแค่ปีละไม่ถึง 30 ตันเท่านั้น
นี่เป็นการจัดการที่ไม่ยั่งยืนและไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง รวมทั้งการจัดการป่าไม้ ไม้สัก ไม้มะค่า ฯลฯ คำถามก็คือว่าเราได้สรุปบทเรียนอะไรมั่ง
ในเรื่องพลังงาน (ซึ่งเป็นประเด็นหลักของการเสวนาในวันนั้น) ผมได้ปูพื้นให้ทราบว่า ปัจจุบันคนไทยได้ถูก “ชนกลุ่มน้อย” ซึ่งได้แก่พ่อค้าพลังงานและข้าราชการระดับสูงเป็นผู้กำหนดนโยบายพลังงานให้เราเดินตาม
และเป็นการเดินตามไปสู่ความหายนะ 2 อย่างเสียด้วยสิ!
หายนะแรก พวกเขาพยายามล้างสมองคนไทยว่า แหล่งปิโตรเลียมของประเทศไทยมีน้อย มีขนาดเล็ก ดังนั้น จะไปเก็บค่าภาคหลวงหรือค่าสัมปทานในอัตราสูงก็ไม่ได้ เดี๋ยวจะไม่มีใครมาลงทุน ประเทศจะไม่เติบโตเป็นต้น
ขณะเดียวกัน ชนกลุ่มน้อยนี้ก็ขัดขวางไม่ให้ประชาชนใช้แหล่งพลังงานที่เขายังไม่ได้สัมปทาน คือ พลังงานหมุนเวียน ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ แสงแดด ลม ไม้ หรือแม้แต่ขี้หมู ขี้วัว ซึ่งในประเทศสวีเดนเขานำมาใช้กับรถเมล์นับพันคัน รถไฟฟ้ากลางเมืองหลวงได้อย่างเป็นล่ำเป็นสันและในเชิงพาณิชย์
แต่ประเทศไทยเราไม่เคยได้รับรู้ถึงเรื่องราวเหล่านี้เลย ทั้งนี้เพราะว่าพ่อค้าพลังงานและข้าราชการระดับสูงเป็นผู้เขียนนโยบายพลังงานงาน พร้อมๆ กับข่มประชาชนว่า เรื่องพลังงานเป็นเรื่องของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น พวกประชาหน้าซีดทั้งหลายไม่มีปัญญาจะมารู้เรื่องที่ซับซ้อนได้หรอก จงเชื่อตามที่พวกข้ากำหนดก็แล้วกัน
ด้วยเหตุนี้ราคาพลังงานจึงแพงเอาๆ ในปี 2554 คนไทยจ่ายค่าพลังงานถึงร้อยละ 19 ของรายได้ประชาชาติ ทั้งๆ ที่เมื่อย้อนหลังไป 25 และ 50 ปีที่แล้ว ค่าใช้จ่ายอยู่แค่ร้อยละ 7 และ 1 เท่านั้น
ถ้าเราไม่ปรับเปลี่ยนนโยบายพลังงานแล้ว คุณภาพชีวิตของประชาชนมีแต่จะแย่ลงๆ ในขณะที่กลุ่มพ่อค้าพลังงานผูกขาดกลับร่ำรวยมหาศาล
หายนะที่สอง การที่คนทั้งโลกเดินตามนโยบายพลังงานฟอสซิล จะทำให้เกิดปัญหาโลกร้อนซึ่งนำไปสู่ภัยพิบัติทางธรรมชาติทั่วโลก เดี๋ยวพายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภัยแล้ง เล่นเอาจดสถิติกันแทบไม่ทัน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วก็เจอกับ “โคตรพายุ” ในสหรัฐอเมริกา
ที่น่าเสียใจกว่านั้นก็คือ ร้อยละ 96 ของผู้เสียชีวิตจากภัยดังกล่าวอยู่ในประเทศยากจน (ทั้งๆ ที่เป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด) เพราะระบบการเตือนภัยและหนีภัยไม่มีประสิทธิภาพพอเมื่อเทียบกับประเทศร่ำรวย
นอกจากการเดินทางไปสู่กับดักแห่งหายนะสองประการแล้ว การมีแหล่งปิโตรเลียมมากๆ มักจะเป็นต้นเหตุของสงคราม เช่น สงครามอิรัก เป็นต้น อดีต ส.ส.เยอรมนี (ดร.แฮร์มัน เชีย) เคยเปิดเผยว่า 1 ใน 3 ของงบประมาณกลาโหมสหรัฐอเมริกาถูกใช้ไปกับการรักษาแหล่งปิโตรเลียมที่บริษัทของตนได้รับสัมปทาน
ผมได้สรุปการนำเสนอในช่วงแรกว่า พี่น้องประชาชนต้องรู้เท่าทันโยบายพลังงาน ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากอะไร หากเราเริ่มต้นด้วยการสงสัย คือ ร้อง “เอ๊ะ” ไม่ใช่ฟังไปเรื่อยๆ แล้วร้อง “อ๋อ” ยอมรับไปทุกเรื่อง
ผมได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อ 15 ปีก่อน ผมก็ไม่รู้เรื่องพลังงานหรอก แต่ชาวบ้านคนหนึ่งที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ใกล้ๆ โรงแยกก๊าซไทย -มาเลเซีย ได้มาพูดให้ผมต้องมาติดตามเรื่องพลังงานมายาวนาน
ผมยังจำเนื้อหาที่เธอพูดได้ทุกคำพร้อมทั้งจำอารมณ์ที่ผมรู้สึกในวันนั้นได้อย่างไม่ลืมเลือน
“พวกฉันเป็นชาวบ้าน พวกฉันไม่มีความรู้ อาจารย์เป็นคนมีความรู้ อาจารย์อย่าเอาแต่นอน ช่วยหาความรู้มาให้พวกฉัน แล้วพวกฉันจะคิดเอง”
ขอยืนยันว่าทุกคำดังกล่าวไม่มีการดัดแปลงแต่งเติมแม้แต่นิดเดียว และเมื่อผมกลับมาใคร่ครวญแล้ว ผมรู้สึกว่าเป็นคำพูดที่มีความลึกซึ้งมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แล้วพวกฉันจะคิดเอง”
มาถึงบทสรุปที่ผมมีเวลาแค่ 2 นาที ผมพูดไปอย่างนี้ครับ
“กระบวนการที่เขาเรียกกันว่าพัฒนาๆ ซึ่งฟังแล้วดูซับซ้อน ดูขลังและสวยหรูนั้น แท้ที่จริงแล้วสามารถถอดออกมาเป็นรหัสสั้นๆ ได้เพียง 2 ขั้นตอนเท่านั้น คือ หนึ่ง ล้างสมอง และ สองปล้น”
ผลประโยชน์และส่วนแบ่งจากแหล่งปิโตรเลียมที่ประเทศและประชาชนได้รับนั้นมีน้อยมาก เพราะถูกปล้นไปอย่างคาดไม่ถึง แต่ก่อนจะลงมือปล้นเขาได้ใช้วิธีการล้างสมอง ให้ข้อมูลเท็จบ้าง จริงครึ่งเดียวบ้าง ดังที่วิทยากรท่านอื่นๆ ได้กล่าวมาแล้ว
ถ้าเป็นการพัฒนาที่แท้จริง ประชาชนจะมีความสุข ยิ้มแย้มแจ่มใส ภายใต้สภาวะสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่ ปลอดภัย แต่ที่ผ่านมามันกลับตรงกันข้าม
ด้วยความที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ผมนึกถึงคำพูดของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ขึ้นมาทันที คืออยากจะสรุปสั้นๆ ได้ใจความและกินใจให้ผู้ฟังเอาไปคิดต่อ
มีคนถามท่านว่า “สิ่งประดิษฐ์ใดที่มีพลังในการทำลายล้างมากที่สุด?”
ผู้ถามก็คงคาดหมายว่าท่านน่าจะตอบว่า “ระเบิดนิวเคลียร์นะสิ” เพราะความรู้ที่ท่านคิดค้นได้มีส่วนสำคัญในการทำระเบิดนิวเคลียร์ แต่ท่านตอบว่า
“สูตรดอกเบี้ยทบต้น”
ในฐานะอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ผมรู้สึกขำและเข้าใจความหมายดีครับ หลานผมคนหนึ่งไปกู้เงินเขา 8.5 หมื่นบาท ต้องจ่ายคืนถึง 2 แสนบาท โดยผ่อนเดือนละ 5 พันบาทถึง 40 เดือนๆ ละ 5 พันบาทนั้นมันสูงมากเมื่อเทียบกับรายได้ที่เขาได้รับ มันทำลายล้างความสุขในครอบครัวของเขาอย่างชัดเจน และยอดเงินที่ต้องจ่ายก็มากกว่า 2 เท่าในเวลา 40 เดือน
สูตรดอกเบี้ยทบต้น มันเพิ่มจำนวนขึ้นโดยไม่หยุดวันเสาร์-อาทิตย์และนักขัตฤกษ์ แต่ระเบิดนิวเคลียร์ 70-80 ปีมานี้เพิ่งเกิดเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ตอนนั้นผมเห็นด้วยกับไอน์สไตน์ร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ
แต่วันนี้ผมเปลี่ยนใจแล้วครับ เพราะสูตรดอกเบี้ยทบต้นนั้น มันทำลายล้างเฉพาะผู้ที่กู้เท่านั้น คนที่ไม่กู้ ไม่เป็นหนี้ก็จะไม่ถูกทำลายล้าง
แต่กลไกการโกงของชนกลุ่มน้อยที่ประกอบด้วยพ่อค้าพลังงาน ข้าราชการระดับสูงและนักการเมืองนั้น ได้ทำลายประชาชนทุกคนโดยไม่มีการจำแนกและไม่มีวันหยุดราชการ
ผมเชื่อว่าถ้าท่านไอน์สไตน์ยังมีชีวิตอยู่และอยู่ในเมืองไทยด้วย ท่านน่าจะเปลี่ยนใจมาตอบแบบเดียวกับที่ผมตอบนะครับ