ASTVผู้จัดการรายวัน – ศูนย์ข้อมูลฯจัดสัมมนาใหญ่ “AEC และตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภูมิภาคอาเซียน” นักวิชาการชี้ลงทุนอาเซียนระวัง กฎหมายขึ้นอยู่กับผู้นำ แนะสร้างเร็ว ขายเร็ว ป้องกันความเสี่ยง กระตุ้นภาครัฐนำทัพปูทางต่างประเทศ ด้านพฤกษาฟุ้งลงทุนในเวียดนามมา 3 ปี แต่ยังส่งมอบที่ดินไม่ได้ ไม่หวั่นราคาที่ดินพุ่งแล้วเท่าตัว ค่าย SCG ลั่นวิสัยทัศน์ต้องผู้นำในอาเซียน ขณะที่นายกสมาคมอาคารชุดไทย เตือนรายเล็กอาจสูญพันธุ์ ปรับตัวดึงต่างชาติถือหุ้น ส่วนสมาคมสถาปนิกซัดรัฐบาลไม่ดูแล เจอห้ามโฆษณาชวนเชื่อ
รศ.มานพ พงศทัต อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการสัมมนา “ AEC และตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภูมิภาคอาเซียน ” ว่า ผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทยยังไม่มีความพร้อม ทั้งรองรับการแข่งขันของคู่แข่งที่จะเข้ามาในประเทศ รวมถึงการขยายธุรกิจในต่างประเทศ โดยปัจจุบันพบว่า มีนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศในหลายรูป ทั้งการเป็นนายหน้าซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ส่วนใหญ่เป็นบริษัทชั้นนำ เป็นที่ยอมรับ ขณะที่ผู้ประกอบการไทยยังไม่มีฝีมือในระดับนานาชาติได้ การเข้ามาในลักษณะการเป็นผู้ดูแลอาคาร และ After sale service เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่และเป็นที่ยอมรับ ขณะที่ผู้ประกอบการไทยยังสามารถดำเนินการในลักษณะ SME แม้จะมีขณะนี้จะมีผู้ประกอบการไทย เช่น บริษัท แสนสิริ และบริษัทพฤกษาฯ เป็นต้น จัดตั้งบริษัทดำเนินการแต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติ ที่ลงทุนในประเทศไทยโดยเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ทั้ง บริษัท ไรมอนแลนด์ฯ บริษัท แผ่นดินทองฯ ( ปัจจุบันกลุ่มเจ้าสัวเจริญได้เข้าซื้อหุ้นใหญ่) และบริษัท อีสเทอร์น สตาร์ เรียล เอสเตทฯ และขณะนี้ที่กลุ่มนักลงทุนจากสิงคโปร์ มาเลเซีย จะเข้ามาเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในระดับกลาง ทำธุรกิจในลักษณะให้เช่าและขายอย่างละครึ่ง เพื่อหาผลตอบแทนในการลงทุนระยะยาว
" หลายรูปแบบที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทย ทั้ง financial consultant พร้อมที่จะสนับสนุนการเงินให้ หรือเข้ามาเป็น in direct investment ลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งทั้งหมดเข้ามานานแล้ว" รศ.มานพ กล่าว
ส่วนการขยายการลงทุนในต่างประเทศ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของไทยยังไม่มีความพร้อม เห็นได้ว่า มีผู้ประกอบการายใหญ่เคยขยายการลงทุนในประเทศแถบอาเซียนมาแล้วและไม่ประสบความสำเร็จ แต่เนื่องจากตลาดในประเทศเริ่มมีอุปสงค์มากกว่าอุปทานแล้ว จึงควรเริ่มมองหาการขยายการลงทุน แต่ควรไปในลักษณะที่มีรัฐบาลเป็นผู้นำตลาด ไม่ควรลงทุนเอง เพื่อลดความเสี่ยงการลงทุน โดยรัฐบาลควรทำสัญญาลักษณะรัฐต่อรัฐ (G to G) ขอเช่าที่ดินในต่างประเทศและเชิญผู้ประกอบการไทยเข้าลงทุนพัฒนาโครงการเพื่อขายหรือให้เช่า ซึ่งเกาหลีใต้ดำเนินการประสบความสำเร็จดี
