เมื่อเวลา 13.20น. วานนี้ (17ต.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กปต.) ว่า เป็นวันแรกที่เรียกประชุมคณะกรรมการกปต. ประจำปีงบประมาณ 2556 เนื่องจากมีเรื่องเร่งด่วนหลายเรื่อง
เรื่องแรก คือ การติดตามการดำเนินการของการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปก.กปต.) ซึ่งนายกรัฐมนตรี ยังไม่ได้ลงนาม โดยนายกฯได้ส่งมาให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ ตรวจสอบแก้ไข และนัดประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทุกอย่างเห็นชอบร่วมกันเสียก่อน และนำเสนอเพื่อลงนามต่อไปใหม่
เรื่องที่สองคือ การดำเนินการการจัดตั้งอนุกรรมการบังคับใช้กฎหมายและการบริหารงานด้านความยุติธรรม ซึ่งต้องพูดเรื่องนี้ยาว เพราะการจัดตั้งอนุกรรมการฯขึ้นมานั้น เพื่อที่จะดูแลในเรื่องกฎหมายในการแก้ปัญหา เนื่องจากมีเสียงเรียกร้องในเรื่องของการจะยกเลิกการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
อย่างไรก็ตามพ.ร.บ.ความมั่นคงนั้น จะต้องมีการปรับในเรื่องของการที่จะให้เกิดความยุติธรรมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน มาตรา 21 เพราะฉะนั้น เราต้องตั้งคณะอนุกรรมการฯ ขึ้นมาก่อน โดยให้รองปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน ในการพิจารณา และจะได้รีบดำเนินการ เพราะการดูแลในเรื่องของพ.ร.บ. ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ฝ่ายค้านได้มาชี้แจง และยื่นข้อเสนอ 9 ข้อด้วย และเมื่อคณะอนุกรรมการฯ ดำเนินการอย่างไรแล้ว ก็จะสรุปเสนอต่อครม. และสภา ต่อไป
ทั้งนี้การออกมาแสดงตัวของผู้ก่อความไม่สงบ ก็จะมีโอกาสมากยิ่งขึ้นด้วย เนื่องจากมีการแก้ปัญหาในเรื่องความยุติธรรม ในมาตราที่มีปัญหาให้ลดลงไป
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการรายงานการดำเนินการในปีงบประมาณ 2555 ว่า มีอะไรบ้างที่เป็นปัญหา มีข้อบกพร่องอะไรบ้างและวางแผนในการประเมินค่าในการทำงานต่อในปีถัดไป
** เฝ้าระวังครบรอบ5ปีตากใบ
พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ มีการต่อสู้ในระบบออนไลน์แล้ว มีการต่อสู้ทางเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีเนื้อหาบิดเบือนความจริง อะไรที่เป็นผลประโยชน์ของผู้ก่อความไม่สงบ และทำให้ประชาชนในพื้นเกิดความเข้าใจผิด และเราจะต้องจัดกระบวนการในการแก้ปัญหาให้ทัน ฉะนั้นเราจะต้องประชุมในเรื่องที่ว่า การทำ Information operation ของเราจะทำอย่างไร การจัดชุดประชาสัมพันธ์ การแก้ปัญหาทางอิล็กทรอนิคจะทำอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เพราะว่ามีเว็บไซต์ออกมาโจมตีทุกวัน เราจะต้องแก้ปัญหา จะปล่อยให้ผ่านไปแต่ละวันไม่ได้ เพราะว่าจะมีปัญหาสืบเนื่องไปถึงงานในต่างประเทศด้วย เพราะฉะนั้นกระทรวงต่างประเทศ ก็จะต้องเข้ามาร่วมมือกับทางสำนักข่าวกรองแห่งชาติ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ ไอซีที จะเข้าหารือกัน ซึ่งขณะนี้เรายังไม่พูดถึงการบล็อกเว็บไซต์ เพราะเมื่อบล็อกแล้วก็ไปออกใหม่ แต่การจะทำอย่างไรที่จะทำให้เมื่อออกมาแล้วประชาชนไม่ฟัง นี่คือเรื่องที่สำคัญมากที่สุด ทั้งนี้เว็บไซต์เหล่านี้ ได้ทำการจดทะเบียนอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย เราไปทำอะไรไม่ได้ แต่เราจะต้องรีบแก้ไข
ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็จะเป็นการเตือนไว้ให้ทุกคนมองเห็นภาพว่า อะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต ตัวอย่าง เช่น ในวันที่ 25ต.ค. ซึ่งเป็นวันที่ระลึกถึงเหตุการณ์ที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ซึ่งใน 5 ปี ที่ผ่านมา ในเวลาที่เกิดการสูญเสียของผู้ก่อความไม่สงบ ก็จะมีการวางระเบิดหรือสร้างความรุนแรงหลายแห่ง ตามอำเภอต่างๆ ที่มีบุคคลในกลุ่มนั้นๆได้เสียชีวิตไป เพราะฉะนั้น เราต้องระมัดระวังอย่างมาก ซึ่งในตอนนี้ก็ได้มีข่าวความเคลื่อนไหวเข้ามาแล้ว และจะมีการเตือนอีกในการประชุมครั้งนี้
** ดึง"อุกฤษ"ร่วมงานดับไฟใต้
พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสำนักสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เปิดเผยภายหลังการประชุม กปต. ว่า เนื้อหาการประชุมส่วนใหญ่เป็นการประเมินผลการดำเนินงานปี 55 เพื่อกำหนดแนวทางในประเมินผลการทำงานปี 56 โดยหลักการประเมินผลจะให้ ศอ.บต. ดูเรื่องการพัฒนา ส่วนกอ.รมน. ดูเรื่องความมั่นคง และจะมีการประเมินทุก 6 และ 12 เดือน ที่จะให้สถาบันการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินผล โดยจะชี้วัดในเรื่องของการรักษาความปลอดภัย และการอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจซึ่งกันและกัน ระหว่างภาครัฐและประชาชน
ทั้งนี้ ยังมีการหารือถึงพัฒนาการการตั้งศปก.กปต. ที่เป็นไปอย่างเรียบร้อย เพียงแต่ต้องการความคิดเห็นจากทุกฝ่าย โดยสภาที่ปรึกษา ศอ.บต.ได้มีหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อชี้แจงเรื่องนี้ ซึ่งนายกฯ ได้สั่งการให้สมช.ลงพื้นที่วันที่ 24 ต.ค.นี้ เพื่อไปชี้แจงควบคู่กัน เพื่อให้หลังจากการจัดตั้งจะได้ไม่เกิดความขัดแย้ง
นอกจากนี้ในที่ประชุมยังมีการหารือถึงการตั้งอนุกรรมการบังคับใช้กฎหมายและการบริหารกระบวนการยุติธรรม โดยรัฐบาลให้ความสำคัญกับคณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรม แห่งชาติ (คอ.นธ.) ที่มี นายอุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธาน ที่เคยได้เสนอยุทธศาสตร์เร่งด่วนขึ้นมา ว่าควรมีคณะกรรมการที่ดูแลเรื่องกระบวนการยุติธรรม ซึ่งรัฐบาลรับข้อเสนอของนายอุกฤษ เพราะถือว่าเป็นกรรมการกลางที่ยอมรับได้ทุกฝ่าย และเป็นสิ่งที่ต้องขับเคลื่อน จึงมีการจัดตั้งอนุกรรมการชุดนี้ขึ้น โดยให้นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน และให้ นายเรวัต ฉ่ำเฉลิม อดีตอัยการสูงสุด เป็นที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งจะให้พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ลงนามคำสั่งในวันนี้ (18ต.ค.)
