ASTVผู้จัดการรายวัน-บพ.เรียก 6 ชาร์เตอร์ไฟลต์ ถก 26 ต.ค.นี้ ล้อมคอกปัญหาพี.ซี.แอร์ หวั่นเกิดซ้ำรอย เผยปมเหตุมีปัญหากับเอเยนต์ เรื่องขายตั๋ว 2 ขา ซึ่งเข้าข่ายผิดกฎการบินเช่าเหมาลำที่ต้องขายตั๋วแบบไปกลับ เฉพาะคนไทยเท่านั้น ขณะที่"ปีเตอร์ ชาน" ประธานสายการบิน เบี้ยวเข้าพบ ตร.บก.ปคบ. อ้างบินไปสนามบินนานาชาติอินชอน
นายเสรี จิตต์โสภา รองอธิบดีฝ่ายท่าอากาศยาน กรมการบินพลเรือน (บพ.) กล่าวถึงการพิจารณาความผิดของ สายการบิน พี.ซี.แอร์ นั้น จะพิจารณาตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตที่บพ.ออกให้กับสายการบิน พี.ซี.แอร์ เป็นหลัก เนื่องจากมีการกำหนดไว้ชัดเจนว่า กรณีที่สายการบินกระทำผิด สามารถเพิกถอนหรือยกเลิกใบอนุญาตการให้บริการของสายการบินได้ รวมถึง อาจจะต้องนำหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) และองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ที่สำคัญคือต้องรอ ข้อมูลจากนายวรเดช หาญประเสริฐ อธิบดี บพ. ที่เดินทางไปประเทศเกาหลีใต้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการดูแลผู้โดยสารคนไทยให้เดินทางกลับและหาข้อเท็จจริงจาก เอเยนต์ของพี.ซี. แอร์ , บริษัทน้ำมัน และท่าอากาศยานอินชอน มาประกอบการพิจารณาอย่างรอบคอบ
ในส่วนของผู้โดยสารที่ตกค้างขณะนี้เพียง 30 คน ซึ่งสามารถเดินทางกลับมากับเที่ยวบินของการบินไทยได้ ในขณะที่ทางพี.ซี.แอร์ ได้บินเครื่องเปล่าไปยังเกาหลีเมื่อวันที่ 22 ตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อรับผู้โดยสารกลับได้เช่นกัน และในวันที่ 26 ตุลาคมนี้ เวลาประมาณ 10.00 น. ทางอธิบดี บพ. ได้เรียกผู้ประกอบการสายการบินเช่าเหมาลำ 6 ราย คือ 1. บริษัท พีซี แอร์ จำกัด ปัจจุบันให้บริการเส้นทางดอนเมือง-อินชอน วันละ 1 เที่ยว ใช้เครื่องบินแอร์บัส A310-222 2. บริษัทเจ็ท เอเชีย แอร์เวย์ จำกัด 3.บริษัท ซิตี้ แอร์เวย์ จำกัด 4. บริษัท โซล่าร์ เอวิเอชั่น จำกัด 5. บริษัท ยู แอร์ไลน์ จำกัด และ 6. บริษัท สยาม เจนเนอรัล เอวิเอชั่น จำกัด เข้าหารือ เพื่อกำหนดมาตรป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต
รายงานข่าวแจ้งว่า จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ทางพี.ซี.แอร์ มีปัญหากับบริษัทตัวแทนชื่อ Sky Jet เนื่องจากเอเยนต์ต้องการขายตั๋วจากเกาหลีมาไทยด้วย ซึ่งตามกฎของเที่ยวบินเช่าเหมาลำ (CHARTER FLIGHT) ที่พี.ซี.แอร์ ได้รับอนุญาตจะขายตั๋วคนไทยเพื่อเดินทางไป-กลับเกาหลีเท่านั้น ไม่สามารถขายตั๋วแบบ 2 ขา หรือขายจากเกาหลีมาไทยได้ แต่ในการทำธุรกิจอาจมีการเจรจาเพื่อขอโควตาที่นั่งในแต่ละเที่ยวบินระหว่างสายการบินและเอเยนต์ได้ ในขณะที่พี.ซี.แอร์ มีเครื่องบินเพียง 1 ลำ ทำให้ต้องพึ่งเอเยนต์ค่อนข้างมาก เมื่อตกลงผลประโยชน์กันไม่ได้จึงเกิดปัญหา ส่วนเรื่องที่ติดค้างค่าน้ำมัน และค่าใช้จ่ายสนามบินอินชอนนั้น เป็นการจ่ายเงินล่าช้ากว่ากำหนด ซึ่งทางบริษัทน้ำมันยืนยันว่าหากนำเงินมาชำระจะให้บริการพี.ซี.แอร์ ตามปกติ
สำหรับการพิจารณาความผิดและการเพิกถอนใบอนุญาต พี ซี แอร์หรือไม่นั้น จะต้องนำข้อมูลของทั้ง 2 ฝ่ายมาพิจารณา ซึ่ง พี.ซี.แอร์ มีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศ หรือ AOL อายุ 5ปี (2553-2558) โดยขอทำการบินแบบเช่าเหมาลำ แบบระยะสั้น โดยได้รับใบอนุญาต 30 วันในการบินเช่าเหมาลำกรุงเทพ-เกาหลีใต้ เนื่องจากมีเครื่องบินเพียงลำเดียวไม่สามารถบินแบบประจำได้ ส่วนการพักใช้หรือเพิกถอน AOL นั้นเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ต้องพิจารณาเหตุผลอย่างรอบคอบ ส่วน ใบอนุญาต 1 เดือนสำหรับบินเช่าเหมาลำนั้นเป็นอำนาจของอธิบดีบพ.
