สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย มองความเสี่ยงเศรษฐกิจกดดันกนง.อาจปรับดอกเบี้ยอีก แต่มั่นใจเงินทุนยังไหลเข้าต่อเนื่อง คาดตลาดตราสารหนี้ไทยช่วงที่เหลือคึกเอกชนจ่อออกหุ้นกู้อีกกว่า 1 แสนล้านบาท ดันยอดทั้งปีหุ้นกู้ออกใหม่ทะลุเป้าแตะ 4.6 แสนล้านบาท เผยกลุ่มแบงก์สุดแรงระดมเงินมากสุด ดันยอด 9 เดือนเอกชนออกหุ้นกู้ถึง 3.6 แสนล้านบาท
นายบัณฑิต นิจถาวร ประธานกรรมการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กล่าวว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของกนง.ในช่วงที่เหลือของปีนี้ไปจนถึงปีหน้า(2556) อาจมีความเป็นไปได้ที่ทางกนง.จะตัดสินใจลดดอกเบี้ยลงอีกครั้ง โดยปัจจัยที่ทำให้มีการดอกเบี้ยลงก็คือสภาพเศรษฐกิจในระยะถัดไปว่าจะออกมาในรูปแบบไหน ซึ่งในเรื่องนี้เองทางธนาคารแห่งประเทศไทยจะให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
สำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นเรียกได้ว่าเป็นการเซอร์ไพร์สตลาด ต่อจากนี้เราจะต้องติดตามความเสี่ยงในการประเมินทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งคาดว่าจะมีมากขึ้นนับจากนี้ ในส่วนของภาพรวมเศรษฐกิจโลกคงจะประเมินได้ค่อนข้างยากขึ้น ซึ่งคงจะต้องจับตาดูนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน การแก้ปัญหาหนี้ยุโรป โดยเฉพาะกรีซ และสเปน ทางด้านสหรัฐฯนั้นคงต้องจับการเลือกตั้งประธานาธิบดีและ Fiscal Cliff หรือ หน้าผาทางการคลัง
ด้านนายนิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย กล่าวว่า หลังการใช้มาตรการ QE3 ของสหรัฐฯ ที่ผ่านมาเงินทุนที่ไหลเข้ามาก็ไม่แตกต่างกันเท่าไร ซึ่งปกติทุกเดือนจะมีเม็ดเงินเพิ่มขึ้นประมาณ 30,000-60,000 ล้านบาท ส่วนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโบายของกนง.สัปดาห์ที่ผ่านมานั้นก็มีเม็ดเงินไหลออกไปวันที่ 17 ตุลาคม ประมาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่งในวันถัดไปก็มีเม็ดเงินกลับมาซื้อสุทธิประมาณ 1,000 ล้านบาท
ทั้งนี้คาดว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้ตลาดตราสารหนี้จะยังขยายตัวต่อเนื่อง จากการสำรวจความคิดเห็นผู้จัดจำหน่ายและผู้ค้าตราสารหนี้จะยังมีการออกตราสารหนี้ระยะยาวภาคเอกชนหรือหุ้นกู้ประมาณ 90,000-100,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ตัวเลขของหุ้นหู้ออกใหม่ตลอดทั้งปี 2555 อยู่ที่ประมาณ 450,000-460,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากตัวเลขเดิมที่เคยประมาณการณ์ไว้ที่ 380,000-400,000 ล้านบาท และถือเป็นสถิติสูงสุดของปริมาณหุ้นกู้ออกใหม่ต่อปี ซึ่งสูงกว่าสิถิติเดิมที่ 390,000 ล้านบาทที่เกิดขึ้นในปี 2552
ส่วนภาพรวมตลาดตราสารหนี้ไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี2555 พบว่าขยายตัวดีขึ้นโดยมีมูลค่าคงค้างของตราสารหนี้ทุกประเภทรวมการ ณ สิ้นเดือนกันยายน เท่ากับ 8.28 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับปี 2554จะพบว่าปริมาณตราสารหนี้ออกใหม่อยู่ที่ 2.08 ล้านล้านบาทลดลงจากปีก่อนประมาณ 18% ซึ่งเป็นผลมาจากการลดลงในส่วนของพันธบัตรระยะสั้นที่ออกโดยธปท.เป็นหลัก
ส่วนกลุ่มธุรกิจที่ออกหุ้นกู้ในช่วง 9 เดือนแรกนั้นมีมูลค่ารวม 360,300 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้คิดเป็นส่วนของการระดมทุนจากกลุ่มธนาคารพาณิชย์ กว่า 120,000 ล้านบาท ซึ่งหุ้นกู้ที่ออกโดยกลุ่มธนาคารเกือบทั้งหมดเป็นการออกในลักษณะของหุ้นกู้ด้อยสิทธิซึ่งสามารถนำไปนับเป็นเงินทุนสำรองขั้นที่ 2และถือเป็นการเตรียมความพร้อมด้านเงินทุนของตัวธนาคาร รองลงมาได้แก่กลุ่มพลังงาน ในขณะที่ตราสารหนี้ระยะสั้นภาคเอกชนมีมูลค่าการออกใหม่ที่ลดลงเมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สำหรับตลาดตราสารหนี้ไทยยังคงเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างประเทศ โดยตั้่งแต่ต้นปีที่ผ่านมามีนักลงทุนเข้ามาซื้อสุทธิกว่า 751,800 ล้านบาท โดยลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุมากกว่าหนึ่งปีประมาณ 191,500 ล้านบาท ส่งผลให้ยอดการถือครองตราสารหนี้ของนักลงทุนต่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 702,900 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 67% เมื่อเทียบกับปี 2554
