ASTVผู้จัดการรายวัน- "คำนูณ" งัดมาตรา 179 จี้รัฐบาลเปิดประชุมร่วมรัฐสภา ถกรายงานคอป. ขณะที่ปลัดยุติธรรมโพสต์เฟซบุ๊ก "ขอโอกาสประเทศไทย...ให้ปรองดองเริ่มต้น" ด้านปชป. งัด สมุดปกขาวทนายแม้ว ยืนยันมีชายชุดดำ ฆ่าทหาร อัด"ธาริต"เลิกใช้วิธีหมาหมู่ รุมกัด"มาร์ค-เทือก" ขณะที่ "ประยุทธ์" วอนอย่าด่วนสรุปทหารผิด หลัง ดีเอสไอ แจงเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง 11 ศพ เหตุกระชับพื้นที่ปี 53
ในการประชุมวุฒิสภา เมื่อวานนี้ (24ก.ย.) ช่วงก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้หารือต่อที่ประชุม ถึงผลสรุปรายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ว่า มีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ออกมาคัดค้าน จึงขอฝากรัฐบาล และนายกรัฐมนตรีว่า แม้ คอป.จะตั้งขึ้นสมัยรัฐบาลก่อนหน้านี้ แต่รัฐบาลชุดนี้ก็ให้การยอมรับ และได้บรรจุอยู่ในนโยบายของรัฐบาล ที่ผ่านมารัฐบาลเคยทำตามข้อเสนอของ คอป. มาแล้ว อย่างน้อยคือการเยียวยาผู้สูญเสียตามนโยบายเร่งด่วน ดังนั้นรัฐบาลต้องนำรายงานคอป.ไปศึกษา ส่วนจะปฏิบัติตามได้หรือไม่ แต่อย่างน้อยควรรายงานให้รัฐสภาทราบ หรือจะเปิดประชุมรัฐสภา เพื่ออภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 179 ก็จะเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะเปิดโอกาสให้รายงานฉบับอื่น ของคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ ได้เข้ามาเปรียบเทียบด้วย
ขณะที่ นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส.ว.สรรหา รองประธานคณะกรรมการเพื่อติดตามสถานการณ์บ้านเมือง กล่าวว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากถึงรายงาน คอป. จึงขอฝากไปยังรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ในรายงานมีข้อเท็จจริงอยู่ 2 ส่วน คือ 1.ในส่วนของข้อเท็จจริงที่ได้จากการตรวจสอบ 2. ความคิดเห็นที่มีอยู่ 2 ส่วน คือ ความคิดเห็นที่มีต่อข้อเท็จจริงเหล่านั้น และความคิดเห็นที่เป็นข้อเสนอแนะ ถ้าจะพิจารณาให้ดีในส่วนข้อเท็จจริงบางเรื่อง อาจไม่มีหลักฐานในการเชื่อมโยง แต่เป็นเพียงความคิดเห็นที่ได้จากการสรุปของคณะกรรมการ ส่วนความคิดเห็นในข้อเสนอแนะ ตนคิดว่าส่วนนี้เป็นข้อเสนอที่น่ารับฟัง อยากให้รัฐบาลนำข้อเสนอในส่วนนี้ไปปฏิบัติ ตนเห็นว่าถ้าใช้สติ และไม่มีอคติในการอ่านรายงานของคอป. เชื่อว่าคนที่อ่านรายงานแล้วจะรับฟังรายงานดังกล่าวได้ ถ้ารัฐบาลอยากเห็นความปรองดอง ต้องเร่งดำเนินการ ในสิ่งที่คอป. นำเสนอ
**ปลัดยุติธรรมขอโอกาสประเทศไทย
นายกิตติพงษ์ กิติยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะคณะกรรมการ คอป. ได้โพสต์บทความ เรื่อง ขอโอกาสประเทศไทย...ให้กระบวนการปรองดองได้เริ่มต้น ลงบนหน้าเว็บเพจ ชื่อว่า Kittipong Kittayarak โดยเนื้อหาระบุว่า ความสนใจที่สาธารณชนและผู้ทีเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทุกฝ่ายได้ให้กับรายงานฉบับสมบูรณ์ของ คอป. ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่ แสดงให้เห็นว่า สังคมไทยต้องการความปรองดอง การออกมาวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบ ถือเป็นเรื่องปกติที่คาดหมายได้ล่วงหน้าอยู่แล้ว โดยเฉพาะเมื่อคำนึงว่าประเทศไทยของเรายังอยู่ในบรรยากาศของความขัดแย้ง และอาจกล่าวได้ว่า คอป. ของประเทศไทยเป็น “คณะกรรมการค้นหาความจริงเพื่อความปรองดอง” หรือ “Truth and Reconciliation หรือ TRC” ชุดแรกของโลกที่ถูกตั้งขึ้นมาในท่ามกลางความขัดแย้ง ต่างจากประเทศอื่นๆ ซึ่งตั้ง TRC ขึ้นเมื่อความขัดแย้งยุติแล้ว และทุกฝ่ายในความขัดแย้งต่างต้องการแสวงหาความปรองดอง และต่างทราบดีว่า การค้นหาความจริงที่เกิดขึ้นในเหตุความรุนแรง และสาเหตุของความขัดแย้งเป็นจุดเริ่มต้นในการนำสังคมสู่ความปรองดอง เพราะความจริงดังกล่าวจะนำไปใช้ในการกำหนดความรับผิดชอบที่เหมาะสมของผู้เกี่ยวข้องภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งและ เยียวยาเหยื่อความรุนแรงทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม อีกทั้งยังเป็นโอกาสในการนำเอาสาเหตุความรุนแรงมาศึกษาเป็นบทเรียนเพื่อป้องกันมิให้ความรุนแรงเกิดขึ้นอีกในอนาคต (อ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ใน www.facebook.com/Kittipong.Kittayarak)
** "ทนายแม้ว"ยังยอมรับมีชายชุดดำ
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ได้นำบางส่วนจากรายงานสมุดปกขาว ของโรเบิร์ต อัมเสตอร์ดัม ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ใช้ชื่อว่า การสังหารหมู่ที่กรุงเทพ ข้อเรียกร้องต่อการแสดงความรับผิดชอบ มีเนื้อหากล่าวหารัฐบาลอภิสิทธิ์ หลังจากที่นายโรเบิร์ต ออกมาปฏิเสธไม่มีชายชุดดำ โดยระบุว่าในหน้าที่ 44 ของสมุดปกขาว ระบุว่า
"คนจำนวนมากถูกสังหารในช่วงที่เกิดเหตุรุนแรง วันที่ 10 เมษายน ขณะที่เสื้อแดงใช้ก้อนหิน ประทัด ระเบิดขวด และอาวุธที่ประกอบขึ้นเองอย่างง่าย ๆ ตอบโต้กับกองกำลังทหารที่ติดอาวุธหนัก เมื่อรัฐบาลยอมหยุดยิง มีผู้เสียชีวิต 27 คน ประกอบด้วยสมาชิก นปช. 21 ราย และเจ้าหน้าที่ทหารอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งถูกสังหารโดยกลุ่มคนลึกลับที่เรียกว่า “ชายชุดดำ” ซึ่งยังไม่ชัดเจนเรื่องแรงจูงใจ และไม่ทราบว่าอยู่ฝ่ายใด" จะเห็นได้ว่า แม้แต่ในรายงานที่พยายามปรักปรำรัฐบาลที่แล้ว ก็ยังหนีความจริงไม่ได้ว่า ชายชุดดำ คือคนที่สังหารทหารที่สี่แยกคอกวัว จึงเรียกร้องว่า เมื่อนักวิชาการแดงและนายโรเบิร์ต ยังยอมรับว่ามีชายชุดดำ ก็ไม่ควรออกมาปฏิเสธอีก แต่ต้องให้ดีเอสไอ เดินหน้าทำงานหาชายชุดดำ ว่าเป็นใคร ไม่ใช่แค่เดินตามเกมการเมือง และถ้ารัฐบาลจริงใจต้องเดินหน้าคดีที่เกี่ยวข้องกับทุกศพ เพราะหลายศพไม่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่
**อัด'ธาริต'จ้องเอาผิด"มาร์ค-เทือก"
นายราเมศร์ รัตนเชวง ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การไต่สวนการชันสูตรพลิกศพกรณี นายพัน คำกอง ซึ่งมีการบิดเบือนข้อเท็จจริง มุ่งเอาผิดกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ โดยมีการตั้งธงล่วงหน้าเอาผิดเพื่อเป็นเงื่อนไขออกกฎหมายล้างผิดให้คนบางกลุ่ม
