คอลัมน์ : โลกที่ซับซ้อน
โดย...ประสาท มีแต้ม
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสร่วมเวทีเสวนาเรื่อง “สัมปทานพลังงานไทยกับส่วนแบ่งผลประโยชน์ที่เป็นธรรม” กับคณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา ซึ่งจัดโดยกลุ่มที่ใช้ชื่อว่า “องค์กรประชาชนตื่นรู้” ที่จังหวัดอุทัยธานี
ความจริงผมตั้งใจจะไปแค่ร่วมฟัง และดูบรรยากาศเท่านั้น ไม่ได้ตั้งใจจะขึ้นเวทีนำเสนอประเด็นอะไรหรอกครับ แต่แล้วก็โดนผู้ดำเนินรายการขอร้อง พร้อมกับมอบประเด็น และแบ่งเวลาให้พูดประมาณ 5-10 นาที จากเวลาทั้งหมด 4 ชั่วโมงเต็ม รายการนี้มีการถ่ายทอดสดทาง FMTV ด้วย
ในระหว่างที่นั่งฟัง และรอการสรุปซึ่งผู้ดำเนินรายการมอบให้ผม 2 นาที ผมก็นั่งคิดว่า “เดี๋ยวจะสรุปอย่างไรดีหนอ” จากการสดับตรับฟังมาตลอดผมก็ได้ข้อสรุปว่าจะสรุปอย่างไร แต่ก็นั่นแหละครับ ผมคิดว่าสิ่งที่ผมได้สรุปไปแล้วท่านผู้ฟังคงจะไม่เข้าใจ จึงขอถือโอกาสนี้มาขยายความครับ
ผมเริ่มต้นด้วยประเด็นว่า ประเทศไทยเรามีความอุดมสมบูรณ์ในทรัพยากรธรรมชาติมากทั้งในด้านจำนวน และประเภท ทั้งสินแร่ใต้ดิน ทั้งความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศเขตร้อนชื้น ทั้งบนบก และในทะเล แต่ปัญหามีอยู่ว่าเรามีการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักการเพื่อความยั่งยืน และเป็นธรรมหรือไม่
เราเคยส่งออกแร่ดีบุกมากเป็นอันดับ 2 ของโลกในช่วงก่อนเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมาจำนวนกว่า 1.5 ล้านตันในราคาตอนนั้นกิโลกรัมละ 30 บาท แต่ที่น่าเสียดายมากกว่านั้นก็คือ ในสินแร่ดีบุกนั้นมีแร่แทนทาลัมซึ่งหายาก และราคาแพงมาก (กิโลกรัมละ 500 บาท) ปนอยู่ด้วย ในวันนี้ราคาดีบุกกิโลกรัมละ 600 บาท แทนทาลัม 5,000-15,000 บาท ปัจจุบัน เรามีดีบุกให้ส่งออกแค่ปีละไม่ถึง 30 ตันเท่านั้น
นี่เป็นการจัดการที่ไม่ยั่งยืน และไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง รวมทั้งการจัดการป่าไม้ ไม้สัก ไม้มะค่า ฯลฯ คำถามก็คือว่า เราได้สรุปบทเรียนอะไรมั่ง
ในเรื่องพลังงาน (ซึ่งเป็นประเด็นหลักของการเสวนาในวันนั้น) ผมได้ปูพื้นให้ทราบว่า ปัจจุบันคนไทยได้ถูก “ชนกลุ่มน้อย” ซึ่งได้แก่พ่อค้าพลังงาน และข้าราชการระดับสูงเป็นผู้กำหนดนโยบายพลังงานให้เราเดินตาม
และเป็นการเดินตามไปสู่ความหายนะ 2 อย่างเสียด้วยสิ!
