ASTVผู้จัดการรายวัน – สยามวาลาทุ่ม 500 ล้านบาท ฟื้นกำลังการผลิต พร้อมอัดงบไม่ต่ำกว่า 100 ล้าน รีล้อนช์แบรนด์ตราช้าง หวังขึ้นแท่นผู้นำแฟ้มเอกสารอีกครั้ง หลังน้ำท่วมปลายปีก่อนยอดวืด 80-90% มั่นใจสิ้นปีรายได้โตได้ 7-8% จาก 3,000 ล้านบาทในปีก่อน เผยเล็งสยายปีกเพิ่มฐานผลิตในประเทศเพื่อนบ้านรับเออีซีในอีก 1-2 ปีข้างหน้าเพิ่ม จากเดิมเปิดแล้วที่โปแลนด์และจีน
นายสุหฤท สยามวาลา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดี เอช เอ สยามวาลา จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงาน เปิดเผยว่า ช่วงปลายปีที่มีน้ำท่วมเกิดขึ้น ทางบริษัทได้รับผลกระทบอย่างหนัก จาก2โรงงานหลักที่นวนคร และโรจนะ มูลค่าความเสียหายรวมมากกว่า 800-900 ล้านบาท ส่งผลให้ตลอดช่วงปีที่ผ่านมา บริษัทใช้งบกว่า 500 ล้านบาท สำหรับนำเข้าเครื่องจักรใหม่ และอื่นๆ เพื่อให้สามารถกลับมาผลิตได้ 100% ในช่วงเดือนส.ค.ที่ผ่านมา พร้อมส่งให้เราเป็นท็อป3ในเอเชียที่สามารถผลิตกลุ่มแฟ้มเอกสาร ที่มียอดผลิตกว่า 40-50 ล้านเล่มต่อปีในขณะนี้ จากที่ผ่านมาอยู่ที่ 30 ล้านเล่ม
"ช่วงน้ำท่วมต.ค.-ธ.ค.ปีก่อน ยอดขายหายไปกว่า 80-90% เนื่องทั้ง2โรงงานหลักได้รับความเสียหายทั้งหมด ซึ่งทางบริษัทหันมาใช้การนำเข้าทดแทนไปก่อน และหลังจากนำเข้าเครื่องจักรเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ยอดขายก็เริ่มกลับมาดีขึ้น จนมาถึงเดือนส.ค.ที่ผ่านมา ที่สามารถรันการผลิตได้100%. มั่นใจว่าจะส่งผลให้ยอดขายรวมในสิ้นปีนี้ กลับมาเติบโตได้ 7-8% จาก 3,000 ล้านบาทที่ทำได้ในปีก่อน จากปกติบริษัทจะเติบโตราวปีละ10% ขึ้นไป ส่วนน้ำท่วมปีนี้ไม่น่ากังวล เชื่อว่าภาครัฐน่าจะมีแผนรับมือได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามก็มีแผนฉุกเฉินรองรับไว้แล้ว หากสถานการณ์น้ำไม่น่าไว้วางใจก็เตรียมเคลื่อนย้ายเครื่องจักรออกมาทันที"
อย่างไรก็ตามกลุ่มแบรนด์ตราช้าง ถือเป็นกลุ่มสินค้าที่สร้างรายได้หลักให้บริษัทปีละไม่ต่ำกว่า 1,200-1,300 ล้านบาท และจากน้ำท่วม ยอดขายแฟ้มเอกสารตราช้างกลับมียอดขายลดต่ำลง ซึ่งตราช้างเดิมครองความเป็นผู้นำในตลาดกว่า 70-80% จากมูลค่าตลาด 700-800 ล้านบาท ดังนั้นปีนี้บริษัทพร้อมใช้เม็ดเงินกว่า 100 ล้านบาท สำหรับรีลอนช์และทำการตลาดอย่างหนักเพื่อให้ตราช้างกลับมาครองความเป็นผู้นำอีกครั้ง พร้อมขยายเข้าสู่กลุ่มฐานลูกค้าใหม่ๆได้มากขึ้น ล่าสุดทุ่ม 10 ล้านบาท สำหรับผลิตชุดภาพยนตร์โฆษณาขึ้นด้วย มั่นใจว่าจะผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ตราช้างมีอัตราการเติบโตอย่างน้อย 15% ตลอด3-4ปีนี้ หรือในอีก3ปีข้างหน้า ตราช้างจะมีรายได้กว่า 2,000 ล้านบาทได้
นายสหฤท กล่าวต่อว่า สำหรับแผนการลงทุนหลังจากนี้นั้น ทางบริษัทต้องการเป็นรีจีนอลแบรนด์ในภูมิภาคนี้มากขึ้น ดังนั้นจึงมีแผนขยายการลงทุนเพิ่มฐานการผลิตในประเทศเพื่อนบ้านรับเออีซีที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยขณะนี้กำลังศึกษาความเป็นไปได้อยู่ว่าจะลงทุนในประเทศใด เพราะหลายๆประเทศมีความน่าสนใจแตกต่างกันไป โดยเฉพาะในอินโดนีเซียและพม่ามีความน่าสนใจมากสุด คาดว่าจะเห็นความคืบหน้าได้ในอีก 1-2ปีหลังจากนี้ จากปัจจุบันบริษัทมีฐานการผลิตในจีนโดยการร่วมทุน มูลค่าการลงทุน 80ล้านบาท ดำเนินการมาได้1ปีแล้ว ส่วนโปแลนด์ลงทุน 50 ล้านบาท เปิดมา 2 ปี ขณะนี้ถอนกำลังการผลิตออกมาก่อน เนื่องจากตลาดยุโรปและอเมริกากำลังมีปัญหาอยู่
