อย.ผนึกกำลังภาคธุรกิจ พัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ เตรียมพร้อมรับ AEC ในปี 2558
วันนี้ (11 ก.ค.) นพ.วิชัย เทียนถาวร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ถูกต้อง เพื่อผู้บริโภคปลอดภัย” ในการสัมมนาประสานความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กับภาคธุรกิจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 ว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ตระหนัก และมุ่งมั่นให้ประชาชนคนไทยได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพและปลอดภัย โดยมอบให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดำเนินการต่างๆ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนภาคธุรกิจให้ประกอบการอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม โดยผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้คุณภาพมาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งในรอบปีที่ผ่านมา อย.ได้ส่งเสริมผลิตภัณฑ์อาหารให้ได้คุณภาพ โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ ได้แก่ การผลักดันอาหารแปรรูป อาหารพื้นเมือง ของฝากทั่วไทยต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน GMP ขั้นพื้นฐาน หรือ Primary GMP และการสนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถผลิตเกลือบริโภคเสริมไอโอดีนให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้ประชาชนได้รับไอโอดีนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการเข้าถึงยา โดยรับผลการศึกษาชีวสมมูล (Bioequivalence study) ที่มีคุณภาพที่มีอยู่แล้วในต่างประเทศในการขึ้นทะเบียนยาสามัญใหม่ เพื่อให้ได้ยาสามัญใหม่ที่มีคุณภาพ ราคาถูก ส่งเสริมการเข้าถึงยาใหม่ของประชาชนให้ทั่วถึงและรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังพัฒนาแก้ไขกฎหมาย หลักเกณฑ์ต่างๆ ให้มีความทันสมัย ตลอดจนการพัฒนาการให้บริการ โดยลดขั้นตอน และนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ ที่สำคัญ ยังมีการส่งเสริมและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผู้ประกอบการที่มีคุณธรรม ในการประกอบการโดยมอบรางวัล อย.ควอลิตี้อวอร์ด ประจำปี พ.ศ.2555 ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2555 นี้ด้วย
นพ.วิชัย เทียนถาวร กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภค โดย อย.ได้ติดตามตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ.2554 พบการกระทำความผิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีการร้องทุกข์ดำเนินคดี จำนวน 321 ราย เปรียบเทียบปรับ จำนวน 1,153 ราย สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ.2555 จนถึงเดือนเมษายน 2555 มีการร้องทุกข์ดำเนินคดีไปแล้ว 217 ราย และเปรียบเทียบปรับ 719 ราย ทั้งนี้ อย.จะดำเนินการตรวจสอบเฝ้าระวังสถานประกอบการ/ผลิตภัณฑ์/การโฆษณา และดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง รวมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารกฎระเบียบการดำเนินการที่ถูกต้องแก่ผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และสถานประกอบการอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับเตรียมรับการรวม กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่จะเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบในปี 2558
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการ อย.กล่าวเพิ่มเติมถึงทิศทางการดำเนินงานของ อย.ในอนาคต ว่า จะเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในทุกด้านให้ดำเนินงานอย่างถูกต้อง รวดเร็ว บนมาตรฐานเดียวกัน ตรวจสอบได้ และเตรียมความพร้อมรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้สอดคล้องกับรายการสารที่ใช้ในเครื่องสำอางอาเซียน และแก้ไขประกาศเกี่ยวกับการแจ้งการดำเนินการวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 เพื่อให้ครอบคลุมการยื่นคำขอต่ออายุใบรับแจ้งที่ดำเนินการผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเครื่องมือแพทย์ให้เป็นตามแนวทางสากล เช่น การยอมรับให้ใช้หนังสือรับรองการขายที่ออกโดยประเทศเจ้าของสินค้า นอกเหนือจากประเทศผู้ผลิต นอกจากนี้ จะดำเนินการพัฒนาระบบ e-logistic ด้วยการเตรียมข้อมูล เพื่อเชื่อมโยง กับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น กรมศุลกากรและอาเซียน โดย อย.จะส่งข้อมูลการอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ เป็นรายการในเอกสารกำกับสินค้า (Licence per invoice) ให้กรมศุลกากรในรูปแบบ “เอกสารอิเล็กทรอนิกส์” ซึ่งได้เปิดใช้ระบบเชื่อมโยงการนำเข้าเครื่องสำอาง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2555 และจะเชื่อมโยงข้อมูลแบบบูรณาการทั้งนำเข้าและส่งออกให้เสร็จภายในปี 2557 ตลอดจนพัฒนาระบบ e-Submission ด้านเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย เปิดให้จดแจ้งยื่นคำขอผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ นอกจากนี้ ยังลดขั้นตอนในการต่ออายุใบอนุญาตยา โดยต่ออายุใบอนุญาตทางไปรษณีย์ได้ ผู้ประกอบการสามารถชำระเงินผ่านทางธนาคาร และเพิ่มช่องทางการชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางธนาคารให้กับผู้ประกอบการด้านวัตถุอันตรายด้วย รวมทั้งลดขั้นตอนในการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น กระบวนการ ยื่นขอแก้ไขรายการทะเบียนตำรับอาหาร และรายละเอียดของฉลากอาหาร ในกรณีที่ ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพ ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการให้บริการ
“อย.ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพในด้านต่างๆ และในขณะเดียวกัน อย.ก็เปิดกว้างพร้อมรับฟังทุกความคิดเห็นของภาคธุรกิจ เพื่อสนองตอบต่อความต้องการอันก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทั้งหน่วยงานและประชาชนผู้บริโภค” เลขาธิการฯ อย. กล่าว