พร้อมกันนี้ ได้เสนอแนะให้รัฐบาลมีการแก้ไขกฎหมาย ที่ดินเพื่อถือครองกรรมสิทธิ์ของต่างชาติจาก 30 ปี เป็น 60 ปี เพื่อลดปัญหาการลงทุนในลักษณะนอมินี การลดภาษีที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ มีการกระจายอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้พร้อมรองรับ
"ทำอะไรอย่างผลีผลาม กระตุ้นให้รัฐบาลนำ และควรไปเป็นกลุ่ม เริ่มที่ 4 ประเทศก่อน คือ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม" รศ.มานพ กล่าว
***PSชี้ความเสี่ยงอยู่ที่'ผู้นำ'ประเทศ
นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PS กล่าวว่า บริษัทได้ออกไปลงทุนในต่างประเทศมากว่า 3 ปีแล้ว โดยในอาเซียนลงทุนที่เวียดนาม ซึ่งตามแผนจะพัฒนา คอนโดมิเนียม สูง 3 ชั้น บนที่ดินกว่า 100 ไร่ ขนาด 2 ห้องนอน หรือ 70 ตรม.ขึ้นไป ราคาประมาณ 1.4 ล้านบาท/ยูนิต มูลค่ากว่า 3,500 ล้านบาท ซึ่งจนกระทั้งในปัจจุบันยังไม่เปิดขาย เนื่องจากยังไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ได้ อย่างไรก็ตามคาดว่ารัฐบาลจะสามารถเวนคืนที่ดินให้แก่บริษัทได้ภายในสิ้นปีนี้
สำหรับปัญหาใหญ่ของการลงทุนในเวียดนาม คือ การขออนุญาตต่างๆ เนื่องจากข้อกฎหมายเปลี่ยนแปลงตามผู้นำ หรือผู้ปกครอง หากมีการเปลี่ยนผู้นำทุกอย่างอาจต้องมาเริ่มกันใหม่ ความผันผวนของค่าเงินดอง และอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงถึง 20%
“เราเข้าไปลงทุนในเวียดนาม 3 ปีแล้วแต่ตอนนี้ยังไม่ได้เปิดขายโครงการเพราะยังส่งมอบพื้นที่ไม่ได้ แต่เราโชคดีที่ทำสัญญาซื้อที่ดินด้วยเงินดองในขณะนั้นประมาณตารางเมตรละ 4 ล้านบาท แต่ตอนนี้ขึ้นไปกว่าเท่าตัวแล้ว เท่ากับว่าเราได้กำไรแล้ว อย่างไรก็ตามการลงทุนที่มีความเสี่ยงเราจะต้องใช้ระบบก่อสร้างเร็ว ปิดโครงการเร็ว ป้องกันความเสี่ยงจากเหตุการณ์ต่างๆ โดยหากสามารถส่งมอบพื้นที่ได้ เราก็สามารถสร้างโครงการเสร็จภายใน 3-6 เดือนเท่านั้น” นายประเสริฐกล่าว
ด้านนายเจมส์ พิฆอน ผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหาร บริษัท ซีบี ริชาร์ดเอลริส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะตลาดใหม่ อย่างประเทศ พม่า ที่กำลังเปิดประเทศ มีความต้องการอสังหาริมทรัพย์ทั้งโรงแรม อาคารสำนักงาน เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ที่อยู่อาศัยแต่อย่างไรก็ตามการลงทุนในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนามีข้อที่ควรระมัดระวัง นั้นคือการบังคับใช้กฎหมาย แม้ว่ากฎหมายจะดี แต่ก็ขึ้นอยู่กับผู้นำในขณะนั้น และเนื่องจากพึ่งเปิดปรทศ การทำธุรกิจจะแปลกออกไปดังนั้นผู้ประกอบการควรเตรียมใจรับ
*****SCGวางเป้าผู้นำในอาเซียน
นายบรรณ เกษมทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักวางแผนกลาง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG กล่าวว่า สำหรับทิศทางการลงทุนของผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ ในต่างประเทศ ต้องพิจารณาถึงศักยภาพการขยายตัวของประเทศต่างๆ มากกว่าที่จะใช้กลยุทธ์การแข่งขันในแบบเดิมๆ ที่เน้นบริหารต้นทุนให้ต่ำ แต่ควรปรับมาใช้ศักยภาพของแบรนด์ดิ้งของตัวบริษัทและช่องทางการขาย เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งที่ผ่านมา SCG ได้วางกลยุทธ์ในการขยายตลาดต่างประเทศ ต้องเป็นผู้นำในตลาดวัสดุก่อสร้างภายใต้แบรดน์ ตราช้าง