นายบัณฑิต นิจถาวร ประธานกรรมการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กล่าวว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของกนง.ในช่วงที่เหลือของปีนี้ไปจนถึงปีหน้า(2556) อาจมีความเป็นไปได้ที่ทางกนง.จะตัดสินใจลดดอกเบี้ยลงอีกครั้ง โดยปัจจัยที่ทำให้มีการดอกเบี้ยลงก็คือสภาพเศรษฐกิจในระยะถัดไปว่าจะออกมาในรูปแบบไหน ซึ่งในเรื่องนี้เองทางธนาคารแห่งประเทศไทยจะให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
สำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นเรียกได้ว่าเป็นการเซอร์ไพร์สตลาด ต่อจากนี้เราจะต้องติดตามความเสี่ยงในการประเมินทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งคาดว่าจะมีมากขึ้นนับจากนี้ ในส่วนของภาพรวมเศรษฐกิจโลกคงจะประเมินได้ค่อนข้างยากขึ้น ซึ่งคงจะต้องจับตาดูนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน การแก้ปัญหาหนี้ยุโรป โดยเฉพาะกรีซ และสเปน ทางด้านสหรัฐฯนั้นคงต้องจับการเลือกตั้งประธานาธิบดีและ Fiscal Cliff หรือ หน้าผาทางการคลัง
ด้านนายนิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย กล่าวว่า หลังการใช้มาตรการ QE3 ของสหรัฐฯ ที่ผ่านมาเงินทุนที่ไหลเข้ามาก็ไม่แตกต่างกันเท่าไร ซึ่งปกติทุกเดือนจะมีเม็ดเงินเพิ่มขึ้นประมาณ 30,000-60,000 ล้านบาท ส่วนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโบายของกนง.สัปดาห์ที่ผ่านมานั้นก็มีเม็ดเงินไหลออกไปวันที่ 17 ตุลาคม ประมาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่งในวันถัดไปก็มีเม็ดเงินกลับมาซื้อสุทธิประมาณ 1,000 ล้านบาท
ทั้งนี้คาดว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้ตลาดตราสารหนี้จะยังขยายตัวต่อเนื่อง จากการสำรวจความคิดเห็นผู้จัดจำหน่ายและผู้ค้าตราสารหนี้จะยังมีการออกตราสารหนี้ระยะยาวภาคเอกชนหรือหุ้นกู้ประมาณ 90,000-100,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ตัวเลขของหุ้นหู้ออกใหม่ตลอดทั้งปี 2555 อยู่ที่ประมาณ 450,000-460,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากตัวเลขเดิมที่เคยประมาณการณ์ไว้ที่ 380,000-400,000 ล้านบาท และถือเป็นสถิติสูงสุดของปริมาณหุ้นกู้ออกใหม่ต่อปี ซึ่งสูงกว่าสิถิติเดิมที่ 390,000 ล้านบาทที่เกิดขึ้นในปี 2552
ส่วนภาพรวมตลาดตราสารหนี้ไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี2555 พบว่าขยายตัวดีขึ้นโดยมีมูลค่าคงค้างของตราสารหนี้ทุกประเภทรวมการ ณ สิ้นเดือนกันยายน เท่ากับ 8.28 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับปี 2554จะพบว่าปริมาณตราสารหนี้ออกใหม่อยู่ที่ 2.08 ล้านล้านบาทลดลงจากปีก่อนประมาณ 18% ซึ่งเป็นผลมาจากการลดลงในส่วนของพันธบัตรระยะสั้นที่ออกโดยธปท.เป็นหลัก
ส่วนกลุ่มธุรกิจที่ออกหุ้นกู้ในช่วง 9 เดือนแรกนั้นมีมูลค่ารวม 360,300 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้คิดเป็นส่วนของการระดมทุนจากกลุ่มธนาคารพาณิชย์ กว่า 120,000 ล้านบาท ซึ่งหุ้นกู้ที่ออกโดยกลุ่มธนาคารเกือบทั้งหมดเป็นการออกในลักษณะของหุ้นกู้ด้อยสิทธิซึ่งสามารถนำไปนับเป็นเงินทุนสำรองขั้นที่ 2และถือเป็นการเตรียมความพร้อมด้านเงินทุนของตัวธนาคาร รองลงมาได้แก่กลุ่มพลังงาน ในขณะที่ตราสารหนี้ระยะสั้นภาคเอกชนมีมูลค่าการออกใหม่ที่ลดลงเมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สำหรับตลาดตราสารหนี้ไทยยังคงเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างประเทศ โดยตั้่งแต่ต้นปีที่ผ่านมามีนักลงทุนเข้ามาซื้อสุทธิกว่า 751,800 ล้านบาท โดยลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุมากกว่าหนึ่งปีประมาณ 191,500 ล้านบาท ส่งผลให้ยอดการถือครองตราสารหนี้ของนักลงทุนต่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 702,900 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 67% เมื่อเทียบกับปี 2554