ASTVผู้จัดการรายวัน – ยอดหนี้สาธารณะเดือน ส.ค.พุ่งอีก 1 แสนล้าน ไปอยู่ที่ 5 ล้านล้าน หรือคิดเป็น 44.89% ของจีดีพี ขณะที่ปิดบัญชีงบ ปี 55 เงินคงคลังยังแข็งแกร่งทะลุ 5.6 แสนล้านบาทสามารถรองรับวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ส.ค.2555 มีจำนวน 5,011,939.84 ล้านบาท หรือคิดเป็น 44.89% ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3,629,352.22 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,024,058.82 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 351,986.95 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 6,541.85 ล้านบาท
"เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 103,947.52 ล้านบาท โดยหนี้ของรัฐบาล หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) และหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน เพิ่มขึ้น 58,401.84 ล้านบาท 44,658.81 ล้านบาท และ 1,809.87 ล้านบาท ตามลำดับ ในขณะที่หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ ลดลง 923 ล้านบาท ส่วนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ นั้นไม่มีหนี้คงค้าง" นางสาวจุฬารัตน์ กล่าว
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดปี งบประมาณ 2555 ว่า รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 1,980,644 ล้านบาท สูงกว่าปีงบประมาณที่แล้ว 88,597 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังวิกฤตอุทกภัยจากการเร่งดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ เห็นได้จากเม็ดเงินที่ถูกอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่สูงกว่าปีก่อนส่งผลให้เกิดการขยายตัวของการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน
โดยมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 2,295,327 ล้านบาท สูงกว่าปีงบประมาณที่แล้ว117,432 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.4 ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณ 314,683 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 28,835 ล้านบาท
ทั้งนี้ เมื่อรวมกับการเกินดุลเงินนอกงบประมาณ 9,646 ล้านบาท ที่มีสาเหตุหลักจากรายรับจากการชดใช้เงินคงคลังและการถอนเงินฝากคลังของเงินกู้ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวม 305,037 ล้านบาท และรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 344,084 ล้านบาท ต่ำกว่ากรอบการกู้ชดเชยการขาดดุลตามเอกสารงบประมาณจำนวน 400,000 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดหลังกู้เกินดุลทั้งสิ้น 39,047 ล้านบาท และ เงินคงคลัง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2555 มีจำนวนทั้งสิ้น 560,337 ล้านบาท
“การดำเนินบทบาทการเป็นผู้นำในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2555 ได้ส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในส่วนของการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.9 และ 12.8 ในปี 2555 ในขณะที่เงินคงคลังยังอยู่ในระดับสูงถึง 5.6 แสนล้านบาท ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐบาลสามารถรองรับความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจากปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปได้ในอนาคต” นายสมชัยกล่าว.
นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ส.ค.2555 มีจำนวน 5,011,939.84 ล้านบาท หรือคิดเป็น 44.89% ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3,629,352.22 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,024,058.82 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 351,986.95 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 6,541.85 ล้านบาท
"เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 103,947.52 ล้านบาท โดยหนี้ของรัฐบาล หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) และหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน เพิ่มขึ้น 58,401.84 ล้านบาท 44,658.81 ล้านบาท และ 1,809.87 ล้านบาท ตามลำดับ ในขณะที่หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ ลดลง 923 ล้านบาท ส่วนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ นั้นไม่มีหนี้คงค้าง" นางสาวจุฬารัตน์ กล่าว
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดปี งบประมาณ 2555 ว่า รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 1,980,644 ล้านบาท สูงกว่าปีงบประมาณที่แล้ว 88,597 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังวิกฤตอุทกภัยจากการเร่งดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ เห็นได้จากเม็ดเงินที่ถูกอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่สูงกว่าปีก่อนส่งผลให้เกิดการขยายตัวของการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน
โดยมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 2,295,327 ล้านบาท สูงกว่าปีงบประมาณที่แล้ว117,432 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.4 ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณ 314,683 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 28,835 ล้านบาท
ทั้งนี้ เมื่อรวมกับการเกินดุลเงินนอกงบประมาณ 9,646 ล้านบาท ที่มีสาเหตุหลักจากรายรับจากการชดใช้เงินคงคลังและการถอนเงินฝากคลังของเงินกู้ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวม 305,037 ล้านบาท และรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 344,084 ล้านบาท ต่ำกว่ากรอบการกู้ชดเชยการขาดดุลตามเอกสารงบประมาณจำนวน 400,000 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดหลังกู้เกินดุลทั้งสิ้น 39,047 ล้านบาท และ เงินคงคลัง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2555 มีจำนวนทั้งสิ้น 560,337 ล้านบาท
“การดำเนินบทบาทการเป็นผู้นำในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2555 ได้ส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในส่วนของการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.9 และ 12.8 ในปี 2555 ในขณะที่เงินคงคลังยังอยู่ในระดับสูงถึง 5.6 แสนล้านบาท ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐบาลสามารถรองรับความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจากปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปได้ในอนาคต” นายสมชัยกล่าว.