ได้ยินคำว่า “อ่อนประชาสัมพันธ์” (PR) ทีไร ให้รู้สึกทีนั้น ว่า ใครคนนั้น(ผู้บริหาร) กำลังโทษคนที่ทำประชาสัมพันธ์ (ลูกน้อง) เป็นสาเหตุให้งานผิดพลาด ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
เนียนครับ
อ่อนจริงหรือเปล่า ไม่มีใครรู้ ใครจะตามไปพิสูจน์ตรวจสอบล่ะ อาจจะจริง หรือไม่จริงก็ได้ แต่ถือว่าบอกสังคมรับรู้ไปแล้ว
ถ้าอ่อนจริง PR ต้องปรับปรุงแก้ไข ถ้าอ่อนไม่จริง ผู้บริหารก็ต้องรับผิดชอบ
แต่บางครั้งการพูดไปเช่นนี้ อาจเป็นข้ออ้าง เพราะดูมีเหตุมีผล สังคม(น่าจะ)เชื่อ ผู้บริหารรอด (จากการถูกวิพากษ์โจมตี)
ฉะนั้น “อ่อนประชาสัมพันธ์” พูดอีกก็ถูกอีก พูดเมื่อใดก็ถูกเมื่อนั้น เพราะมีเหตุผลและความจำเป็น (ของใคร?) ถือเป็นศิลปะความพลิ้วผู้นำ
แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า เมื่อใดที่งานโครงการใดๆ มีประชาชนเข้าร่วมน้อย ก็เป็นความชอบธรรมของผู้นำที่จะตำหนิ หรือมองไปที่ PR สร้างความเข้าใจ เผยแพร่ข่าวสารอย่างไร มาก-น้อย เข้าถึงแค่ไหน
ขณะที่ผู้นำควรมองตัวเองด้วย ว่า โครงการนั้นๆ ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนหรือไม่ เพียงใด ถึงเข้าร่วมน้อย
“อ่อนประชาสัมพันธ์” จึงอาจเป็นได้ทั้งอ่อนจริง และข้ออ้าง ฟังแล้วดูดี นุ่ม ไม่ขัดแย้ง ไม่กระทบใคร หรือส่งผลต่อผู้นำอย่างใดอย่างหนึ่ง
ถ้าอ่อน PRจริง เป็นอื่นไปไม่ได้ ต้องยอมรับการตำหนิ
เชื่อว่า ผู้อ่านก็คงรู้สึกอย่างผู้เขียน
การที่ PR เป็นสาเหตุให้งานพลาดเป้า ไม่บรรลุผลที่วางไว้ นั่นส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่ง ย่อมปฏิเสธไม่ได้ ว่า มันเชื่อมโยงไปยังผู้นำด้วย เช่น ประชาชนคัดค้านต่อต้านโครงการ เพราะผู้บริหารไม่นำโครงการสู่กระบวนการประชาพิจารณ์ ไม่โปร่งใส ไม่สอบถามความต้องการของชุมชน กระทั่งนโยบายบางเรื่องของผู้นำไม่เข้าท่า เหลื่อมล้ำ เป็นต้น
ซึ่งประชาสัมพันธ์อย่างไร ก็ไม่มีทางเป็นไปได้
ส่วนใหญ่เรามักจะได้ยินคำว่า “อ่อนประชาสัมพันธ์” จากการให้สัมภาษณ์ก็ดี หรือแถลงข่าวก็ดี จากผู้นำองค์กรทั้งหลาย โดยเฉพาะภาครัฐ ตั้งแต่รัฐบาล ลงมากระทรวง กรม
มีคำถามชวนคิด : เรามักไม่ค่อยได้ยิน (หรือแทบไม่เคยได้ยิน) คำว่า “อ่อนประชาสัมพันธ์” จากภาคเอกชน เพราะอะไร
ภาครัฐจะปล่อยให้เกิดกรณี “อ่อนประชาสัมพันธ์” ขึ้นกับโครงการต่างๆ เช่นนี้ต่อไป หรืออย่างไร เตรียมความพร้อมก่อนได้มั๊ย เพราะว่าจู่ๆ เดี๋ยวได้ยินอีกแล้ว กระทรวงนั้น กรมนี้ออกมาบอก “อ่อนพีอาร์” ไม่เว้นรัฐบาล
ที่ตำหนิพักหนี้อ่อนพีอาร์ โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกล่าวในรายการสด “รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน” ว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา ตนติดตามนโยบายของแต่ละกระทรวง ว่ามีเรื่องใดที่ทำแล้ว และยังไม่ได้ทำบ้าง ซึ่งนโยบายพักหนี้ครัวเรือนที่ขณะนี้ทำแล้ว แต่ขาดการประชาสัมพันธ์ (ข่าวสด 12 ก.พ.55)