หายนะแรก พวกเขาพยายามล้างสมองคนไทยว่า แหล่งปิโตรเลียมของประเทศไทยมีน้อย มีขนาดเล็ก ดังนั้น จะไปเก็บค่าภาคหลวง หรือค่าสัมปทานในอัตราสูงก็ไม่ได้ เดี๋ยวจะไม่มีใครมาลงทุน ประเทศจะไม่เติบโตเป็นต้น
ขณะเดียวกัน ชนกลุ่มน้อยนี้ก็ขัดขวางไม่ให้ประชาชนใช้แหล่งพลังงานที่เขายังไม่ได้สัมปทาน คือ พลังงานหมุนเวียน ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ แสงแดด ลม ไม้ หรือแม้แต่ขี้หมู ขี้วัว ซึ่งในประเทศสวีเดนเขานำมาใช้กับรถเมล์นับพันคัน รถไฟฟ้ากลางเมืองหลวงได้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน และในเชิงพาณิชย์
แต่ประเทศไทยเราไม่เคยได้รับรู้ถึงเรื่องราวเหล่านี้เลย ทั้งนี้เพราะว่าพ่อค้าพลังงาน และข้าราชการระดับสูงเป็นผู้เขียนนโยบายพลังงานงาน พร้อมๆ กับข่มประชาชนว่า เรื่องพลังงานเป็นเรื่องของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น พวกประชาหน้าซีดทั้งหลายไม่มีปัญญาจะมารู้เรื่องที่ซับซ้อนได้หรอก จงเชื่อตามที่พวกข้ากำหนดก็แล้วกัน
ด้วยเหตุนี้ ราคาพลังงานจึงแพงเอาๆ ในปี 2554 คนไทยจ่ายค่าพลังงานถึงร้อยละ 19 ของรายได้ประชาชาติ ทั้งๆ ที่เมื่อย้อนหลังไป 25 และ 50 ปีที่แล้ว ค่าใช้จ่ายอยู่แค่ร้อยละ 7 และ 1 เท่านั้น
ถ้าเราไม่ปรับเปลี่ยนนโยบายพลังงานแล้ว คุณภาพชีวิตของประชาชนมีแต่จะแย่ลงๆ ในขณะที่กลุ่มพ่อค้าพลังงานผูกขาดกลับร่ำรวยมหาศาล
หายนะที่สอง การที่คนทั้งโลกเดินตามนโยบายพลังงานฟอสซิล จะทำให้เกิดปัญหาโลกร้อนซึ่งนำไปสู่ภัยพิบัติทางธรรมชาติทั่วโลก เดี๋ยวพายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภัยแล้ง เล่นเอาจดสถิติกันแทบไม่ทัน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วก็เจอกับ “โคตรพายุ” ในสหรัฐอเมริกา
ที่น่าเสียใจกว่านั้นก็คือ ร้อยละ 96 ของผู้เสียชีวิตจากภัยดังกล่าวอยู่ในประเทศยากจน (ทั้งๆ ที่เป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด) เพราะระบบการเตือนภัยและหนีภัยไม่มีประสิทธิภาพพอเมื่อเทียบกับประเทศร่ำรวย
นอกจากการเดินทางไปสู่กับดักแห่งหายนะสองประการแล้ว การมีแหล่งปิโตรเลียมมากๆ มักจะเป็นต้นเหตุของสงคราม เช่น สงครามอิรัก เป็นต้น อดีต ส.ส.เยอรมนี (ดร.แฮร์มัน เชีย) เคยเปิดเผยว่า 1 ใน 3 ของงบประมาณกลาโหมสหรัฐอเมริกาถูกใช้ไปกับการรักษาแหล่งปิโตรเลียมที่บริษัทของตนได้รับสัมปทาน
ผมได้สรุปการนำเสนอในช่วงแรกว่า พี่น้องประชาชนต้องรู้เท่าทันโยบายพลังงาน ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากอะไร หากเราเริ่มต้นด้วยการสงสัย คือ ร้อง “เอ๊ะ” ไม่ใช่ฟังไปเรื่อยๆ แล้วร้อง “อ๋อ” ยอมรับไปทุกเรื่อง
