ASTVผู้จัดการรายวัน-คปภ.แจงน้ำท่วม 10 จังหวัดไม่เข้าเงื่อนไขกองทุนภัยพิบัติ ปัดผ่อนเกณฑ์ช่วยเหลือหวั่นกระทบการกลไกประกันต่อต่างประเทศ ระบุพยายามกดเบี้ยประกันเต็มที่แล้ว หวังคนไทยเข้าถึงการประกันภัยมากขึ้น มั่นใจบ.ประกันภัยต่อต่างชาติไม่หนีไทย หลัง3บริษัทประกันยักษ์ใหญ่พร้อมรับงาน
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า เหตุการณ์น้ำท่วมใน 10 จังหวัดช่วงที่ผ่านมาทั้งจังหวัดสุโขทัย หรือ พระนครศรีอยุธยานั้น ยังไม่เข้าเกณฑ์ที่กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติจะต้องรับผิดชอบ เนื่องจากยังไม่เข้าเงื่อนของการเป็นมหาภัยพิบัติ
ทั้งนี้ กองทุนจะทำการจ่ายค่าชดเชยสินไหมก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งจากทั้ง 3 ข้อที่กองทุนกำหนดไว้เท่านั้นคือ 1.คณะรัฐมนตรีได้ประกาศให้เป็นภัยพิบัติแห่งชาติ ตามคำแนะนำของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
2.กรณีค่าสินไหมทดแทนรวมของผู้เอาประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ภัยพิบัติ ต้องมีมากกว่า 5,000 ล้านบาท ต่อ 1 เหตุการณ์และเกิดขึ้นภายใน 60 วัน และมีการเรียกร้องสินไหมทดแทนมากกว่า 2 ราย 3.กรณีภัยพิบัติที่เกิดจากแผ่นดินไหวความรุนแรงต้องตั้งแต่ 7 ริกเตอร์ขึ้นไปและกรณีวาตภัย ต้องมีความเร็วของลมพายุตั้งแต่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป
“ผมขอยืนยันว่า กองทุนฯไม่สามารถเปลี่ยนเงื่อนไข เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ได้ เพราะยังไม่เข้าข่ายของกองทุนฯ และที่สำคัญเกณฑ์ที่กองทุนฯกำหนดนั้นเป็นเกณฑ์มาตรฐานสากลของกองทุนภัยพิบัติทั่วโลกและหากมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขก็จะส่งผลต่อประกันภัยต่อในต่างประเทศด้วย”
นายประเวช กล่าวอีกว่า สำหรับจำนวนผู้ที่ทำประกันภัยเพียง 9,700 ครัวเรือน เป็นทุนประกันทั้งหมด 812 ล้านบาท และส่งต่อมายังกองทุนฯประมาณ 603 ล้านบาท ส่วนตัวเลขของคนที่ทำประกันภัยพิบัติทั้งหมดทั่วประเทศแล้ว มี 150,000 กรมธรรม์ คิดเป็นทุนประกันประมาณ 18,000 ล้านบาท และคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะมียอดผู้ที่ทำประกันภัยพิบัติเพิ่มเป็นทุนประกัน 86,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีจำนวนมากในช่วงไตรมาส4ของปี
สิ่งที่กองทุนฯได้ดำเนินการมาทั้งหมดนั้น เพื่อเป็นการผลักดันให้เบี้ยประกันภัยพิบัติที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วในปี 2554 ปรับตัวลดลง และปัจจุบันกลไกดังกล่าวได้ส่งผลให้เบี้ยประภัยปรับตัวลดลงแล้วในระดับหนึ่งซึ่งทั้งหมดจะเป็นตัวผลักดันให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงประกันภัยได้มากกว่าเดิม
