ASTVผู้จัดการรายวัน - "กิตติรัตน์" ลั่นเศรษฐกิจไทยแกร่ง หนุนกระตุ้นบริโภคในประเทศแทน หลังได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก ขณะที่ระดับหนี้สาธารณะ อยู่ในระดับควบคุมได้ อ้างหนี้ภาครัฐที่ระดับ 40% กับหนี้เอกชน ไม่สูงมาก ขณะที่ผู้บริหารฟิทช์ เรตติ้งส์ส่งสัญญาณเพิ่มอันดับเครดิตไทย เพราะแบงก์ชาติคุมเงินเฟ้อได้ดี ชี้บริษัทพลังงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกรุกทำM&A ในช่วง2-3ปีนี้ เพื่อเพิ่มปริมาณสำรองสนองความต้องการพลังงานในประเทศ แค่จีนเพียงรายเดียวก็กวาดไปครึ่งหนึ่งของมูลค่า M&A เฉลี่ยปีละ 1.2-1.8 แสนล้านเหรียญ
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กล่าวในงานสัมมนาประจำปี ฟิทช์ เรตติ้งส์ โดยระบุว่า รัฐบาลได้ยืนยันการ ฟิทช์ เรตติ้งส์ ประเทศไทย มีความแข็งแกร่งทางด้านเศรษฐกิจ ถึงแม้ว่า ภาคการส่งออก จะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว แต่รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายกระตุ้นภาคการบริโภคในประเทศ สามารถทดแทนภาคการส่งออกที่ลดลงได้ ขณะที่ การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวต่อเนื่อง ช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ตามเป้าหมาย
ระดับหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของประเทศ อยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 40 และหนี้ภาคเอกชน ไม่ได้สูงมากนัก ถึงแม้ว่า รัฐบาลจะมีภาวะขาดดุลงบประมาณ 300,000 ล้านบาท และปี 2557 ได้ตั้งเป้าขาดดุลงบประมาณลดลงเหลือ 2.25 แสนล้านบาท ซึ่งรัฐบาลจะใช้งบประมาณอย่างรอบคอบมากขึ้น เพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ระยะยาว 7 ปี ซึ่งจะทำให้หนี้สาธารณะอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และประเทศไทย สามารถรับมือกับภาวะเศรษฐกิจโลก ที่มีความผันผวน
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า จากข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่แข็งแกร่ง จะเป็นโอกาสในการพิจารณาจัดอันดับเครดิต ฟิทช์ เรตติ้งส์ของประเทศใหม่ ซึ่งรัฐบาลนี้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะจะมีผลต่อการกู้เงินของภาคเอกชนจากสถาบันการเงินต่างประเทศ
นายเดวิด ริลรี่ กรรมการผู้จัดการและหัวหน้ากลุ่มจัดอันดับเครดิตต่างประเทศ บริษัท ฟิทช์ เรทติ้ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า กรณีที่รมว.คลังจะส่งข้อมูลมาให้ฟิทช์พิจารณาอันดับเครดิตของประเทศไทยว่า ฟิทช์ยินดีที่จะรับฟัง และนำข้อมูลต่างๆ มาพิจารณา โดยเห็นว่าภาพรวมของเศรษฐกิจไทยยังมีความแข็งแกร่ง รัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็กำหนดนโยบายที่ควบคุมเงินเฟ้อได้ดี ซึ่งทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับขึ้นเครดิตเรตติ้งของประเทศไทยในระยะกลางหรือระยะยาว
"เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่ดี แต่เศรษฐกิจโลก รวมทั้งยุโรป จีนยังไม่แน่นอน รวมถึงปัจจัยเสี่ยงที่การใช้จ่ายของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจทำให้ภาระหนี้ในอนาคตได้ เราไม่อยากปรับขึ้นไปในระยะสั้นๆ แล้วพอเกิดเหตุอะไรที่ไม่แน่นอนก็ต้องปรับลงอีก จึงรอดูสถานการณ์อีกครั้ง"
ขณะที่ Mr.mark young manaing director,financial institutions head of bank group ฟิทช์ เรตติ้ง สิงค์โปร์ กล่าวว่า ภาคธนาคารของไทยมีเสถียรภาพ แม้เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลง มีอัตราการเติบโตของสินเชื่อในระดับที่ดี ขณะที่หนี้เสียก็ปรับตัวลดลง ซึ่งหากเศรษฐกิจของประเทศไม่มีอะไรเข้ามากระทบอย่างแรง ก็คงจะยังมีความแข็งแกร่งอยู่
"ธปท.มีการวางกลยุทธและนโยบายที่ดีในการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ ทำให้สามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง มีเงินกองทุนที่สูง ส่วนสินเชื่อที่เติบโตในระดับที่สูงนั้น ฟิทช์ก็จับตาดูอยู่ แต่ยังไม่น่าวิตกเพราะยังเป็นสินเชื่อที่มีคุณภาพที่ดี"