วันนี้ (11 ก.ค.) นพ.วิชัย เทียนถาวร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ถูกต้อง เพื่อผู้บริโภคปลอดภัย” ในการสัมมนาประสานความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กับภาคธุรกิจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 ว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ตระหนัก และมุ่งมั่นให้ประชาชนคนไทยได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพและปลอดภัย โดยมอบให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดำเนินการต่างๆ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนภาคธุรกิจให้ประกอบการอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม โดยผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้คุณภาพมาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งในรอบปีที่ผ่านมา อย.ได้ส่งเสริมผลิตภัณฑ์อาหารให้ได้คุณภาพ โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ ได้แก่ การผลักดันอาหารแปรรูป อาหารพื้นเมือง ของฝากทั่วไทยต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน GMP ขั้นพื้นฐาน หรือ Primary GMP และการสนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถผลิตเกลือบริโภคเสริมไอโอดีนให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้ประชาชนได้รับไอโอดีนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการเข้าถึงยา โดยรับผลการศึกษาชีวสมมูล (Bioequivalence study) ที่มีคุณภาพที่มีอยู่แล้วในต่างประเทศในการขึ้นทะเบียนยาสามัญใหม่ เพื่อให้ได้ยาสามัญใหม่ที่มีคุณภาพ ราคาถูก ส่งเสริมการเข้าถึงยาใหม่ของประชาชนให้ทั่วถึงและรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังพัฒนาแก้ไขกฎหมาย หลักเกณฑ์ต่างๆ ให้มีความทันสมัย ตลอดจนการพัฒนาการให้บริการ โดยลดขั้นตอน และนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ ที่สำคัญ ยังมีการส่งเสริมและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผู้ประกอบการที่มีคุณธรรม ในการประกอบการโดยมอบรางวัล อย.ควอลิตี้อวอร์ด ประจำปี พ.ศ.2555 ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2555 นี้ด้วย
นพ.วิชัย เทียนถาวร กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภค โดย อย.ได้ติดตามตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ.2554 พบการกระทำความผิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีการร้องทุกข์ดำเนินคดี จำนวน 321 ราย เปรียบเทียบปรับ จำนวน 1,153 ราย สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ.2555 จนถึงเดือนเมษายน 2555 มีการร้องทุกข์ดำเนินคดีไปแล้ว 217 ราย และเปรียบเทียบปรับ 719 ราย ทั้งนี้ อย.จะดำเนินการตรวจสอบเฝ้าระวังสถานประกอบการ/ผลิตภัณฑ์/การโฆษณา และดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง รวมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารกฎระเบียบการดำเนินการที่ถูกต้องแก่ผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และสถานประกอบการอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับเตรียมรับการรวม กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่จะเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบในปี 2558
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการ อย.กล่าวเพิ่มเติมถึงทิศทางการดำเนินงานของ อย.ในอนาคต ว่า จะเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในทุกด้านให้ดำเนินงานอย่างถูกต้อง รวดเร็ว บนมาตรฐานเดียวกัน ตรวจสอบได้ และเตรียมความพร้อมรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้สอดคล้องกับรายการสารที่ใช้ในเครื่องสำอางอาเซียน และแก้ไขประกาศเกี่ยวกับการแจ้งการดำเนินการวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 เพื่อให้ครอบคลุมการยื่นคำขอต่ออายุใบรับแจ้งที่ดำเนินการผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเครื่องมือแพทย์ให้เป็นตามแนวทางสากล เช่น การยอมรับให้ใช้หนังสือรับรองการขายที่ออกโดยประเทศเจ้าของสินค้า นอกเหนือจากประเทศผู้ผลิต นอกจากนี้ จะดำเนินการพัฒนาระบบ e-logistic ด้วยการเตรียมข้อมูล เพื่อเชื่อมโยง กับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น กรมศุลกากรและอาเซียน โดย อย.จะส่งข้อมูลการอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ เป็นรายการในเอกสารกำกับสินค้า (Licence per invoice) ให้กรมศุลกากรในรูปแบบ “เอกสารอิเล็กทรอนิกส์” ซึ่งได้เปิดใช้ระบบเชื่อมโยงการนำเข้าเครื่องสำอาง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2555 และจะเชื่อมโยงข้อมูลแบบบูรณาการทั้งนำเข้าและส่งออกให้เสร็จภายในปี 2557 ตลอดจนพัฒนาระบบ e-Submission ด้านเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย เปิดให้จดแจ้งยื่นคำขอผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ นอกจากนี้ ยังลดขั้นตอนในการต่ออายุใบอนุญาตยา โดยต่ออายุใบอนุญาตทางไปรษณีย์ได้ ผู้ประกอบการสามารถชำระเงินผ่านทางธนาคาร และเพิ่มช่องทางการชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางธนาคารให้กับผู้ประกอบการด้านวัตถุอันตรายด้วย รวมทั้งลดขั้นตอนในการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น กระบวนการ ยื่นขอแก้ไขรายการทะเบียนตำรับอาหาร และรายละเอียดของฉลากอาหาร ในกรณีที่ ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพ ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการให้บริการ
“อย.ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพในด้านต่างๆ และในขณะเดียวกัน อย.ก็เปิดกว้างพร้อมรับฟังทุกความคิดเห็นของภาคธุรกิจ เพื่อสนองตอบต่อความต้องการอันก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทั้งหน่วยงานและประชาชนผู้บริโภค” เลขาธิการฯ อย. กล่าว