ขาดการประชาสัมพันธ์จริงหรือเปล่า อ่อนพีอาร์จริงหรือไม่ อย่างไร ไม่มีใครรู้ หรือติดขัดปัญหาอื่น แล้วไม่สามารถบอกกล่าวได้
บางครั้งสังคมก็ question อยู่ในที อ่อนจริง หรืออ่อนปลอม เป็นข้ออ้าง หรือเทคนิคทางการบริหารหรือเปล่า ยุคใหม่แล้ว ประชาชนก็เห็นกันได้ สัมผัสกันอยู่ ใช่ว่าจะเชื่อหมด ดีไม่ดีเขียนผ่าน facebook ตำหนิกลับรัฐบาล
มีคำถามชวนคิด : จะทำอย่างไรไม่ให้ “อ่อนประชาสัมพันธ์” จะสกัดไม่ให้เกิดได้อย่างไร
ซึ่งให้รู้สึกเห็นใจคนทำพีอาร์เหมือนกัน เวลามีปัญหาอะไร กลืนไม่เข้าคายไม่ออก คับขันขึ้นมาก็จะลงที่ PR แต่ทีไปได้สวย ไม่เห็นมีใครบอกว่า งานนี้ “ประชาสัมพันธ์แข็ง” หรือ “พีอาร์เจ๋ง”
ในอีกเหลี่ยมมุมหนึ่ง เมื่อฟังคำ “อ่อนพีอาร์” นี้ครั้งใด ในเรื่องใด ให้รู้สึกว่า ส่งผลกระทบต่อประชาชนในเรื่องนั้น เช่น อาจไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการรัฐเต็มเม็ดเต็มหน่วย อาจเสียโอกาส เสียเปรียบ กระทั่งอาจเสียสิทธิที่พึงได้ เพราะไม่ได้รับข่าวสารที่เพียงพอและเหมาะสมจากหน่วยงานรัฐ
ขณะที่ผู้นำเสียอะไรหรือเปล่า ไม่แน่ใจ
และจะต้องรับผิดชอบอะไร หรือไม่ ประการใด เช่น การขยายระยะเวลาโครงการ เป็นสิ่งที่ดีแก่ประชาชนที่เสียโอกาส เสียสิทธิ์ แต่ก็ต้องระวัง เพราะสะท้อนถึงการบริหารงานที่ไม่มีคุณภาพได้
แต่ก็ยังมองได้อีกมุมกับคำ “อ่อนพีอาร์” เป็นไปได้มั้ย อาจเป็นการพูดแก้เกี้ยว เมื่องานติดขัด ขัดข้อง ไม่ไหลลื่น
เป็นศิลปะผู้นำ พูดออกไปก่อน แล้วค่อยไปเร่งปรับแผนงานตรงจุดที่เป็นปัญหาในภายหลัง แต่การจะให้มายอมรับว่า บริหารผิดพลาด อาจต้องคิดหนัก
หากขาดประชาสัมพันธ์จริง รัฐบาลจะมีมาตรการป้องกันแก้ไข (ตั้งรับ) กันอย่างไร หรือจะกำกับการทำงานประชาสัมพันธ์ไปข้างหน้า (เชิงรุก) อย่างไร
หรือจะไว้ใช้อ้างกันเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ ไม่ต้องกระทำใดๆ
ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นทุกยุคสมัย ไม่ว่าใครเป็นรัฐบาล ไม่เฉพาะรัฐบาลเพื่อไทย (ขออนุญาตที่จะไม่ยกตัวอย่างย้อนลึกไปไกล)
พรรคประชาธิปัตย์เมื่อครั้งเป็นรัฐบาล ก็ถูกมองผลงาน 6 เดือนได้คะแนนแค่สอบผ่าน หรือใช้ได้ ก็ออกมาแก้ตัวว่า ประชาสัมพันธ์อ่อน กระทั่งนายชุมพล กาญจนะ ประธาน ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ไปทาบทามนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ให้มาเป็น “โฆษกรัฐบาล” บอกว่า ที่ต้องยกเครื่องกองงานโฆษกรัฐบาล ก็เพราะรัฐบาลมีนโยบายดีๆ มากมาย แต่กองงานโฆษกสื่อสารออกไปให้ประชาชนรับทราบน้อยมาก (ไทยรัฐ 15 ส.ค.52 )
