วานนี้ (4 พ.ย.55) นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรครักประเทศไทย เปิดเผยว่า จากการหารือร่วมกับนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) ถึงการร่วมอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล โดยยืนยันว่าจะร่วมอภิปรายแน่นอน ส่วนเรื่องที่จะอภิปรายไม่ใช่เรื่องโครงการรับจำนำข้าว เพราะมีพรรคใหญ่อภิปรายอยู่แล้ว ส่วนตนจะอภิปรายเรื่องอะไร ขอเก็บไว้เป็นบิ๊กเซอร์ไพรส์ ยันมีรูปภาพ คำพูด คลิปเด็ด ชัดเจน เพราะภาพหนึ่งภาพสามารถแทนคำพูดได้เป็นพันคำ
"ที่ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะอภิปรายเรื่องอะไร เพราะกลัวว่าคนที่ถูกอภิปรายจะไหวตัวทัน และพรรครักประเทศไทยก็เป็นเพียงพรรคเล็กๆที่พูดอะไรมากไม่ได้ ส่วนจะเป็นประเด็นที่จะอภิปรายเกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี หรือไม่นั้น ตนยังไม่สามารถบอกได้"นายชูวิทย์กล่าว
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) กล่าวว่า ก่อนที่จะมีการปิดสมัยประชุมสภาฯในเดือนนี้ สภาฯจะมีภารกิจหลัก 3 เรื่องที่ต้องรีบดำเนินการ คือ 1.การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของฝ่ายค้าน 2.การขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติของสมาชิกวุฒิสภา และ3.การแถลงผลงานครบ 1 ปีของรัฐบาล โดยในสองภารกิจแรกนั้นมีการกำหนดวันเวลาชัดเจนแล้ว เหลือแต่การกำหนดวันแถลงผลงานของรัฐบาลที่ยังไม่มีความชัดเจน จึงขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลเร่งกำหนดวันที่เพื่อดำเนินการแถลงผลงานครบรอบ 1 ปีต่อรัฐสภาด้วย เพราะขณะนี้รัฐบาลทำงานครบ 1 ปีมา 3 เดือนแล้ว ทั้งนี้ตนขอตั้งขอสังเกตว่าสาเหตุที่รัฐบาลนิ่งเฉยเป็นเพราะไม่มีผลงานที่จะแถลง หรือเกรงว่าเมื่อแถลงผลงานแล้วจะเป็นการช่องทางให้ฝ่ายค้านจะหาข้อบกพร่องเพื่อนำข้อมูลไปอภิปรายไม่ไว้วางใจเลยพยายามหลีกเลี่ยง
ด้านนายสุรชัย ชัยตระกูลทอง เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา(วิปวุฒิ) กล่าวว่า หลังจากที่นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ได้ประสานไปยังรัฐบาลเพื่อขอเปลี่ยนแปลงวันเวลาตามมติวิปวุฒิแล้ว ปรากฏว่าล่าสุดทางรัฐบาลยังยืนยันให้วุฒิสภาอภิปรายในวันที่ 28 พ.ย.โดยในช่วงเช้าจะเป็นการประชุมเพื่อลงมติในญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทำให้เพื่อนส.ว.ส่วนใหญ่ที่ทราบข่าวไม่พอใจ โดยในวันที่ 5 พ.ย.จะขอนัดหารือกับวิปรัฐบาล เพื่อขอประสานเวลาใหม่ โดยให้สภาลงมติในช่วงเช้าของวันที่ 27 พ.ย. และช่วงบ่ายให้วุฒิสภาได้อภิปราย รวมถึง 28 พ.ย.ซึ่งยังมีเวลาถึงเที่ยงคืน ซึ่งวุฒิสภาก็จะได้เวลา 1วันครึ่ง เนื่องจากส.ว.มีความประสงค์จะอภิปรายค่อนข้างมาก
"การกำหนดเวลาเพียงแค่ 28 พ.ย.ในช่วงบ่าย ไม่ถึง 1 วัน ก็ถือว่าไม่เหมาะสม อยากให้รัฐบาลได้ทบทวนให้เวลากับวุฒิสภาได้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ได้อภิปรายให้ข้อคิดกับรัฐบาลอย่างเต็มที่ การไม่ให้ความสำคัญกับวุฒิสภาก็เหมือนกับไม่ให้เกียรติกัน ฉะนั้นจะมาหวัง ส.ว.ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในด้านอื่นก็คงไม่ได้"นายสุรชัยกล่าว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังใช้เวลาแจกลายเซ็นกว่า 2 ชั่วโมง ว่า ไม่รู้สึกกังวลกรณีที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุมีข้อมูลเด็ดจะแฉกลับฝ่ายค้าน ระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล เพราะหากมีประเด็นใดที่รัฐบาลชุดที่แล้วทำไม่ถูกต้อง รัฐบาลนี้สามารถดำเนินการได้ และเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเคยถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจมาแล้วถึง 3 ครั้ง จึงไม่คิดว่าจะมีปัญหา อีกทั้งรัฐบาลอย่าได้วิตกจริตเกินไป กับการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ เพราะฝ่ายค้านทำตามหน้าที่ และรัฐบาลมีหน้าที่ต้องชี้แจง
นายอภิสิทธิ์กล่าวอีกว่าการเตรียมข้อมูลของฝ่ายค้าน ขณะนี้ได้เตรียมแบ่งข้อมูลเป็นหมวดหมู่ ขณะที่วิปฝ่ายค้านได้ประสานพรรคภูมิใจไทยและนายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทยที่จะร่วมอภิปรายครั้งนี้ด้วย
นอกจากนี้หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยังปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ระบุว่า พรรคฝ่ายค้านสนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยาม โดยยืนยันว่าจะใช้ระบบรัฐสภาตรวจสอบ จึงขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีและคนในรัฐบาลมาตอบญัตติในสภา ส่วนกรณีที่ยังมีความพยายามตรวจสอบคุณสมบัติ เพื่อถอดยศตนนั้น เป็นเรื่องที่กระทรวงกลาโหมพยายามดำเนินการ ทั้งที่ความจริงไม่มีอะไร อย่างไรก็ตามขอเรียกร้องให้ดำเนินการตามข้อเท็จจริงของกฎหมาย เพราะเรื่องนี้เคยถูกตรวจสอบและชี้แจงไปหมดแล้วตั้งแต่สมัยเป็นนายกรัฐมนตรี
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีฝ่ายค้านเตรียม จะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางในรัฐบาลในวันที่ 9 พ.ย.นี้ ว่า เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ ขอให้ฝ่ายค้านทำหน้าที่ในการตรวจสอบต่อไป ทั้งนี้ยืนยันว่า พรรคเพื่อไทยไม่รู้สึกกังวลใจ เนื่องจากในวันที่อังคาร 6 พ.ย.นี้ จะมีการประชุมพรรค เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการภิปรายไม่ไว้วางใจด้วย และก่อนที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ฝ่ายค้าน ควรตรวจสอบคุณสมบัติของของผู้นำฝ่ายค้านด้วย เนื่องจากยังมีคดีหลบเลี่ยง และใช้เอกสารเท็จ ในการเข้ารับราชการทหารติดตัวอยู่ ยืนยันจะไม่มีการแต่งตั้งองครักษ์พิทักษ์นายกรัฐมนตรี อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม พรรคยังมีความกังวลกับกระแสข่าวการปลุกระดมมวลชนในภาคใต้ เพื่อมุ่งเน้นทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาล โดยตั้งข้อสังเกตว่า เป็นการปลุกระดมเพื่อให้คนมาชุมนุม ในระหว่างวันที่ 25 – 28 พ.ย.นี้ ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ซึ่งเห็นว่าเป็นเกมการเมือง ที่อาจมีความสอดคล้องกับการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยาม ตนจึงขอประนามคนที่อยู่เบื้องหลังการปลุกระดมมวลชนครั้งนี้ ที่อาจจะทำให้ประเทศชาติเสียหายได้
ส่วนกรณีฝ่ายค้านตั้ง ฉายา ครม.ยิ่งลักษณ์ 3 ว่า "ครม.ชิน คาบิเน็ต" นั้น นายพร้อมพงษ์ ปฏิเสธว่า ไม่เป็นความจริง เป็นเพียงแค่วาทกรรมทางการเมือง ของนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เท่านั้น และหากมีการซักฟอก ก็เชื่อว่านายกรัฐมนตรีจะสามารถชี้แจงได้
