**มหากาพย์ “3 จีประเทศไทย” ยังคงโรมรันพันตูไม่จบสิ้นง่ายๆ
แม้จะเดินหน้าประมูลใบอนุญาตบนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อ 16 ต.ค.ที่ผ่านมา และให้หลังไม่กี่วันเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตก็หอบเช็คเงินก้อนมหาศาลไปวางมัดจำไปแล้ว ทั้งที่กฎหมายระบุว่า ให้หาเงินมาจ่ายได้ภายใน 90 วันก็ตาม เหมือนการส่งสัญญาณว่า กำลังจะเดินหน้าธุรกิจ 3 จี อย่างเต็มตัว หลังผ่านกระบวนการประมูลไปแล้ว
แต่ต้องไม่ลืมว่า “ข้อครหา” ในการประมูลยังมีอยู่ ทั้งการประมูลที่น่าจะขับเคี่ยวฟาดฟันอย่างถึงฎีกา แต่กลับจบจบลงอย่างรวดเร็ว หรือตัวเลขราคาสุดท้ายที่ดีดตัวเพิ่มจากราคากลางที่ตั้งไว้เพียง 2.3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นำมาซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่พุ่งเป้าโจมตีไปที่ “คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ” หรือ กสทช. ผู้รับผิดชอบเต็มๆ
ประเด็นหลักที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยก็คือ หนึ่งมีผู้ประมูล 3 รายพอดีกับคลื่นความถี่ที่นำออกมาประมูล เข้าข่ายข้อหา “ฮั้วประมูล” และ สองตั้งราคากลางต่ำ จนทำให้รัฐสูญเสียรายได้ พูดกันว่าเป็นหมื่นๆล้าน
โดยเฉพาะเสียงท้วงติงจาก “สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์” ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ ที่วิจารณ์ กสทช. อย่างรุนแรงว่า จัดประมูลล้มเหลว จากออกแบบการประมูลให้ไม่มีการแข่งขันกันจริง จนสร้างความเสียหายให้แก่ประชาชนผู้เสียภาษีกว่า 1.6 หมื่นล้านบาทเป็นอย่างน้อย
ไม่เพียงเท่านั้นยังมีคดีฟ้องร้องจากหน่วยงานและบุคคลอีกเป็นหางว่าว แม้ว่าท้ายที่สุดส่วนใหญ่ศาลจะไม่ประทับรับฟ้องก็ตาม แต่ต่างๆเหล่านี้ก็ถือเป็น “ตำหนิ” ของประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการสื่อสารเมืองไทย
แต่เป็น “ตำหนิ” ที่ กสทช.ต้องรับไปเต็มๆอย่างนั้นหรือ???
เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าในกรรมการ กสทช. มีอยู่ด้วย 11 คนมาจากผู้เชี่ยวชาญแขนงต่างๆ และกฎหมายได้กำหนดให้ตั้งกรรมการอีก 2 ชุดเล็ก คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ที่ดูแลกิจการด้านวิทยุและโทรทัศน์ และ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ที่ดูแลงานด้านกิจการโทรคมนาคม โดยมีกรรมการ กสทช.ไปทำหน้าที่ชุดละ 5 คนไม่ซ้ำกัน
และเมื่อลงลึกไปในรายละเอียดจะพบว่า การประมูล 3 จีครั้งนี้อยู่ในความดูแลของ กทค. และหลังเคาะราคายังเป็นผู้ประทับตรารับรองผลการประมูลด้วยเสียง 4 ต่อ 1 มีเพียง “หมอลี่” ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา หนึ่งใน กทค.ที่มาจากสายเอ็นจีโอเท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากติดใจใน “พฤติการณ์เคาะราคา” ของเอกชนที่เป็นความลับ แม้แต่ กทค.เองยังไม่สามารถรับรู้ได้
**แสดงให้เห็นว่าใน 5 กทค.เองก็ยังไม่ตกผลึกเห็นไปในทางเดียวกัน
น่าสนใจที่ว่า เหตุใดเรื่องการประมูลที่มีมูลค่ามหาศาลกลับไม่ถูกนำเข้าที่ประชุมใหญ่หรือ กสทช. คณะใหญ่ที่มี “พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี” เป็นประธาน พิจารณาในขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นข้อสังเกตที่หลายฝ่ายออกมาตั้งข้อสังเกตว่าขั้นตอนการรับรองผลการประมูลของ กทค.อาจขัดขัดต่อ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 หรือ “พ.ร.บ.กสทช.” ในมาตรา 24 ระบุว่า
“การปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. กสท. และ กทค.ในเรี่องใดที่เกี่ยวข้อง หรือมีผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ ต้องกระทําโดยมติของที่ประชุม และต้องเปิดเผยรายงานการประชุม พร้อมทั้งผลการลงมติของที่ประชุมทั้งรายบุคคลและทั้งคณะให้สาธารณชนทราบผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน กสทช. และโดยวิธีการอื่นที่เหมาะสมตามที่ กสทช.ประกาศกำหนด”
เรื่องนี้ “พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ” รองประธาน กสทช.ในฐานะประธานกรรมการ กทค.ก็ยืนยันหนักแน่นว่า กทค.มีอำนาจเต็มที่จะดำเนินการ เพราะเมื่อไล่ลงมาดูแม้ พ.ร.บ.กสทช. จะระบุให้อำนาจ กสทช.ในมาตรา 27 (4) ที่ว่า
“พิจารณาอนุญาตและกํากับดูแลการใช้คลื่นความถี่และเครื่องวิทยุคมนาคมในการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม หรือในกิจการวิทยุคมนาคมและกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไข หรือค่าธรรมเนียมการอนญาตดังกล่าว” หรือพูดง่ายคือ กสทช. มีอำนาจในการออกใบอนุญาตนั่นเอง
แต่อ่านมาถึงมาตรา 40 ซึ่งว่าด้วยอำนาจของ กทค. กลับระบุว่า “ให้ กทค. มีอํานาจหน้าที่ปฏิบัติการใด ๆ แทน กสทช.ตามมาตรา 27 (4) (6) (7) (8) (9) (10) (11) (12) (13) และ (16) ในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมและกิจการวิทยุคมนาคม และปฏบิตัหน้าที่อื่นตามที่ กสทช.มอบหมาย”
ตีความตามตัวอักษรกลายเป็นว่า อำนาจซ้ำซ้อนกันอย่างเห็นได้ชัด หรือจะนำเรื่องเข้าที่ประชุม กสทช.ชุดใหญ่ก็ได้ หรือไม่เข้าก็ได้ ในกรณีของ “ใบอนุญาต 3 จี” ก็จะเห็นว่า กทค.เลือกที่ใช้อำนาจในการออกใบอนุญาตตามกฎหมายเอง แถมยังมีข้ออ้างสำคัญว่า กทค.ดำเนินการประมูลตามประกาศ กสทช.เรื่อง “หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ พ.ศ.2555” ที่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ กสทช.
ผู้ที่หนักใจมากที่สุดคงหนีไม่พ้น “พล.อ.อ.ธเรศ” ที่แม้ไม่เห็นด้วยกับการที่ กทค. เดินหน้าให้ใบอนุญาต 3 จี โดยไม่ผ่านที่ประชุม กสทช. แต่ก็ทำอะไรได้ไม่ถนัดนัก เพราะกฎหมายเขียนไว้อย่าง “กำกวม” การที่ประธาน กสทช. จะลงไปให้ความเห็น หรือขอให้นำเรื่องเข้าที่ประชุมใหญ่ก็อาจถูกมองว่าลงไป “ล้วงลูก” อีกต่างหาก
ว่ากันว่า หากท้ายที่สุดมีศาลใดรับคำร้องของหน่วยงานหรือบุคคลที่เดินหน้ายื่นเรื่องเป็นพัลวันกันอยู่ในตอนนี้ และเลวร้ายถึงขั้นพิพากษาว่า “การประมูลใบอนุญาต 3จี ” ครั้งนี้ มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 หรือ “พ.ร.บ.ฮั้วประมูล” แม้ว่าในกรณี 3 จี จะมี 5 กรรมการ กทค. เป็นผู้รับรองผล แต่ความผิดก็อาจจะตกอยู่กับ กสทช.ทั้ง 11 คนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
และเชื่อเหลือเกินว่า หากนำประเด็นนี้ให้ที่ประชุม กสทช.ทั้ง 11 คน ร่วมกันลงมติว่า ต่อแต่นี้ไปเรื่องทุกเรื่องต้องเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ก็คงไม่มีใครเอาด้วย เพราะอย่าลืมว่าฝั่ง กสท.เองที่กำลังจะมีเรื่อง “ทีวีดิจิตอล” ที่มีผลประโยชน์งดงามเข้าขั้นมหาศาล ก็คงไม่อยากให้ใครเข้าไป “ล้ำเส้น” เช่นกัน