ผมได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อ 15 ปีก่อน ผมก็ไม่รู้เรื่องพลังงานหรอก แต่ชาวบ้านคนหนึ่งที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ใกล้ๆ โรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย ได้มาพูดให้ผมต้องมาติดตามเรื่องพลังงานมายาวนาน
ผมยังจำเนื้อหาที่เธอพูดได้ทุกคำ พร้อมทั้งจำอารมณ์ที่ผมรู้สึกในวันนั้นได้อย่างไม่ลืมเลือน
“พวกฉันเป็นชาวบ้าน พวกฉันไม่มีความรู้ อาจารย์เป็นคนมีความรู้ อาจารย์อย่าเอาแต่นอน ช่วยหาความรู้มาให้พวกฉัน แล้วพวกฉันจะคิดเอง”
ขอยืนยันว่าทุกคำดังกล่าวไม่มีการดัดแปลงแต่งเติมแม้แต่นิดเดียว และเมื่อผมกลับมาใคร่ครวญแล้ว ผมรู้สึกว่าเป็นคำพูดที่มีความลึกซึ้งมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แล้วพวกฉันจะคิดเอง”
มาถึงบทสรุปที่ผมมีเวลาแค่ 2 นาที ผมพูดไปอย่างนี้ครับ
“กระบวนการที่เขาเรียกกันว่าพัฒนาๆ ซึ่งฟังแล้วดูซับซ้อน ดูขลัง และสวยหรูนั้น แท้ที่จริงแล้วสามารถถอดออกมาเป็นรหัสสั้นๆ ได้เพียง 2 ขั้นตอนเท่านั้น คือ หนึ่ง ล้างสมอง และสองปล้น”
ผลประโยชน์ และส่วนแบ่งจากแหล่งปิโตรเลียมที่ประเทศ และประชาชนได้รับนั้นมีน้อยมาก เพราะถูกปล้นไปอย่างคาดไม่ถึง แต่ก่อนจะลงมือปล้นเขาได้ใช้วิธีการล้างสมอง ให้ข้อมูลเท็จบ้าง จริงครึ่งเดียวบ้าง ดังที่วิทยากรท่านอื่นๆ ได้กล่าวมาแล้ว
ถ้าเป็นการพัฒนาที่แท้จริง ประชาชนจะมีความสุข ยิ้มแย้มแจ่มใส ภายใต้สภาวะสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่ ปลอดภัย แต่ที่ผ่านมา มันกลับตรงกันข้าม
ด้วยความที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ผมนึกถึงคำพูดของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ขึ้นมาทันที คืออยากจะสรุปสั้นๆ ได้ใจความ และกินใจให้ผู้ฟังเอาไปคิดต่อ
มีคนถามท่านว่า “สิ่งประดิษฐ์ใดที่มีพลังในการทำลายล้างมากที่สุด?”
ผู้ถามก็คงคาดหมายว่าท่านน่าจะตอบว่า “ระเบิดนิวเคลียร์นะสิ” เพราะความรู้ที่ท่านคิดค้นได้มีส่วนสำคัญในการทำระเบิดนิวเคลียร์ แต่ท่านตอบว่า
“สูตรดอกเบี้ยทบต้น”
ในฐานะอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ผมรู้สึกขำ และเข้าใจความหมายดีครับ หลานผมคนหนึ่งไปกู้เงินเขา 8.5 หมื่นบาท ต้องจ่ายคืนถึง 2 แสนบาท โดยผ่อนเดือนละ 5 พันบาท ถึง 40 เดือนๆ ละ 5 พันบาทนั้นมันสูงมากเมื่อเทียบกับรายได้ที่เขาได้รับ มันทำลายล้างความสุขในครอบครัวของเขาอย่างชัดเจน และยอดเงินที่ต้องจ่ายก็มากกว่า 2 เท่าในเวลา 40 เดือน
สูตรดอกเบี้ยทบต้น มันเพิ่มจำนวนขึ้นโดยไม่หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ แต่ระเบิดนิวเคลียร์ 70-80 ปีมานี้เพิ่งเกิดเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ตอนนั้นผมเห็นด้วยกับไอน์สไตน์ร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ
แต่วันนี้ผมเปลี่ยนใจแล้วครับ เพราะสูตรดอกเบี้ยทบต้นนั้น มันทำลายล้างเฉพาะผู้ที่กู้เท่านั้น คนที่ไม่กู้ ไม่เป็นหนี้ก็จะไม่ถูกทำลายล้าง
แต่กลไกการโกงของชนกลุ่มน้อยที่ประกอบด้วยพ่อค้าพลังงาน ข้าราชการระดับสูงและนักการเมืองนั้น ได้ทำลายประชาชนทุกคนโดยไม่มีการจำแนก และไม่มีวันหยุดราชการ
ผมเชื่อว่าถ้าท่านไอน์สไตน์ยังมีชีวิตอยู่ และอยู่ในเมืองไทยด้วย ท่านน่าจะเปลี่ยนใจมาตอบแบบเดียวกับที่ผมตอบนะครับ
โดย...ประสาท มีแต้ม
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสร่วมเวทีเสวนาเรื่อง “สัมปทานพลังงานไทยกับส่วนแบ่งผลประโยชน์ที่เป็นธรรม” กับคณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา ซึ่งจัดโดยกลุ่มที่ใช้ชื่อว่า “องค์กรประชาชนตื่นรู้” ที่จังหวัดอุทัยธานี
ความจริงผมตั้งใจจะไปแค่ร่วมฟัง และดูบรรยากาศเท่านั้น ไม่ได้ตั้งใจจะขึ้นเวทีนำเสนอประเด็นอะไรหรอกครับ แต่แล้วก็โดนผู้ดำเนินรายการขอร้อง พร้อมกับมอบประเด็น และแบ่งเวลาให้พูดประมาณ 5-10 นาที จากเวลาทั้งหมด 4 ชั่วโมงเต็ม รายการนี้มีการถ่ายทอดสดทาง FMTV ด้วย
ในระหว่างที่นั่งฟัง และรอการสรุปซึ่งผู้ดำเนินรายการมอบให้ผม 2 นาที ผมก็นั่งคิดว่า “เดี๋ยวจะสรุปอย่างไรดีหนอ” จากการสดับตรับฟังมาตลอดผมก็ได้ข้อสรุปว่าจะสรุปอย่างไร แต่ก็นั่นแหละครับ ผมคิดว่าสิ่งที่ผมได้สรุปไปแล้วท่านผู้ฟังคงจะไม่เข้าใจ จึงขอถือโอกาสนี้มาขยายความครับ
ผมเริ่มต้นด้วยประเด็นว่า ประเทศไทยเรามีความอุดมสมบูรณ์ในทรัพยากรธรรมชาติมากทั้งในด้านจำนวน และประเภท ทั้งสินแร่ใต้ดิน ทั้งความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศเขตร้อนชื้น ทั้งบนบก และในทะเล แต่ปัญหามีอยู่ว่าเรามีการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักการเพื่อความยั่งยืน และเป็นธรรมหรือไม่
เราเคยส่งออกแร่ดีบุกมากเป็นอันดับ 2 ของโลกในช่วงก่อนเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมาจำนวนกว่า 1.5 ล้านตันในราคาตอนนั้นกิโลกรัมละ 30 บาท แต่ที่น่าเสียดายมากกว่านั้นก็คือ ในสินแร่ดีบุกนั้นมีแร่แทนทาลัมซึ่งหายาก และราคาแพงมาก (กิโลกรัมละ 500 บาท) ปนอยู่ด้วย ในวันนี้ราคาดีบุกกิโลกรัมละ 600 บาท แทนทาลัม 5,000-15,000 บาท ปัจจุบัน เรามีดีบุกให้ส่งออกแค่ปีละไม่ถึง 30 ตันเท่านั้น
นี่เป็นการจัดการที่ไม่ยั่งยืน และไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง รวมทั้งการจัดการป่าไม้ ไม้สัก ไม้มะค่า ฯลฯ คำถามก็คือว่า เราได้สรุปบทเรียนอะไรมั่ง
ในเรื่องพลังงาน (ซึ่งเป็นประเด็นหลักของการเสวนาในวันนั้น) ผมได้ปูพื้นให้ทราบว่า ปัจจุบันคนไทยได้ถูก “ชนกลุ่มน้อย” ซึ่งได้แก่พ่อค้าพลังงาน และข้าราชการระดับสูงเป็นผู้กำหนดนโยบายพลังงานให้เราเดินตาม
และเป็นการเดินตามไปสู่ความหายนะ 2 อย่างเสียด้วยสิ!
