เค้กก้อนใหญ่ค่อยๆเข้าปากหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการเมกะโปรเจกต์ระบบรางและทางหลวงพิเศษของภาครัฐที่เริ่มทยอยปล่อยออกมาอย่างต่อเนื่อง พบปี2555 - 2563 รัฐต้องเดินหน้าระบบรางและถนนเป็นวงเงินร่วม1.4 ล้านล้านบาท แม้ต้องหักเงินค่าเวนคืนที่ออก แต่ก็ยังเหลืออีกเม็ดเงินมากพอสำหรับงานก่อสร้าง ช่วยล่อใจเอกชนเข้าประมูล โบรกเกอร์เชื่อบริษัทรับเหมารายใหญ่-กลาง เริ่มตั้งแต่ อิตาเลียนไทย, ช.การช่าง,ซิโน-ไทยฯ, เพาเวอร์ไลน์,เนาวรัตน์ รับส่วนแบ่งถ้วนหน้า สอดคล้องกับต่างชาติที่ดอดเข้าเก็บหุ้นไว้ในพอร์ตก่อนหน้า ดันราคาหลายตัวปรับขึ้น
อีกหนึ่งภารกิจที่สำคัญของภาครัฐ หนีไม่พ้นการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยเฉพาะในด้านการขนส่ง ทั้งระบบทาง และระบบราง แม้ปัจจุบันบริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ของประเทศไทยหลายแห่งจะเริ่มหันไปเข้ารับงานโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของประเทศเพื่อน แต่ทุกบริษัทก็ยังให้ความสำคัญต่อการเข้ารับดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศด้วยเช่นกัน เพราะ นั่นหมายถึงเม็ดเงินจากมูลค่าโครงการจำนวนมหาศาล
**ล่าสุด ข้อมูลจาก คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ได้ระบุถึงมูลค่าโครงการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานปี 2555-2559 ไว้ว่า มีกรอบวงเงินลงทุนตามระยะเวลาดังกล่าวทั้งสิ้นรวม 2,274,356 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่การลงทุนในระบบรางสูงถึง 1,201,948 ล้านบาท หรือคิดเป็น 52.85% (ค่าดำเนินการก่อสร้าง-ค่าเวนคืน- ฯลฯ) ถัดมาคือการลงทุนในด้านพลังงาน 515,689 ล้านบาท หรือ 22.67% ที่เหลือได้แก่ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางบก 222,347 ล้านบาท หรือ 9.78% , การลงทุนด้านการขนส่งทางน้ำ 128,422 ล้านบาท ,การลงทุนด้านสาธารณูปการ 99,204 ล้านบาท หรือ 4.36% ,การลงทุนด้านการลงขนส่งทางอากาศ 69,849 ล้านบาท หรือ 3.07% และการลงทุนด้านสื่อสาร 36,897 ล้านบาท หรือ 1.62%**
โดยถ้าแบ่งเป็นในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบราง และการขนส่งทางบก พบว่า โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการ 7 เส้นทางแล้ว พบว่า** ยังมีโครงการที่จะเปิดประมูลในปี 2556 จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ สายสีเขียว (หมาชิต – สะพานใหม่) 11.4กม. 12 สถานี วงเงิน 33,212 ล้านบาท (ค่าดำเนินการก่อสร้าง-ค่าเวนคืน- ฯลฯ) สายสีชมพู (แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี) 36กม. วงเงิน 42,067 ล้านบาท และสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) 38กม. วงเงิน 137,750 ล้านบาท**
**นอกจากนี้ ยังมีโครงการรถไฟทางคู่ และรถไฟฟ้าความเร็วสูง แบ่งเป็น 6 สายเร่งด่วน (ปี2555-2557) ระยะรวม 873 กม. วงเงิน86,517 ล้านบาท และอีก 6 โครงการที่จะเริ่มในปี (2558-2563) ระยะทางรวม 1,025 กม. วงเงิน 84,884 ล้านบาท รวมเป็นวงเงินทั้ง2 เฟส 171,401 ล้านบาท ขณะเดียวกันรัฐบาลยังมีแผนจะดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงอีก 5 เส้นทาง รวมระยะทาง 1,396 กม.ซึ่งยังไม่ระบุวงเงินปิดท้ายด้วย โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) อีก 5 เส้นทาง รวมวง 200,551 ล้านบาท**
ทั้งนี้ ภาพรวมทั้งหมด หากนับเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพที่จะมีการประมูล 3โครงการในปีหน้ารวมกับโครงการรถไฟทางคู่ทั้ง2 ระยะ(ปี2555-2557 และปี2558-2563) และโครงการทางหลวงพิเศษอีก 5 เส้นทางจะพบว่า **ภาครัฐจะต้องใช้เงินในการดำเนินโครงการ รวมเป็นวงเงินประมาณมากกว่า 584,981 ล้านบาท(ปี2555-2559 มีกรอบวงเงินลงทุนระบบราง1,201,948 ล้านบาท รวมกับการลงทุนด้านการขนส่งทางบกอีก 222,347 ล้านบาทรวม1,424,295 ล้านบาท) ซึ่งมีความเป็นไปได้อย่างมากที่บริษัทรับเหมาก่อสร้างในตลาดหลักทรัพย์ฯจะมีโอกาสเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการ โดยเฉพาะผู้รับเหมาขนาดใหญ่และกลาง** เริ่มตั้งแต่ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) บมจ. ช.