ในการประชุมวุฒิสภาสัปดาห์นี้ จะมีวาระการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เพื่อปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ.2551 หลังจากที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาเพื่อปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ.2551 พิจารณาแล้วเสร็จ สำหรับสาระของการแก้ไขที่น่าจับตา คือ ในส่วนของการออกเสียงลงคะแนน ด้วยวิธีลับ ได้ระบุให้ ส.ว. ลงลายมือชื่อในใบลงคะแนนด้วย จากเดิมที่ไม่ได้มีการกำหนดไว้, การเพิ่มจำนวนคณะกรรมาธิการสามัญ (กมธ.) เป็น 23 คณะ จากเดิม 22 คณะ โดยเพิ่มกมธ.ตรวจรายงานการประชุมและติดตามมติของวุฒิสภา
นอกจากนี้ ได้มีการแก้ไข หมวดว่า ด้วยการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 270 โดยขยายเวลาการส่งเรื่องถอดถอนไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็น30 วัน จากเดิมที่กำหนดให้ภายใน 15 วันหลังจากได้รับคำร้องถอดถอน ทั้งนี้เพื่อให้เวลาตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อที่ยื่นถอดถอน ถ้าหากไม่สามารถตรวจสอบได้ทันสามารถขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 30 วัน รวมถึงการเพิ่มเวลาในขั้นตอนการพิจารณาถอดถอนด้วย
นอกจากนั้นแล้ว ยังจะมีการพิจารณาญัตติแก้ไขปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของ ส.ว. และกรรมาธิการ พ.ศ.2553 เบื้องต้นมีข้อกำหนดที่เพิ่มเติมไปยังคู่สมรส บุตรของส.ว. ที่ห้ามรับเงิน หรือผลประโยชน์อื่น หรือ เป็นพิเศษ รวมถึงการเข้าไปคู่สัญญากับรัฐ หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ตลอดจน ไม่ไปก้าวก่าย แทรกแซง หรือ รับสัมปทานจากรัฐ หน่วยงานราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ ทั้งนี่หากพบการกระทำที่ฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม กำหนดให้คณะกรรมการจริยธรม เป็นผู้พิจารณาเรื่อง ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน จากนั้นส่งเรื่องให้ประธานวุฒิสภา เพื่อให้บรรจุเข้าสู่ที่ประชุมวุฒิสภา หากที่ประชุมวุฒิสภาเห็นว่ามีข้อเท็จจริงอันควรเชื่อได้ว่า ส.ว. หรือ กรรมาธิการใดฝ่าฝืนข้อบังคับ ให้มีการลงมติว่ากล่าวตักเรือน หรือ ตำหนิ เป็นลายลักษ์อักษร หรือประณามให้เป็นที่ประจักษ์ และส่งเรื่องให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรับทราบ แต่หากเป็นกรณีที่ฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง อันเป็นเหตุให้ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง ให้ส่งเรื่องไปยังผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณา แล้วส่งเรื่องให้ ป.ป.ช.ดำเนินการตามมาตรา 279 ของรัฐธรรมนูญต่อไป
มีรายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับวาระการเสนอแก้ไขดังกล่าว ในสัปดาห์หน้าอาจยังไม่สามารถพิจารณาได้ เนื่องจากมีวาระกฎหมายอื่นๆอีกมากที่รอการพิจารณาอยู่ ทั้งนี้โดยเฉพาะประเด็นการแก้ไขประมวลจริยธรรมของส.ว.นั้น สมาชิกส่วนใหญ่มองว่ายังมีข้อกังหาอีกมากจึงยังไม่พร้อมที่จะร่วมกันพิจารณาจึงได้ขอเวลาศึกษาเรื่องนี้ก่อน เนื่องจากเป็นการออกข้อบังคับที่เข้มงวดถ้ามีการนำมาใช้จริงแม้แต่คู่สมรสและบุตรหากจะทำธุรกิจอย่างใดก็ต้องมีการรายงานให้วุฒิสภาทราบตลอดเวลา วาระการประชุมดังกล่าวจริงอาจจะมีสมาชิกขอเสนอแทรกหรือเลื่อนวาระนี้ออกไปก่อน
นอกจากนี้ ได้มีการแก้ไข หมวดว่า ด้วยการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 270 โดยขยายเวลาการส่งเรื่องถอดถอนไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็น30 วัน จากเดิมที่กำหนดให้ภายใน 15 วันหลังจากได้รับคำร้องถอดถอน ทั้งนี้เพื่อให้เวลาตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อที่ยื่นถอดถอน ถ้าหากไม่สามารถตรวจสอบได้ทันสามารถขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 30 วัน รวมถึงการเพิ่มเวลาในขั้นตอนการพิจารณาถอดถอนด้วย
นอกจากนั้นแล้ว ยังจะมีการพิจารณาญัตติแก้ไขปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของ ส.ว. และกรรมาธิการ พ.ศ.2553 เบื้องต้นมีข้อกำหนดที่เพิ่มเติมไปยังคู่สมรส บุตรของส.ว. ที่ห้ามรับเงิน หรือผลประโยชน์อื่น หรือ เป็นพิเศษ รวมถึงการเข้าไปคู่สัญญากับรัฐ หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ตลอดจน ไม่ไปก้าวก่าย แทรกแซง หรือ รับสัมปทานจากรัฐ หน่วยงานราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ ทั้งนี่หากพบการกระทำที่ฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม กำหนดให้คณะกรรมการจริยธรม เป็นผู้พิจารณาเรื่อง ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน จากนั้นส่งเรื่องให้ประธานวุฒิสภา เพื่อให้บรรจุเข้าสู่ที่ประชุมวุฒิสภา หากที่ประชุมวุฒิสภาเห็นว่ามีข้อเท็จจริงอันควรเชื่อได้ว่า ส.ว. หรือ กรรมาธิการใดฝ่าฝืนข้อบังคับ ให้มีการลงมติว่ากล่าวตักเรือน หรือ ตำหนิ เป็นลายลักษ์อักษร หรือประณามให้เป็นที่ประจักษ์ และส่งเรื่องให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรับทราบ แต่หากเป็นกรณีที่ฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง อันเป็นเหตุให้ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง ให้ส่งเรื่องไปยังผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณา แล้วส่งเรื่องให้ ป.ป.ช.ดำเนินการตามมาตรา 279 ของรัฐธรรมนูญต่อไป
มีรายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับวาระการเสนอแก้ไขดังกล่าว ในสัปดาห์หน้าอาจยังไม่สามารถพิจารณาได้ เนื่องจากมีวาระกฎหมายอื่นๆอีกมากที่รอการพิจารณาอยู่ ทั้งนี้โดยเฉพาะประเด็นการแก้ไขประมวลจริยธรรมของส.ว.นั้น สมาชิกส่วนใหญ่มองว่ายังมีข้อกังหาอีกมากจึงยังไม่พร้อมที่จะร่วมกันพิจารณาจึงได้ขอเวลาศึกษาเรื่องนี้ก่อน เนื่องจากเป็นการออกข้อบังคับที่เข้มงวดถ้ามีการนำมาใช้จริงแม้แต่คู่สมรสและบุตรหากจะทำธุรกิจอย่างใดก็ต้องมีการรายงานให้วุฒิสภาทราบตลอดเวลา วาระการประชุมดังกล่าวจริงอาจจะมีสมาชิกขอเสนอแทรกหรือเลื่อนวาระนี้ออกไปก่อน