**ขอมาเลย์บล็อกเว็บบิดเบือนข้อมูล
พล.ท.ภราดร กล่าวด้วยว่า ในเรื่องเว็บไซต์ ที่โจมตีรัฐบาลนั้น จะให้กระทรวงต่างประเทศ สำนักข่าวกรอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตอบโต้เชิงข้อมูล และใช้การทูตในการแก้ปัญหา ซึ่งทางมาเลเซียได้ออกมาชี้แจงว่า ไม่ต้องการกลั่นแกล้งรัฐบาลไทย และแสดงให้เห็นว่า มีความพยายามที่จะบอกว่าการแก้ปัญหาของไทยไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นการต่อสู้ในเชิงความคิด โดยมีการประสานทางมาเลเซียแล้วว่ามีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น ซึ่งก็เป็นการตอบโต้เชิงข้อมูล โดยกระทรวงต่างประเทศ จะเน้นการใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น การทูต อีกทั้งกระทรวง ไอซีที สำนักข่าวกรอง สมช. และหน่วยงานความมั่นคง ที่เกี่ยวข้องก็ได้ดำเนินการชี้แจงกับประชาชนในพื้นที่ แต่จะไม่มีการต่อสู่เชิงเทคนิค แต่ใช้การต่อสู่เชิงข้อมูล
"เว็บไซต์เหล่านี้โจมตีเราว่า เราแก้ปัญหาไม่ถูกต้อง เราไม่เข้าใจปัญหา ทำให้ประชาชนเดือดร้อน รัฐไทยใช้กำลังทหารลงมาดูแลความปลอดภัย นั่นคือข้อเท็จจริง แต่เขาบอกว่าไม่ใช่ ทหารมาทำให้ประชาชนเดือดร้อน แก้ไม่ถูกทาง" พล.ท. ภารดร กล่าว และว่า ล่าสุดคณะสารสนเทศของกระทรวงต่างประเทศได้อยู่ที่มาเลเซีย เพื่อทำความเข้าใจกับประเทศมาเลเซียแล้ว โดยบรรยากาศระหว่างรัฐต่อรัฐ เป็นไปอย่างราบรื่น
เรื่องแรก คือ การติดตามการดำเนินการของการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปก.กปต.) ซึ่งนายกรัฐมนตรี ยังไม่ได้ลงนาม โดยนายกฯได้ส่งมาให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ ตรวจสอบแก้ไข และนัดประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทุกอย่างเห็นชอบร่วมกันเสียก่อน และนำเสนอเพื่อลงนามต่อไปใหม่
เรื่องที่สองคือ การดำเนินการการจัดตั้งอนุกรรมการบังคับใช้กฎหมายและการบริหารงานด้านความยุติธรรม ซึ่งต้องพูดเรื่องนี้ยาว เพราะการจัดตั้งอนุกรรมการฯขึ้นมานั้น เพื่อที่จะดูแลในเรื่องกฎหมายในการแก้ปัญหา เนื่องจากมีเสียงเรียกร้องในเรื่องของการจะยกเลิกการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
อย่างไรก็ตามพ.ร.บ.ความมั่นคงนั้น จะต้องมีการปรับในเรื่องของการที่จะให้เกิดความยุติธรรมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน มาตรา 21 เพราะฉะนั้น เราต้องตั้งคณะอนุกรรมการฯ ขึ้นมาก่อน โดยให้รองปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน ในการพิจารณา และจะได้รีบดำเนินการ เพราะการดูแลในเรื่องของพ.ร.บ. ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ฝ่ายค้านได้มาชี้แจง และยื่นข้อเสนอ 9 ข้อด้วย และเมื่อคณะอนุกรรมการฯ ดำเนินการอย่างไรแล้ว ก็จะสรุปเสนอต่อครม. และสภา ต่อไป
