ASTVผู้จัดการรายวัน - มาตรการลดภาษีพ่นพิษ สรรพากรหน้ามืดดิ้นเก็บรายได้ขยายฐานภาษีเพิ่ม เล็งรีดภาษีวงการพระเครื่องและวัตถุโบราณที่ยังเสียภาษีไม่ถูกต้อง ไม่เว้นดารานักแสดง-ผู้ค้ารถหรูที่เข้มงวดการจัดเก็บมากขึ้น ขณะที่คณะบุคคลหากตั้งขึ้นเพื่อหากำไรไม่พ้นโดนภาษี 3% ของกำไรด้วย
นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมสรรพากรได้หามาตรการต่างๆ เพื่อให้มีการเสียภาษีได้อย่างถูกต้อง โดยได้รวบรวมข้อมูลของผู้ที่ยังไม่ได้อยู่ในระบบภาษี หรือยังเสียภาษีไม่ถูกต้องไว้หมดแล้ว และทยอยส่งหนังสือแจ้งให้มาทำการเสียภาษีให้ถูกต้อง ทั้งวงการเช่าพระและวัตถุโบราณรายใหญ่ ที่ยังเสียภาษีขาดพอสมควร ให้ดำเนินการเสียภาษีให้ถูกต้อง ดาราพิธีกรเองก็มีรายชื่อครบหมดแล้ว และทอยส่งหนังสือไปแจ้ง รวมถึงผู้นำเข้ารถยนต์อิสระ หรือ เกรย์มาร์เก็ต ที่ยังเสียภาษีห่างจากความเป็นจริงมาก และยังมีอีกหลายกลุ่มอาชีพที่กำลังพิจารณา
นอกจากนี้กรมสรรพากรเปลี่ยนวิธีการบริหารด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลภาษีการค้าจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพราะภาษีเข้าคนหนึ่งจะเป็นภาษีออกของอีกคน ก็สามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ ไม่ใช่การเข้าไปตรวจค้นข้อมูลแบบไม่ชอบด้วยกำหมาย แต่เป็นการดำเนินการภายใต้อำนาจที่มีและยังเป็นการสุ่มตรวจจากข้อมูลที่มีด้วย ซึ่งขณะนี้ถือว่ามีข้อมูลหมดแล้ว และจะทยอยส่งหนังสือให้มาดำเนินการเสียภาษีให้ถูกต้อง ซึ่งขณะนี้รัฐบาลเองก็เห็นชอบตามแนวทางที่กรมสรรพากรเสนอไปในการจัดหาเครื่องไม้เครื่องมืออิเลคทรอนิกส์ให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้มากขึ้นด้วย และจะทำให้ประสิทธิภาพการจัดเก็บเพิ่มขึ้นด้วย
ขณะเดียวกันยังมีเรื่องที่จะต้องแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้เชื่อมโยงไปหาคนนอกระบบภาษีด้วย เช่น กำลังทบทวนเกณฑ์การตั้งคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หากวัตถุประสงค์ต่างกันก็จะเสียภาษีต่างกันด้วย เพื่อให้การตั้งคณะบุคคล เพื่อเลี่ยงก็จะทำได้ยากขึ้นหรือหายไปเลย เพราะจะต้องเสียอัตราภาษีที่สูงกว่าบุคคลธรรมดา อย่างกรณีการตั้งคณะบุคคล เพื่อมุ่งหากำไร จะเสียภาษีในอัตรานิติบุคคลคือ 3% ของกำไร หรือหากเป็นห้างหุ้นส่วนที่ไม่ใช่นิติบุคคล เดิมตั้งใจจะให้เสียภาษีในอัตรา 10% ของยอดขาย แต่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลังเห็นว่ายังน้อยไป ก็จะปรับเป็น 20% ซึ่งก็จะทำให้การกระทำในลักษณะดังกล่าวเพื่อเลี่ยงภาษีลดลงหรือหายไปเลย
นายสาธิตกล่าวว่า กรมสรรพากรยังได้เข้าไปพิจารณารายละเอียดของการใช้สิทธิทางภาษีจากมาตรการส่งเสริมการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ในการลงทุนพลังงานสีเขียว พบว่า ยังมีความเข้าใจที่คาดเคลื่อน เพราะเป็นการหักภาษีทั้งจำนวนลงทุนทันที โดยที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ทั้งที่เกณฑ์ของสรรพากรให้ทยอยหักตามจริงในสัดส่วนที่ลงทุน ซึ่งคาดว่าจะได้เงินภาษีคืนจากส่วนนี้เป็นหมื่นล้านบาททีเดียว แต่ขณะเดียวกันการต้องให้สามีภรรยาต้องแยกยื่นภาษีตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งให้เริ่มมีผลทันทีในวันที่ 