หรือโฆษกพรรคเพื่อไทย นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ที่ตอบคำถามผู้สื่อข่าวถึงการปรับ ครม.มาจากปัญหาสินค้าราคาแพง และหลายกระทรวงไม่มีผลงาน เมื่อพ.ค.55 ว่า นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับปัญหาปากท้อง และพยายามแก้ไข แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้ร้ายแรงถึงขั้นต้องปรับ ครม. ที่ว่าจะมีการปรับรัฐมนตรีในกระทรวงเศรษฐกิจทั้งหมด เชื่อว่าเป็นแค่ข่าวปล่อย...อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า ทุกกระทรวงมีผลงานดี แต่ยอมรับว่า อ่อนเรื่องการประชาสัมพันธ์ ประกอบกับหน้าสื่อถูกให้น้ำหนักไปที่เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ (เดลินิวส์ 4 พ.ค.55)
มีคำถามชวนคิด : ท่านชุมพล กาญจนะ มั่นใจเพียงใดว่า มีนโยบายดี และท่านพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ มั่นใจอย่างไร ว่า มีผลงานดี
อาจต้องมองประชาชน สังคม เห็นว่า นโยบายดี ผลงานดีกับเราด้วยหรือเปล่า ซึ่งมีผลต่อการทำประชาสัมพันธ์ ถ้าดีจริง ประชาสัมพันธ์ไม่ยาก
ไม่ว่ารัฐบาลไหน ก็ลงที่ “อ่อนประชาสัมพันธ์”
ในฐานะที่สนใจ PR ยังคิดว่า นโยบายดี ผลงานดี ทำไมจึงอ่อน PR น่าจะ PR ง่าย หรือเป็นเพราะอะไร อ่อนจริงหรืออ่อนปลอม มีนัยอื่นแอบแฝง เพียงแค่อ้างให้ดูดี แก้เกี้ยว หรือไม่ ประการใด
ถ้านโยบายดี ผลงานดี สื่อวิ่งมาหา ต้องการนำเสนอคุณค่าข่าวสารที่ดีๆ สู่ประชาชน
ฉะนั้น กับคำว่า “อ่อนประชาสัมพันธ์” น่าจะมองเป็นมิติต่างๆ อย่างน้อยๆ 4 มิติ ซึ่งผู้อ่านอาจเห็นต่าง เห็นเพิ่มจากผู้เขียน ถือเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองและแง่คิดในเชิง PR เพื่อสังคม ดังนี้
มิติผู้นำองค์กร (รัฐบาล กระทรวง กรม)
1. รัฐบาลเห็นว่า ทีม PR อ่อนประชาสัมพันธ์ หรือสื่อสารไม่เป็น จริงหรือ
2. อยู่ที่ผู้นำด้วยหรือไม่ ที่จะต้องสวมบทประชาสัมพันธ์ หรือสื่อสารนโยบาย ผลงานด้วยตนเอง ผู้นำอ่อนพีอาร์เสียเอง หรือสื่อสารไม่เป็นเสียเอง หรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้น จะทำอย่างไร มิใช่คอยตำหนิ PR
3. ทำไมผู้นำไม่สั่งการ PR ให้เร่ง PR เนิ่นๆ เตรียมพร้อมล่วงหน้า จะได้ไม่เกิดปัญหา PR ระหว่างการดำเนินโครงการ ต้องดักปัญหา มิใช่ตาม(แก้)ปัญหา เพียงมีสัญญาณว่าจะเกิดปัญหา PR อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ต้องสั่งการทันที
4. ผู้นำอาจไม่ได้มอบนโยบายประชาสัมพันธ์ให้ PR เสียตั้งแต่แรก จะให้ทำอย่างไร เน้นพีอาร์อะไรในโครงการนั้นๆ หวังผลอย่างไร เพื่อผู้ปฏิบัติจะได้เดินถูกทาง ตรงจุด
5. ในมุมกลับ บางทีไม่ได้อ่อน PR แต่บริบทผู้นำต้องการแค่นี้ ก็เป็นไปได้ เช่น ปลัดกระทรวง อธิบดีบางกรมต้องการพีอาร์แค่นี้
6. ระดับรัฐมนตรีบางครั้งก็คงไม่อยากพีอาร์ข่าวสารอะไรออกไปมาก เกรงจะไปล้ำหน้า หรือก่อให้เกิดผลกระทบอะไร ก็เป็นไปได้อีก
7. ไม่อ่อน PR แต่เป็นการพูดเพื่อแก้เกี้ยว หวังกลบเกลื่อนอะไรบางอย่าง
