ASTVผู้จัดการรายวัน – ธ.ก.ส.ยันพร้อมรับมือโครงการรับจำนำข้าวปี 55/56 ระบุตุนเงินทุนไว้แล้วเกือบแสนล้านบาท มั่นใจรัฐบาลบริหารจัดการเงินกู้รองรับโครงการได้แน่นอน ระบุไม่กระทบต่อการทำธุรกรรมปกติของธนาคารแต่อย่างใด กล่อมชาวนาที่รอรับเงินรับจำนำข้าวนาปรังได้แน่นอนแต่ต้องรอมติครม.รับรองการขยายเพดานรับจำนำก่อน
นายบุญไทย แก้วขันตี รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า หลังจากรัฐบาลประกาศรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 55/56 จำนวน 15 ล้านตัน วงเงิน 2.4 แสนล้านบาท แบ่งเป็นการใช้เงินกู้กระทรวงการคลัง 1.5 แสนล้านบาท อีกส่วนหนึ่งเป็นเงินจากการระบายข้าวที่รับจำนำในปีที่ผ่านมา โดยกระทรวงพาณิชย์ยืนยันจะส่งเงิน ธ.ก.ส.ภายในสิ้นปีนี้ 8.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งล่าสุดนำส่งมาแล้ว 1.2 หมื่นล้านบาท และอีก 3 หมื่นล้านบาทรอไปเบิกเพราะฝากอยู่ที่ธนาคารกรุงไทย นอกจากนี้จะได้รับเงินคืนจากรัฐบาลผ่านเงินงบประมาณปี 56 อีกจำนวน 4.9 หมื่นล้านบาท รวมขณะนี้ธ.ก.ส.จะมีเงินสำหรับดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปีแล้ว 9.1 หมื่นล้านบาท
ขณะที่การใช้เงินรับจำข้าวในเดือนต.ค.นี้น่าจะยังมีไม่มากนักประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาทนั้นและจะเริ่มมากขึ้นในเดือนพ.ย. –ธ.ค. 55และม.ค.56 เดือนละ 3 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามหากเงินที่มีอยู่ในเพียงพอกระทรวงการคลังก็จะจัดหาเงินกู้ให้อีก 1.5 แสนล้านบาทและกระทรวงพาณิชย์ชี้แจงว่าจะสารถขายข้าวและได้เงินเข้ามาอีกเกือบ 2 แสนล้านบาท
“การรับจำนำข้าวนาปี 15 ล้านตันใช้เงิน 2.4 แสนล้านบาทนั้นเป็นเพียงรอบแรกเท่านั้นยังมีข้าวนาปรังที่จำตามออกมาอีก 11 ล้านตัน ใช้เงินอีก 1.6 แสนล้านบาท รวมจำนำ 2 ครั้งในปี 55/ 56 เป็นข้าว 26 ล้านตัน ใช้เงิน 4.05 แสนล้านบาท ซึ่งน่าจะเพียงพอสำหรับเงินที่มีอยู่และจะได้เข้าในอนาคตโดยที่ไม่กระทบกับการดำเนินงานปกติของธ.ก.ส.ที่มีการปล่อยสินเชื่อในระดับ 8 แสนล้านบาทต่อปี และมีเงินฝากอยู่ที่ 9 แสนล้านบาท หรือมีสภาพคล่องใช้หมุนเวียนปกติอีก 1 แสนล้านบาท”นายบุญไทย กล่าวและว่าการรับจำนำข้าวถือเป็นแยกเป็นบัญชีโครงการพิเศษจึงมีมีกระทบกับผลการดำเนินงานปกติของธนาคารแต่อย่างใด
บุญไทยกล่าวว่า ขณะนี้เกิดเป็นความสับสนว่าธ.ก.ส.ไม่มีเงินจ่ายให้ลูกค้าที่มาเข้าโครงการจำนำ จึงขอชี้แจงว่าธนาคารจำเป็นต้องชะลอการจ่ายเงิน แม้จะมีการนำใบประทวนมาขึ้นเงินเนื่องจากขณะนี้การรับจำนำข้าวนาปรังพิเศษที่ขยายเพิ่มอีก 2.2 ล้านตันวงเงิน 3.2 หื่นล้านบาทก็ใกล้จะเต็มเพดานแล้วขณะที่ยังมีใบประทวนในมือเกษตรและมีข้าวที่เกษตรกรอ้างว่าฝากที่โรงสีอีกจำนวนหนึ่ง ทำให้คณะกรรมการระดับจังหวัดต้องเข้าไปตรวจข้อเท็จริงว่าเป็นข้าวของเกษตรกรจริงหรือไม่เพื่อป้องกันการสวมสิทธิมาเข้าโครงการ แต่อย่างไรก็ตามในวันที่ 9 ต.ค.นี้กระทรวงพาณิชย์ก็คงนำเรื่องเสนเข้าครม.เพื่อขอขยายเพดานการรับจำนำข้าวนาปรังพิเศษรอบ 2 อีกประมาณ ล้านกว่าตันใช้เงินอีกว่า 2.1 หมื่นล้านบาท