1 มกราคม 2556 จะทำให้สูญเสียรายได้ไปถึง 4 พันล้านบาทเช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หรือ เออีซีด้วย เพราะต่อไปการซื้อขายระหว่างกันไม่ได้จำกัดเฉพาะในประเทศเท่านั้น ลูกค้ามีสิทธิ์ที่จะซื้อสินค้าจากใคร ที่ไหนก็ได้ เพราะไม่มีอากรระหว่างกัน แต่ต้องดูว่า การตั้งกิจการในต่างประเทศ มาขายในประเทศนั้น จะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม(แวต)อย่างไร ซึ่งที่กำลังศึกษาคือ จะให้ผู้ซื้อจากต่างประเทศเป็นคนยื่นแบบภ.ง.ด.36 ในการเสียแวต 7% แทน ส่วนการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเอง ก็ต้องขึ้นกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องเปรียบเทียบถึง รายได้ที่จะหายไป การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การกระจายรายได้และความเสมอภาค ซึ่งแต่ละเรื่องมีข้อขัดแย้งกันเอง ดังนั้นจึงต้องมาดูว่า การปรับโครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดานั้นจะต้องปรับตรงไหนระหว่าง อัตราภาษี สิทธิลดหย่อนต่างๆ การหักเป็นค่าใช้จ่าย วงเงินที่จะกำหนดในการเสียภาษี หรือการปรับรายการยกเว้นภาษี ซึ่งนายกิตติรัตน์จะหารือในรายละเอียดวันที่ 26 ตุลาคมนี้
“การปรับโครงสร้างภาษีแต่ละคนก็จะต้องทำให้มีทั้งรายได้เพิ่มหรือลดลง ซึ่งรัฐบาลเองก็ต้องดูองค์รวมว่า สุดท้ายแล้ว จะสูญเสียหรือได้รายได้เพิ่มมากกว่ากัน อย่างการปรับลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ในปีนี้และจะเหลือ 20% ในปีหน้านั้น จะมีผลให้สามารถขยายฐานภาษีเพิ่มขึ้นได้จริง แต่ไม่ได้เกิดขึ้นในปีนั้นๆ จะต้องทยอยเกิด และต้องใช้เวลา 4-5 ปี เช่นเดียวกันฐานแวตก็เช่นเดียวกัน ก็จะมีเวลาของมันเช่นกัน”นายสาธิตกล่าว
นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมสรรพากรได้หามาตรการต่างๆ เพื่อให้มีการเสียภาษีได้อย่างถูกต้อง โดยได้รวบรวมข้อมูลของผู้ที่ยังไม่ได้อยู่ในระบบภาษี หรือยังเสียภาษีไม่ถูกต้องไว้หมดแล้ว และทยอยส่งหนังสือแจ้งให้มาทำการเสียภาษีให้ถูกต้อง ทั้งวงการเช่าพระและวัตถุโบราณรายใหญ่ ที่ยังเสียภาษีขาดพอสมควร ให้ดำเนินการเสียภาษีให้ถูกต้อง ดาราพิธีกรเองก็มีรายชื่อครบหมดแล้ว และทอยส่งหนังสือไปแจ้ง รวมถึงผู้นำเข้ารถยนต์อิสระ หรือ เกรย์มาร์เก็ต ที่ยังเสียภาษีห่างจากความเป็นจริงมาก และยังมีอีกหลายกลุ่มอาชีพที่กำลังพิจารณา
นอกจากนี้กรมสรรพากรเปลี่ยนวิธีการบริหารด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลภาษีการค้าจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพราะภาษีเข้าคนหนึ่งจะเป็นภาษีออกของอีกคน ก็สามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ ไม่ใช่การเข้าไปตรวจค้นข้อมูลแบบไม่ชอบด้วยกำหมาย แต่เป็นการดำเนินการภายใต้อำนาจที่มีและยังเป็นการสุ่มตรวจจากข้อมูลที่มีด้วย ซึ่งขณะนี้ถือว่ามีข้อมูลหมดแล้ว และจะทยอยส่งหนังสือให้มาดำเนินการเสียภาษีให้ถูกต้อง ซึ่งขณะนี้รัฐบาลเองก็เห็นชอบตามแนวทางที่กรมสรรพากรเสนอไปในการจัดหาเครื่องไม้เครื่องมืออิเลคทรอนิกส์ให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้มากขึ้นด้วย และจะทำให้ประสิทธิภาพการจัดเก็บเพิ่มขึ้นด้วย