สำหรับประเทศที่SCG มองว่าจะมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการลงทุน ในเบื้องต้น มี 4 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย , ฟิลิปปินส์ , พม่า และเวียดนาม แต่ประเทศที่ SCG ให้ความสำคัญในการเข้าไปลงทุน ซื้อกิจการและตั้งโรงงานเพื่อรองรับอัตราการขยายตัวตลาดวัสดุก่อสร้าง คือ อินโดนีเซีย เข้าซื้อกิจการที่ทำธุรกิจกระจายสินค้า เพื่อเพิ่มช่องทางในการจัดจำหน่าย และธุรกิจซีเมนต์ผสมเสร็จ ซึ่งมีโรงงานอยู่ในอินโดนีเซียอยู่แล้ว เพื่อใช้ฐานผลิตและส่งออกไปยังต่างประเทศและรองรับความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากการส่งออกปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างจะมีน้ำหนักที่มาก ทำให้เกิดต้นทุนที่สูง ดังนั้น การตั้งโรงงานหรือมีโรงงานในต่างประเทศ จะคุ้มทุนมากที่สุด
***แนะรัฐบาลดูแลธุรกิจสถาปนิก
นายสมิตร โอบายะวาทย์ นายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ กล่าวว่า สถาปนิกเป็นหนึ่งในอาชีพที่ถูกกระทบจากการเปิดAEC เนื่องจากจะมีการไหลเข้ามาทำงานในสาขาวิชาชีพนี้มากยิ่งขึ้น ขณะที่บริษัทสถาปนิกไทยยังอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบ เพราะรัฐบาลไม่ให้การส่งเสริมอย่างเต็มที่ ข้อกฎหมายห้ามไม่ให้โฆษณาประชาสัมพันธ์หรือส่งเสริมการสร้างแบรนด์ ทำให้บริษัทสถาปนิกจากต่างประเทศที่มีแบรนด์เป็นที่รู้จัก จะเป็นที่ยอมรับของตลาดและจะมีความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่าเอกชนไทย
****แนะอสังหาฯรายเล็กดึงทุนนอกสู้รายใหญ่
นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทอสังหาฯขนาดใหญ่ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แม้จะมีเพียง 20-30 % เมื่อเทียบกับอีก 70-80% ที่เป็นบริษัทอสังหาฯรายกลางและเล็กที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ แต่ทิศทางรายได้กลับส่วนทางกัน เนื่องจากบริษัทรายใหญ่มียอดขายคิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 80% อีก 20% เป็นของอสังหาฯรายเล็ก ที่มีการลงทุนเพียง 10% เมื่อเทียบกับการลงทุนทั้งตลาด สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทอสังหาฯรายกลางและเล็กที่ยังสามารถดำเนินธุรกิจได้มีจำนวนน้อยลง ขณะที่ในอนาคตรายเล็กจะล้มหายตายจากไป เนื่องจากศักยภาพในด้านการเงินสู้รายใหญ่ไม่ได้
ทั้งนี้ หลังเปิด AEC แล้ว จะยิ่งทำให้อสังหาฯรายเล็กและรายกลางลำบากมากยิ่งขึ้น เนื่องจากธุรกิจอสังหาฯในประเทศไทย เป็นธุรกิจที่ดึงดูดและมีการเปิดกว้างให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามา ซึ่งหากเป็นไปตามข้อกฎหมายของสัญญาที่เปิดให้ต่างประเทศถือหุ้นได้สูงถึง 70% จะยิ่งดึงดูดนักลงทุนเข้ามาไทย รายเล็กที่ไม่ศักยภาพทางด้านการเงิน จะอยู่ไม่รอด ขณะที่รายใหญ่มีความพร้อมทางด้านเม็ดเงิน จะพยายามรักษาตลาดและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้สูงขึ้น
"ทางรอดของรายเล็กและรายกลาง ที่มีจุดอ่อนทางสภาพคล่องทางการเงิน ต้องหาพันธมิตรต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยยอมเป็นผู้ถือหุ้นรายเล็กในสัดส่วน 30% เพื่อให้อยู่รอดในธุรกิจนี้ได้ " .
