ASTVผู้จัดการรายวัน–ปตท.ลั่นสิ้นปี 55 มีน้ำมันอี 20 ขาย 1,300 แห่งทั่วประเทศ รองรับความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้น หลังรัฐยกเลิกเบนซิน 91 และผู้บริโภคมีความมั่นใจในการใช้อี 20 มากขึ้น ขณะเดียวกัน เล็งขยายเบนซิน 95 และอี 85 เพิ่มขึ้นด้วย “สรัญ”เผยเตรียมเซ็นสัญญาขยายเวลาการร่วมทุนปิโตรเวียดนามอีก 20ปี เพื่อทำธุรกิจก๊าซแอลพีจีในเวียดนามต่อ
นายสรัญ รังคสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เปิดเผยถึงกรณีที่รัฐประกาศยกลิกการใช้น้ำมันเบนซิน 91 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2556 ว่า ปตท.มีเป้าหมายเร่งขยายการจำหน่ายน้ำมัน อี 20 แทนเบนซิน 91 ให้ครบ 1,300 แห่งทั่วประเทศภายในสิ้นปีนี้ จากปัจจุบันที่มีจำนวนสถานีบริการที่จำหน่ายน้ำมันอี 20 อยู่ 600-700 แห่ง โดยมียอดขายน้ำมันอี 20 เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากเดิม 11 ล้านลิตรเป็น 20 ล้านลิตรต่อเดือน เนื่องจากประชาชนเริ่มมีความมั่นใจในการใช้น้ำมันอี 20 และจำนวนรถยนต์ใหม่ที่ใช้อี 20 ในตลาดก็เพิ่มมากด้วย ซึ่งการยกเลิกการใช้เบนซิน 91 จะทำให้ผู้ค้าน้ำมันหันมาจำหน่ายน้ำมันอี 20 มากขึ้น ขณะเดียวกัน ปตท. จะพิจารณาเลือกทำเลขยายจำนวนสถานีบริการน้ำมันที่จำหน่ายเบนซิน 95 และน้ำมันอี 85 เพิ่มขึ้นด้วย
”การยกเลิกใช้เบนซิน 91 ในวันที่ 1 ม.ค.นี้ ทางโรงกลั่นน้ำมันจะหยุดผลิตเบนซิน 91 ทันที แต่ในส่วนสถานีบริการน้ำมันจะยังขายเบนซิน 91 ไปจนกว่าน้ำมันหมดถัง ซึ่งกรมธุรกิจพลังงานจะผ่อนผันให้กับผู้ค้าน้ำมันในช่วงรอยต่อนี้ 3-4 เดือน ซึ่งหลังจากนั้น เชื่อว่าผู้ค้าน้ำมันส่วนใหญ่จะหันมาขายอี 20 จากปัจจุบันที่มีเพียง ปตท.และบางจากที่จำหน่ายเท่านั้น”
ส่วนกรณีที่ภาครัฐบาลมีแนวคิดส่งเสริมการส่งออกก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ด้วยการแยกสีถังระหว่างจำหน่ายในประเทศและส่งออก เพื่อแก้ไขปัญหาลักลอบส่งออกนั้น นายสรัญ กล่าวว่า คงทำได้ยาก เนื่องจากเนื้อก๊าซเหมือนกัน อาจมีการลักลอบถ่ายเท และยังมีปัญหาการลงทุนในการทำถังเพื่อการส่งออกและการซ่อมบำรุง ซึ่งจะไม่คุ้มการลงทุน แนวทางแก้ปัญหา น่าจะทยอยปรับราคาแอลพีจีเพื่อสะท้อนตลาดโลก จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
ปัจจุบันไทยต้องนำเข้าแอลพีจีเฉลี่ยเดือนละ 1.5-1.7 แสนตันต่อเดือน ซึ่งมีปริมาณที่สูงกว่าปริมาณคลังเก็บแอลพีจีที่รองรับได้ 1.32 แสนตันต่อเดือน ทำให้ปตท.ต้องลงทุนขยายคลังนำเข้าเพิ่มขึ้น คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 3ปี และต้องใช้เรือขนาดใหญ่ลอยลำเพื่อส่งป้อนก๊าซฯผ่านเรือขนาดเล็กต่อไป
นายสรัญ กล่าวถึงการทำธุรกิจก๊าซหุงต้มในเวียดนามว่า ปตท.ได้ข้อสรุปที่จะต่อสัญญาการร่วมทุนในบริษัท เวียดนามแอลพีจี จำกัด (VLPG) เพื่อทำธุรกิจก๊าซหุงต้มในเวียดนามออกไปอีก 20 ปีจากเดิมที่เคยมีแผนจะขายหุ้นในมือ 45% ออกไป เพื่อทำธุรกิจเอง 100% คาดว่าจะลงนามสัญญาดังกล่าวในปี 2556 โดยพันธมิตรเวียดนามก็ล้มแผนที่จะนำบริษัทร่วมทุนเข้าตลาดหลักทรัพย์ด้วย
สำหรับแนวทางการทำตลาดนั้น บริษัทดังกล่าวมีแผนที่จะขยายคลังก๊าซแอลพีจีและท่าเรือให้ใหญ่ขึ้นในหลายแห่ง จากเดิมที่มีคลังก๊าซฯขนาด 1.2 พันตันที่ดองไน ประเทศเวียดนาม เพื่อทำตลาดทางเวียดนามตอนกลางและตอนใต้ ซึ่งปัจจุบันมีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 7-8 % คิดเป็นปริมาณการขายก๊าซหุงต้มเดือนละ 4 พันตัน นอกจากนี้ ปตท.ยังมีแผนที่จะรุกตลาดน้ำมันหล่อลี่น ยางมะตอยและถ่านหินไปยังตลาดเวียดนามด้วย โดยจะมีการตั้งบริษัท ปตท.เวียดนาม ขึ้นมาดูแลธุรกิจต่างๆของปตท.ในประเทศเวียดนาม คาดว่าจะดำเนินการภายใน 1ปีนี้