นายราเมศร์ กล่าวว่า ถ้านายธาริต จะตั้งข้อหานายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ให้เป็นจำเลย ก็เพื่อเป็นเงื่อนไขออกกฎหมายล้างผิดให้คนโกง จึงอยากเตือนนายธาริตว่า ต้องอย่าลืมหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด อย่าลืมความถูกต้อง อย่าใช้กระบวนการหมาหมู่เอาผิดนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ไม่เช่นนั้นองค์กรจะเสื่อมถอย และนายธาริตเอง ก็จะล้มละลายทางความน่าเชื่อถือ เพราะหลักที่จะทำให้บ้านเมืองสงบสุข ต้องอยู่บนพื้นฐานความถูกต้อง ยึดหลักกฎหมาย พูดความจริง ถ้าไม่ได้รับความเป็นธรรม เชื่อว่าจะเกิดการต่อสู้มากขึ้น ขอให้นายธาริต เลือกจะเกษียณอายุราชการอย่างมีความสุข หรือมีความทุกข์ การทำตามนโยบายฝ่ายการเมือง ต้องยึดหลักกฎหมาย และความถูกต้อง อย่าหลับหูหลับตารับใช้ จนลืมความถูกต้อง
** ผบ.ทบ.กร้าวอย่าด่วนสรุปทหารผิด
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ออกมาระบุว่า ผู้เสียชีวิต 11 ศพ จากเหตุการณ์กระชับพื้นที่ช่วงปี 53 เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้ารัฐ ว่า ต้องไปถามศาล เพราะคดีนี้ยังไม่ได้ขึ้นศาลเลย ต้องรอให้ศาลตัดสินก่อน ในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติงาน ก็มีกฎหมายคุ้มครอง แต่ก็ยังไม่ให้พูดถึงตรงนั้น เพราะเป็นการทำงานของเจ้าหน้าที่
ขณะนี้ขั้นตอนอยู่ระหว่างการไต่สวน ต้องแยกให้ออกเป็น 2 ขั้นตอน ส่วนจะผิดหรือไม่ผิด ยังไม่พูด อย่ามาโทษว่าผิด หรือไม่ผิด ก็จะต้องไปว่ากันในขั้นตอนของศาล จะต้องไปสู้กันต่อ ฝ่ายผู้เสียหายก็มี ใครมีพยานหลักฐานอะไรก็ว่ากันมา ผิดก็ว่าไปตามผิด ใครผิดก็จะต้องรับผิด หากถูกก็จะต้องไปหาคนทำผิดใหม่ ต้องค่อย ๆ ว่ามา เพราะมีอยู่ทุกพวก และจะต้องค่อย ๆ แก้ไขปัญหาไป กองทัพบก จะต้องดูแลกำลังพล และปกป้องชื่อเสียงของกองทัพเหมือนกันอะไรที่ไม่ชัดเจนอย่าเพิ่งไปสรุป
ในการประชุมวุฒิสภา เมื่อวานนี้ (24ก.ย.) ช่วงก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้หารือต่อที่ประชุม ถึงผลสรุปรายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ว่า มีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ออกมาคัดค้าน จึงขอฝากรัฐบาล และนายกรัฐมนตรีว่า แม้ คอป.จะตั้งขึ้นสมัยรัฐบาลก่อนหน้านี้ แต่รัฐบาลชุดนี้ก็ให้การยอมรับ และได้บรรจุอยู่ในนโยบายของรัฐบาล ที่ผ่านมารัฐบาลเคยทำตามข้อเสนอของ คอป. มาแล้ว อย่างน้อยคือการเยียวยาผู้สูญเสียตามนโยบายเร่งด่วน ดังนั้นรัฐบาลต้องนำรายงานคอป.ไปศึกษา ส่วนจะปฏิบัติตามได้หรือไม่ แต่อย่างน้อยควรรายงานให้รัฐสภาทราบ หรือจะเปิดประชุมรัฐสภา เพื่ออภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 179 ก็จะเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะเปิดโอกาสให้รายงานฉบับอื่น ของคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ ได้เข้ามาเปรียบเทียบด้วย