**"ปู" จับตาวิกฤตยูโรโซนใกล้ชิด
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมตรี กล่าวถึงปัญหาผลกระทบจากวิกฤตหนี้ยูโรโซนว่า คณะกรรมการพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงการคลังติดตามอย่างใกล้ชิด มีการประชุมซึ่งตนจะเป็นประธานประชุมสัปดาห์เว้นสัปดาห์ ส่วนที่เหลือจะเป็นหน้าที่ของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ในการติดตามรัฐมนตรีทุกกระทรวงที่เกี่ยวกับกระทรวงเศรษฐกิจ.
*** ฟิทช์ เรทติ้งส์ ชี้บริษัทพลังงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกรุกทำM&A
นายเลิศชัย กอเจริญรัตนกุล หัวหน้าจัดอันดับเครดิตภาคอุตสาหกรรมไทย บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า บริษัทในหมวดพลังงานของไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกพบว่ามีการเข้าซื้อกิจการ (M&A) ด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 10ปีที่ผ่านมา เพื่อรองรับความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะจีนและอินเดีย เนื่องจากปริมาณสำรองรองน้ำมันและก๊าซฯในภูมิภาคนี้ถือว่าน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆของโลก
นอกจากนี้ เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิจนทำให้เกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีจากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟุกุชิมาเมื่อปี 2554 ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นมีนโยบายที่จะยกเลิกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ส่งผลให้บริษัทพลังงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องปรับแผนการลงทุนและเข้าซื้อกิจการด้านพลังงานมากขึ้น โดยส่วนใหญ่มีการซื้อแหล่งปิโตรเลียมแบบ Unconventional Reserves เพื่อจะเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ เช่น แหล่งปิโตรเลียมน้ำลึก ออยล์แซนด์ เชลล์แก๊ส เป็นต้น ซึ่งในระยะแรกจะได้ผลตอบแทนค่อนข้างต่ำ
ขณะที่มูลค่าการซื้อกิจการด้านพลังงานของโลกในแต่ละปีสูงถึง 1.2-1.8 แสนล้านเหรียญสหรัฐ พบว่าบริษัทพลังงานของจีนทำธุรกรรมซื้อกิจการM&Aสูงสุดคิดเป็น 50%ของมูลค่ารวม รองลงมาคือออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซียและไทย คิดเป็น 4% ของมูลค่ารวม ซึ่งการทำธุรกรรมดังกล่าวจะใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูงย่อมส่งผลกดดันต่อความเข้มแข็งทางการเงินของบริษัทและการจัดอันดับเครดิตด้วย แต่เนื่องจากบริษัทพลังงานเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลของประเทศ ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบจากการจัดอันดับเครดิตแต่อย่างไร เช่น Sinopec , Cnooc ของจีน ปิโตรนาส ประเทศมาเลเซีย หรือแม้แต่ ปตท. ที่มีการซื้อกิจการทั้งออยล์แซนด์และCove Energy และค่าใช้จ่ายในการลงทุนค่อนข้างสูง แต่เครดิตปตท.ไม่เปลี่ยน เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทำให้มีการปรับอันดับเครดิตขึ้น 1 อันจากอันดับเครดิตเมื่อพิจารณาตัวบริษัทเพียงอย่างเดียว
“ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา บริษัทน้ำมันและก๊าซฯในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมีการทำM&Aมากขึ้น รวมทั้งปรับแผนขยายการลงทุนสูงขึ้น แต่ก็ไม่กระทบต่ออันดับเครดิตเรตติ้ง เนื่องจากมีฐานะการเงินแข็งแกร่งและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลทำให้มีอันดับเครดิตเรตติ้งเท่ากับเครดิตของประเทศ”
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่มปตท.ได้มีการเข้าไปลงทุนในอาเซียนหลายประเทศ โดยเฉพาะพม่าที่มีการเข้าไปลงทุนมานานนับ 20ปีซึ่งประสบความสำเร็จด้วยดี การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะช่วยขยายโอกาสการทำธุรกิจมากยิ่งขึ้น