หายนะแรก พวกเขาพยายามล้างสมองคนไทยว่า แหล่งปิโตรเลียมของประเทศไทยมีน้อย มีขนาดเล็ก ดังนั้น จะไปเก็บค่าภาคหลวง หรือค่าสัมปทานในอัตราสูงก็ไม่ได้ เดี๋ยวจะไม่มีใครมาลงทุน ประเทศจะไม่เติบโตเป็นต้น
ขณะเดียวกัน ชนกลุ่มน้อยนี้ก็ขัดขวางไม่ให้ประชาชนใช้แหล่งพลังงานที่เขายังไม่ได้สัมปทาน คือ พลังงานหมุนเวียน ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ แสงแดด ลม ไม้ หรือแม้แต่ขี้หมู ขี้วัว ซึ่งในประเทศสวีเดนเขานำมาใช้กับรถเมล์นับพันคัน รถไฟฟ้ากลางเมืองหลวงได้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน และในเชิงพาณิชย์
แต่ประเทศไทยเราไม่เคยได้รับรู้ถึงเรื่องราวเหล่านี้เลย ทั้งนี้เพราะว่าพ่อค้าพลังงาน และข้าราชการระดับสูงเป็นผู้เขียนนโยบายพลังงานงาน พร้อมๆ กับข่มประชาชนว่า เรื่องพลังงานเป็นเรื่องของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น พวกประชาหน้าซีดทั้งหลายไม่มีปัญญาจะมารู้เรื่องที่ซับซ้อนได้หรอก จงเชื่อตามที่พวกข้ากำหนดก็แล้วกัน
ด้วยเหตุนี้ ราคาพลังงานจึงแพงเอาๆ ในปี 2554 คนไทยจ่ายค่าพลังงานถึงร้อยละ 19 ของรายได้ประชาชาติ ทั้งๆ ที่เมื่อย้อนหลังไป 25 และ 50 ปีที่แล้ว ค่าใช้จ่ายอยู่แค่ร้อยละ 7 และ 1 เท่านั้น
ถ้าเราไม่ปรับเปลี่ยนนโยบายพลังงานแล้ว คุณภาพชีวิตของประชาชนมีแต่จะแย่ลงๆ ในขณะที่กลุ่มพ่อค้าพลังงานผูกขาดกลับร่ำรวยมหาศาล
หายนะที่สอง การที่คนทั้งโลกเดินตามนโยบายพลังงานฟอสซิล จะทำให้เกิดปัญหาโลกร้อนซึ่งนำไปสู่ภัยพิบัติทางธรรมชาติทั่วโลก เดี๋ยวพายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภัยแล้ง เล่นเอาจดสถิติกันแทบไม่ทัน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วก็เจอกับ “โคตรพายุ” ในสหรัฐอเมริกา
ที่น่าเสียใจกว่านั้นก็คือ ร้อยละ 96 ของผู้เสียชีวิตจากภัยดังกล่าวอยู่ในประเทศยากจน (ทั้งๆ ที่เป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด) เพราะระบบการเตือนภัยและหนีภัยไม่มีประสิทธิภาพพอเมื่อเทียบกับประเทศร่ำรวย
นอกจากการเดินทางไปสู่กับดักแห่งหายนะสองประการแล้ว การมีแหล่งปิโตรเลียมมากๆ มักจะเป็นต้นเหตุของสงคราม เช่น สงครามอิรัก เป็นต้น อดีต ส.ส.เยอรมนี (ดร.แฮร์มัน เชีย) เคยเปิดเผยว่า 1 ใน 3 ของงบประมาณกลาโหมสหรัฐอเมริกาถูกใช้ไปกับการรักษาแหล่งปิโตรเลียมที่บริษัทของตนได้รับสัมปทาน
ผมได้สรุปการนำเสนอในช่วงแรกว่า พี่น้องประชาชนต้องรู้เท่าทันโยบายพลังงาน ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากอะไร หากเราเริ่มต้นด้วยการสงสัย คือ ร้อง “เอ๊ะ” ไม่ใช่ฟังไปเรื่อยๆ แล้วร้อง “อ๋อ” ยอมรับไปทุกเรื่อง
ผมได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อ 15 ปีก่อน ผมก็ไม่รู้เรื่องพลังงานหรอก แต่ชาวบ้านคนหนึ่งที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ใกล้ๆ โรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย ได้มาพูดให้ผมต้องมาติดตามเรื่องพลังงานมายาวนาน