***"ปีเตอร์"เบี้ยวพบตำรวจ
ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) เมื่อเวลา 14.00 น.วานนี้ ( 22 ) พ.ต.อ.ปัญญา ปิ่นสุข รอง ผบก.ปคบ.กล่าวว่า นายปีเตอร์ ชาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินพี.ซี.แอร์ ไม่ได้เข้าพบเพื่อให้ข้อมูลถึงปัญหาที่เกิดขึ้น มีเพียงแต่คนสนิทของนายปีเตอร์ ได้ประสานมาว่า เจ้าตัวได้เดินทางไปสนามบินนานาชาติอินชอนแล้ว และคงไม่เข้ามาให้ข้อมูลในวันนี้
พ.ต.อ.ปัญญา กล่าวว่า ในส่วนของคดีความนั้นยังไม่มีผู้เสียหายรายใดเข้าแจ้งความดำเนินคดีเพราะบางส่วนก็อยากเดินทางไปเที่ยวเกาหลีใต้ บางส่วนก็อยากได้เงินคืน แต่ทั้งนี้ทางพนักงานสอบสวนจะแยกทำคดีสองส่วน ส่วนที่ 1 จะเป็นตัวกลางในการเจรจาระหว่างลูกทัวร์ บริษัททัวร์ และสายการบินพี.ซี.แอร์ เพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น ส่วนที่ 2 ทางเราจะสืบสวนในทางลับว่ามีใครเข้าข่ายกระทำความผิดบ้าง โดยจะสืบสวนหาความสัมพันธ์ของบริษัทพี.ซี.แอร์ บริษัท สกายแจ็ท จำกัด ประเทศเกาหลี และบริษัทที่ทำการตลาดให้กับสายการบินพี.ซี.แอร์หากพบว่ามีการกระทำความผิดก็จะดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป
นายเสรี จิตต์โสภา รองอธิบดีฝ่ายท่าอากาศยาน กรมการบินพลเรือน (บพ.) กล่าวถึงการพิจารณาความผิดของ สายการบิน พี.ซี.แอร์ นั้น จะพิจารณาตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตที่บพ.ออกให้กับสายการบิน พี.ซี.แอร์ เป็นหลัก เนื่องจากมีการกำหนดไว้ชัดเจนว่า กรณีที่สายการบินกระทำผิด สามารถเพิกถอนหรือยกเลิกใบอนุญาตการให้บริการของสายการบินได้ รวมถึง อาจจะต้องนำหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) และองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ที่สำคัญคือต้องรอ ข้อมูลจากนายวรเดช หาญประเสริฐ อธิบดี บพ. ที่เดินทางไปประเทศเกาหลีใต้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการดูแลผู้โดยสารคนไทยให้เดินทางกลับและหาข้อเท็จจริงจาก เอเยนต์ของพี.ซี. แอร์ , บริษัทน้ำมัน และท่าอากาศยานอินชอน มาประกอบการพิจารณาอย่างรอบคอบ
ในส่วนของผู้โดยสารที่ตกค้างขณะนี้เพียง 30 คน ซึ่งสามารถเดินทางกลับมากับเที่ยวบินของการบินไทยได้ ในขณะที่ทางพี.ซี.แอร์ ได้บินเครื่องเปล่าไปยังเกาหลีเมื่อวันที่ 22 ตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อรับผู้โดยสารกลับได้เช่นกัน และในวันที่ 26 ตุลาคมนี้ เวลาประมาณ 10.00 น. ทางอธิบดี บพ. ได้เรียกผู้ประกอบการสายการบินเช่าเหมาลำ 6 ราย คือ 1. บริษัท พีซี แอร์ จำกัด ปัจจุบันให้บริการเส้นทางดอนเมือง-อินชอน วันละ 1 เที่ยว ใช้เครื่องบินแอร์บัส A310-222 2. บริษัทเจ็ท เอเชีย แอร์เวย์ จำกัด 3.บริษัท ซิตี้ แอร์เวย์ จำกัด 4. บริษัท โซล่าร์ เอวิเอชั่น จำกัด 5. บริษัท ยู แอร์ไลน์ จำกัด และ 6. บริษัท สยาม เจนเนอรัล เอวิเอชั่น จำกัด เข้าหารือ เพื่อกำหนดมาตรป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต
รายงานข่าวแจ้งว่า จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ทางพี.ซี.แอร์ มีปัญหากับบริษัทตัวแทนชื่อ Sky Jet เนื่องจากเอเยนต์ต้องการขายตั๋วจากเกาหลีมาไทยด้วย ซึ่งตามกฎของเที่ยวบินเช่าเหมาลำ (CHARTER FLIGHT) ที่พี.ซี.แอร์ ได้รับอนุญาตจะขายตั๋วคนไทยเพื่อเดินทางไป-กลับเกาหลีเท่านั้น ไม่สามารถขายตั๋วแบบ 2 ขา หรือขายจากเกาหลีมาไทยได้ แต่ในการทำธุรกิจอาจมีการเจรจาเพื่อขอโควตาที่นั่งในแต่ละเที่ยวบินระหว่างสายการบินและเอเยนต์ได้ ในขณะที่พี.ซี.แอร์ มีเครื่องบินเพียง 1 ลำ ทำให้ต้องพึ่งเอเยนต์ค่อนข้างมาก เมื่อตกลงผลประโยชน์กันไม่ได้จึงเกิดปัญหา ส่วนเรื่องที่ติดค้างค่าน้ำมัน และค่าใช้จ่ายสนามบินอินชอนนั้น เป็นการจ่ายเงินล่าช้ากว่ากำหนด ซึ่งทางบริษัทน้ำมันยืนยันว่าหากนำเงินมาชำระจะให้บริการพี.ซี.แอร์ ตามปกติ
สำหรับการพิจารณาความผิดและการเพิกถอนใบอนุญาต พี ซี แอร์หรือไม่นั้น จะต้องนำข้อมูลของทั้ง 2 ฝ่ายมาพิจารณา ซึ่ง พี.ซี.แอร์ มีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศ หรือ AOL อายุ 5ปี (2553-2558) โดยขอทำการบินแบบเช่าเหมาลำ แบบระยะสั้น โดยได้รับใบอนุญาต 30 วันในการบินเช่าเหมาลำกรุงเทพ-เกาหลีใต้ เนื่องจากมีเครื่องบินเพียงลำเดียวไม่สามารถบินแบบประจำได้ ส่วนการพักใช้หรือเพิกถอน AOL นั้นเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ต้องพิจารณาเหตุผลอย่างรอบคอบ ส่วน ใบอนุญาต 1 เดือนสำหรับบินเช่าเหมาลำนั้นเป็นอำนาจของอธิบดีบพ.
***"ปีเตอร์"เบี้ยวพบตำรวจ
ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) เมื่อเวลา 14.00 น.วานนี้ ( 22 ) พ.ต.อ.ปัญญา ปิ่นสุข รอง ผบก.ปคบ.กล่าวว่า นายปีเตอร์ ชาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินพี.ซี.แอร์ ไม่ได้เข้าพบเพื่อให้ข้อมูลถึงปัญหาที่เกิดขึ้น มีเพียงแต่คนสนิทของนายปีเตอร์ ได้ประสานมาว่า เจ้าตัวได้เดินทางไปสนามบินนานาชาติอินชอนแล้ว และคงไม่เข้ามาให้ข้อมูลในวันนี้
พ.ต.อ.ปัญญา กล่าวว่า ในส่วนของคดีความนั้นยังไม่มีผู้เสียหายรายใดเข้าแจ้งความดำเนินคดีเพราะบางส่วนก็อยากเดินทางไปเที่ยวเกาหลีใต้ บางส่วนก็อยากได้เงินคืน แต่ทั้งนี้ทางพนักงานสอบสวนจะแยกทำคดีสองส่วน ส่วนที่ 1 จะเป็นตัวกลางในการเจรจาระหว่างลูกทัวร์ บริษัททัวร์ และสายการบินพี.ซี.แอร์ เพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น ส่วนที่ 2 ทางเราจะสืบสวนในทางลับว่ามีใครเข้าข่ายกระทำความผิดบ้าง โดยจะสืบสวนหาความสัมพันธ์ของบริษัทพี.ซี.แอร์ บริษัท สกายแจ็ท จำกัด ประเทศเกาหลี และบริษัทที่ทำการตลาดให้กับสายการบินพี.ซี.แอร์หากพบว่ามีการกระทำความผิดก็จะดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป