พะเยา - ปธ.กมธ.สตรี ฯ แฉเองบางพื้นที่การเมืองแทรก-ซื้อเสียงเป็น กก.กองทุนสตรี ย้ำสมาชิกควรใช้ “สมอง” มีส่วนร่วมทางการเมือง ชูสตรีสนใจการเมืองมากกว่าชาย
วันนี้ (7 ก.ค.55) นางสาวอรุณี ชำนาญยา ประธานคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ สภาผู้แทนราษฎร ,ส.ส.พะเยา พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตนได้รับข้อมูลจากผู้นำสตรีบางจังหวัดว่า ในขั้นตอนของการเลือกตัวแทนสตรีเพื่อเป็นคณะกรรมการกองทุนฯ ระดับต่าง ๆ เกิดปัญหา เช่น มีการเมืองแทรกแซง โดยการล็อบบี้นอกรอบเพื่อให้ได้ผู้นำสตรีที่เป็นตัวแทนของนักการเมืองหรือกลุ่มการเมืองไปเป็น กก.กองทุนฯ ยิ่งไปกว่านั้นบางแห่งถึงขั้นมีการซื้อเสียง เพราะการเลือกตัวแทนสตรีเป็น กก.กองทุนฯ ผู้ที่จะร่วมคัดเลือกมาจากตัวแทนแต่ละระดับ ไม่ได้มีการเลือกตั้งเหมือนผู้แทนท้องถิ่น หรือ ส.ส. เมื่อมีตัวแทนมาร่วมเลือกซึ่งมีจำนวนไม่มาก จึงทำให้ง่ายต่อการล็อบบี้หรือซื้อเสียง
นางสาวอรุณี กล่าวต่อว่า ที่จริงแล้วการเลือกตัวแทนผู้นำสตรี เป็นการเลือกอย่างเปิดเผยด้วยการยกมือ ดังนั้นผู้ที่จะได้รับความไว้วางใจเป็น กก.กองทุน ฯ จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องความซื่อสัตย์ โปร่งใส และมีเวลาทำงานเพื่อส่วนรวม ไม่ใช่การมาเสาะแสวงหาผลประโยชน์ เนื่องจากกองทุน ฯ ไม่ได้กำหนดค่าตอบแทนของคนทำงาน หรือมีการจัดให้เงินแต่อย่างใด เงินที่รัฐบาลจะจัดสรรสนับสนุนให้แก่กองทุน ฯ เพื่อให้สตรีนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างอาชีพ พัฒนาศักยภาพ
ดังนั้น การที่จะได้มาซึ่งตัวแทนสตรีเพื่อมาทำหน้าที่ กก.กองทุน ฯ แต่ละระดับ ควรต้องพิจารณาถึงความเสียสละ จิตอาสา ซื่อสัตย์ โปร่งใส เป็นที่ตั้ง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีมีความสนใจการเมืองมากกว่าผู้ชาย เมื่อมีความสนใจจึงอยากร้องขอให้สตรีใช้ความคิด สมอง ในการทำงานด้วยสติ มีหลักและจุดยืนที่ชัดเจน ไม่ยึดติดผลประโยชน์ ซึ่งเชื่อว่ากองทุน ฯ จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่มสตรีอย่างแน่นอน
วันนี้ (7 ก.ค.55) นางสาวอรุณี ชำนาญยา ประธานคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ สภาผู้แทนราษฎร ,ส.ส.พะเยา พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตนได้รับข้อมูลจากผู้นำสตรีบางจังหวัดว่า ในขั้นตอนของการเลือกตัวแทนสตรีเพื่อเป็นคณะกรรมการกองทุนฯ ระดับต่าง ๆ เกิดปัญหา เช่น มีการเมืองแทรกแซง โดยการล็อบบี้นอกรอบเพื่อให้ได้ผู้นำสตรีที่เป็นตัวแทนของนักการเมืองหรือกลุ่มการเมืองไปเป็น กก.กองทุนฯ ยิ่งไปกว่านั้นบางแห่งถึงขั้นมีการซื้อเสียง เพราะการเลือกตัวแทนสตรีเป็น กก.กองทุนฯ ผู้ที่จะร่วมคัดเลือกมาจากตัวแทนแต่ละระดับ ไม่ได้มีการเลือกตั้งเหมือนผู้แทนท้องถิ่น หรือ ส.ส. เมื่อมีตัวแทนมาร่วมเลือกซึ่งมีจำนวนไม่มาก จึงทำให้ง่ายต่อการล็อบบี้หรือซื้อเสียง
นางสาวอรุณี กล่าวต่อว่า ที่จริงแล้วการเลือกตัวแทนผู้นำสตรี เป็นการเลือกอย่างเปิดเผยด้วยการยกมือ ดังนั้นผู้ที่จะได้รับความไว้วางใจเป็น กก.กองทุน ฯ จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องความซื่อสัตย์ โปร่งใส และมีเวลาทำงานเพื่อส่วนรวม ไม่ใช่การมาเสาะแสวงหาผลประโยชน์ เนื่องจากกองทุน ฯ ไม่ได้กำหนดค่าตอบแทนของคนทำงาน หรือมีการจัดให้เงินแต่อย่างใด เงินที่รัฐบาลจะจัดสรรสนับสนุนให้แก่กองทุน ฯ เพื่อให้สตรีนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างอาชีพ พัฒนาศักยภาพ
ดังนั้น การที่จะได้มาซึ่งตัวแทนสตรีเพื่อมาทำหน้าที่ กก.กองทุน ฯ แต่ละระดับ ควรต้องพิจารณาถึงความเสียสละ จิตอาสา ซื่อสัตย์ โปร่งใส เป็นที่ตั้ง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีมีความสนใจการเมืองมากกว่าผู้ชาย เมื่อมีความสนใจจึงอยากร้องขอให้สตรีใช้ความคิด สมอง ในการทำงานด้วยสติ มีหลักและจุดยืนที่ชัดเจน ไม่ยึดติดผลประโยชน์ ซึ่งเชื่อว่ากองทุน ฯ จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่มสตรีอย่างแน่นอน