ผมยังจำเนื้อหาที่เธอพูดได้ทุกคำ พร้อมทั้งจำอารมณ์ที่ผมรู้สึกในวันนั้นได้อย่างไม่ลืมเลือน
“พวกฉันเป็นชาวบ้าน พวกฉันไม่มีความรู้ อาจารย์เป็นคนมีความรู้ อาจารย์อย่าเอาแต่นอน ช่วยหาความรู้มาให้พวกฉัน แล้วพวกฉันจะคิดเอง”
ขอยืนยันว่าทุกคำดังกล่าวไม่มีการดัดแปลงแต่งเติมแม้แต่นิดเดียว และเมื่อผมกลับมาใคร่ครวญแล้ว ผมรู้สึกว่าเป็นคำพูดที่มีความลึกซึ้งมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แล้วพวกฉันจะคิดเอง”
มาถึงบทสรุปที่ผมมีเวลาแค่ 2 นาที ผมพูดไปอย่างนี้ครับ
“กระบวนการที่เขาเรียกกันว่าพัฒนาๆ ซึ่งฟังแล้วดูซับซ้อน ดูขลัง และสวยหรูนั้น แท้ที่จริงแล้วสามารถถอดออกมาเป็นรหัสสั้นๆ ได้เพียง 2 ขั้นตอนเท่านั้น คือ หนึ่ง ล้างสมอง และสองปล้น”
ผลประโยชน์ และส่วนแบ่งจากแหล่งปิโตรเลียมที่ประเทศ และประชาชนได้รับนั้นมีน้อยมาก เพราะถูกปล้นไปอย่างคาดไม่ถึง แต่ก่อนจะลงมือปล้นเขาได้ใช้วิธีการล้างสมอง ให้ข้อมูลเท็จบ้าง จริงครึ่งเดียวบ้าง ดังที่วิทยากรท่านอื่นๆ ได้กล่าวมาแล้ว
ถ้าเป็นการพัฒนาที่แท้จริง ประชาชนจะมีความสุข ยิ้มแย้มแจ่มใส ภายใต้สภาวะสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่ ปลอดภัย แต่ที่ผ่านมา มันกลับตรงกันข้าม
ด้วยความที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ผมนึกถึงคำพูดของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ขึ้นมาทันที คืออยากจะสรุปสั้นๆ ได้ใจความ และกินใจให้ผู้ฟังเอาไปคิดต่อ
มีคนถามท่านว่า “สิ่งประดิษฐ์ใดที่มีพลังในการทำลายล้างมากที่สุด?”
ผู้ถามก็คงคาดหมายว่าท่านน่าจะตอบว่า “ระเบิดนิวเคลียร์นะสิ” เพราะความรู้ที่ท่านคิดค้นได้มีส่วนสำคัญในการทำระเบิดนิวเคลียร์ แต่ท่านตอบว่า
“สูตรดอกเบี้ยทบต้น”
ในฐานะอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ผมรู้สึกขำ และเข้าใจความหมายดีครับ หลานผมคนหนึ่งไปกู้เงินเขา 8.5 หมื่นบาท ต้องจ่ายคืนถึง 2 แสนบาท โดยผ่อนเดือนละ 5 พันบาท ถึง 40 เดือนๆ ละ 5 พันบาทนั้นมันสูงมากเมื่อเทียบกับรายได้ที่เขาได้รับ มันทำลายล้างความสุขในครอบครัวของเขาอย่างชัดเจน และยอดเงินที่ต้องจ่ายก็มากกว่า 2 เท่าในเวลา 40 เดือน
สูตรดอกเบี้ยทบต้น มันเพิ่มจำนวนขึ้นโดยไม่หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ แต่ระเบิดนิวเคลียร์ 70-80 ปีมานี้เพิ่งเกิดเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ตอนนั้นผมเห็นด้วยกับไอน์สไตน์ร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ
แต่วันนี้ผมเปลี่ยนใจแล้วครับ เพราะสูตรดอกเบี้ยทบต้นนั้น มันทำลายล้างเฉพาะผู้ที่กู้เท่านั้น คนที่ไม่กู้ ไม่เป็นหนี้ก็จะไม่ถูกทำลายล้าง
แต่กลไกการโกงของชนกลุ่มน้อยที่ประกอบด้วยพ่อค้าพลังงาน ข้าราชการระดับสูงและนักการเมืองนั้น ได้ทำลายประชาชนทุกคนโดยไม่มีการจำแนก และไม่มีวันหยุดราชการ
ผมเชื่อว่าถ้าท่านไอน์สไตน์ยังมีชีวิตอยู่ และอยู่ในเมืองไทยด้วย ท่านน่าจะเปลี่ยนใจมาตอบแบบเดียวกับที่ผมตอบนะครับ