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กล่าวในงานสัมมนาประจำปี ฟิทช์ เรตติ้งส์ โดยระบุว่า รัฐบาลได้ยืนยันการ ฟิทช์ เรตติ้งส์ ประเทศไทย มีความแข็งแกร่งทางด้านเศรษฐกิจ ถึงแม้ว่า ภาคการส่งออก จะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว แต่รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายกระตุ้นภาคการบริโภคในประเทศ สามารถทดแทนภาคการส่งออกที่ลดลงได้ ขณะที่ การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวต่อเนื่อง ช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ตามเป้าหมาย
ระดับหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของประเทศ อยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 40 และหนี้ภาคเอกชน ไม่ได้สูงมากนัก ถึงแม้ว่า รัฐบาลจะมีภาวะขาดดุลงบประมาณ 300,000 ล้านบาท และปี 2557 ได้ตั้งเป้าขาดดุลงบประมาณลดลงเหลือ 2.25 แสนล้านบาท ซึ่งรัฐบาลจะใช้งบประมาณอย่างรอบคอบมากขึ้น เพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ระยะยาว 7 ปี ซึ่งจะทำให้หนี้สาธารณะอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และประเทศไทย สามารถรับมือกับภาวะเศรษฐกิจโลก ที่มีความผันผวน
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า จากข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่แข็งแกร่ง จะเป็นโอกาสในการพิจารณาจัดอันดับเครดิต ฟิทช์ เรตติ้งส์ของประเทศใหม่ ซึ่งรัฐบาลนี้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะจะมีผลต่อการกู้เงินของภาคเอกชนจากสถาบันการเงินต่างประเทศ
นายเดวิด ริลรี่ กรรมการผู้จัดการและหัวหน้ากลุ่มจัดอันดับเครดิตต่างประเทศ บริษัท ฟิทช์ เรทติ้ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า กรณีที่รมว.คลังจะส่งข้อมูลมาให้ฟิทช์พิจารณาอันดับเครดิตของประเทศไทยว่า ฟิทช์ยินดีที่จะรับฟัง และนำข้อมูลต่างๆ มาพิจารณา โดยเห็นว่าภาพรวมของเศรษฐกิจไทยยังมีความแข็งแกร่ง รัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็กำหนดนโยบายที่ควบคุมเงินเฟ้อได้ดี ซึ่งทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับขึ้นเครดิตเรตติ้งของประเทศไทยในระยะกลางหรือระยะยาว
"เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่ดี แต่เศรษฐกิจโลก รวมทั้งยุโรป จีนยังไม่แน่นอน รวมถึงปัจจัยเสี่ยงที่การใช้จ่ายของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจทำให้ภาระหนี้ในอนาคตได้ เราไม่อยากปรับขึ้นไปในระยะสั้นๆ แล้วพอเกิดเหตุอะไรที่ไม่แน่นอนก็ต้องปรับลงอีก จึงรอดูสถานการณ์อีกครั้ง"
ขณะที่ Mr.mark young manaing director,financial institutions head of bank group ฟิทช์ เรตติ้ง สิงค์โปร์ กล่าวว่า ภาคธนาคารของไทยมีเสถียรภาพ แม้เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลง มีอัตราการเติบโตของสินเชื่อในระดับที่ดี ขณะที่หนี้เสียก็ปรับตัวลดลง ซึ่งหากเศรษฐกิจของประเทศไม่มีอะไรเข้ามากระทบอย่างแรง ก็คงจะยังมีความแข็งแกร่งอยู่
"ธปท.มีการวางกลยุทธและนโยบายที่ดีในการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ ทำให้สามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง มีเงินกองทุนที่สูง ส่วนสินเชื่อที่เติบโตในระดับที่สูงนั้น ฟิทช์ก็จับตาดูอยู่ แต่ยังไม่น่าวิตกเพราะยังเป็นสินเชื่อที่มีคุณภาพที่ดี"
**"ปู" จับตาวิกฤตยูโรโซนใกล้ชิด
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมตรี กล่าวถึงปัญหาผลกระทบจากวิกฤตหนี้ยูโรโซนว่า คณะกรรมการพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงการคลังติดตามอย่างใกล้ชิด มีการประชุมซึ่งตนจะเป็นประธานประชุมสัปดาห์เว้นสัปดาห์ ส่วนที่เหลือจะเป็นหน้าที่ของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ในการติดตามรัฐมนตรีทุกกระทรวงที่เกี่ยวกับกระทรวงเศรษฐกิจ.