สำหรับสาเหตุที่มีปริมาณข้าวนาปรังออกมามากกว่าที่คาดาการณ์ไว้เดิม 11.11 ล้านตันใช้เงิน 1.6 แสล้าบาท ซึ่งหากรวมการขยายเพิ่มรอบ 2 นี้ก็อาจจะทะลุถึง 14 ล้านตันใช้เงินมากกว่า 2 แสนล้านบาท เนื่องจากเกษตรกรมีการทำนาปรัง 2 รอบหลังจากถูกน้ำท่วมปลายปีก่อน และบางพื้นที่เช่นภาคกลางและเหนือตอนล้างมีการทำนาได้ปริมาณข้าวมากขึ้นจากไร่ละ 60 ถังหรือ 80 ถังเป็น 100 ถัง ต่อไร่ทำให้ได้น้ำหนักมากขึ้น แต่ปีนี้ได้กำหนดชัดเจนแล้วว่าให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนำได้เพียงปีละ 2 ครั้งเท่านั้นจึงไม่น่าจะมีปัญหาปริมาณข้าวเพิ่มขึ้นเหมือนในปีนี้ที่รัฐบาลผ่อนผันให้
ทั้งนี้ ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 มีปริมาณที่รับจำนำจำนวน 6.95 ล้านตัน คิดเป็นจำนวนเงิน 118,576 ล้านบาท จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1,142,587 ราย ส่วนโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2555 จนถึงมีจำนวน 12.52 ล้านตัน คิดเป็นจำนวนเงิน 185,303 ล้านบาท จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1,021,081 ราย แต่หากรวมการใช้เงินจำนำพืชผลการเกษตรอื่นด้วย จาก มันสำปะหลังอีก 2.7 หมื่นล้านบาท และยางพารา 1.4 หมื่นล้านบาทรวมรัฐบาลใช้เงินไปแล้ว 3.5 แสนล้านบาท รวมกับจำนำข้าวนาปีของปีนี้อีก 2.4 แสนล้านบาทก็จะเป็นเงินถึง 5.9 แสนล้านบาท
นายบุญไทย แก้วขันตี รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า หลังจากรัฐบาลประกาศรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 55/56 จำนวน 15 ล้านตัน วงเงิน 2.4 แสนล้านบาท แบ่งเป็นการใช้เงินกู้กระทรวงการคลัง 1.5 แสนล้านบาท อีกส่วนหนึ่งเป็นเงินจากการระบายข้าวที่รับจำนำในปีที่ผ่านมา โดยกระทรวงพาณิชย์ยืนยันจะส่งเงิน ธ.ก.ส.ภายในสิ้นปีนี้ 8.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งล่าสุดนำส่งมาแล้ว 1.2 หมื่นล้านบาท และอีก 3 หมื่นล้านบาทรอไปเบิกเพราะฝากอยู่ที่ธนาคารกรุงไทย นอกจากนี้จะได้รับเงินคืนจากรัฐบาลผ่านเงินงบประมาณปี 56 อีกจำนวน 4.9 หมื่นล้านบาท รวมขณะนี้ธ.ก.ส.จะมีเงินสำหรับดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปีแล้ว 9.1 หมื่นล้านบาท
ขณะที่การใช้เงินรับจำข้าวในเดือนต.ค.นี้น่าจะยังมีไม่มากนักประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาทนั้นและจะเริ่มมากขึ้นในเดือนพ.ย. –ธ.ค. 55และม.ค.56 เดือนละ 3 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามหากเงินที่มีอยู่ในเพียงพอกระทรวงการคลังก็จะจัดหาเงินกู้ให้อีก 1.5 แสนล้านบาทและกระทรวงพาณิชย์ชี้แจงว่าจะสารถขายข้าวและได้เงินเข้ามาอีกเกือบ 2 แสนล้านบาท
