วานนี้ (25 ต.ค.) ที่ห้อง 3502 อาคารรัฐสภา 1 มีการประชุมคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร โดยมี พล.ต.อ.วิโรจน์ เปาอินทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เป็นประธาน มีวาระการพิจารณาเรื่องร้องเรียน ขอให้ตรวจสอบการหลบเลี่ยงการเสียภาษีนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศ เป็นเหตุให้รัฐต้องสูญเสียรายได้จำนวนมาก โดยเชิญ พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เข้าชี้แจง
พ.ต.อ.ดุษฎี กล่าวว่า จากข้อมูลการตรวจสอบตั้งแต่สมัยเป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) พบว่า ตลาดรถยนต์ค่ายเกรย์มาร์เก็ต มีการทุจริตรถหรูนำเข้าเลี่ยงภาษีจากประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ปี 2551 กว่า 36,000 คัน จนทำให้ประเทศชาติเสียหายไปแล้วกว่า 5-6 หมื่นล้านบาท หรือเฉลี่ยแล้วมีการเลี่ยงภาษีคันละ 1 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นรถใหม่ มีจำนวนน้อยที่เป็นรถย้อมแมว แต่อาศัยผ่านช่องทางกรมศุลกากร จึงทำให้กลายสภาพเป็นรถใหม่ ด้วยวิธีการสั่งประกอบรถแถวท่าเรือคลองเตย พร้อมกับปลอมแปลงใบกำกับสินค้า (invoice) ซึ่งจากการขอข้อมูลเพิ่มเติมจากกรมการขนส่งทางบก ก็พบว่า ใบกำกับสินค้าเพียงบริษัทเดียวนี้ กลับมีลักษณะของใบกำกับสินค้าถึง 10 กว่าแบบ และลายเซ็นของผู้มีอำนาจรับรองก็แตกต่างกันด้วย ไม่เว้นแม้แต่ราคาขายหน่วยค่าเงินดอลลาร์ ก็ประเมินต่ำกว่าราคากลาง นั่นเป็นเพราะคนไทยเห็นอะไรลดราคา ก็สนใจซื้อหมด ทั้งที่จริงราคาตลาดรถเกรย์มาร์เก็ตไม่ได้ต่ำกว่าราคากลางมากนัก อาทิ รถเฟอร์รารี่ ราคากลางอยู่ที่ 5.1 ล้านบาท แต่ตลาดรถเกรย์มาร์เก็ตแจ้งราคาขายอยู่ที่ 2.2 ล้านบาท ซึ่งต้นทุนต่างไม่เท่าไร แต่แลกกับศูนย์บริการการซ่อม โดยหลบเลี่ยงภาษี จึงเท่ากับเป็นการซ่อนต้นทุนราคาไว้ และเป็นที่มาของการนำเข้าอะไหล่รถหรูปลอมอีกนั่นเอง
ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร ก็ร่วมกับบริษัทนำเข้ารถหรู อาศัยช่องว่างกฎหมาย พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 37 อ้างว่า ไม่ทราบราคากลางซื้อ-ขาย จึงกระทำผิดรับรองราคากันทุกด้าน โดยในขณะนั้นตนก็ได้ทำหน้งสือถึงกระทรวงยุติธรรม กระทรวงการคลัง และอธิบดีกรมศุลกากรแล้ว เพื่อขอให้ระงับการใช้ ม.37 ที่อาจก่อให้เกิดการทุจริต และให้ตรวจสอบหลักฐานการขอคืนภาษีจากประเทศอังกฤษ ว่าจริงๆ แล้วราคาควรเป็นอย่างไร เนื่องจากทราบแล้วว่าเรื่องนี้มีเจ้าหน้าที่ระดับล่างที่เกี่ยวข้องจำนวน 108 ราย