ขณะเดียวกันยังมีเรื่องที่จะต้องแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้เชื่อมโยงไปหาคนนอกระบบภาษีด้วย เช่น กำลังทบทวนเกณฑ์การตั้งคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หากวัตถุประสงค์ต่างกันก็จะเสียภาษีต่างกันด้วย เพื่อให้การตั้งคณะบุคคล เพื่อเลี่ยงก็จะทำได้ยากขึ้นหรือหายไปเลย เพราะจะต้องเสียอัตราภาษีที่สูงกว่าบุคคลธรรมดา อย่างกรณีการตั้งคณะบุคคล เพื่อมุ่งหากำไร จะเสียภาษีในอัตรานิติบุคคลคือ 3% ของกำไร หรือหากเป็นห้างหุ้นส่วนที่ไม่ใช่นิติบุคคล เดิมตั้งใจจะให้เสียภาษีในอัตรา 10% ของยอดขาย แต่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลังเห็นว่ายังน้อยไป ก็จะปรับเป็น 20% ซึ่งก็จะทำให้การกระทำในลักษณะดังกล่าวเพื่อเลี่ยงภาษีลดลงหรือหายไปเลย
นายสาธิตกล่าวว่า กรมสรรพากรยังได้เข้าไปพิจารณารายละเอียดของการใช้สิทธิทางภาษีจากมาตรการส่งเสริมการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ในการลงทุนพลังงานสีเขียว พบว่า ยังมีความเข้าใจที่คาดเคลื่อน เพราะเป็นการหักภาษีทั้งจำนวนลงทุนทันที โดยที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ทั้งที่เกณฑ์ของสรรพากรให้ทยอยหักตามจริงในสัดส่วนที่ลงทุน ซึ่งคาดว่าจะได้เงินภาษีคืนจากส่วนนี้เป็นหมื่นล้านบาททีเดียว แต่ขณะเดียวกันการต้องให้สามีภรรยาต้องแยกยื่นภาษีตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งให้เริ่มมีผลทันทีในวันที่ 1 มกราคม 2556 จะทำให้สูญเสียรายได้ไปถึง 4 พันล้านบาทเช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หรือ เออีซีด้วย เพราะต่อไปการซื้อขายระหว่างกันไม่ได้จำกัดเฉพาะในประเทศเท่านั้น ลูกค้ามีสิทธิ์ที่จะซื้อสินค้าจากใคร ที่ไหนก็ได้ เพราะไม่มีอากรระหว่างกัน แต่ต้องดูว่า การตั้งกิจการในต่างประเทศ มาขายในประเทศนั้น จะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม(แวต)อย่างไร ซึ่งที่กำลังศึกษาคือ จะให้ผู้ซื้อจากต่างประเทศเป็นคนยื่นแบบภ.ง.ด.36 ในการเสียแวต 7% แทน ส่วนการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเอง ก็ต้องขึ้นกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องเปรียบเทียบถึง รายได้ที่จะหายไป การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การกระจายรายได้และความเสมอภาค ซึ่งแต่ละเรื่องมีข้อขัดแย้งกันเอง ดังนั้นจึงต้องมาดูว่า การปรับโครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดานั้นจะต้องปรับตรงไหนระหว่าง อัตราภาษี สิทธิลดหย่อนต่างๆ การหักเป็นค่าใช้จ่าย วงเงินที่จะกำหนดในการเสียภาษี หรือการปรับรายการยกเว้นภาษี ซึ่งนายกิตติรัตน์จะหารือในรายละเอียดวันที่ 26 ตุลาคมนี้
“การปรับโครงสร้างภาษีแต่ละคนก็จะต้องทำให้มีทั้งรายได้เพิ่มหรือลดลง ซึ่งรัฐบาลเองก็ต้องดูองค์รวมว่า สุดท้ายแล้ว จะสูญเสียหรือได้รายได้เพิ่มมากกว่ากัน อย่างการปรับลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ในปีนี้และจะเหลือ 20% ในปีหน้านั้น จะมีผลให้สามารถขยายฐานภาษีเพิ่มขึ้นได้จริง แต่ไม่ได้เกิดขึ้นในปีนั้นๆ จะต้องทยอยเกิด และต้องใช้เวลา 4-5 ปี เช่นเดียวกันฐานแวตก็เช่นเดียวกัน ก็จะมีเวลาของมันเช่นกัน”นายสาธิตกล่าว