ทั้งนี้การออกมาแสดงตัวของผู้ก่อความไม่สงบ ก็จะมีโอกาสมากยิ่งขึ้นด้วย เนื่องจากมีการแก้ปัญหาในเรื่องความยุติธรรม ในมาตราที่มีปัญหาให้ลดลงไป
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการรายงานการดำเนินการในปีงบประมาณ 2555 ว่า มีอะไรบ้างที่เป็นปัญหา มีข้อบกพร่องอะไรบ้างและวางแผนในการประเมินค่าในการทำงานต่อในปีถัดไป
** เฝ้าระวังครบรอบ5ปีตากใบ
พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ มีการต่อสู้ในระบบออนไลน์แล้ว มีการต่อสู้ทางเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีเนื้อหาบิดเบือนความจริง อะไรที่เป็นผลประโยชน์ของผู้ก่อความไม่สงบ และทำให้ประชาชนในพื้นเกิดความเข้าใจผิด และเราจะต้องจัดกระบวนการในการแก้ปัญหาให้ทัน ฉะนั้นเราจะต้องประชุมในเรื่องที่ว่า การทำ Information operation ของเราจะทำอย่างไร การจัดชุดประชาสัมพันธ์ การแก้ปัญหาทางอิล็กทรอนิคจะทำอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เพราะว่ามีเว็บไซต์ออกมาโจมตีทุกวัน เราจะต้องแก้ปัญหา จะปล่อยให้ผ่านไปแต่ละวันไม่ได้ เพราะว่าจะมีปัญหาสืบเนื่องไปถึงงานในต่างประเทศด้วย เพราะฉะนั้นกระทรวงต่างประเทศ ก็จะต้องเข้ามาร่วมมือกับทางสำนักข่าวกรองแห่งชาติ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ ไอซีที จะเข้าหารือกัน ซึ่งขณะนี้เรายังไม่พูดถึงการบล็อกเว็บไซต์ เพราะเมื่อบล็อกแล้วก็ไปออกใหม่ แต่การจะทำอย่างไรที่จะทำให้เมื่อออกมาแล้วประชาชนไม่ฟัง นี่คือเรื่องที่สำคัญมากที่สุด ทั้งนี้เว็บไซต์เหล่านี้ ได้ทำการจดทะเบียนอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย เราไปทำอะไรไม่ได้ แต่เราจะต้องรีบแก้ไข
ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็จะเป็นการเตือนไว้ให้ทุกคนมองเห็นภาพว่า อะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต ตัวอย่าง เช่น ในวันที่ 25ต.ค. ซึ่งเป็นวันที่ระลึกถึงเหตุการณ์ที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ซึ่งใน 5 ปี ที่ผ่านมา ในเวลาที่เกิดการสูญเสียของผู้ก่อความไม่สงบ ก็จะมีการวางระเบิดหรือสร้างความรุนแรงหลายแห่ง ตามอำเภอต่างๆ ที่มีบุคคลในกลุ่มนั้นๆได้เสียชีวิตไป เพราะฉะนั้น เราต้องระมัดระวังอย่างมาก ซึ่งในตอนนี้ก็ได้มีข่าวความเคลื่อนไหวเข้ามาแล้ว และจะมีการเตือนอีกในการประชุมครั้งนี้
** ดึง"อุกฤษ"ร่วมงานดับไฟใต้
พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสำนักสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เปิดเผยภายหลังการประชุม กปต. ว่า เนื้อหาการประชุมส่วนใหญ่เป็นการประเมินผลการดำเนินงานปี 55 เพื่อกำหนดแนวทางในประเมินผลการทำงานปี 56 โดยหลักการประเมินผลจะให้ ศอ.บต. ดูเรื่องการพัฒนา ส่วนกอ.รมน. ดูเรื่องความมั่นคง และจะมีการประเมินทุก 6 และ 12 เดือน ที่จะให้สถาบันการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินผล โดยจะชี้วัดในเรื่องของการรักษาความปลอดภัย และการอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจซึ่งกันและกัน ระหว่างภาครัฐและประชาชน