ขณะที่ นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส.ว.สรรหา รองประธานคณะกรรมการเพื่อติดตามสถานการณ์บ้านเมือง กล่าวว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากถึงรายงาน คอป. จึงขอฝากไปยังรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ในรายงานมีข้อเท็จจริงอยู่ 2 ส่วน คือ 1.ในส่วนของข้อเท็จจริงที่ได้จากการตรวจสอบ 2. ความคิดเห็นที่มีอยู่ 2 ส่วน คือ ความคิดเห็นที่มีต่อข้อเท็จจริงเหล่านั้น และความคิดเห็นที่เป็นข้อเสนอแนะ ถ้าจะพิจารณาให้ดีในส่วนข้อเท็จจริงบางเรื่อง อาจไม่มีหลักฐานในการเชื่อมโยง แต่เป็นเพียงความคิดเห็นที่ได้จากการสรุปของคณะกรรมการ ส่วนความคิดเห็นในข้อเสนอแนะ ตนคิดว่าส่วนนี้เป็นข้อเสนอที่น่ารับฟัง อยากให้รัฐบาลนำข้อเสนอในส่วนนี้ไปปฏิบัติ ตนเห็นว่าถ้าใช้สติ และไม่มีอคติในการอ่านรายงานของคอป. เชื่อว่าคนที่อ่านรายงานแล้วจะรับฟังรายงานดังกล่าวได้ ถ้ารัฐบาลอยากเห็นความปรองดอง ต้องเร่งดำเนินการ ในสิ่งที่คอป. นำเสนอ
**ปลัดยุติธรรมขอโอกาสประเทศไทย
นายกิตติพงษ์ กิติยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะคณะกรรมการ คอป. ได้โพสต์บทความ เรื่อง ขอโอกาสประเทศไทย...ให้กระบวนการปรองดองได้เริ่มต้น ลงบนหน้าเว็บเพจ ชื่อว่า Kittipong Kittayarak โดยเนื้อหาระบุว่า ความสนใจที่สาธารณชนและผู้ทีเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทุกฝ่ายได้ให้กับรายงานฉบับสมบูรณ์ของ คอป. ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่ แสดงให้เห็นว่า สังคมไทยต้องการความปรองดอง การออกมาวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบ ถือเป็นเรื่องปกติที่คาดหมายได้ล่วงหน้าอยู่แล้ว โดยเฉพาะเมื่อคำนึงว่าประเทศไทยของเรายังอยู่ในบรรยากาศของความขัดแย้ง และอาจกล่าวได้ว่า คอป. ของประเทศไทยเป็น “คณะกรรมการค้นหาความจริงเพื่อความปรองดอง” หรือ “Truth and Reconciliation หรือ TRC” ชุดแรกของโลกที่ถูกตั้งขึ้นมาในท่ามกลางความขัดแย้ง ต่างจากประเทศอื่นๆ ซึ่งตั้ง TRC ขึ้นเมื่อความขัดแย้งยุติแล้ว และทุกฝ่ายในความขัดแย้งต่างต้องการแสวงหาความปรองดอง และต่างทราบดีว่า การค้นหาความจริงที่เกิดขึ้นในเหตุความรุนแรง และสาเหตุของความขัดแย้งเป็นจุดเริ่มต้นในการนำสังคมสู่ความปรองดอง เพราะความจริงดังกล่าวจะนำไปใช้ในการกำหนดความรับผิดชอบที่เหมาะสมของผู้เกี่ยวข้องภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งและ เยียวยาเหยื่อความรุนแรงทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม อีกทั้งยังเป็นโอกาสในการนำเอาสาเหตุความรุนแรงมาศึกษาเป็นบทเรียนเพื่อป้องกันมิให้ความรุนแรงเกิดขึ้นอีกในอนาคต (อ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ใน www.facebook.com/Kittipong.Kittayarak)
** "ทนายแม้ว"ยังยอมรับมีชายชุดดำ
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ได้นำบางส่วนจากรายงานสมุดปกขาว ของโรเบิร์ต อัมเสตอร์ดัม ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ใช้ชื่อว่า การสังหารหมู่ที่กรุงเทพ ข้อเรียกร้องต่อการแสดงความรับผิดชอบ มีเนื้อหากล่าวหารัฐบาลอภิสิทธิ์ หลังจากที่นายโรเบิร์ต ออกมาปฏิเสธไม่มีชายชุดดำ โดยระบุว่าในหน้าที่ 44 ของสมุดปกขาว ระบุว่า
