โรงเรียนประจำเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อใดไม่มีใครทราบ แต่ในอังกฤษมีมาเป็นร้อยๆ ปี นับว่าเป็นแหล่งอบรมบ่มนิสัยที่สำคัญมาก ผู้นำของอังกฤษส่วนใหญ่จบจากโรงเรียนประจำ รวมทั้งแม่ทัพคนสำคัญด้วย ถึงกับมีคำกล่าวว่านโปเลียนแพ้ในสนามของโรงเรียนอีตัน ก็เพราะบรรดาแม่ทัพนายกองทั้งหลายของอังกฤษต่างจบมาจากโรงเรียนอีตันทั้งสิ้น
โรงเรียนประจำมีระบบการศึกษาที่พิเศษอยู่อย่างหนึ่ง คือ ไม่ใช่มีแต่การเรียนทางวิชาการเท่านั้น แต่มีการสอนทักษะชีวิตอีกด้วย ทักษะชีวิตนี้เป็นสิ่งที่เด็กๆ ต่างเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะจะต้องใช้ชีวิตร่วมกัน นักเรียนมีอุปนิสัยใจคอที่ต่างกัน และต้องอยู่ร่วมกัน มีการดูแลปกครองกันเอง ดังนั้นแต่ละคนก็ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน เด็กเล็กๆ บางทีต้องเผชิญกับเด็กโตที่เกเร ดังนั้นก็ต้องรู้จักหลีกเลี่ยง หรือไม่ก็หารุ่นพี่คอยปกป้องดูแล
โรงเรียนประจำในอังกฤษจะมีประเพณีอยู่อย่างหนึ่งคือเด็กโตจะมีเด็กรับใช้หรือ “เบ๊” ที่วชิราวุธเรียกว่า “เด็กตู้” ที่อังกฤษเรียกว่า “Fag” เวลานี้หมดไปแล้ว แต่ก่อน “Fat” ต้องดูแลรับใช้เด็กโต ตั้งแต่ทำงานเล็กๆ น้อยๆ ให้ ที่วชิราวุธหน้าที่สำคัญก็คือ การซักเสื้อกีฬาหรือรองเท้ากีฬาให้ ตลอดจนวิ่งไปซื้อขนมให้พี่ๆ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักเรียนอีตัน ทรงเล่าว่าเด็กโตใช้ให้พระองค์ท่านทอดไส้กรอกให้ หากไม่พอใจก็จะเขกศีรษะเอา วันหนึ่งเสด็จอังกฤษทรงชี้ให้ผู้ติดตามดูว่า คนคนหนึ่งที่อยู่ในร้านอาหารเคยเขกพระเศียรพระองค์ท่าน
การที่เด็กๆ ต้องศึกษาอุปนิสัยของเด็กอื่นๆ ทั้งเด็กโตและเพื่อนๆ ทำให้เด็กรู้จักระมัดระวังตัว และจัดความสัมพันธ์ให้เหมาะสมจึงจะอยู่ได้ เพราะเด็กนักเรียนประจำต้องกินนอนร่วมกันตลอดเวลา
นักเรียนไป-มาเรียนเสร็จก็กลับบ้าน ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นในการรักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ เพราะเวลาที่พบกันเป็นระยะเวลาสั้นๆ ส่วนเด็กประจำนั้นมีกิจกรรมที่ต้องทำร่วมกันหลายอย่าง เช่น การร่วมสมาคมต่างๆ เช่น กีฬา โต้วาที และชมรมอื่นๆ นอกจากนั้นยังมีการทำกิจกรรมอื่นๆ อีก เช่น การจัดงาน การแสดงละคร เป็นต้น