8. การพูดถึงจุดอ่อน หรืออุปสรรค เช่น อ่อนประชาสัมพันธ์ และขอโอกาส จะเร่งแก้ไข บางครั้งทำให้ได้คะแนนความเห็นใจจากประชาชน สังคม แต่ก็ต้องอ่านให้ดีๆ เหมือนกัน ไม่งั้นอาจพลาดได้
9. อาจมาจากผู้นำคิดงานโครงการอะไรที่ไม่ตอบโจทย์ประชาชน เป็นสาเหตุให้อ่อนประชาสัมพันธ์ได้เหมือนกัน เนื่องจากพีอาร์ไม่ออก ถึงออกก็ไม่ลื่น บางทีผู้นำก็ไม่เคยโทษตัวเอง ถ้านโยบาย โครงการถูกต้อง ถูกทาง ไม่ต้องกลัวอ่อน PR หรือมีข่าวออกน้อย เพราะสื่อพร้อมหนุน และเป็นที่ต้องการของสื่อด้วย
10. บางครั้งมาจากผู้นำมัวแต่ทำงานหนัก จนมองข้ามหรือละเลยการประชาสัมพันธ์ หรือไม่ ประการใด ทำให้ไม่มีข่าวสาร หรือมีน้อย ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เป็นรัฐมนตรีโลกลืมบ้าง คนจำไม่ได้บ้าง ว่ากระทรวงนี้มีรัฐมนตรีชื่ออะไร
11. รัฐบาล กระทรวง กรม ควรยกระดับความสำคัญของงาน PR จะได้ไม่เกิดปัญหาอ่อนPR
มิติคนทำประชาสัมพันธ์ (โฆษกรัฐบาล โฆษกกระทรวง โฆษกกรม หรือทีมประชาสัมพันธ์รัฐบาล กระทรวง กรม)
1. หากอ่อนประชาสัมพันธ์จริง PR ต้องปรับปรุงตัวเอง และการทำงาน
2. ไม่ได้อ่อนประชาสัมพันธ์ แต่ก็ต้องเข้าใจว่า บางครั้งผู้นำอยู่ในบริบทที่ต้องการ พูดแก้เกี้ยว หาทางลง ไม่ได้โทษหรือหวังตำหนิ PR จริงๆ เป็นผู้น้อยก็ต้องรับหน้าเสื่อ
3. หากไม่ได้อ่อนพีอาร์ ก็ทำงานเดินหน้าเต็มที่ต่อไป ผู้นำก็เข้าใจ และเห็นใจอยู่
4. ขณะที่ทำพีอาร์สำเร็จ ก็เสมอตัว อาจขาดพลังจูงใจในการทำงาน
มิติประชาชน สังคม
1. ไม่อ่อนประชาสัมพันธ์ แต่ประชาชนไม่สนใจโครงการเอง เพราะเห็นว่าไม่ตอบโจทย์ความต้องการ จึงไม่ขานรับ และเข้าร่วม ต้องปรับปรุงทบทวนโครงการ นโยบาย
2. ไม่อ่อนพีอาร์ แต่ประชาชนเห็นว่า นโยบายไม่เข้าท่า สับสนไม่เข้าใจ ไม่เห็นด้วย นอกจากไม่สนับสนุน อาจเจอต้าน ประท้วง ทวงถาม ปิดถนน
3. อ่อนประชาสัมพันธ์ ข่าวสารเข้าไม่ถึง ทำให้ประชาชนเสียโอกาสจากโครงการรัฐ ขณะเดียวกันรัฐบาล กระทรวง กรม ก็จะไม่ได้ผลงาน ไม่ได้ผลสำเร็จจากโครงการเท่าที่ควร
4. ในมุมกลับ ประชาชนมองรัฐบาลไม่เป็นมืออาชีพ ปล่อยให้เกิดปัญหาอ่อน PR
มิติสื่อมวลชน
1. สื่อคงไม่ได้มองในมุมว่า ใครจะอ่อนพีอาร์ หรือไม่ อย่างไร แต่หากเห็นว่า ไม่มีนโยบายใหม่ เป็นเรื่องเดิม และไม่มีอะไรคืบหน้า ก็จะไม่สนใจนำเสนอ หรือเผยแพร่ ทำให้มีข่าวสารออกน้อย กลายเป็นอ่อนพีอาร์ องค์กรรัฐบาล กระทรวง กรม ควรสร้างนโยบาย ผลงานใหม่ๆ แตกไลน์หรือต่อยอดงาน หรือมีเนื้อหางานโครงการที่เป็นความคืบหน้าเมื่อจะพีอาร์ข่าวสารกับสื่อ
2. สื่อเลือกเสนอเนื้อหาข่าวสารที่มีน้ำหนัก และคุณค่าข่าวเป็นหลัก ซึ่งเนื้อหาข่าว มาจากเนื้อหางานที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เสนอข่าวเบา ถูกลดความน่าเชื่อถือ วันนี้สื่อแข่งคุณภาพข่าวสาร ซึ่งมาจากคุณภาพงานของรัฐบาล ถ้าไม่มีงานที่มีคุณภาพ ก็ไม่มีข่าวสาร เท่ากับอ่อนประชาสัมพันธ์