นายสุหฤท สยามวาลา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดี เอช เอ สยามวาลา จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงาน เปิดเผยว่า ช่วงปลายปีที่มีน้ำท่วมเกิดขึ้น ทางบริษัทได้รับผลกระทบอย่างหนัก จาก2โรงงานหลักที่นวนคร และโรจนะ มูลค่าความเสียหายรวมมากกว่า 800-900 ล้านบาท ส่งผลให้ตลอดช่วงปีที่ผ่านมา บริษัทใช้งบกว่า 500 ล้านบาท สำหรับนำเข้าเครื่องจักรใหม่ และอื่นๆ เพื่อให้สามารถกลับมาผลิตได้ 100% ในช่วงเดือนส.ค.ที่ผ่านมา พร้อมส่งให้เราเป็นท็อป3ในเอเชียที่สามารถผลิตกลุ่มแฟ้มเอกสาร ที่มียอดผลิตกว่า 40-50 ล้านเล่มต่อปีในขณะนี้ จากที่ผ่านมาอยู่ที่ 30 ล้านเล่ม
"ช่วงน้ำท่วมต.ค.-ธ.ค.ปีก่อน ยอดขายหายไปกว่า 80-90% เนื่องทั้ง2โรงงานหลักได้รับความเสียหายทั้งหมด ซึ่งทางบริษัทหันมาใช้การนำเข้าทดแทนไปก่อน และหลังจากนำเข้าเครื่องจักรเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ยอดขายก็เริ่มกลับมาดีขึ้น จนมาถึงเดือนส.ค.ที่ผ่านมา ที่สามารถรันการผลิตได้100%. มั่นใจว่าจะส่งผลให้ยอดขายรวมในสิ้นปีนี้ กลับมาเติบโตได้ 7-8% จาก 3,000 ล้านบาทที่ทำได้ในปีก่อน จากปกติบริษัทจะเติบโตราวปีละ10% ขึ้นไป ส่วนน้ำท่วมปีนี้ไม่น่ากังวล เชื่อว่าภาครัฐน่าจะมีแผนรับมือได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามก็มีแผนฉุกเฉินรองรับไว้แล้ว หากสถานการณ์น้ำไม่น่าไว้วางใจก็เตรียมเคลื่อนย้ายเครื่องจักรออกมาทันที"
อย่างไรก็ตามกลุ่มแบรนด์ตราช้าง ถือเป็นกลุ่มสินค้าที่สร้างรายได้หลักให้บริษัทปีละไม่ต่ำกว่า 1,200-1,300 ล้านบาท และจากน้ำท่วม ยอดขายแฟ้มเอกสารตราช้างกลับมียอดขายลดต่ำลง ซึ่งตราช้างเดิมครองความเป็นผู้นำในตลาดกว่า 70-80% จากมูลค่าตลาด 700-800 ล้านบาท ดังนั้นปีนี้บริษัทพร้อมใช้เม็ดเงินกว่า 100 ล้านบาท สำหรับรีลอนช์และทำการตลาดอย่างหนักเพื่อให้ตราช้างกลับมาครองความเป็นผู้นำอีกครั้ง พร้อมขยายเข้าสู่กลุ่มฐานลูกค้าใหม่ๆได้มากขึ้น ล่าสุดทุ่ม 10 ล้านบาท สำหรับผลิตชุดภาพยนตร์โฆษณาขึ้นด้วย มั่นใจว่าจะผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ตราช้างมีอัตราการเติบโตอย่างน้อย 15% ตลอด3-4ปีนี้ หรือในอีก3ปีข้างหน้า ตราช้างจะมีรายได้กว่า 2,000 ล้านบาทได้
นายสหฤท กล่าวต่อว่า สำหรับแผนการลงทุนหลังจากนี้นั้น ทางบริษัทต้องการเป็นรีจีนอลแบรนด์ในภูมิภาคนี้มากขึ้น ดังนั้นจึงมีแผนขยายการลงทุนเพิ่มฐานการผลิตในประเทศเพื่อนบ้านรับเออีซีที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยขณะนี้กำลังศึกษาความเป็นไปได้อยู่ว่าจะลงทุนในประเทศใด เพราะหลายๆประเทศมีความน่าสนใจแตกต่างกันไป โดยเฉพาะในอินโดนีเซียและพม่ามีความน่าสนใจมากสุด คาดว่าจะเห็นความคืบหน้าได้ในอีก 1-2ปีหลังจากนี้ จากปัจจุบันบริษัทมีฐานการผลิตในจีนโดยการร่วมทุน มูลค่าการลงทุน 80ล้านบาท ดำเนินการมาได้1ปีแล้ว ส่วนโปแลนด์ลงทุน 50 ล้านบาท เปิดมา 2 ปี ขณะนี้ถอนกำลังการผลิตออกมาก่อน เนื่องจากตลาดยุโรปและอเมริกากำลังมีปัญหาอยู่