พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง กล่าวถึงการหารือร่วมกันระหว่างรัฐบาล และฝ่ายค้านในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 18 ก.ย.ที่ผ่านมาว่า นายกรัฐมนตรีพอใจภาพรวมการมาก และพร้อมรับข้อเสนอ ไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไข ในส่วนที่เป็นความคิดเห็นในแนวทางที่ดีต่อไป ส่วนข้อเสนอ 9 ข้อของฝ่ายค้านนายกฯ ก็ได้กล่าวนำไปแล้วว่า ขอให้การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้เป็นวาระแห่งชาติ ทุกฝ่ายจะต้องมาร่วมมือกันแก้ไข
สำหรับกรณีที่ฝ่ายค้านต้องการให้ยกเลิกการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปก.จชต.) นั้น เราได้ชี้แจงกับฝ่ายค้านแล้ว ซึ่งก็ต้องลองดูว่า การจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวจะได้ผลหรือไม่ แต่ทุกคนคิดว่าได้ผล ทางกอ.รมน. ภาค 4 และ ศอ.บต. ก็อยากให้มี เพราะการที่จะให้ ศอ.บต.ไปผลักดันแต่ละกระทรวง มันกว้างเกินไป น่าจะใช้ ศปก.จชต. เป็นตัวผลักดันแต่ละกระทรวงที่ทำงานล่าช้าจะดีกว่า เช่นเดียวกับในส่วนข้อเสนอที่ฝ่ายค้านอยากให้นายกฯ เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงนั้น เราก็ได้อธิบายว่า นายกฯก็เป็นผู้บังคับบัญชาใน ศปก.จชต. อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม สำหรับขั้นตอนการจัดตั้ง ศปก.จชต. ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงเสนอนายกฯ คิดว่าภายใน 2 วัน คงเรียบร้อย
"ข้อเสนอ 9 ข้อของฝ่ายค้าน ทางรัฐบาลก็รับฟัง ซึ่งบางเรื่องเราได้ทำอยู่แล้ว ส่วนข้อปลีกย่อยต่างๆ จะทบทวนอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ มี 2-3 เรื่อง ที่แตกต่างกับยุทธศาสตร์ของรัฐบาล เช่น เขตปกครองพิเศษ และการเลือกตั้งผู้ว่าราชการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งในยุทธศาสตร์ของรัฐบาลไม่มี และฝ่ายค้านเองก็ไม่เห็นด้วยที่จะให้ทำ ทั้งนี้ สำหรับข้อเสนอของฝ่ายค้าน เป็นประโยชน์ต่อหลายฝ่าย โดยเฉพาะส.ส.ภาคใต้ แต่ละคนก็ได้เสนอข้อคิดในพื้นที่ของตัวเองที่รับผิดชอบอยู่ ต่อไปเราจะต้องนำเรื่องของจิตวิทยา การเมือง ความยุติธรรม และความเสมอภาค เข้าไปในพื้นที่ด้วย"
รองนายกฯ กล่าวด้วยว่า ในที่ประชุมยังได้มีการหารือถึงการเพิ่มกำลังตำรวจ เนื่องจากขณะนี้ขาดอยู่ 4,000 – 5,000 นาย โดยพล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ว่าที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จะจัดการฝึกกำลังตำรวจให้เพิ่มขึ้นภายใน 6 เดือน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ ขณะเดียวกันก็อยากให้มีการนำทหารจากกองพลทหารราบที่ 15 มาใช้ ซึ่ง ผบ.ทบ. ระบุว่า การบรรจุกำลังพลของกองพลดังกล่าวยังทำได้แค่ 70 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 30 เปอร์เซ็นต์ จะเร่งทำให้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ส่วนที่นายกฯ ระบุว่า อาจมีการประชุมร่วมกันระหว่างฝ่ายค้านและรัฐบาลอีก รองนายกฯ กล่าวว่า สำหรับการประชุมครั้งต่อไป หากมี และเป็นเรื่องหลักและเรื่องสำคัญ ก็น่าจะเป็นการประชุมในลักษณะเดิม แต่หากเป็นเรื่องปลีกย่อย ก็อาจจะคุยกับ ส.สในพื้นที่ที่มีปัญหาในสภาได้
เมื่อถามว่า หากมีการประชุมร่วมกับฝ่ายค้านครั้งต่อไปนายกฯ จำเป็นต้องเข้าร่วมด้วยหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ตนคิดว่าหัวหน้าฝ่ายค้าน คงอยากให้นายกฯเข้า เพราะเป็นผู้บังคับบัญชา โดยฝ่ายค้านเองก็ติดตามผลงานอยู่ และหากมีข้อเสนอแนะ หรือมีปัญหาที่จะต้องคุยกัน ก็คงจะต้องนัดประชุมกันอีก ขณะเดียวกันตนก็ได้บอกผู้นำฝ่ายค้านไปว่า หากมีอะไรเรียกติดต่อส่วนตัวได้เลย เพราะท่านเป็นคนที่เข้าใจ และรู้จริงเรื่องภาคใต้
สำหรับกรณีที่ฝ่ายค้านต้องการให้ยกเลิกการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปก.จชต.) นั้น เราได้ชี้แจงกับฝ่ายค้านแล้ว ซึ่งก็ต้องลองดูว่า การจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวจะได้ผลหรือไม่ แต่ทุกคนคิดว่าได้ผล ทางกอ.รมน. ภาค 4 และ ศอ.บต. ก็อยากให้มี เพราะการที่จะให้ ศอ.บต.ไปผลักดันแต่ละกระทรวง มันกว้างเกินไป น่าจะใช้ ศปก.จชต. เป็นตัวผลักดันแต่ละกระทรวงที่ทำงานล่าช้าจะดีกว่า เช่นเดียวกับในส่วนข้อเสนอที่ฝ่ายค้านอยากให้นายกฯ เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงนั้น เราก็ได้อธิบายว่า นายกฯก็เป็นผู้บังคับบัญชาใน ศปก.จชต. อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม สำหรับขั้นตอนการจัดตั้ง ศปก.จชต. ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงเสนอนายกฯ คิดว่าภายใน 2 วัน คงเรียบร้อย
"ข้อเสนอ 9 ข้อของฝ่ายค้าน ทางรัฐบาลก็รับฟัง ซึ่งบางเรื่องเราได้ทำอยู่แล้ว ส่วนข้อปลีกย่อยต่างๆ จะทบทวนอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ มี 2-3 เรื่อง ที่แตกต่างกับยุทธศาสตร์ของรัฐบาล เช่น เขตปกครองพิเศษ และการเลือกตั้งผู้ว่าราชการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งในยุทธศาสตร์ของรัฐบาลไม่มี และฝ่ายค้านเองก็ไม่เห็นด้วยที่จะให้ทำ ทั้งนี้ สำหรับข้อเสนอของฝ่ายค้าน เป็นประโยชน์ต่อหลายฝ่าย โดยเฉพาะส.ส.ภาคใต้ แต่ละคนก็ได้เสนอข้อคิดในพื้นที่ของตัวเองที่รับผิดชอบอยู่ ต่อไปเราจะต้องนำเรื่องของจิตวิทยา การเมือง ความยุติธรรม และความเสมอภาค เข้าไปในพื้นที่ด้วย"
รองนายกฯ กล่าวด้วยว่า ในที่ประชุมยังได้มีการหารือถึงการเพิ่มกำลังตำรวจ เนื่องจากขณะนี้ขาดอยู่ 4,000 – 5,000 นาย โดยพล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ว่าที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จะจัดการฝึกกำลังตำรวจให้เพิ่มขึ้นภายใน 6 เดือน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ ขณะเดียวกันก็อยากให้มีการนำทหารจากกองพลทหารราบที่ 15 มาใช้ ซึ่ง ผบ.ทบ. ระบุว่า การบรรจุกำลังพลของกองพลดังกล่าวยังทำได้แค่ 70 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 30 เปอร์เซ็นต์ จะเร่งทำให้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ส่วนที่นายกฯ ระบุว่า อาจมีการประชุมร่วมกันระหว่างฝ่ายค้านและรัฐบาลอีก รองนายกฯ กล่าวว่า สำหรับการประชุมครั้งต่อไป หากมี และเป็นเรื่องหลักและเรื่องสำคัญ ก็น่าจะเป็นการประชุมในลักษณะเดิม แต่หากเป็นเรื่องปลีกย่อย ก็อาจจะคุยกับ ส.สในพื้นที่ที่มีปัญหาในสภาได้
เมื่อถามว่า หากมีการประชุมร่วมกับฝ่ายค้านครั้งต่อไปนายกฯ จำเป็นต้องเข้าร่วมด้วยหรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า ตนคิดว่าหัวหน้าฝ่ายค้าน คงอยากให้นายกฯเข้า เพราะเป็นผู้บังคับบัญชา โดยฝ่ายค้านเองก็ติดตามผลงานอยู่ และหากมีข้อเสนอแนะ หรือมีปัญหาที่จะต้องคุยกัน ก็คงจะต้องนัดประชุมกันอีก ขณะเดียวกันตนก็ได้บอกผู้นำฝ่ายค้านไปว่า หากมีอะไรเรียกติดต่อส่วนตัวได้เลย เพราะท่านเป็นคนที่เข้าใจ และรู้จริงเรื่องภาคใต้