**เสมือนว่า “กสท.-กทค.” ต่างก็ใช้ข้อกฎหมาย “แข็งเมือง” สร้างอาณาจักรตัวเองบนผลประโยน์มหาศาลนั่นเอง
แม้จะเดินหน้าประมูลใบอนุญาตบนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อ 16 ต.ค.ที่ผ่านมา และให้หลังไม่กี่วันเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตก็หอบเช็คเงินก้อนมหาศาลไปวางมัดจำไปแล้ว ทั้งที่กฎหมายระบุว่า ให้หาเงินมาจ่ายได้ภายใน 90 วันก็ตาม เหมือนการส่งสัญญาณว่า กำลังจะเดินหน้าธุรกิจ 3 จี อย่างเต็มตัว หลังผ่านกระบวนการประมูลไปแล้ว
แต่ต้องไม่ลืมว่า “ข้อครหา” ในการประมูลยังมีอยู่ ทั้งการประมูลที่น่าจะขับเคี่ยวฟาดฟันอย่างถึงฎีกา แต่กลับจบจบลงอย่างรวดเร็ว หรือตัวเลขราคาสุดท้ายที่ดีดตัวเพิ่มจากราคากลางที่ตั้งไว้เพียง 2.3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นำมาซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่พุ่งเป้าโจมตีไปที่ “คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ” หรือ กสทช. ผู้รับผิดชอบเต็มๆ
ประเด็นหลักที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยก็คือ หนึ่งมีผู้ประมูล 3 รายพอดีกับคลื่นความถี่ที่นำออกมาประมูล เข้าข่ายข้อหา “ฮั้วประมูล” และ สองตั้งราคากลางต่ำ จนทำให้รัฐสูญเสียรายได้ พูดกันว่าเป็นหมื่นๆล้าน
โดยเฉพาะเสียงท้วงติงจาก “สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์” ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ ที่วิจารณ์ กสทช. อย่างรุนแรงว่า จัดประมูลล้มเหลว จากออกแบบการประมูลให้ไม่มีการแข่งขันกันจริง จนสร้างความเสียหายให้แก่ประชาชนผู้เสียภาษีกว่า 1.6 หมื่นล้านบาทเป็นอย่างน้อย
ไม่เพียงเท่านั้นยังมีคดีฟ้องร้องจากหน่วยงานและบุคคลอีกเป็นหางว่าว แม้ว่าท้ายที่สุดส่วนใหญ่ศาลจะไม่ประทับรับฟ้องก็ตาม แต่ต่างๆเหล่านี้ก็ถือเป็น “ตำหนิ” ของประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการสื่อสารเมืองไทย
แต่เป็น “ตำหนิ” ที่ กสทช.ต้องรับไปเต็มๆอย่างนั้นหรือ???
เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าในกรรมการ กสทช. มีอยู่ด้วย 11 คนมาจากผู้เชี่ยวชาญแขนงต่างๆ และกฎหมายได้กำหนดให้ตั้งกรรมการอีก 2 ชุดเล็ก คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ที่ดูแลกิจการด้านวิทยุและโทรทัศน์ และ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ที่ดูแลงานด้านกิจการโทรคมนาคม โดยมีกรรมการ กสทช.ไปทำหน้าที่ชุดละ 5 คนไม่ซ้ำกัน
และเมื่อลงลึกไปในรายละเอียดจะพบว่า การประมูล 3 จีครั้งนี้อยู่ในความดูแลของ กทค. และหลังเคาะราคายังเป็นผู้ประทับตรารับรองผลการประมูลด้วยเสียง 4 ต่อ 1 มีเพียง “หมอลี่” ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา หนึ่งใน กทค.ที่มาจากสายเอ็นจีโอเท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากติดใจใน “พฤติการณ์เคาะราคา” ของเอกชนที่เป็นความลับ แม้แต่ กทค.เองยังไม่สามารถรับรู้ได้
**แสดงให้เห็นว่าใน 5 กทค.เองก็ยังไม่ตกผลึกเห็นไปในทางเดียวกัน
น่าสนใจที่ว่า เหตุใดเรื่องการประมูลที่มีมูลค่ามหาศาลกลับไม่ถูกนำเข้าที่ประชุมใหญ่หรือ กสทช. คณะใหญ่ที่มี “พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี” เป็นประธาน พิจารณาในขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นข้อสังเกตที่หลายฝ่ายออกมาตั้งข้อสังเกตว่าขั้นตอนการรับรองผลการประมูลของ กทค.อาจขัดขัดต่อ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 หรือ “พ.ร.บ.กสทช.” ในมาตรา 24 ระบุว่า
“การปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. กสท. และ กทค.ในเรี่องใดที่เกี่ยวข้อง หรือมีผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ ต้องกระทําโดยมติของที่ประชุม และต้องเปิดเผยรายงานการประชุม พร้อมทั้งผลการลงมติของที่ประชุมทั้งรายบุคคลและทั้งคณะให้สาธารณชนทราบผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน กสทช. และโดยวิธีการอื่นที่เหมาะสมตามที่ กสทช.ประกาศกำหนด”
เรื่องนี้ “พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ” รองประธาน กสทช.ในฐานะประธานกรรมการ กทค.ก็ยืนยันหนักแน่นว่า กทค.มีอำนาจเต็มที่จะดำเนินการ เพราะเมื่อไล่ลงมาดูแม้ พ.ร.บ.กสทช. จะระบุให้อำนาจ กสทช.ในมาตรา 27 (4) ที่ว่า
“พิจารณาอนุญาตและกํากับดูแลการใช้คลื่นความถี่และเครื่องวิทยุคมนาคมในการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม หรือในกิจการวิทยุคมนาคมและกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไข หรือค่าธรรมเนียมการอนญาตดังกล่าว” หรือพูดง่ายคือ กสทช. มีอำนาจในการออกใบอนุญาตนั่นเอง
แต่อ่านมาถึงมาตรา 40 ซึ่งว่าด้วยอำนาจของ กทค. กลับระบุว่า “ให้ กทค. มีอํานาจหน้าที่ปฏิบัติการใด ๆ แทน กสทช.ตามมาตรา 27 (4) (6) (7) (8) (9) (10) (11) (12) (13) และ (16) ในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมและกิจการวิทยุคมนาคม และปฏบิตัหน้าที่อื่นตามที่ กสทช.มอบหมาย”
ตีความตามตัวอักษรกลายเป็นว่า อำนาจซ้ำซ้อนกันอย่างเห็นได้ชัด หรือจะนำเรื่องเข้าที่ประชุม กสทช.ชุดใหญ่ก็ได้ หรือไม่เข้าก็ได้ ในกรณีของ “ใบอนุญาต 3 จี” ก็จะเห็นว่า กทค.เลือกที่ใช้อำนาจในการออกใบอนุญาตตามกฎหมายเอง แถมยังมีข้ออ้างสำคัญว่า กทค.ดำเนินการประมูลตามประกาศ กสทช.เรื่อง “หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ พ.ศ.2555” ที่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ กสทช.
ผู้ที่หนักใจมากที่สุดคงหนีไม่พ้น “พล.อ.อ.ธเรศ” ที่แม้ไม่เห็นด้วยกับการที่ กทค. เดินหน้าให้ใบอนุญาต 3 จี โดยไม่ผ่านที่ประชุม กสทช. แต่ก็ทำอะไรได้ไม่ถนัดนัก เพราะกฎหมายเขียนไว้อย่าง “กำกวม” การที่ประธาน กสทช. จะลงไปให้ความเห็น หรือขอให้นำเรื่องเข้าที่ประชุมใหญ่ก็อาจถูกมองว่าลงไป “ล้วงลูก” อีกต่างหาก
ว่ากันว่า หากท้ายที่สุดมีศาลใดรับคำร้องของหน่วยงานหรือบุคคลที่เดินหน้ายื่นเรื่องเป็นพัลวันกันอยู่ในตอนนี้ และเลวร้ายถึงขั้นพิพากษาว่า “การประมูลใบอนุญาต 3จี ” ครั้งนี้ มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 หรือ “พ.ร.บ.ฮั้วประมูล” แม้ว่าในกรณี 3 จี จะมี 5 กรรมการ กทค. เป็นผู้รับรองผล แต่ความผิดก็อาจจะตกอยู่กับ กสทช.ทั้ง 11 คนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
และเชื่อเหลือเกินว่า หากนำประเด็นนี้ให้ที่ประชุม กสทช.ทั้ง 11 คน ร่วมกันลงมติว่า ต่อแต่นี้ไปเรื่องทุกเรื่องต้องเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ก็คงไม่มีใครเอาด้วย เพราะอย่าลืมว่าฝั่ง กสท.เองที่กำลังจะมีเรื่อง “ทีวีดิจิตอล” ที่มีผลประโยชน์งดงามเข้าขั้นมหาศาล ก็คงไม่อยากให้ใครเข้าไป “ล้ำเส้น” เช่นกัน
**เสมือนว่า “กสท.-กทค.” ต่างก็ใช้ข้อกฎหมาย “แข็งเมือง” สร้างอาณาจักรตัวเองบนผลประโยน์มหาศาลนั่นเอง