รศ.มานพ พงศทัต อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการสัมมนา “ AEC และตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภูมิภาคอาเซียน ” ว่า ผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทยยังไม่มีความพร้อม ทั้งรองรับการแข่งขันของคู่แข่งที่จะเข้ามาในประเทศ รวมถึงการขยายธุรกิจในต่างประเทศ โดยปัจจุบันพบว่า มีนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศในหลายรูป ทั้งการเป็นนายหน้าซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ส่วนใหญ่เป็นบริษัทชั้นนำ เป็นที่ยอมรับ ขณะที่ผู้ประกอบการไทยยังไม่มีฝีมือในระดับนานาชาติได้ การเข้ามาในลักษณะการเป็นผู้ดูแลอาคาร และ After sale service เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่และเป็นที่ยอมรับ ขณะที่ผู้ประกอบการไทยยังสามารถดำเนินการในลักษณะ SME แม้จะมีขณะนี้จะมีผู้ประกอบการไทย เช่น บริษัท แสนสิริ และบริษัทพฤกษาฯ เป็นต้น จัดตั้งบริษัทดำเนินการแต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติ ที่ลงทุนในประเทศไทยโดยเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ทั้ง บริษัท ไรมอนแลนด์ฯ บริษัท แผ่นดินทองฯ ( ปัจจุบันกลุ่มเจ้าสัวเจริญได้เข้าซื้อหุ้นใหญ่) และบริษัท อีสเทอร์น สตาร์ เรียล เอสเตทฯ และขณะนี้ที่กลุ่มนักลงทุนจากสิงคโปร์ มาเลเซีย จะเข้ามาเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในระดับกลาง ทำธุรกิจในลักษณะให้เช่าและขายอย่างละครึ่ง เพื่อหาผลตอบแทนในการลงทุนระยะยาว
" หลายรูปแบบที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทย ทั้ง financial consultant พร้อมที่จะสนับสนุนการเงินให้ หรือเข้ามาเป็น in direct investment ลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งทั้งหมดเข้ามานานแล้ว" รศ.มานพ กล่าว
ส่วนการขยายการลงทุนในต่างประเทศ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของไทยยังไม่มีความพร้อม เห็นได้ว่า มีผู้ประกอบการายใหญ่เคยขยายการลงทุนในประเทศแถบอาเซียนมาแล้วและไม่ประสบความสำเร็จ แต่เนื่องจากตลาดในประเทศเริ่มมีอุปสงค์มากกว่าอุปทานแล้ว จึงควรเริ่มมองหาการขยายการลงทุน แต่ควรไปในลักษณะที่มีรัฐบาลเป็นผู้นำตลาด ไม่ควรลงทุนเอง เพื่อลดความเสี่ยงการลงทุน โดยรัฐบาลควรทำสัญญาลักษณะรัฐต่อรัฐ (G to G) ขอเช่าที่ดินในต่างประเทศและเชิญผู้ประกอบการไทยเข้าลงทุนพัฒนาโครงการเพื่อขายหรือให้เช่า ซึ่งเกาหลีใต้ดำเนินการประสบความสำเร็จดี
พร้อมกันนี้ ได้เสนอแนะให้รัฐบาลมีการแก้ไขกฎหมาย ที่ดินเพื่อถือครองกรรมสิทธิ์ของต่างชาติจาก 30 ปี เป็น 60 ปี เพื่อลดปัญหาการลงทุนในลักษณะนอมินี การลดภาษีที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ มีการกระจายอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้พร้อมรองรับ
"ทำอะไรอย่างผลีผลาม กระตุ้นให้รัฐบาลนำ และควรไปเป็นกลุ่ม เริ่มที่ 4 ประเทศก่อน คือ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม" รศ.มานพ กล่าว