3. ผู้นำเก่ง PR เจ๋ง สื่อมวลชนต้องหนุนนำด้วย จึงจะสำเร็จ
“เป็นบางเหลี่ยมมุม PR ที่ไม่อยากอ่อน PR”
เนียนครับ
อ่อนจริงหรือเปล่า ไม่มีใครรู้ ใครจะตามไปพิสูจน์ตรวจสอบล่ะ อาจจะจริง หรือไม่จริงก็ได้ แต่ถือว่าบอกสังคมรับรู้ไปแล้ว
ถ้าอ่อนจริง PR ต้องปรับปรุงแก้ไข ถ้าอ่อนไม่จริง ผู้บริหารก็ต้องรับผิดชอบ
แต่บางครั้งการพูดไปเช่นนี้ อาจเป็นข้ออ้าง เพราะดูมีเหตุมีผล สังคม(น่าจะ)เชื่อ ผู้บริหารรอด (จากการถูกวิพากษ์โจมตี)
ฉะนั้น “อ่อนประชาสัมพันธ์” พูดอีกก็ถูกอีก พูดเมื่อใดก็ถูกเมื่อนั้น เพราะมีเหตุผลและความจำเป็น (ของใคร?) ถือเป็นศิลปะความพลิ้วผู้นำ
แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า เมื่อใดที่งานโครงการใดๆ มีประชาชนเข้าร่วมน้อย ก็เป็นความชอบธรรมของผู้นำที่จะตำหนิ หรือมองไปที่ PR สร้างความเข้าใจ เผยแพร่ข่าวสารอย่างไร มาก-น้อย เข้าถึงแค่ไหน
ขณะที่ผู้นำควรมองตัวเองด้วย ว่า โครงการนั้นๆ ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนหรือไม่ เพียงใด ถึงเข้าร่วมน้อย
“อ่อนประชาสัมพันธ์” จึงอาจเป็นได้ทั้งอ่อนจริง และข้ออ้าง ฟังแล้วดูดี นุ่ม ไม่ขัดแย้ง ไม่กระทบใคร หรือส่งผลต่อผู้นำอย่างใดอย่างหนึ่ง
ถ้าอ่อน PRจริง เป็นอื่นไปไม่ได้ ต้องยอมรับการตำหนิ
เชื่อว่า ผู้อ่านก็คงรู้สึกอย่างผู้เขียน
การที่ PR เป็นสาเหตุให้งานพลาดเป้า ไม่บรรลุผลที่วางไว้ นั่นส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่ง ย่อมปฏิเสธไม่ได้ ว่า มันเชื่อมโยงไปยังผู้นำด้วย เช่น ประชาชนคัดค้านต่อต้านโครงการ เพราะผู้บริหารไม่นำโครงการสู่กระบวนการประชาพิจารณ์ ไม่โปร่งใส ไม่สอบถามความต้องการของชุมชน กระทั่งนโยบายบางเรื่องของผู้นำไม่เข้าท่า เหลื่อมล้ำ เป็นต้น
ซึ่งประชาสัมพันธ์อย่างไร ก็ไม่มีทางเป็นไปได้
ส่วนใหญ่เรามักจะได้ยินคำว่า “อ่อนประชาสัมพันธ์” จากการให้สัมภาษณ์ก็ดี หรือแถลงข่าวก็ดี จากผู้นำองค์กรทั้งหลาย โดยเฉพาะภาครัฐ ตั้งแต่รัฐบาล ลงมากระทรวง กรม
มีคำถามชวนคิด : เรามักไม่ค่อยได้ยิน (หรือแทบไม่เคยได้ยิน) คำว่า “อ่อนประชาสัมพันธ์” จากภาคเอกชน เพราะอะไร
ภาครัฐจะปล่อยให้เกิดกรณี “อ่อนประชาสัมพันธ์” ขึ้นกับโครงการต่างๆ เช่นนี้ต่อไป หรืออย่างไร เตรียมความพร้อมก่อนได้มั๊ย เพราะว่าจู่ๆ เดี๋ยวได้ยินอีกแล้ว กระทรวงนั้น กรมนี้ออกมาบอก “อ่อนพีอาร์” ไม่เว้นรัฐบาล
ที่ตำหนิพักหนี้อ่อนพีอาร์ โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกล่าวในรายการสด “รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน” ว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา ตนติดตามนโยบายของแต่ละกระทรวง ว่ามีเรื่องใดที่ทำแล้ว และยังไม่ได้ทำบ้าง ซึ่งนโยบายพักหนี้ครัวเรือนที่ขณะนี้ทำแล้ว แต่ขาดการประชาสัมพันธ์ (ข่าวสด 12 ก.พ.55)