*** ฟิทช์ เรทติ้งส์ ชี้บริษัทพลังงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกรุกทำM&A
นายเลิศชัย กอเจริญรัตนกุล หัวหน้าจัดอันดับเครดิตภาคอุตสาหกรรมไทย บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า บริษัทในหมวดพลังงานของไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกพบว่ามีการเข้าซื้อกิจการ (M&A) ด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 10ปีที่ผ่านมา เพื่อรองรับความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะจีนและอินเดีย เนื่องจากปริมาณสำรองรองน้ำมันและก๊าซฯในภูมิภาคนี้ถือว่าน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆของโลก
นอกจากนี้ เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิจนทำให้เกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีจากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟุกุชิมาเมื่อปี 2554 ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นมีนโยบายที่จะยกเลิกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ส่งผลให้บริษัทพลังงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องปรับแผนการลงทุนและเข้าซื้อกิจการด้านพลังงานมากขึ้น โดยส่วนใหญ่มีการซื้อแหล่งปิโตรเลียมแบบ Unconventional Reserves เพื่อจะเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ เช่น แหล่งปิโตรเลียมน้ำลึก ออยล์แซนด์ เชลล์แก๊ส เป็นต้น ซึ่งในระยะแรกจะได้ผลตอบแทนค่อนข้างต่ำ
ขณะที่มูลค่าการซื้อกิจการด้านพลังงานของโลกในแต่ละปีสูงถึง 1.2-1.8 แสนล้านเหรียญสหรัฐ พบว่าบริษัทพลังงานของจีนทำธุรกรรมซื้อกิจการM&Aสูงสุดคิดเป็น 50%ของมูลค่ารวม รองลงมาคือออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซียและไทย คิดเป็น 4% ของมูลค่ารวม ซึ่งการทำธุรกรรมดังกล่าวจะใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูงย่อมส่งผลกดดันต่อความเข้มแข็งทางการเงินของบริษัทและการจัดอันดับเครดิตด้วย แต่เนื่องจากบริษัทพลังงานเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลของประเทศ ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบจากการจัดอันดับเครดิตแต่อย่างไร เช่น Sinopec , Cnooc ของจีน ปิโตรนาส ประเทศมาเลเซีย หรือแม้แต่ ปตท. ที่มีการซื้อกิจการทั้งออยล์แซนด์และCove Energy และค่าใช้จ่ายในการลงทุนค่อนข้างสูง แต่เครดิตปตท.ไม่เปลี่ยน เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทำให้มีการปรับอันดับเครดิตขึ้น 1 อันจากอันดับเครดิตเมื่อพิจารณาตัวบริษัทเพียงอย่างเดียว
“ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา บริษัทน้ำมันและก๊าซฯในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมีการทำM&Aมากขึ้น รวมทั้งปรับแผนขยายการลงทุนสูงขึ้น แต่ก็ไม่กระทบต่ออันดับเครดิตเรตติ้ง เนื่องจากมีฐานะการเงินแข็งแกร่งและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลทำให้มีอันดับเครดิตเรตติ้งเท่ากับเครดิตของประเทศ”
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่มปตท.ได้มีการเข้าไปลงทุนในอาเซียนหลายประเทศ โดยเฉพาะพม่าที่มีการเข้าไปลงทุนมานานนับ 20ปีซึ่งประสบความสำเร็จด้วยดี การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะช่วยขยายโอกาสการทำธุรกิจมากยิ่งขึ้น