***PSชี้ความเสี่ยงอยู่ที่'ผู้นำ'ประเทศ
นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PS กล่าวว่า บริษัทได้ออกไปลงทุนในต่างประเทศมากว่า 3 ปีแล้ว โดยในอาเซียนลงทุนที่เวียดนาม ซึ่งตามแผนจะพัฒนา คอนโดมิเนียม สูง 3 ชั้น บนที่ดินกว่า 100 ไร่ ขนาด 2 ห้องนอน หรือ 70 ตรม.ขึ้นไป ราคาประมาณ 1.4 ล้านบาท/ยูนิต มูลค่ากว่า 3,500 ล้านบาท ซึ่งจนกระทั้งในปัจจุบันยังไม่เปิดขาย เนื่องจากยังไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ได้ อย่างไรก็ตามคาดว่ารัฐบาลจะสามารถเวนคืนที่ดินให้แก่บริษัทได้ภายในสิ้นปีนี้
สำหรับปัญหาใหญ่ของการลงทุนในเวียดนาม คือ การขออนุญาตต่างๆ เนื่องจากข้อกฎหมายเปลี่ยนแปลงตามผู้นำ หรือผู้ปกครอง หากมีการเปลี่ยนผู้นำทุกอย่างอาจต้องมาเริ่มกันใหม่ ความผันผวนของค่าเงินดอง และอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงถึง 20%
“เราเข้าไปลงทุนในเวียดนาม 3 ปีแล้วแต่ตอนนี้ยังไม่ได้เปิดขายโครงการเพราะยังส่งมอบพื้นที่ไม่ได้ แต่เราโชคดีที่ทำสัญญาซื้อที่ดินด้วยเงินดองในขณะนั้นประมาณตารางเมตรละ 4 ล้านบาท แต่ตอนนี้ขึ้นไปกว่าเท่าตัวแล้ว เท่ากับว่าเราได้กำไรแล้ว อย่างไรก็ตามการลงทุนที่มีความเสี่ยงเราจะต้องใช้ระบบก่อสร้างเร็ว ปิดโครงการเร็ว ป้องกันความเสี่ยงจากเหตุการณ์ต่างๆ โดยหากสามารถส่งมอบพื้นที่ได้ เราก็สามารถสร้างโครงการเสร็จภายใน 3-6 เดือนเท่านั้น” นายประเสริฐกล่าว
ด้านนายเจมส์ พิฆอน ผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหาร บริษัท ซีบี ริชาร์ดเอลริส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะตลาดใหม่ อย่างประเทศ พม่า ที่กำลังเปิดประเทศ มีความต้องการอสังหาริมทรัพย์ทั้งโรงแรม อาคารสำนักงาน เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ที่อยู่อาศัยแต่อย่างไรก็ตามการลงทุนในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนามีข้อที่ควรระมัดระวัง นั้นคือการบังคับใช้กฎหมาย แม้ว่ากฎหมายจะดี แต่ก็ขึ้นอยู่กับผู้นำในขณะนั้น และเนื่องจากพึ่งเปิดปรทศ การทำธุรกิจจะแปลกออกไปดังนั้นผู้ประกอบการควรเตรียมใจรับ
*****SCGวางเป้าผู้นำในอาเซียน
นายบรรณ เกษมทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักวางแผนกลาง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG กล่าวว่า สำหรับทิศทางการลงทุนของผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ ในต่างประเทศ ต้องพิจารณาถึงศักยภาพการขยายตัวของประเทศต่างๆ มากกว่าที่จะใช้กลยุทธ์การแข่งขันในแบบเดิมๆ ที่เน้นบริหารต้นทุนให้ต่ำ แต่ควรปรับมาใช้ศักยภาพของแบรนด์ดิ้งของตัวบริษัทและช่องทางการขาย เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งที่ผ่านมา SCG ได้วางกลยุทธ์ในการขยายตลาดต่างประเทศ ต้องเป็นผู้นำในตลาดวัสดุก่อสร้างภายใต้แบรดน์ ตราช้าง