ที่เมืองไทยมีวัฒนาวิทยาลัยเป็นโรงเรียนประจำสตรีที่มีชื่อเสียง มีนักเรียนหลายคนที่โตขึ้นมาแล้วเป็นผู้นำสตรี เพราะได้รับการฝึกฝนมาตั้งแต่เด็ก ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าก็มีภาวะผู้นำ ดังนั้นเราจึงเห็นนักเรียนประจำเป็นผู้นำสตรีจำนวนมาก
ที่โรงเรียนประจำ เด็กจะปกครองกันเอง แน่นอนว่าจะต้องมีการใช้อำนาจในทางที่ผิด แต่พวกเด็กโตก็ต้องรู้จักวางตัวให้เป็นที่นับถือเกรงขาม แทนที่จะปกครองโดยใช้กำลังแต่ถ่ายเดียว
ในโรงเรียนประจำจะมีธรรมเนียมของลูกผู้ชาย และการเป็นสุภาพบุรุษมีน้ำใจนักกีฬา กล่าวคือจะไม่รังแกผู้อ่อนแอกว่า พระยาภะรตราชา มักจะให้เด็กโตที่รังแกเด็กเล็กไปจับคู่ต่อยกับเด็กที่โตขนาดเดียวกัน
นักเรียนประจำมักจะมีชื่อเล่นที่เพื่อนตั้งให้ต่างไปจากชื่อที่บ้าน บางทีก็เรียกชื่อพ่อกัน เช่น ลูกนายทิม โชตนา เพื่อนจะเรียกว่า “ไอ้ทิม” เวลาไปเชียงใหม่พอเรียกไอ้ทิม ทั้งพ่อทั้งลูกก็จะหันมา ส่วนสรรพนามที่ใช้ก็คือภาษาสมัยพ่อขุนรามคำแหง เวลาพวกนี้เจอกันมักจะเรียกชื่อต้นว่า “เหี้ย” จนติดปาก
การเป็นนักเรียนประจำช่วยให้คนรู้จักเอาตัวรอด แต่ก็ให้เป็นคนที่สู้คนด้วย มิฉะนั้นก็จะถูกรังแกเรื่อยไป นอกจากนั้นก็ต้องมีความอดทนเพราะชีวิตโรงเรียนประจำมีความลำบาก รู้จักเอื้อเฟื้อแบ่งปันกัน ทำให้ไม่เป็นคนเห็นแก่ตัว
เวลานี้เหลือโรงเรียนประจำอยู่ไม่กี่แห่ง นับว่าโรงเรียนประจำเป็นแหล่งฝึกอุปนิสัยใจคอเด็กได้ดีกว่าอยู่บ้านเพราะต้อง “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ตลอดเวลา
โรงเรียนประจำมีระบบการศึกษาที่พิเศษอยู่อย่างหนึ่ง คือ ไม่ใช่มีแต่การเรียนทางวิชาการเท่านั้น แต่มีการสอนทักษะชีวิตอีกด้วย ทักษะชีวิตนี้เป็นสิ่งที่เด็กๆ ต่างเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะจะต้องใช้ชีวิตร่วมกัน นักเรียนมีอุปนิสัยใจคอที่ต่างกัน และต้องอยู่ร่วมกัน มีการดูแลปกครองกันเอง ดังนั้นแต่ละคนก็ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน เด็กเล็กๆ บางทีต้องเผชิญกับเด็กโตที่เกเร ดังนั้นก็ต้องรู้จักหลีกเลี่ยง หรือไม่ก็หารุ่นพี่คอยปกป้องดูแล
โรงเรียนประจำในอังกฤษจะมีประเพณีอยู่อย่างหนึ่งคือเด็กโตจะมีเด็กรับใช้หรือ “เบ๊” ที่วชิราวุธเรียกว่า “เด็กตู้” ที่อังกฤษเรียกว่า “Fag” เวลานี้หมดไปแล้ว แต่ก่อน “Fat” ต้องดูแลรับใช้เด็กโต ตั้งแต่ทำงานเล็กๆ น้อยๆ ให้ ที่วชิราวุธหน้าที่สำคัญก็คือ การซักเสื้อกีฬาหรือรองเท้ากีฬาให้ ตลอดจนวิ่งไปซื้อขนมให้พี่ๆ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักเรียนอีตัน ทรงเล่าว่าเด็กโตใช้ให้พระองค์ท่านทอดไส้กรอกให้ หากไม่พอใจก็จะเขกศีรษะเอา วันหนึ่งเสด็จอังกฤษทรงชี้ให้ผู้ติดตามดูว่า คนคนหนึ่งที่อยู่ในร้านอาหารเคยเขกพระเศียรพระองค์ท่าน