ขาดการประชาสัมพันธ์จริงหรือเปล่า อ่อนพีอาร์จริงหรือไม่ อย่างไร ไม่มีใครรู้ หรือติดขัดปัญหาอื่น แล้วไม่สามารถบอกกล่าวได้
บางครั้งสังคมก็ question อยู่ในที อ่อนจริง หรืออ่อนปลอม เป็นข้ออ้าง หรือเทคนิคทางการบริหารหรือเปล่า ยุคใหม่แล้ว ประชาชนก็เห็นกันได้ สัมผัสกันอยู่ ใช่ว่าจะเชื่อหมด ดีไม่ดีเขียนผ่าน facebook ตำหนิกลับรัฐบาล
มีคำถามชวนคิด : จะทำอย่างไรไม่ให้ “อ่อนประชาสัมพันธ์” จะสกัดไม่ให้เกิดได้อย่างไร
ซึ่งให้รู้สึกเห็นใจคนทำพีอาร์เหมือนกัน เวลามีปัญหาอะไร กลืนไม่เข้าคายไม่ออก คับขันขึ้นมาก็จะลงที่ PR แต่ทีไปได้สวย ไม่เห็นมีใครบอกว่า งานนี้ “ประชาสัมพันธ์แข็ง” หรือ “พีอาร์เจ๋ง”
ในอีกเหลี่ยมมุมหนึ่ง เมื่อฟังคำ “อ่อนพีอาร์” นี้ครั้งใด ในเรื่องใด ให้รู้สึกว่า ส่งผลกระทบต่อประชาชนในเรื่องนั้น เช่น อาจไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการรัฐเต็มเม็ดเต็มหน่วย อาจเสียโอกาส เสียเปรียบ กระทั่งอาจเสียสิทธิที่พึงได้ เพราะไม่ได้รับข่าวสารที่เพียงพอและเหมาะสมจากหน่วยงานรัฐ
ขณะที่ผู้นำเสียอะไรหรือเปล่า ไม่แน่ใจ
และจะต้องรับผิดชอบอะไร หรือไม่ ประการใด เช่น การขยายระยะเวลาโครงการ เป็นสิ่งที่ดีแก่ประชาชนที่เสียโอกาส เสียสิทธิ์ แต่ก็ต้องระวัง เพราะสะท้อนถึงการบริหารงานที่ไม่มีคุณภาพได้
แต่ก็ยังมองได้อีกมุมกับคำ “อ่อนพีอาร์” เป็นไปได้มั้ย อาจเป็นการพูดแก้เกี้ยว เมื่องานติดขัด ขัดข้อง ไม่ไหลลื่น
เป็นศิลปะผู้นำ พูดออกไปก่อน แล้วค่อยไปเร่งปรับแผนงานตรงจุดที่เป็นปัญหาในภายหลัง แต่การจะให้มายอมรับว่า บริหารผิดพลาด อาจต้องคิดหนัก
หากขาดประชาสัมพันธ์จริง รัฐบาลจะมีมาตรการป้องกันแก้ไข (ตั้งรับ) กันอย่างไร หรือจะกำกับการทำงานประชาสัมพันธ์ไปข้างหน้า (เชิงรุก) อย่างไร
หรือจะไว้ใช้อ้างกันเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ ไม่ต้องกระทำใดๆ
ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นทุกยุคสมัย ไม่ว่าใครเป็นรัฐบาล ไม่เฉพาะรัฐบาลเพื่อไทย (ขออนุญาตที่จะไม่ยกตัวอย่างย้อนลึกไปไกล)
พรรคประชาธิปัตย์เมื่อครั้งเป็นรัฐบาล ก็ถูกมองผลงาน 6 เดือนได้คะแนนแค่สอบผ่าน หรือใช้ได้ ก็ออกมาแก้ตัวว่า ประชาสัมพันธ์อ่อน กระทั่งนายชุมพล กาญจนะ ประธาน ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ไปทาบทามนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ให้มาเป็น “โฆษกรัฐบาล” บอกว่า ที่ต้องยกเครื่องกองงานโฆษกรัฐบาล ก็เพราะรัฐบาลมีนโยบายดีๆ มากมาย แต่กองงานโฆษกสื่อสารออกไปให้ประชาชนรับทราบน้อยมาก (ไทยรัฐ 15 ส.ค.52 )
