บริษัทจัดอันดับเครดิตชั้นนำของโลก “มูดีส์และเอสแอนด์พี” เตรียมยกทีมเก็บข้อมูลอัปเกรดเครติดเรตติ้งไทยใหม่ภายในเดือนนี้หลังไม่มีการขยับมากว่า 10 ปี คลังมั่นใจได้เลื่อนอันดับดีขึ้นหลังทีมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงการคลังเดนทางไปแจงข้อมูลถึงสหรัฐ
นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ภายในเดือนพ.ย.นี้สถาบันจัดอันดับเครดิตของประเทศทั้ง มูดี้ส์ และแสตนดาร์ดแอนด์พัวร์ หรือเอสแอนด์พีจะส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูลเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อเก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจสำหรับประเมินอันดับเครดิตของประเทศไทยใหม่หลังจากที่ไม่มีการขยับเครดิตของไทยมานานเกือบ 10 ปีแล้ว ซึ่งการเดินทางมาของเจ้าหน้าที่ครั้งนี้เป็นผลต่อเนื่องมาจากก่อนหน้านี้ที่กระทรวงการคลังนำโดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลังพร้อมด้วยคณะซึ่งเดินทางไปประชุมประจำปีที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศที่สหรัฐ และได้เข้าพบผู้บริหารระดับสูงของทั้งสององค์กร
ทั้งนี้ ทางมูดี้ส์ได้มีการหารือกับทางผู้บริหารระดับสูง ส่วนทางเอสแอนด์พีนอกจากมีผู้บริหารระดับสูงแล้วยังมีระดับเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลเข้าร่วมรับฟังการชี้แจงข้อมูลทางเศรษฐกิจของไทยในเบื้องต้นด้วย โดยตัวเลขข้อมูลที่ได้รับไปนั้นน่าจะเป็นสัญญาณที่ดีที่จะนำไปสู่การทบทวนอันดับเครดิตของประเทในครั้งนี้ให้ดีขึ้นได้
“ทางมูดีส์และเอสแอนด์พีรับฟังข้อมูลที่เราชี้แจงไปเป็นอย่างดี โดยเราได้ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นหากเทียบกับปีก่อนทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองจึงเชื่อว่าครั้งนี้อันดับเครดิตของไทยน่าจะขยับขึ้นได้หลังจากที่เราถูกคงที่มานานหลายปี” นางสาวจุฬารัตน์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากเกณฑ์การพิจารณาการปรับอันดับเครดิตซึ่งมีตัวชี้วัดประมาณ 30 ตัวนั้น ส่วนใหญ่ไทยเข้าเกณฑ์ในอันดับเครดิตที่สูงขึ้น โดยมีเพียง 2 ตัวชี้วัดคือระดับรายได้ต่อหัวของไทยที่ทางสถาบันจัดอันดับเครดิตมองว่าของไทยยังต่ำกว่าประเทศอื่นๆ และไม่ถึงตามเกณฑ์ และปัจจัยการเมืองที่ยังมีความขัดแย้งกันอยู่บ้าง แต่ในความเป็นจริงแล้วรายได้ต่อหัวของไทยก็ไม่ได้ต่ำมากหากเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในระดับเดียวกันและการเมืองก็ค่อนข้างมีเสถียรภาพแล้ว
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลจะเข้าพบกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และอาจมีภาคเอกชนบางส่วนเพื่อเก็บข้อมูลล่าสุดใช้ในการใช้ประเมินอันดับเครดิตของไทยต่อไป
สำหรับอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยโดยเอสแอนด์พีปัจจุบันอยู่ที่ BBB+ขณะที่ มูดีส์ คงไว้ที่ และ Baa1 มานานหลายปีส่วน ฟิทซ์ เรทติ้ง (Fitch Ratings) ปรับลดอันดับของไทยจาก BBB+ มาเป็น BBB ในปี 2552 หลังจากเหตุการณ์ทางการเมือง.
นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ภายในเดือนพ.ย.นี้สถาบันจัดอันดับเครดิตของประเทศทั้ง มูดี้ส์ และแสตนดาร์ดแอนด์พัวร์ หรือเอสแอนด์พีจะส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูลเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อเก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจสำหรับประเมินอันดับเครดิตของประเทศไทยใหม่หลังจากที่ไม่มีการขยับเครดิตของไทยมานานเกือบ 10 ปีแล้ว ซึ่งการเดินทางมาของเจ้าหน้าที่ครั้งนี้เป็นผลต่อเนื่องมาจากก่อนหน้านี้ที่กระทรวงการคลังนำโดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลังพร้อมด้วยคณะซึ่งเดินทางไปประชุมประจำปีที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศที่สหรัฐ และได้เข้าพบผู้บริหารระดับสูงของทั้งสององค์กร
ทั้งนี้ ทางมูดี้ส์ได้มีการหารือกับทางผู้บริหารระดับสูง ส่วนทางเอสแอนด์พีนอกจากมีผู้บริหารระดับสูงแล้วยังมีระดับเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลเข้าร่วมรับฟังการชี้แจงข้อมูลทางเศรษฐกิจของไทยในเบื้องต้นด้วย โดยตัวเลขข้อมูลที่ได้รับไปนั้นน่าจะเป็นสัญญาณที่ดีที่จะนำไปสู่การทบทวนอันดับเครดิตของประเทในครั้งนี้ให้ดีขึ้นได้
“ทางมูดีส์และเอสแอนด์พีรับฟังข้อมูลที่เราชี้แจงไปเป็นอย่างดี โดยเราได้ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นหากเทียบกับปีก่อนทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองจึงเชื่อว่าครั้งนี้อันดับเครดิตของไทยน่าจะขยับขึ้นได้หลังจากที่เราถูกคงที่มานานหลายปี” นางสาวจุฬารัตน์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากเกณฑ์การพิจารณาการปรับอันดับเครดิตซึ่งมีตัวชี้วัดประมาณ 30 ตัวนั้น ส่วนใหญ่ไทยเข้าเกณฑ์ในอันดับเครดิตที่สูงขึ้น โดยมีเพียง 2 ตัวชี้วัดคือระดับรายได้ต่อหัวของไทยที่ทางสถาบันจัดอันดับเครดิตมองว่าของไทยยังต่ำกว่าประเทศอื่นๆ และไม่ถึงตามเกณฑ์ และปัจจัยการเมืองที่ยังมีความขัดแย้งกันอยู่บ้าง แต่ในความเป็นจริงแล้วรายได้ต่อหัวของไทยก็ไม่ได้ต่ำมากหากเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในระดับเดียวกันและการเมืองก็ค่อนข้างมีเสถียรภาพแล้ว
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลจะเข้าพบกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และอาจมีภาคเอกชนบางส่วนเพื่อเก็บข้อมูลล่าสุดใช้ในการใช้ประเมินอันดับเครดิตของไทยต่อไป
สำหรับอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยโดยเอสแอนด์พีปัจจุบันอยู่ที่ BBB+ขณะที่ มูดีส์ คงไว้ที่ และ Baa1 มานานหลายปีส่วน ฟิทซ์ เรทติ้ง (Fitch Ratings) ปรับลดอันดับของไทยจาก BBB+ มาเป็น BBB ในปี 2552 หลังจากเหตุการณ์ทางการเมือง.