หอการค้าไทยผุดศูนย์วิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจการค้า นำร่องประเมินส่งออกปีนี้ คาดโตได้อย่างเก่งแค่ 1% พร้อมประเมินเศรษฐกิจไทยปี 56 คาดโต 4.5% ลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เหตุมีปัจจัยเสี่ยงเพียบ
นายวิชัย อัศรัสกร กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ จัดตั้งศูนย์วิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจการค้า เพื่อติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ โดยจะเน้นการติดตามสถานการณ์และการเตือนภัยทั้งโอกาสและความเสี่ยง ซึ่งจะทำออกมาทุก 3 เดือนแต่หากมีเหตุการณ์พิเศษก็จะแจ้งสถานการณ์ในทันที เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและนำเสนอปัญหาต่อรัฐบาลเพื่อนำไปพิจารณาแก้ไขต่อไป
ทั้งนี้ ในเบื้องต้นได้มีการติดตามปัญหาผลกระทบจากวิกฤตในยูโรโซน โดยพบว่า สินค้าที่มีปริมาณและมูลค่าในการส่งออกไปยังประเทศในกลุ่มยูโรโซนที่สูง เช่น อาหารแปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และยางพารา ได้รับผลกระทบจากราคาโภคภัณฑ์ที่ลดลง โดยการส่งออกในช่วง 9 เดือนของปี 2555 (ม.ค.-ก.ย.) ทำได้ 1.72 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 1.1% ซึ่งจากการติดตามและประเมินผลจากผู้ส่งออกกลุ่มต่างๆ เห็นว่าการส่งออกไทยน่าห่วง เพราะ 3 เดือนสุดท้าย หากส่งออกไม่ติดลบ และทำได้เฉลี่ย 1.7-1.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ การส่งออกทั้งปีจะโตได้ประมาณ 1% เท่านั้น ต่ำกว่าที่กระทรวงพาณิชย์คาดไว้ว่าจะโตในระดับ 5%
นายธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ศูนย์ฯ ได้ประเมินอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวเพียง 4.5% เป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน โดยปี 2554 ขยายตัว 5.6% และปี 2555 คาดว่าจะขยายตัว 5.4% ซึ่งถือว่าน่าเป็นห่วงมาก เพราะมีปัจจัยลบทั้งภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย หากไม่มีการรับมือให้ดี เศรษฐกิจไทยถือว่ามีความเสี่ยงสูง
ปัจจัยลบที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2556 มาจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ทั้งปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป ปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังไม่ฟื้นตัว มีปัญหาเสถียรภาพการเมืองโลก เช่น สหรัฐฯ มีปัญหาเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม พื้นที่ทับซ้อนจีนกับญี่ปุ่น ปัญหาการว่างงานสหรัฐฯ และยุโรป ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ภัยทางธรรมชาติ
ส่วนปัจจัยลบภายในประเทศ มีปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง ปัญหาต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นจากการปรับค่าแรงวันละ 300 บาททั่วประเทศรวมไปถึงการปรับขึ้นของค่าพลังงาน ทั้งน้ำมัน ไฟฟ้า ค่าขนส่ง เป็นต้น
นายวิชัย อัศรัสกร กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ จัดตั้งศูนย์วิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจการค้า เพื่อติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ โดยจะเน้นการติดตามสถานการณ์และการเตือนภัยทั้งโอกาสและความเสี่ยง ซึ่งจะทำออกมาทุก 3 เดือนแต่หากมีเหตุการณ์พิเศษก็จะแจ้งสถานการณ์ในทันที เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและนำเสนอปัญหาต่อรัฐบาลเพื่อนำไปพิจารณาแก้ไขต่อไป
ทั้งนี้ ในเบื้องต้นได้มีการติดตามปัญหาผลกระทบจากวิกฤตในยูโรโซน โดยพบว่า สินค้าที่มีปริมาณและมูลค่าในการส่งออกไปยังประเทศในกลุ่มยูโรโซนที่สูง เช่น อาหารแปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และยางพารา ได้รับผลกระทบจากราคาโภคภัณฑ์ที่ลดลง โดยการส่งออกในช่วง 9 เดือนของปี 2555 (ม.ค.-ก.ย.) ทำได้ 1.72 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 1.1% ซึ่งจากการติดตามและประเมินผลจากผู้ส่งออกกลุ่มต่างๆ เห็นว่าการส่งออกไทยน่าห่วง เพราะ 3 เดือนสุดท้าย หากส่งออกไม่ติดลบ และทำได้เฉลี่ย 1.7-1.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ การส่งออกทั้งปีจะโตได้ประมาณ 1% เท่านั้น ต่ำกว่าที่กระทรวงพาณิชย์คาดไว้ว่าจะโตในระดับ 5%
นายธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ศูนย์ฯ ได้ประเมินอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวเพียง 4.5% เป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน โดยปี 2554 ขยายตัว 5.6% และปี 2555 คาดว่าจะขยายตัว 5.4% ซึ่งถือว่าน่าเป็นห่วงมาก เพราะมีปัจจัยลบทั้งภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย หากไม่มีการรับมือให้ดี เศรษฐกิจไทยถือว่ามีความเสี่ยงสูง
ปัจจัยลบที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2556 มาจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ทั้งปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป ปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังไม่ฟื้นตัว มีปัญหาเสถียรภาพการเมืองโลก เช่น สหรัฐฯ มีปัญหาเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม พื้นที่ทับซ้อนจีนกับญี่ปุ่น ปัญหาการว่างงานสหรัฐฯ และยุโรป ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ภัยทางธรรมชาติ
ส่วนปัจจัยลบภายในประเทศ มีปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง ปัญหาต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นจากการปรับค่าแรงวันละ 300 บาททั่วประเทศรวมไปถึงการปรับขึ้นของค่าพลังงาน ทั้งน้ำมัน ไฟฟ้า ค่าขนส่ง เป็นต้น