หรือโฆษกพรรคเพื่อไทย นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ที่ตอบคำถามผู้สื่อข่าวถึงการปรับ ครม.มาจากปัญหาสินค้าราคาแพง และหลายกระทรวงไม่มีผลงาน เมื่อพ.ค.55 ว่า นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับปัญหาปากท้อง และพยายามแก้ไข แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้ร้ายแรงถึงขั้นต้องปรับ ครม. ที่ว่าจะมีการปรับรัฐมนตรีในกระทรวงเศรษฐกิจทั้งหมด เชื่อว่าเป็นแค่ข่าวปล่อย...อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า ทุกกระทรวงมีผลงานดี แต่ยอมรับว่า อ่อนเรื่องการประชาสัมพันธ์ ประกอบกับหน้าสื่อถูกให้น้ำหนักไปที่เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ (เดลินิวส์ 4 พ.ค.55)
มีคำถามชวนคิด : ท่านชุมพล กาญจนะ มั่นใจเพียงใดว่า มีนโยบายดี และท่านพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ มั่นใจอย่างไร ว่า มีผลงานดี
อาจต้องมองประชาชน สังคม เห็นว่า นโยบายดี ผลงานดีกับเราด้วยหรือเปล่า ซึ่งมีผลต่อการทำประชาสัมพันธ์ ถ้าดีจริง ประชาสัมพันธ์ไม่ยาก
ไม่ว่ารัฐบาลไหน ก็ลงที่ “อ่อนประชาสัมพันธ์”
ในฐานะที่สนใจ PR ยังคิดว่า นโยบายดี ผลงานดี ทำไมจึงอ่อน PR น่าจะ PR ง่าย หรือเป็นเพราะอะไร อ่อนจริงหรืออ่อนปลอม มีนัยอื่นแอบแฝง เพียงแค่อ้างให้ดูดี แก้เกี้ยว หรือไม่ ประการใด
ถ้านโยบายดี ผลงานดี สื่อวิ่งมาหา ต้องการนำเสนอคุณค่าข่าวสารที่ดีๆ สู่ประชาชน
ฉะนั้น กับคำว่า “อ่อนประชาสัมพันธ์” น่าจะมองเป็นมิติต่างๆ อย่างน้อยๆ 4 มิติ ซึ่งผู้อ่านอาจเห็นต่าง เห็นเพิ่มจากผู้เขียน ถือเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองและแง่คิดในเชิง PR เพื่อสังคม ดังนี้
มิติผู้นำองค์กร (รัฐบาล กระทรวง กรม)
1. รัฐบาลเห็นว่า ทีม PR อ่อนประชาสัมพันธ์ หรือสื่อสารไม่เป็น จริงหรือ
2. อยู่ที่ผู้นำด้วยหรือไม่ ที่จะต้องสวมบทประชาสัมพันธ์ หรือสื่อสารนโยบาย ผลงานด้วยตนเอง ผู้นำอ่อนพีอาร์เสียเอง หรือสื่อสารไม่เป็นเสียเอง หรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้น จะทำอย่างไร มิใช่คอยตำหนิ PR
3. ทำไมผู้นำไม่สั่งการ PR ให้เร่ง PR เนิ่นๆ เตรียมพร้อมล่วงหน้า จะได้ไม่เกิดปัญหา PR ระหว่างการดำเนินโครงการ ต้องดักปัญหา มิใช่ตาม(แก้)ปัญหา เพียงมีสัญญาณว่าจะเกิดปัญหา PR อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ต้องสั่งการทันที
4. ผู้นำอาจไม่ได้มอบนโยบายประชาสัมพันธ์ให้ PR เสียตั้งแต่แรก จะให้ทำอย่างไร เน้นพีอาร์อะไรในโครงการนั้นๆ หวังผลอย่างไร เพื่อผู้ปฏิบัติจะได้เดินถูกทาง ตรงจุด
5. ในมุมกลับ บางทีไม่ได้อ่อน PR แต่บริบทผู้นำต้องการแค่นี้ ก็เป็นไปได้ เช่น ปลัดกระทรวง อธิบดีบางกรมต้องการพีอาร์แค่นี้
6. ระดับรัฐมนตรีบางครั้งก็คงไม่อยากพีอาร์ข่าวสารอะไรออกไปมาก เกรงจะไปล้ำหน้า หรือก่อให้เกิดผลกระทบอะไร ก็เป็นไปได้อีก
7. ไม่อ่อน PR แต่เป็นการพูดเพื่อแก้เกี้ยว หวังกลบเกลื่อนอะไรบางอย่าง
8. การพูดถึงจุดอ่อน หรืออุปสรรค เช่น อ่อนประชาสัมพันธ์ และขอโอกาส จะเร่งแก้ไข บางครั้งทำให้ได้คะแนนความเห็นใจจากประชาชน สังคม แต่ก็ต้องอ่านให้ดีๆ เหมือนกัน ไม่งั้นอาจพลาดได้