"ต้องเข้าใจก่อนว่าภัยธรรมชาติจะมาก่อน แล้วค่อยพัฒนาเป็นภัยพิบัติ แต่ประชาชนบางส่วนทำประกันภัยพิบัติกับกองทุนฯเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้ทำประกันภัยน้ำท่วมทั่วไปกับบริษัทประกันภัย ซึ่งอาจเป็นผลเสียทำให้ไม่ได้รับความคุ้มครอง ซึ่งจริงๆ ในหลักการคนที่จะทำประกันภัยพิบัติกับกองทุนฯแล้วต้องซื้อประกันภัยน้ำท่วมทั่วไปกับบริษัทประกันวินาศภัยควบคู่ไปด้วย เพราะที่เราพยายามกดดันให้เบี้ยประกันภัยลดลงก็เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้นั้นเป็นเหตุผลหลัก"
นายประเวช กล่าวอีกว่า เหตุการณ์น้ำท่วมที่จังหวัดสุโขทัย กับพระนครศรีอยุธยา ครั้งนี้ น่าจะทำให้เบี้ยประกันภัยในต่อในต่างประเทศปรับตัวขึ้น แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะปรับขึ้นในอัตราเท่าไร ซึ่งยังต้องเฝ้าติดตามต่อไป แต่กองทุนฯก็ได้เดินหน้าดำเนินการโครงการที่2 คือหาที่ปรึกษา ณ ปัจจุบัน ได้ 2 บริษัท แล้วคือ บริษัทมาร์ซ กับ เอออน โดยทั้ง 2 บริษัท อยู่ในขั้นตอนจัดทำแผนให้คำปรึกษากับกองทุน คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้
ในมุมมองของคปภ. ณ ขณะนี้ยังเชื่อมั่นว่า ประกันภัยต่อในต่างประเทศ ยังมั่นใจรับงานในประเทศไทยต่อ เพราะหลังจากที่กองทุนฯและคปภ.ได้เดินทางไปพบปะพูดคุยกับผู้บริหารของบริษัท มิตซุย ซูมิโตโม บริษัทโตเกียวมารีนประกันภัย และบริษัท สมโพชน์เจแปน แล้ว ทั้ง 3 มีศักยภาพในการรับประกันภัยพิบัติในประเทศไทย เป็นหลักแสนล้านบาท ส่วนวงเงินทุนประกันสิ้นปีที่กองทุนฯคาดว่าจะมียอดสูงถึง 86,000 ล้านบาท นั้น ทั้ง 3 บริษัทจะรับไว้ทั้งหมดหรือไม่นั้นไม่สามารถระบุได้
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า เหตุการณ์น้ำท่วมใน 10 จังหวัดช่วงที่ผ่านมาทั้งจังหวัดสุโขทัย หรือ พระนครศรีอยุธยานั้น ยังไม่เข้าเกณฑ์ที่กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติจะต้องรับผิดชอบ เนื่องจากยังไม่เข้าเงื่อนของการเป็นมหาภัยพิบัติ
ทั้งนี้ กองทุนจะทำการจ่ายค่าชดเชยสินไหมก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งจากทั้ง 3 ข้อที่กองทุนกำหนดไว้เท่านั้นคือ 1.คณะรัฐมนตรีได้ประกาศให้เป็นภัยพิบัติแห่งชาติ ตามคำแนะนำของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
2.กรณีค่าสินไหมทดแทนรวมของผู้เอาประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ภัยพิบัติ ต้องมีมากกว่า 5,000 ล้านบาท ต่อ 1 เหตุการณ์และเกิดขึ้นภายใน 60 วัน และมีการเรียกร้องสินไหมทดแทนมากกว่า 2 ราย 3.กรณีภัยพิบัติที่เกิดจากแผ่นดินไหวความรุนแรงต้องตั้งแต่ 7 ริกเตอร์ขึ้นไปและกรณีวาตภัย ต้องมีความเร็วของลมพายุตั้งแต่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป
“ผมขอยืนยันว่า กองทุนฯไม่สามารถเปลี่ยนเงื่อนไข เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ได้ เพราะยังไม่เข้าข่ายของกองทุนฯ และที่สำคัญเกณฑ์ที่กองทุนฯกำหนดนั้นเป็นเกณฑ์มาตรฐานสากลของกองทุนภัยพิบัติทั่วโลกและหากมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขก็จะส่งผลต่อประกันภัยต่อในต่างประเทศด้วย”
นายประเวช กล่าวอีกว่า สำหรับจำนวนผู้ที่ทำประกันภัยเพียง 9,700 ครัวเรือน เป็นทุนประกันทั้งหมด 812 ล้านบาท และส่งต่อมายังกองทุนฯประมาณ 603 ล้านบาท ส่วนตัวเลขของคนที่ทำประกันภัยพิบัติทั้งหมดทั่วประเทศแล้ว มี 150,000 กรมธรรม์ คิดเป็นทุนประกันประมาณ 18,000 ล้านบาท และคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะมียอดผู้ที่ทำประกันภัยพิบัติเพิ่มเป็นทุนประกัน 86,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีจำนวนมากในช่วงไตรมาส4ของปี
สิ่งที่กองทุนฯได้ดำเนินการมาทั้งหมดนั้น เพื่อเป็นการผลักดันให้เบี้ยประกันภัยพิบัติที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วในปี 2554 ปรับตัวลดลง และปัจจุบันกลไกดังกล่าวได้ส่งผลให้เบี้ยประภัยปรับตัวลดลงแล้วในระดับหนึ่งซึ่งทั้งหมดจะเป็นตัวผลักดันให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงประกันภัยได้มากกว่าเดิม
"ต้องเข้าใจก่อนว่าภัยธรรมชาติจะมาก่อน แล้วค่อยพัฒนาเป็นภัยพิบัติ แต่ประชาชนบางส่วนทำประกันภัยพิบัติกับกองทุนฯเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้ทำประกันภัยน้ำท่วมทั่วไปกับบริษัทประกันภัย ซึ่งอาจเป็นผลเสียทำให้ไม่ได้รับความคุ้มครอง ซึ่งจริงๆ ในหลักการคนที่จะทำประกันภัยพิบัติกับกองทุนฯแล้วต้องซื้อประกันภัยน้ำท่วมทั่วไปกับบริษัทประกันวินาศภัยควบคู่ไปด้วย เพราะที่เราพยายามกดดันให้เบี้ยประกันภัยลดลงก็เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้นั้นเป็นเหตุผลหลัก"
นายประเวช กล่าวอีกว่า เหตุการณ์น้ำท่วมที่จังหวัดสุโขทัย กับพระนครศรีอยุธยา ครั้งนี้ น่าจะทำให้เบี้ยประกันภัยในต่อในต่างประเทศปรับตัวขึ้น แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะปรับขึ้นในอัตราเท่าไร ซึ่งยังต้องเฝ้าติดตามต่อไป แต่กองทุนฯก็ได้เดินหน้าดำเนินการโครงการที่2 คือหาที่ปรึกษา ณ ปัจจุบัน ได้ 2 บริษัท แล้วคือ บริษัทมาร์ซ กับ เอออน โดยทั้ง 2 บริษัท อยู่ในขั้นตอนจัดทำแผนให้คำปรึกษากับกองทุน คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้
ในมุมมองของคปภ. ณ ขณะนี้ยังเชื่อมั่นว่า ประกันภัยต่อในต่างประเทศ ยังมั่นใจรับงานในประเทศไทยต่อ เพราะหลังจากที่กองทุนฯและคปภ.ได้เดินทางไปพบปะพูดคุยกับผู้บริหารของบริษัท มิตซุย ซูมิโตโม บริษัทโตเกียวมารีนประกันภัย และบริษัท สมโพชน์เจแปน แล้ว ทั้ง 3 มีศักยภาพในการรับประกันภัยพิบัติในประเทศไทย เป็นหลักแสนล้านบาท ส่วนวงเงินทุนประกันสิ้นปีที่กองทุนฯคาดว่าจะมียอดสูงถึง 86,000 ล้านบาท นั้น ทั้ง 3 บริษัทจะรับไว้ทั้งหมดหรือไม่นั้นไม่สามารถระบุได้