"คนจำนวนมากถูกสังหารในช่วงที่เกิดเหตุรุนแรง วันที่ 10 เมษายน ขณะที่เสื้อแดงใช้ก้อนหิน ประทัด ระเบิดขวด และอาวุธที่ประกอบขึ้นเองอย่างง่าย ๆ ตอบโต้กับกองกำลังทหารที่ติดอาวุธหนัก เมื่อรัฐบาลยอมหยุดยิง มีผู้เสียชีวิต 27 คน ประกอบด้วยสมาชิก นปช. 21 ราย และเจ้าหน้าที่ทหารอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งถูกสังหารโดยกลุ่มคนลึกลับที่เรียกว่า “ชายชุดดำ” ซึ่งยังไม่ชัดเจนเรื่องแรงจูงใจ และไม่ทราบว่าอยู่ฝ่ายใด" จะเห็นได้ว่า แม้แต่ในรายงานที่พยายามปรักปรำรัฐบาลที่แล้ว ก็ยังหนีความจริงไม่ได้ว่า ชายชุดดำ คือคนที่สังหารทหารที่สี่แยกคอกวัว จึงเรียกร้องว่า เมื่อนักวิชาการแดงและนายโรเบิร์ต ยังยอมรับว่ามีชายชุดดำ ก็ไม่ควรออกมาปฏิเสธอีก แต่ต้องให้ดีเอสไอ เดินหน้าทำงานหาชายชุดดำ ว่าเป็นใคร ไม่ใช่แค่เดินตามเกมการเมือง และถ้ารัฐบาลจริงใจต้องเดินหน้าคดีที่เกี่ยวข้องกับทุกศพ เพราะหลายศพไม่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่
**อัด'ธาริต'จ้องเอาผิด"มาร์ค-เทือก"
นายราเมศร์ รัตนเชวง ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การไต่สวนการชันสูตรพลิกศพกรณี นายพัน คำกอง ซึ่งมีการบิดเบือนข้อเท็จจริง มุ่งเอาผิดกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ โดยมีการตั้งธงล่วงหน้าเอาผิดเพื่อเป็นเงื่อนไขออกกฎหมายล้างผิดให้คนบางกลุ่ม
นายราเมศร์ กล่าวว่า ถ้านายธาริต จะตั้งข้อหานายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ให้เป็นจำเลย ก็เพื่อเป็นเงื่อนไขออกกฎหมายล้างผิดให้คนโกง จึงอยากเตือนนายธาริตว่า ต้องอย่าลืมหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด อย่าลืมความถูกต้อง อย่าใช้กระบวนการหมาหมู่เอาผิดนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ไม่เช่นนั้นองค์กรจะเสื่อมถอย และนายธาริตเอง ก็จะล้มละลายทางความน่าเชื่อถือ เพราะหลักที่จะทำให้บ้านเมืองสงบสุข ต้องอยู่บนพื้นฐานความถูกต้อง ยึดหลักกฎหมาย พูดความจริง ถ้าไม่ได้รับความเป็นธรรม เชื่อว่าจะเกิดการต่อสู้มากขึ้น ขอให้นายธาริต เลือกจะเกษียณอายุราชการอย่างมีความสุข หรือมีความทุกข์ การทำตามนโยบายฝ่ายการเมือง ต้องยึดหลักกฎหมาย และความถูกต้อง อย่าหลับหูหลับตารับใช้ จนลืมความถูกต้อง
** ผบ.ทบ.กร้าวอย่าด่วนสรุปทหารผิด
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ออกมาระบุว่า ผู้เสียชีวิต 11 ศพ จากเหตุการณ์กระชับพื้นที่ช่วงปี 53 เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้ารัฐ ว่า ต้องไปถามศาล เพราะคดีนี้ยังไม่ได้ขึ้นศาลเลย ต้องรอให้ศาลตัดสินก่อน ในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติงาน ก็มีกฎหมายคุ้มครอง แต่ก็ยังไม่ให้พูดถึงตรงนั้น เพราะเป็นการทำงานของเจ้าหน้าที่
ขณะนี้ขั้นตอนอยู่ระหว่างการไต่สวน ต้องแยกให้ออกเป็น 2 ขั้นตอน ส่วนจะผิดหรือไม่ผิด ยังไม่พูด อย่ามาโทษว่าผิด หรือไม่ผิด ก็จะต้องไปว่ากันในขั้นตอนของศาล จะต้องไปสู้กันต่อ ฝ่ายผู้เสียหายก็มี ใครมีพยานหลักฐานอะไรก็ว่ากันมา ผิดก็ว่าไปตามผิด ใครผิดก็จะต้องรับผิด หากถูกก็จะต้องไปหาคนทำผิดใหม่ ต้องค่อย ๆ ว่ามา เพราะมีอยู่ทุกพวก และจะต้องค่อย ๆ แก้ไขปัญหาไป กองทัพบก จะต้องดูแลกำลังพล และปกป้องชื่อเสียงของกองทัพเหมือนกันอะไรที่ไม่ชัดเจนอย่าเพิ่งไปสรุป