การที่เด็กๆ ต้องศึกษาอุปนิสัยของเด็กอื่นๆ ทั้งเด็กโตและเพื่อนๆ ทำให้เด็กรู้จักระมัดระวังตัว และจัดความสัมพันธ์ให้เหมาะสมจึงจะอยู่ได้ เพราะเด็กนักเรียนประจำต้องกินนอนร่วมกันตลอดเวลา
นักเรียนไป-มาเรียนเสร็จก็กลับบ้าน ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นในการรักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ เพราะเวลาที่พบกันเป็นระยะเวลาสั้นๆ ส่วนเด็กประจำนั้นมีกิจกรรมที่ต้องทำร่วมกันหลายอย่าง เช่น การร่วมสมาคมต่างๆ เช่น กีฬา โต้วาที และชมรมอื่นๆ นอกจากนั้นยังมีการทำกิจกรรมอื่นๆ อีก เช่น การจัดงาน การแสดงละคร เป็นต้น
ที่เมืองไทยมีวัฒนาวิทยาลัยเป็นโรงเรียนประจำสตรีที่มีชื่อเสียง มีนักเรียนหลายคนที่โตขึ้นมาแล้วเป็นผู้นำสตรี เพราะได้รับการฝึกฝนมาตั้งแต่เด็ก ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าก็มีภาวะผู้นำ ดังนั้นเราจึงเห็นนักเรียนประจำเป็นผู้นำสตรีจำนวนมาก
ที่โรงเรียนประจำ เด็กจะปกครองกันเอง แน่นอนว่าจะต้องมีการใช้อำนาจในทางที่ผิด แต่พวกเด็กโตก็ต้องรู้จักวางตัวให้เป็นที่นับถือเกรงขาม แทนที่จะปกครองโดยใช้กำลังแต่ถ่ายเดียว
ในโรงเรียนประจำจะมีธรรมเนียมของลูกผู้ชาย และการเป็นสุภาพบุรุษมีน้ำใจนักกีฬา กล่าวคือจะไม่รังแกผู้อ่อนแอกว่า พระยาภะรตราชา มักจะให้เด็กโตที่รังแกเด็กเล็กไปจับคู่ต่อยกับเด็กที่โตขนาดเดียวกัน
นักเรียนประจำมักจะมีชื่อเล่นที่เพื่อนตั้งให้ต่างไปจากชื่อที่บ้าน บางทีก็เรียกชื่อพ่อกัน เช่น ลูกนายทิม โชตนา เพื่อนจะเรียกว่า “ไอ้ทิม” เวลาไปเชียงใหม่พอเรียกไอ้ทิม ทั้งพ่อทั้งลูกก็จะหันมา ส่วนสรรพนามที่ใช้ก็คือภาษาสมัยพ่อขุนรามคำแหง เวลาพวกนี้เจอกันมักจะเรียกชื่อต้นว่า “เหี้ย” จนติดปาก
การเป็นนักเรียนประจำช่วยให้คนรู้จักเอาตัวรอด แต่ก็ให้เป็นคนที่สู้คนด้วย มิฉะนั้นก็จะถูกรังแกเรื่อยไป นอกจากนั้นก็ต้องมีความอดทนเพราะชีวิตโรงเรียนประจำมีความลำบาก รู้จักเอื้อเฟื้อแบ่งปันกัน ทำให้ไม่เป็นคนเห็นแก่ตัว
เวลานี้เหลือโรงเรียนประจำอยู่ไม่กี่แห่ง นับว่าโรงเรียนประจำเป็นแหล่งฝึกอุปนิสัยใจคอเด็กได้ดีกว่าอยู่บ้านเพราะต้อง “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ตลอดเวลา