ทั้งนี้ ยังมีการหารือถึงพัฒนาการการตั้งศปก.กปต. ที่เป็นไปอย่างเรียบร้อย เพียงแต่ต้องการความคิดเห็นจากทุกฝ่าย โดยสภาที่ปรึกษา ศอ.บต.ได้มีหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อชี้แจงเรื่องนี้ ซึ่งนายกฯ ได้สั่งการให้สมช.ลงพื้นที่วันที่ 24 ต.ค.นี้ เพื่อไปชี้แจงควบคู่กัน เพื่อให้หลังจากการจัดตั้งจะได้ไม่เกิดความขัดแย้ง
นอกจากนี้ในที่ประชุมยังมีการหารือถึงการตั้งอนุกรรมการบังคับใช้กฎหมายและการบริหารกระบวนการยุติธรรม โดยรัฐบาลให้ความสำคัญกับคณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรม แห่งชาติ (คอ.นธ.) ที่มี นายอุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธาน ที่เคยได้เสนอยุทธศาสตร์เร่งด่วนขึ้นมา ว่าควรมีคณะกรรมการที่ดูแลเรื่องกระบวนการยุติธรรม ซึ่งรัฐบาลรับข้อเสนอของนายอุกฤษ เพราะถือว่าเป็นกรรมการกลางที่ยอมรับได้ทุกฝ่าย และเป็นสิ่งที่ต้องขับเคลื่อน จึงมีการจัดตั้งอนุกรรมการชุดนี้ขึ้น โดยให้นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน และให้ นายเรวัต ฉ่ำเฉลิม อดีตอัยการสูงสุด เป็นที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งจะให้พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ลงนามคำสั่งในวันนี้ (18ต.ค.)
**ขอมาเลย์บล็อกเว็บบิดเบือนข้อมูล
พล.ท.ภราดร กล่าวด้วยว่า ในเรื่องเว็บไซต์ ที่โจมตีรัฐบาลนั้น จะให้กระทรวงต่างประเทศ สำนักข่าวกรอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตอบโต้เชิงข้อมูล และใช้การทูตในการแก้ปัญหา ซึ่งทางมาเลเซียได้ออกมาชี้แจงว่า ไม่ต้องการกลั่นแกล้งรัฐบาลไทย และแสดงให้เห็นว่า มีความพยายามที่จะบอกว่าการแก้ปัญหาของไทยไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นการต่อสู้ในเชิงความคิด โดยมีการประสานทางมาเลเซียแล้วว่ามีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น ซึ่งก็เป็นการตอบโต้เชิงข้อมูล โดยกระทรวงต่างประเทศ จะเน้นการใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น การทูต อีกทั้งกระทรวง ไอซีที สำนักข่าวกรอง สมช. และหน่วยงานความมั่นคง ที่เกี่ยวข้องก็ได้ดำเนินการชี้แจงกับประชาชนในพื้นที่ แต่จะไม่มีการต่อสู่เชิงเทคนิค แต่ใช้การต่อสู่เชิงข้อมูล
"เว็บไซต์เหล่านี้โจมตีเราว่า เราแก้ปัญหาไม่ถูกต้อง เราไม่เข้าใจปัญหา ทำให้ประชาชนเดือดร้อน รัฐไทยใช้กำลังทหารลงมาดูแลความปลอดภัย นั่นคือข้อเท็จจริง แต่เขาบอกว่าไม่ใช่ ทหารมาทำให้ประชาชนเดือดร้อน แก้ไม่ถูกทาง" พล.ท. ภารดร กล่าว และว่า ล่าสุดคณะสารสนเทศของกระทรวงต่างประเทศได้อยู่ที่มาเลเซีย เพื่อทำความเข้าใจกับประเทศมาเลเซียแล้ว โดยบรรยากาศระหว่างรัฐต่อรัฐ เป็นไปอย่างราบรื่น