การช่าง (CK) บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น (STEC) บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ) บมจ.เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง (PLE) บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ (NWR) เป็นต้น
สำหรับมุมมองในด้านบทวิเคราะห์โบรกเกอร์ต่อหุ้นในกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง เราจะพบว่า บทวิเคราะห์ของ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ที่ประเมิน บมจ.อิตาเลียนไทย (ITD) ระบุว่า ITDมีงานในมือแข็งแกร่ง แต่กำไรก็ยังต่ำ เพราะแม้มีงานในมือ(backlog) เมื่อรวมกับโครงการที่ชนะประมูล และโครงการที่กำลังจะเซ็นสัญญาแตะถึง 2.09 แสนล้านบาท (ระยะเวลาการทำงานราว 3-4 ปี) แต่อัตรากำไรยังต่ำ แม้จะมีโครงการก่อสร้างของรัฐบาล เช่น โครงสร้างระบบขนส่งมวลชนรวมอยู่ด้วย โดยมองว่าในปี 2555-56 ของITDอัตรากำไรขั้นต้นจะอยู่ระหว่าง 7.7-8.2%
ขณะที่ บล.ทรีนิตี้ ประเมินบมจ.ช.การช่าง (CK )ว่างานในมือปัจจุบันสูงถึง 134,963 ล้านบาท รองรับยอดรับรู้รายได้ถึง 6 ปี นอกจากนี้ยังมี Mega Projectจากในอนาคตที่จะมีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศต่างอีกมาก เข้ามาช่วยสนับสนุนการเติบโตต่อเนื่อง ล่าสุด CKได้ยื่นประมูลโครงการวางรางรถไฟฟ้าสายสีเขียว และช่วงปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้าจะมีการเปิดประมูลงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ,รถไฟฟ้าสายสีชมพู ,โครงการ SPP เฟส 2 เป็นต้น
ส่วนบล.ทิสโก้ ประเมิน STEC ไว้ว่า คาด STEC จะรายงานผลประกอบการสูงเป็นประวัติการณ์ในปีหน้า แม้ราคาหุ้นจะปรับเพิ่มขึ้นมากในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา จากงานในมือที่มีอยู่สูง นอกจากนี้ STEC ยังมีศักยภาพที่จะได้รับงานใหม่รออยู่อีกมากมายจากวงจรการลงทุนภาครัฐรอบใหญ่ โดยศักยภาพบริษัทจึงเชื่อว่าSTECจะมีศักยภาพได้รับงาน
อีกหนึ่งภารกิจที่สำคัญของภาครัฐ หนีไม่พ้นการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยเฉพาะในด้านการขนส่ง ทั้งระบบทาง และระบบราง แม้ปัจจุบันบริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ของประเทศไทยหลายแห่งจะเริ่มหันไปเข้ารับงานโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของประเทศเพื่อน แต่ทุกบริษัทก็ยังให้ความสำคัญต่อการเข้ารับดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศด้วยเช่นกัน เพราะ นั่นหมายถึงเม็ดเงินจากมูลค่าโครงการจำนวนมหาศาล
**ล่าสุด ข้อมูลจาก คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ได้ระบุถึงมูลค่าโครงการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานปี 2555-2559 ไว้ว่า มีกรอบวงเงินลงทุนตามระยะเวลาดังกล่าวทั้งสิ้นรวม 2,274,356 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่การลงทุนในระบบรางสูงถึง 1,201,948 ล้านบาท หรือคิดเป็น 52.85% (ค่าดำเนินการก่อสร้าง-ค่าเวนคืน- ฯลฯ) ถัดมาคือการลงทุนในด้านพลังงาน 515,689 ล้านบาท หรือ 22.67% ที่เหลือได้แก่ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางบก 222,347 ล้านบาท หรือ 9.78% , การลงทุนด้านการขนส่งทางน้ำ 128,422 ล้านบาท ,การลงทุนด้านสาธารณูปการ 99,204 ล้านบาท หรือ 4.36% ,การลงทุนด้านการลงขนส่งทางอากาศ 69,849 ล้านบาท หรือ 3.07% และการลงทุนด้านสื่อสาร 36,897 ล้านบาท หรือ 1.62%**
โดยถ้าแบ่งเป็นในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบราง และการขนส่งทางบก พบว่า โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการ 7 เส้นทางแล้ว พบว่า** ยังมีโครงการที่จะเปิดประมูลในปี 2556 จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ สายสีเขียว (หมาชิต – สะพานใหม่) 11.4กม. 12 สถานี วงเงิน 33,212 ล้านบาท (ค่าดำเนินการก่อสร้าง-ค่าเวนคืน- ฯลฯ) สายสีชมพู (แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี) 36กม. วงเงิน 42,067 ล้านบาท และสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) 38กม. วงเงิน 137,750 ล้านบาท**
**นอกจากนี้ ยังมีโครงการรถไฟทางคู่ และรถไฟฟ้าความเร็วสูง แบ่งเป็น 6 สายเร่งด่วน (ปี2555-2557) ระยะรวม 873 กม. วงเงิน86,517 ล้านบาท และอีก 6 โครงการที่จะเริ่มในปี (2558-2563) ระยะทางรวม 1,025 กม. วงเงิน 84,884 ล้านบาท รวมเป็นวงเงินทั้ง2 เฟส 171,401 ล้านบาท ขณะเดียวกันรัฐบาลยังมีแผนจะดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงอีก 5 เส้นทาง รวมระยะทาง 1,396 กม.ซึ่งยังไม่ระบุวงเงินปิดท้ายด้วย โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) อีก 5 เส้นทาง รวมวง 200,551 ล้านบาท**
ทั้งนี้ ภาพรวมทั้งหมด หากนับเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพที่จะมีการประมูล 3โครงการในปีหน้ารวมกับโครงการรถไฟทางคู่ทั้ง2 ระยะ(ปี2555-2557 และปี2558-2563) และโครงการทางหลวงพิเศษอีก 5 เส้นทางจะพบว่า **ภาครัฐจะต้องใช้เงินในการดำเนินโครงการ รวมเป็นวงเงินประมาณมากกว่า 584,981 ล้านบาท(ปี2555-2559 มีกรอบวงเงินลงทุนระบบราง1,201,948 ล้านบาท รวมกับการลงทุนด้านการขนส่งทางบกอีก 222,347 ล้านบาทรวม1,424,295 ล้านบาท) ซึ่งมีความเป็นไปได้อย่างมากที่บริษัทรับเหมาก่อสร้างในตลาดหลักทรัพย์ฯจะมีโอกาสเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการ โดยเฉพาะผู้รับเหมาขนาดใหญ่และกลาง** เริ่มตั้งแต่ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) บมจ. ช.การช่าง (CK) บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น (STEC) บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ) บมจ.เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง (PLE) บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ (NWR) เป็นต้น
สำหรับมุมมองในด้านบทวิเคราะห์โบรกเกอร์ต่อหุ้นในกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง เราจะพบว่า บทวิเคราะห์ของ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ที่ประเมิน บมจ.อิตาเลียนไทย (ITD) ระบุว่า ITDมีงานในมือแข็งแกร่ง แต่กำไรก็ยังต่ำ เพราะแม้มีงานในมือ(backlog) เมื่อรวมกับโครงการที่ชนะประมูล และโครงการที่กำลังจะเซ็นสัญญาแตะถึง 2.09 แสนล้านบาท (ระยะเวลาการทำงานราว 3-4 ปี) แต่อัตรากำไรยังต่ำ แม้จะมีโครงการก่อสร้างของรัฐบาล เช่น โครงสร้างระบบขนส่งมวลชนรวมอยู่ด้วย โดยมองว่าในปี 2555-56 ของITDอัตรากำไรขั้นต้นจะอยู่ระหว่าง 7.7-8.2%
ขณะที่ บล.ทรีนิตี้ ประเมินบมจ.ช.การช่าง (CK )ว่างานในมือปัจจุบันสูงถึง 134,963 ล้านบาท รองรับยอดรับรู้รายได้ถึง 6 ปี นอกจากนี้ยังมี Mega Projectจากในอนาคตที่จะมีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศต่างอีกมาก เข้ามาช่วยสนับสนุนการเติบโตต่อเนื่อง ล่าสุด CKได้ยื่นประมูลโครงการวางรางรถไฟฟ้าสายสีเขียว และช่วงปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้าจะมีการเปิดประมูลงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ,รถไฟฟ้าสายสีชมพู ,โครงการ SPP เฟส 2 เป็นต้น
ส่วนบล.ทิสโก้ ประเมิน STEC ไว้ว่า คาด STEC จะรายงานผลประกอบการสูงเป็นประวัติการณ์ในปีหน้า แม้ราคาหุ้นจะปรับเพิ่มขึ้นมากในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา จากงานในมือที่มีอยู่สูง นอกจากนี้ STEC ยังมีศักยภาพที่จะได้รับงานใหม่รออยู่อีกมากมายจากวงจรการลงทุนภาครัฐรอบใหญ่ โดยศักยภาพบริษัทจึงเชื่อว่าSTECจะมีศักยภาพได้รับงาน