นายสรัญ รังคสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เปิดเผยถึงกรณีที่รัฐประกาศยกลิกการใช้น้ำมันเบนซิน 91 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2556 ว่า ปตท.มีเป้าหมายเร่งขยายการจำหน่ายน้ำมัน อี 20 แทนเบนซิน 91 ให้ครบ 1,300 แห่งทั่วประเทศภายในสิ้นปีนี้ จากปัจจุบันที่มีจำนวนสถานีบริการที่จำหน่ายน้ำมันอี 20 อยู่ 600-700 แห่ง โดยมียอดขายน้ำมันอี 20 เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากเดิม 11 ล้านลิตรเป็น 20 ล้านลิตรต่อเดือน เนื่องจากประชาชนเริ่มมีความมั่นใจในการใช้น้ำมันอี 20 และจำนวนรถยนต์ใหม่ที่ใช้อี 20 ในตลาดก็เพิ่มมากด้วย ซึ่งการยกเลิกการใช้เบนซิน 91 จะทำให้ผู้ค้าน้ำมันหันมาจำหน่ายน้ำมันอี 20 มากขึ้น ขณะเดียวกัน ปตท. จะพิจารณาเลือกทำเลขยายจำนวนสถานีบริการน้ำมันที่จำหน่ายเบนซิน 95 และน้ำมันอี 85 เพิ่มขึ้นด้วย
”การยกเลิกใช้เบนซิน 91 ในวันที่ 1 ม.ค.นี้ ทางโรงกลั่นน้ำมันจะหยุดผลิตเบนซิน 91 ทันที แต่ในส่วนสถานีบริการน้ำมันจะยังขายเบนซิน 91 ไปจนกว่าน้ำมันหมดถัง ซึ่งกรมธุรกิจพลังงานจะผ่อนผันให้กับผู้ค้าน้ำมันในช่วงรอยต่อนี้ 3-4 เดือน ซึ่งหลังจากนั้น เชื่อว่าผู้ค้าน้ำมันส่วนใหญ่จะหันมาขายอี 20 จากปัจจุบันที่มีเพียง ปตท.และบางจากที่จำหน่ายเท่านั้น”
ส่วนกรณีที่ภาครัฐบาลมีแนวคิดส่งเสริมการส่งออกก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ด้วยการแยกสีถังระหว่างจำหน่ายในประเทศและส่งออก เพื่อแก้ไขปัญหาลักลอบส่งออกนั้น นายสรัญ กล่าวว่า คงทำได้ยาก เนื่องจากเนื้อก๊าซเหมือนกัน อาจมีการลักลอบถ่ายเท และยังมีปัญหาการลงทุนในการทำถังเพื่อการส่งออกและการซ่อมบำรุง ซึ่งจะไม่คุ้มการลงทุน แนวทางแก้ปัญหา น่าจะทยอยปรับราคาแอลพีจีเพื่อสะท้อนตลาดโลก จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
ปัจจุบันไทยต้องนำเข้าแอลพีจีเฉลี่ยเดือนละ 1.5-1.7 แสนตันต่อเดือน ซึ่งมีปริมาณที่สูงกว่าปริมาณคลังเก็บแอลพีจีที่รองรับได้ 1.32 แสนตันต่อเดือน ทำให้ปตท.ต้องลงทุนขยายคลังนำเข้าเพิ่มขึ้น คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 3ปี และต้องใช้เรือขนาดใหญ่ลอยลำเพื่อส่งป้อนก๊าซฯผ่านเรือขนาดเล็กต่อไป
นายสรัญ กล่าวถึงการทำธุรกิจก๊าซหุงต้มในเวียดนามว่า ปตท.ได้ข้อสรุปที่จะต่อสัญญาการร่วมทุนในบริษัท เวียดนามแอลพีจี จำกัด (VLPG) เพื่อทำธุรกิจก๊าซหุงต้มในเวียดนามออกไปอีก 20 ปีจากเดิมที่เคยมีแผนจะขายหุ้นในมือ 45% ออกไป เพื่อทำธุรกิจเอง 100% คาดว่าจะลงนามสัญญาดังกล่าวในปี 2556 โดยพันธมิตรเวียดนามก็ล้มแผนที่จะนำบริษัทร่วมทุนเข้าตลาดหลักทรัพย์ด้วย
สำหรับแนวทางการทำตลาดนั้น บริษัทดังกล่าวมีแผนที่จะขยายคลังก๊าซแอลพีจีและท่าเรือให้ใหญ่ขึ้นในหลายแห่ง จากเดิมที่มีคลังก๊าซฯขนาด 1.2 พันตันที่ดองไน ประเทศเวียดนาม เพื่อทำตลาดทางเวียดนามตอนกลางและตอนใต้ ซึ่งปัจจุบันมีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 7-8 % คิดเป็นปริมาณการขายก๊าซหุงต้มเดือนละ 4 พันตัน นอกจากนี้ ปตท.ยังมีแผนที่จะรุกตลาดน้ำมันหล่อลี่น ยางมะตอยและถ่านหินไปยังตลาดเวียดนามด้วย โดยจะมีการตั้งบริษัท ปตท.เวียดนาม ขึ้นมาดูแลธุรกิจต่างๆของปตท.ในประเทศเวียดนาม คาดว่าจะดำเนินการภายใน 1ปีนี้