จึงได้ส่งเรื่องต่อไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อให้ตรวจสอบต่อไป โดยมีเอกสารพฤติการณ์จำนวนทั้ง 108 รายชื่อ พร้อมภาพถ่าย ส่วนพยานหลักฐานยังไม่ได้มีการส่งเรื่องไป แต่เชื่อว่าจะสามารถเชื่อมโยงไปยังข้าราชการระดับสูง และนักการเมืองที่เกี่ยวข้องด้วย เพราะมีหลักฐานการเผลอโอนเงินออกจากบัญชีของตัวนักการเมืองเอง อีกทั้งได้ส่งรายชื่อนักการเมืองที่เกี่ยวข้องมอบให้นายกรัฐมนตรี ผ่านเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว
** ยันไม่เคยให้ข่าวไซฟ่อนเงิน
พ.ต.อ.ดุษฎี ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติม เกี่ยวกับข้อมูลงบประมาณทุจริตน้ำท่วม จนถูกนำไปสู่การขยายผลไซฟ่อนเงินไปยังประเทศฮ่องกง 1.6 หมื่นล้าน และ 2พันล้านบาท ที่ประเทศฝรั่งเศส ว่า ตนขอยืนยันว่า ไม่เคยได้รับข้อมูล ให้ข่าว หรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับข้อมูลการไซฟ่อนเงินดังกล่าว
ทั้งนี้ ยอมรับว่าถูกเชิญให้เข้าร่วมกับภาคีเครือข่ายต่อต้านทุจิรตคอร์รัปชัน(ภตช.)จริง แต่ไม่เคยร่วมกิจกรรมใดๆด้วยทั้งสิ้น ดังนั้นถ้ามีข้อมูลจริง ตนก็พร้อมเปิดเผย แต่ตนไม่ทราบเรื่องจึงไม่รู้ว่าจะให้ข้อมูลอะไร และอำนาจตนก็ไม่สามารถตรวจสอบนักการเมืองได้ สิ่งที่ตนมีข้อมูลอยู่ 3 เรื่อง 1. เลี่ยงภาษีนำเข้ารถหรู 2. บุกรุกทรัพยากรธรรมชาติ 3. ทุจริตงบประมาณภัยพิบัติน้ำท่วม ที่กำลังเตรียมนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะอนุกรรมการของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) จำนวน 8 เรื่อง ในเร็วๆนี้
พ.ต.อ.ดุษฎี กล่าวว่า จากข้อมูลการตรวจสอบตั้งแต่สมัยเป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) พบว่า ตลาดรถยนต์ค่ายเกรย์มาร์เก็ต มีการทุจริตรถหรูนำเข้าเลี่ยงภาษีจากประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ปี 2551 กว่า 36,000 คัน จนทำให้ประเทศชาติเสียหายไปแล้วกว่า 5-6 หมื่นล้านบาท หรือเฉลี่ยแล้วมีการเลี่ยงภาษีคันละ 1 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นรถใหม่ มีจำนวนน้อยที่เป็นรถย้อมแมว แต่อาศัยผ่านช่องทางกรมศุลกากร จึงทำให้กลายสภาพเป็นรถใหม่ ด้วยวิธีการสั่งประกอบรถแถวท่าเรือคลองเตย พร้อมกับปลอมแปลงใบกำกับสินค้า (invoice) ซึ่งจากการขอข้อมูลเพิ่มเติมจากกรมการขนส่งทางบก ก็พบว่า ใบกำกับสินค้าเพียงบริษัทเดียวนี้ กลับมีลักษณะของใบกำกับสินค้าถึง 10 กว่าแบบ และลายเซ็นของผู้มีอำนาจรับรองก็แตกต่างกันด้วย ไม่เว้นแม้แต่ราคาขายหน่วยค่าเงินดอลลาร์ ก็ประเมินต่ำกว่าราคากลาง นั่นเป็นเพราะคนไทยเห็นอะไรลดราคา ก็สนใจซื้อหมด ทั้งที่จริงราคาตลาดรถเกรย์มาร์เก็ตไม่ได้ต่ำกว่าราคากลางมากนัก อาทิ รถเฟอร์รารี่ ราคากลางอยู่ที่ 5.1 ล้านบาท แต่ตลาดรถเกรย์มาร์เก็ตแจ้งราคาขายอยู่ที่ 2.2 ล้านบาท ซึ่งต้นทุนต่างไม่เท่าไร แต่แลกกับศูนย์บริการการซ่อม โดยหลบเลี่ยงภาษี จึงเท่ากับเป็นการซ่อนต้นทุนราคาไว้ และเป็นที่มาของการนำเข้าอะไหล่รถหรูปลอมอีกนั่นเอง
ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร ก็ร่วมกับบริษัทนำเข้ารถหรู อาศัยช่องว่างกฎหมาย พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 37 อ้างว่า ไม่ทราบราคากลางซื้อ-ขาย จึงกระทำผิดรับรองราคากันทุกด้าน โดยในขณะนั้นตนก็ได้ทำหน้งสือถึงกระทรวงยุติธรรม กระทรวงการคลัง และอธิบดีกรมศุลกากรแล้ว เพื่อขอให้ระงับการใช้ ม.37 ที่อาจก่อให้เกิดการทุจริต และให้ตรวจสอบหลักฐานการขอคืนภาษีจากประเทศอังกฤษ ว่าจริงๆ แล้วราคาควรเป็นอย่างไร เนื่องจากทราบแล้วว่าเรื่องนี้มีเจ้าหน้าที่ระดับล่างที่เกี่ยวข้องจำนวน 108 ราย จึงได้ส่งเรื่องต่อไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อให้ตรวจสอบต่อไป โดยมีเอกสารพฤติการณ์จำนวนทั้ง 108 รายชื่อ พร้อมภาพถ่าย ส่วนพยานหลักฐานยังไม่ได้มีการส่งเรื่องไป แต่เชื่อว่าจะสามารถเชื่อมโยงไปยังข้าราชการระดับสูง และนักการเมืองที่เกี่ยวข้องด้วย เพราะมีหลักฐานการเผลอโอนเงินออกจากบัญชีของตัวนักการเมืองเอง อีกทั้งได้ส่งรายชื่อนักการเมืองที่เกี่ยวข้องมอบให้นายกรัฐมนตรี ผ่านเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว
** ยันไม่เคยให้ข่าวไซฟ่อนเงิน
พ.ต.อ.ดุษฎี ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติม เกี่ยวกับข้อมูลงบประมาณทุจริตน้ำท่วม จนถูกนำไปสู่การขยายผลไซฟ่อนเงินไปยังประเทศฮ่องกง 1.6 หมื่นล้าน และ 2พันล้านบาท ที่ประเทศฝรั่งเศส ว่า ตนขอยืนยันว่า ไม่เคยได้รับข้อมูล ให้ข่าว หรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับข้อมูลการไซฟ่อนเงินดังกล่าว
ทั้งนี้ ยอมรับว่าถูกเชิญให้เข้าร่วมกับภาคีเครือข่ายต่อต้านทุจิรตคอร์รัปชัน(ภตช.)จริง แต่ไม่เคยร่วมกิจกรรมใดๆด้วยทั้งสิ้น ดังนั้นถ้ามีข้อมูลจริง ตนก็พร้อมเปิดเผย แต่ตนไม่ทราบเรื่องจึงไม่รู้ว่าจะให้ข้อมูลอะไร และอำนาจตนก็ไม่สามารถตรวจสอบนักการเมืองได้ สิ่งที่ตนมีข้อมูลอยู่ 3 เรื่อง 1. เลี่ยงภาษีนำเข้ารถหรู 2. บุกรุกทรัพยากรธรรมชาติ 3. ทุจริตงบประมาณภัยพิบัติน้ำท่วม ที่กำลังเตรียมนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะอนุกรรมการของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) จำนวน 8 เรื่อง ในเร็วๆนี้