สำหรับประเทศที่SCG มองว่าจะมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการลงทุน ในเบื้องต้น มี 4 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย , ฟิลิปปินส์ , พม่า และเวียดนาม แต่ประเทศที่ SCG ให้ความสำคัญในการเข้าไปลงทุน ซื้อกิจการและตั้งโรงงานเพื่อรองรับอัตราการขยายตัวตลาดวัสดุก่อสร้าง คือ อินโดนีเซีย เข้าซื้อกิจการที่ทำธุรกิจกระจายสินค้า เพื่อเพิ่มช่องทางในการจัดจำหน่าย และธุรกิจซีเมนต์ผสมเสร็จ ซึ่งมีโรงงานอยู่ในอินโดนีเซียอยู่แล้ว เพื่อใช้ฐานผลิตและส่งออกไปยังต่างประเทศและรองรับความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากการส่งออกปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างจะมีน้ำหนักที่มาก ทำให้เกิดต้นทุนที่สูง ดังนั้น การตั้งโรงงานหรือมีโรงงานในต่างประเทศ จะคุ้มทุนมากที่สุด
***แนะรัฐบาลดูแลธุรกิจสถาปนิก
นายสมิตร โอบายะวาทย์ นายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ กล่าวว่า สถาปนิกเป็นหนึ่งในอาชีพที่ถูกกระทบจากการเปิดAEC เนื่องจากจะมีการไหลเข้ามาทำงานในสาขาวิชาชีพนี้มากยิ่งขึ้น ขณะที่บริษัทสถาปนิกไทยยังอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบ เพราะรัฐบาลไม่ให้การส่งเสริมอย่างเต็มที่ ข้อกฎหมายห้ามไม่ให้โฆษณาประชาสัมพันธ์หรือส่งเสริมการสร้างแบรนด์ ทำให้บริษัทสถาปนิกจากต่างประเทศที่มีแบรนด์เป็นที่รู้จัก จะเป็นที่ยอมรับของตลาดและจะมีความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่าเอกชนไทย
****แนะอสังหาฯรายเล็กดึงทุนนอกสู้รายใหญ่
นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทอสังหาฯขนาดใหญ่ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แม้จะมีเพียง 20-30 % เมื่อเทียบกับอีก 70-80% ที่เป็นบริษัทอสังหาฯรายกลางและเล็กที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ แต่ทิศทางรายได้กลับส่วนทางกัน เนื่องจากบริษัทรายใหญ่มียอดขายคิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 80% อีก 20% เป็นของอสังหาฯรายเล็ก ที่มีการลงทุนเพียง 10% เมื่อเทียบกับการลงทุนทั้งตลาด สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทอสังหาฯรายกลางและเล็กที่ยังสามารถดำเนินธุรกิจได้มีจำนวนน้อยลง ขณะที่ในอนาคตรายเล็กจะล้มหายตายจากไป เนื่องจากศักยภาพในด้านการเงินสู้รายใหญ่ไม่ได้
ทั้งนี้ หลังเปิด AEC แล้ว จะยิ่งทำให้อสังหาฯรายเล็กและรายกลางลำบากมากยิ่งขึ้น เนื่องจากธุรกิจอสังหาฯในประเทศไทย เป็นธุรกิจที่ดึงดูดและมีการเปิดกว้างให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามา ซึ่งหากเป็นไปตามข้อกฎหมายของสัญญาที่เปิดให้ต่างประเทศถือหุ้นได้สูงถึง 70% จะยิ่งดึงดูดนักลงทุนเข้ามาไทย รายเล็กที่ไม่ศักยภาพทางด้านการเงิน จะอยู่ไม่รอด ขณะที่รายใหญ่มีความพร้อมทางด้านเม็ดเงิน จะพยายามรักษาตลาดและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้สูงขึ้น
"ทางรอดของรายเล็กและรายกลาง ที่มีจุดอ่อนทางสภาพคล่องทางการเงิน ต้องหาพันธมิตรต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยยอมเป็นผู้ถือหุ้นรายเล็กในสัดส่วน 30% เพื่อให้อยู่รอดในธุรกิจนี้ได้ " .