9. อาจมาจากผู้นำคิดงานโครงการอะไรที่ไม่ตอบโจทย์ประชาชน เป็นสาเหตุให้อ่อนประชาสัมพันธ์ได้เหมือนกัน เนื่องจากพีอาร์ไม่ออก ถึงออกก็ไม่ลื่น บางทีผู้นำก็ไม่เคยโทษตัวเอง ถ้านโยบาย โครงการถูกต้อง ถูกทาง ไม่ต้องกลัวอ่อน PR หรือมีข่าวออกน้อย เพราะสื่อพร้อมหนุน และเป็นที่ต้องการของสื่อด้วย
10. บางครั้งมาจากผู้นำมัวแต่ทำงานหนัก จนมองข้ามหรือละเลยการประชาสัมพันธ์ หรือไม่ ประการใด ทำให้ไม่มีข่าวสาร หรือมีน้อย ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เป็นรัฐมนตรีโลกลืมบ้าง คนจำไม่ได้บ้าง ว่ากระทรวงนี้มีรัฐมนตรีชื่ออะไร
11. รัฐบาล กระทรวง กรม ควรยกระดับความสำคัญของงาน PR จะได้ไม่เกิดปัญหาอ่อนPR
มิติคนทำประชาสัมพันธ์ (โฆษกรัฐบาล โฆษกกระทรวง โฆษกกรม หรือทีมประชาสัมพันธ์รัฐบาล กระทรวง กรม)
1. หากอ่อนประชาสัมพันธ์จริง PR ต้องปรับปรุงตัวเอง และการทำงาน
2. ไม่ได้อ่อนประชาสัมพันธ์ แต่ก็ต้องเข้าใจว่า บางครั้งผู้นำอยู่ในบริบทที่ต้องการ พูดแก้เกี้ยว หาทางลง ไม่ได้โทษหรือหวังตำหนิ PR จริงๆ เป็นผู้น้อยก็ต้องรับหน้าเสื่อ
3. หากไม่ได้อ่อนพีอาร์ ก็ทำงานเดินหน้าเต็มที่ต่อไป ผู้นำก็เข้าใจ และเห็นใจอยู่
4. ขณะที่ทำพีอาร์สำเร็จ ก็เสมอตัว อาจขาดพลังจูงใจในการทำงาน
มิติประชาชน สังคม
1. ไม่อ่อนประชาสัมพันธ์ แต่ประชาชนไม่สนใจโครงการเอง เพราะเห็นว่าไม่ตอบโจทย์ความต้องการ จึงไม่ขานรับ และเข้าร่วม ต้องปรับปรุงทบทวนโครงการ นโยบาย
2. ไม่อ่อนพีอาร์ แต่ประชาชนเห็นว่า นโยบายไม่เข้าท่า สับสนไม่เข้าใจ ไม่เห็นด้วย นอกจากไม่สนับสนุน อาจเจอต้าน ประท้วง ทวงถาม ปิดถนน
3. อ่อนประชาสัมพันธ์ ข่าวสารเข้าไม่ถึง ทำให้ประชาชนเสียโอกาสจากโครงการรัฐ ขณะเดียวกันรัฐบาล กระทรวง กรม ก็จะไม่ได้ผลงาน ไม่ได้ผลสำเร็จจากโครงการเท่าที่ควร
4. ในมุมกลับ ประชาชนมองรัฐบาลไม่เป็นมืออาชีพ ปล่อยให้เกิดปัญหาอ่อน PR
มิติสื่อมวลชน
1. สื่อคงไม่ได้มองในมุมว่า ใครจะอ่อนพีอาร์ หรือไม่ อย่างไร แต่หากเห็นว่า ไม่มีนโยบายใหม่ เป็นเรื่องเดิม และไม่มีอะไรคืบหน้า ก็จะไม่สนใจนำเสนอ หรือเผยแพร่ ทำให้มีข่าวสารออกน้อย กลายเป็นอ่อนพีอาร์ องค์กรรัฐบาล กระทรวง กรม ควรสร้างนโยบาย ผลงานใหม่ๆ แตกไลน์หรือต่อยอดงาน หรือมีเนื้อหางานโครงการที่เป็นความคืบหน้าเมื่อจะพีอาร์ข่าวสารกับสื่อ
2. สื่อเลือกเสนอเนื้อหาข่าวสารที่มีน้ำหนัก และคุณค่าข่าวเป็นหลัก ซึ่งเนื้อหาข่าว มาจากเนื้อหางานที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เสนอข่าวเบา ถูกลดความน่าเชื่อถือ วันนี้สื่อแข่งคุณภาพข่าวสาร ซึ่งมาจากคุณภาพงานของรัฐบาล ถ้าไม่มีงานที่มีคุณภาพ ก็ไม่มีข่าวสาร เท่ากับอ่อนประชาสัมพันธ์
3. ผู้นำเก่ง PR เจ๋ง สื่อมวลชนต้องหนุนนำด้วย จึงจะสำเร็จ
“เป็นบางเหลี่ยมมุม PR ที่ไม่อยากอ่อน PR”