“การรับจำนำข้าวนาปี 15 ล้านตันใช้เงิน 2.4 แสนล้านบาทนั้นเป็นเพียงรอบแรกเท่านั้นยังมีข้าวนาปรังที่จำตามออกมาอีก 11 ล้านตัน ใช้เงินอีก 1.6 แสนล้านบาท รวมจำนำ 2 ครั้งในปี 55/ 56 เป็นข้าว 26 ล้านตัน ใช้เงิน 4.05 แสนล้านบาท ซึ่งน่าจะเพียงพอสำหรับเงินที่มีอยู่และจะได้เข้าในอนาคตโดยที่ไม่กระทบกับการดำเนินงานปกติของธ.ก.ส.ที่มีการปล่อยสินเชื่อในระดับ 8 แสนล้านบาทต่อปี และมีเงินฝากอยู่ที่ 9 แสนล้านบาท หรือมีสภาพคล่องใช้หมุนเวียนปกติอีก 1 แสนล้านบาท”นายบุญไทย กล่าวและว่าการรับจำนำข้าวถือเป็นแยกเป็นบัญชีโครงการพิเศษจึงมีมีกระทบกับผลการดำเนินงานปกติของธนาคารแต่อย่างใด
บุญไทยกล่าวว่า ขณะนี้เกิดเป็นความสับสนว่าธ.ก.ส.ไม่มีเงินจ่ายให้ลูกค้าที่มาเข้าโครงการจำนำ จึงขอชี้แจงว่าธนาคารจำเป็นต้องชะลอการจ่ายเงิน แม้จะมีการนำใบประทวนมาขึ้นเงินเนื่องจากขณะนี้การรับจำนำข้าวนาปรังพิเศษที่ขยายเพิ่มอีก 2.2 ล้านตันวงเงิน 3.2 หื่นล้านบาทก็ใกล้จะเต็มเพดานแล้วขณะที่ยังมีใบประทวนในมือเกษตรและมีข้าวที่เกษตรกรอ้างว่าฝากที่โรงสีอีกจำนวนหนึ่ง ทำให้คณะกรรมการระดับจังหวัดต้องเข้าไปตรวจข้อเท็จริงว่าเป็นข้าวของเกษตรกรจริงหรือไม่เพื่อป้องกันการสวมสิทธิมาเข้าโครงการ แต่อย่างไรก็ตามในวันที่ 9 ต.ค.นี้กระทรวงพาณิชย์ก็คงนำเรื่องเสนเข้าครม.เพื่อขอขยายเพดานการรับจำนำข้าวนาปรังพิเศษรอบ 2 อีกประมาณ ล้านกว่าตันใช้เงินอีกว่า 2.1 หมื่นล้านบาท
สำหรับสาเหตุที่มีปริมาณข้าวนาปรังออกมามากกว่าที่คาดาการณ์ไว้เดิม 11.11 ล้านตันใช้เงิน 1.6 แสล้าบาท ซึ่งหากรวมการขยายเพิ่มรอบ 2 นี้ก็อาจจะทะลุถึง 14 ล้านตันใช้เงินมากกว่า 2 แสนล้านบาท เนื่องจากเกษตรกรมีการทำนาปรัง 2 รอบหลังจากถูกน้ำท่วมปลายปีก่อน และบางพื้นที่เช่นภาคกลางและเหนือตอนล้างมีการทำนาได้ปริมาณข้าวมากขึ้นจากไร่ละ 60 ถังหรือ 80 ถังเป็น 100 ถัง ต่อไร่ทำให้ได้น้ำหนักมากขึ้น แต่ปีนี้ได้กำหนดชัดเจนแล้วว่าให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนำได้เพียงปีละ 2 ครั้งเท่านั้นจึงไม่น่าจะมีปัญหาปริมาณข้าวเพิ่มขึ้นเหมือนในปีนี้ที่รัฐบาลผ่อนผันให้
ทั้งนี้ ผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 มีปริมาณที่รับจำนำจำนวน 6.95 ล้านตัน คิดเป็นจำนวนเงิน 118,576 ล้านบาท จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1,142,587 ราย ส่วนโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2555 จนถึงมีจำนวน 12.52 ล้านตัน คิดเป็นจำนวนเงิน 185,303 ล้านบาท จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1,021,081 ราย แต่หากรวมการใช้เงินจำนำพืชผลการเกษตรอื่นด้วย จาก มันสำปะหลังอีก 2.7 หมื่นล้านบาท และยางพารา 1.4 หมื่นล้านบาทรวมรัฐบาลใช้เงินไปแล้ว 3.5 แสนล้านบาท รวมกับจำนำข้าวนาปีของปีนี้อีก 2.4 แสนล้านบาทก็จะเป็นเงินถึง 5.9 แสนล้านบาท