นายประชา ประสพดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งฉายาการปรับครม. ยิ่งลักษณ์ 3 ว่า "ชินคาบิเนต" ว่า การปรับครม.ครั้งนี้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ตัดสินใจนำคนมาร่วมเพื่อประสิทธิภาพและความเหมาะสม ส่วนตัวไม่แปลกใจกับพฤติกรรมนักการเมืองพรรคนี้ ที่มีลักษณะบกพร่องทางจิต ความคิดไม่สร้างสรรค์จิตใจสกปรก การกล่าวหาไปถึงตระกูลชินวัตร ถือเป็นเรื่องที่เกินเลย เพราะคนในตระกูลชินวัตรหลายคนเป็นพ่อค้า นักธุรกิจ ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวการเมือง พรรคประชาธิปัตย์จะพูดถึงนายกฯ หรือพรรคเพื่อไทย ก็พูดไป แต่อย่าลามปามไปถึงวงศ์ตระกูล ถ้าหากตนพูดโจมตีตระกูลของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์บ้าง หรือพูดถึงตระกูลคล้ามไพบูลย์บ้างจะว่าอย่างไร เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์กำลังคิดเล่นเกมชกใต้เข็มขัดในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ จ้องจะหยิบยกคนนอกมาเกี่ยวข้อง หากเป็นอย่างนั้นเราไม่ยอมแน่ นอกจากจะต้องใช้สิทธิ์ประท้วง แล้วคงต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย เพราะคนที่อยู่นอกสภาไม่มีโอกาสได้ชี้แจงแก้ต่าง
นพ.ทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ว่า จะเข้ามาดูในส่วนที่เป็นจุดอ่อน ว่ามีตรงไหน และเรียนรู้ภาพรวมการทำงาน เพื่อให้สอดคล้องกับการนโยบายรัฐบาลและควบคู่ไปกับการเมือง แต่ในเรื่องของการเมือง ต้องไม่ใช่เรื่องของการตอบโต้ที่ไม่สร้างสรรค์ เพราะตรงนี้ไม่ใช่การอภิปรายในสภา
ส่วนที่มีการมองกันว่า การทำงานของทีมโฆษกฯ ยังไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันนั้น ตรงนี้จะมีการพูดคุย และแบ่งการทำงานอย่างเท่าเทียมกัน เพราะทุกคนสำคัญเท่ากันหมด
สำหรับกรณีสวนดุสิตโพล สำรวจความความคิดเห็นประชาชนถึงจุดอ่อนของรัฐบาล โดยประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า ยังไม่สามารถแก้ปัญหาเร่งด่วน หรือทำตามสัญญาที่ให้ไว้ได้อย่างครบถ้วนนั้น เรื่องนี้ตนจะเข้าไปดูว่านโยบายไหนมีความคืบหน้า และนโยบายไหนยังไม่คืบหน้า เพราะบางนโยบายรัฐบาลทำไปแล้ว แต่อาจจะไม่มีการประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะมีกาประชาสัมพันธ์เชิงรุกมากขึ้น
สำนักวิจัยเอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจในหัวข้อ ผลการปรับคณะรัฐมนตรี การชุมนุมทางการเมือง และการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ในสายตาสาธารณชน โดยสำรวจประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ พบว่า ระดับการยอมรับคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อยู่ที่ 6.67 เต็ม 10 ซึ่งร้อยละ 74.9 ระบุว่า ควรให้โอกาส และปล่อยวาง
ส่วนกรณีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลนั้น ร้อยละ 87.4 เห็นว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ควรมาชี้แจงตอบคำถามเอง และร้อยละ 87.1 เห็นว่า นายกรัฐมนตรี ควรให้ความสำคัญกับระบอบรัฐสภา รวมทั้งร้อยละ 68.6 เชื่อว่า การอภิปรายจะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในรัฐบาล
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงการชุมนุมทางการเมือง พบว่า ร้อยละ 81.4 เห็นว่าการชุมนุมยิ่งเพิ่มความขัดแย้งรุนแรงและกังวลว่าความขัดแย้งจะบานปลายอีกร้อยละ 66.3
"ที่ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะอภิปรายเรื่องอะไร เพราะกลัวว่าคนที่ถูกอภิปรายจะไหวตัวทัน และพรรครักประเทศไทยก็เป็นเพียงพรรคเล็กๆที่พูดอะไรมากไม่ได้ ส่วนจะเป็นประเด็นที่จะอภิปรายเกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี หรือไม่นั้น ตนยังไม่สามารถบอกได้"นายชูวิทย์กล่าว
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) กล่าวว่า ก่อนที่จะมีการปิดสมัยประชุมสภาฯในเดือนนี้ สภาฯจะมีภารกิจหลัก 3 เรื่องที่ต้องรีบดำเนินการ คือ 1.การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของฝ่ายค้าน 2.การขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติของสมาชิกวุฒิสภา และ3.การแถลงผลงานครบ 1 ปีของรัฐบาล โดยในสองภารกิจแรกนั้นมีการกำหนดวันเวลาชัดเจนแล้ว เหลือแต่การกำหนดวันแถลงผลงานของรัฐบาลที่ยังไม่มีความชัดเจน จึงขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลเร่งกำหนดวันที่เพื่อดำเนินการแถลงผลงานครบรอบ 1 ปีต่อรัฐสภาด้วย เพราะขณะนี้รัฐบาลทำงานครบ 1 ปีมา 3 เดือนแล้ว ทั้งนี้ตนขอตั้งขอสังเกตว่าสาเหตุที่รัฐบาลนิ่งเฉยเป็นเพราะไม่มีผลงานที่จะแถลง หรือเกรงว่าเมื่อแถลงผลงานแล้วจะเป็นการช่องทางให้ฝ่ายค้านจะหาข้อบกพร่องเพื่อนำข้อมูลไปอภิปรายไม่ไว้วางใจเลยพยายามหลีกเลี่ยง
ด้านนายสุรชัย ชัยตระกูลทอง เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา(วิปวุฒิ) กล่าวว่า หลังจากที่นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ได้ประสานไปยังรัฐบาลเพื่อขอเปลี่ยนแปลงวันเวลาตามมติวิปวุฒิแล้ว ปรากฏว่าล่าสุดทางรัฐบาลยังยืนยันให้วุฒิสภาอภิปรายในวันที่ 28 พ.ย.โดยในช่วงเช้าจะเป็นการประชุมเพื่อลงมติในญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทำให้เพื่อนส.ว.ส่วนใหญ่ที่ทราบข่าวไม่พอใจ โดยในวันที่ 5 พ.ย.จะขอนัดหารือกับวิปรัฐบาล เพื่อขอประสานเวลาใหม่ โดยให้สภาลงมติในช่วงเช้าของวันที่ 27 พ.ย. และช่วงบ่ายให้วุฒิสภาได้อภิปราย รวมถึง 28 พ.ย.ซึ่งยังมีเวลาถึงเที่ยงคืน ซึ่งวุฒิสภาก็จะได้เวลา 1วันครึ่ง เนื่องจากส.ว.มีความประสงค์จะอภิปรายค่อนข้างมาก
"การกำหนดเวลาเพียงแค่ 28 พ.ย.ในช่วงบ่าย ไม่ถึง 1 วัน ก็ถือว่าไม่เหมาะสม อยากให้รัฐบาลได้ทบทวนให้เวลากับวุฒิสภาได้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ได้อภิปรายให้ข้อคิดกับรัฐบาลอย่างเต็มที่ การไม่ให้ความสำคัญกับวุฒิสภาก็เหมือนกับไม่ให้เกียรติกัน ฉะนั้นจะมาหวัง ส.ว.ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในด้านอื่นก็คงไม่ได้"นายสุรชัยกล่าว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังใช้เวลาแจกลายเซ็นกว่า 2 ชั่วโมง ว่า ไม่รู้สึกกังวลกรณีที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุมีข้อมูลเด็ดจะแฉกลับฝ่ายค้าน ระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล เพราะหากมีประเด็นใดที่รัฐบาลชุดที่แล้วทำไม่ถูกต้อง รัฐบาลนี้สามารถดำเนินการได้ และเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเคยถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจมาแล้วถึง 3 ครั้ง จึงไม่คิดว่าจะมีปัญหา อีกทั้งรัฐบาลอย่าได้วิตกจริตเกินไป กับการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ เพราะฝ่ายค้านทำตามหน้าที่ และรัฐบาลมีหน้าที่ต้องชี้แจง
นายอภิสิทธิ์กล่าวอีกว่าการเตรียมข้อมูลของฝ่ายค้าน ขณะนี้ได้เตรียมแบ่งข้อมูลเป็นหมวดหมู่ ขณะที่วิปฝ่ายค้านได้ประสานพรรคภูมิใจไทยและนายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทยที่จะร่วมอภิปรายครั้งนี้ด้วย
นอกจากนี้หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยังปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ระบุว่า พรรคฝ่ายค้านสนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยาม โดยยืนยันว่าจะใช้ระบบรัฐสภาตรวจสอบ จึงขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีและคนในรัฐบาลมาตอบญัตติในสภา ส่วนกรณีที่ยังมีความพยายามตรวจสอบคุณสมบัติ เพื่อถอดยศตนนั้น เป็นเรื่องที่กระทรวงกลาโหมพยายามดำเนินการ ทั้งที่ความจริงไม่มีอะไร อย่างไรก็ตามขอเรียกร้องให้ดำเนินการตามข้อเท็จจริงของกฎหมาย เพราะเรื่องนี้เคยถูกตรวจสอบและชี้แจงไปหมดแล้วตั้งแต่สมัยเป็นนายกรัฐมนตรี
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีฝ่ายค้านเตรียม จะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางในรัฐบาลในวันที่ 9 พ.ย.นี้ ว่า เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ ขอให้ฝ่ายค้านทำหน้าที่ในการตรวจสอบต่อไป ทั้งนี้ยืนยันว่า พรรคเพื่อไทยไม่รู้สึกกังวลใจ เนื่องจากในวันที่อังคาร 6 พ.ย.นี้ จะมีการประชุมพรรค เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการภิปรายไม่ไว้วางใจด้วย และก่อนที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ฝ่ายค้าน ควรตรวจสอบคุณสมบัติของของผู้นำฝ่ายค้านด้วย เนื่องจากยังมีคดีหลบเลี่ยง และใช้เอกสารเท็จ ในการเข้ารับราชการทหารติดตัวอยู่ ยืนยันจะไม่มีการแต่งตั้งองครักษ์พิทักษ์นายกรัฐมนตรี อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม พรรคยังมีความกังวลกับกระแสข่าวการปลุกระดมมวลชนในภาคใต้ เพื่อมุ่งเน้นทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาล โดยตั้งข้อสังเกตว่า เป็นการปลุกระดมเพื่อให้คนมาชุมนุม ในระหว่างวันที่ 25 – 28 พ.ย.นี้ ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ซึ่งเห็นว่าเป็นเกมการเมือง ที่อาจมีความสอดคล้องกับการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยาม ตนจึงขอประนามคนที่อยู่เบื้องหลังการปลุกระดมมวลชนครั้งนี้ ที่อาจจะทำให้ประเทศชาติเสียหายได้
ส่วนกรณีฝ่ายค้านตั้ง ฉายา ครม.ยิ่งลักษณ์ 3 ว่า "ครม.ชิน คาบิเน็ต" นั้น นายพร้อมพงษ์ ปฏิเสธว่า ไม่เป็นความจริง เป็นเพียงแค่วาทกรรมทางการเมือง ของนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เท่านั้น และหากมีการซักฟอก ก็เชื่อว่านายกรัฐมนตรีจะสามารถชี้แจงได้
นายประชา ประสพดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งฉายาการปรับครม. ยิ่งลักษณ์ 3 ว่า "ชินคาบิเนต" ว่า การปรับครม.ครั้งนี้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ตัดสินใจนำคนมาร่วมเพื่อประสิทธิภาพและความเหมาะสม ส่วนตัวไม่แปลกใจกับพฤติกรรมนักการเมืองพรรคนี้ ที่มีลักษณะบกพร่องทางจิต ความคิดไม่สร้างสรรค์จิตใจสกปรก การกล่าวหาไปถึงตระกูลชินวัตร ถือเป็นเรื่องที่เกินเลย เพราะคนในตระกูลชินวัตรหลายคนเป็นพ่อค้า นักธุรกิจ ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวการเมือง พรรคประชาธิปัตย์จะพูดถึงนายกฯ หรือพรรคเพื่อไทย ก็พูดไป แต่อย่าลามปามไปถึงวงศ์ตระกูล ถ้าหากตนพูดโจมตีตระกูลของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์บ้าง หรือพูดถึงตระกูลคล้ามไพบูลย์บ้างจะว่าอย่างไร เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์กำลังคิดเล่นเกมชกใต้เข็มขัดในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ จ้องจะหยิบยกคนนอกมาเกี่ยวข้อง หากเป็นอย่างนั้นเราไม่ยอมแน่ นอกจากจะต้องใช้สิทธิ์ประท้วง แล้วคงต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย เพราะคนที่อยู่นอกสภาไม่มีโอกาสได้ชี้แจงแก้ต่าง
นพ.ทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ว่า จะเข้ามาดูในส่วนที่เป็นจุดอ่อน ว่ามีตรงไหน และเรียนรู้ภาพรวมการทำงาน เพื่อให้สอดคล้องกับการนโยบายรัฐบาลและควบคู่ไปกับการเมือง แต่ในเรื่องของการเมือง ต้องไม่ใช่เรื่องของการตอบโต้ที่ไม่สร้างสรรค์ เพราะตรงนี้ไม่ใช่การอภิปรายในสภา
ส่วนที่มีการมองกันว่า การทำงานของทีมโฆษกฯ ยังไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันนั้น ตรงนี้จะมีการพูดคุย และแบ่งการทำงานอย่างเท่าเทียมกัน เพราะทุกคนสำคัญเท่ากันหมด
สำหรับกรณีสวนดุสิตโพล สำรวจความความคิดเห็นประชาชนถึงจุดอ่อนของรัฐบาล โดยประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า ยังไม่สามารถแก้ปัญหาเร่งด่วน หรือทำตามสัญญาที่ให้ไว้ได้อย่างครบถ้วนนั้น เรื่องนี้ตนจะเข้าไปดูว่านโยบายไหนมีความคืบหน้า และนโยบายไหนยังไม่คืบหน้า เพราะบางนโยบายรัฐบาลทำไปแล้ว แต่อาจจะไม่มีการประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะมีกาประชาสัมพันธ์เชิงรุกมากขึ้น
สำนักวิจัยเอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจในหัวข้อ ผลการปรับคณะรัฐมนตรี การชุมนุมทางการเมือง และการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ในสายตาสาธารณชน โดยสำรวจประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ พบว่า ระดับการยอมรับคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อยู่ที่ 6.67 เต็ม 10 ซึ่งร้อยละ 74.9 ระบุว่า ควรให้โอกาส และปล่อยวาง
ส่วนกรณีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลนั้น ร้อยละ 87.4 เห็นว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ควรมาชี้แจงตอบคำถามเอง และร้อยละ 87.1 เห็นว่า นายกรัฐมนตรี ควรให้ความสำคัญกับระบอบรัฐสภา รวมทั้งร้อยละ 68.6 เชื่อว่า การอภิปรายจะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในรัฐบาล
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงการชุมนุมทางการเมือง พบว่า ร้อยละ 81.4 เห็นว่าการชุมนุมยิ่งเพิ่มความขัดแย้งรุนแรงและกังวลว่าความขัดแย้งจะบานปลายอีกร้อยละ 66.3