ASTVผู้จัดการรายวัน - ครม.ไฟเขียวแนวทางการรับประกันภัยพิบัติ คิดเบี้ยประกัน 0.5-1.25% ด้าน ปธ.กก.บริหารกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติเชื่อจะเป็นประโยชน์กับทุกภาคส่วน
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (6 มี.ค.) ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการรับประกันภัยพิบัติภายใต้ พ.ร.ก.กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. 2555 ตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติเสนอ รายละเอียดการประกันภัยให้ แบ่งความคุ้มครองการผู้เอาประกันภัยเป็น 3 ประเภท ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ประกอบด้วย กลุ่มแรกบ้านคืออยู่อาศัย วงเงินความคุ้มครองไม่เกิน 1 แสนบาท คิดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ 0.5% ต่อปีของวงเงินความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ
กลุ่มที่สอง คือ เอสเอ็มอีที่มีทุนประกันภัย ไม่เกิน 50 ล้านบาท จะจำกัดความรับผิดของกรมธรรม์ภัยพิบัติที่ไม่เกิน 30% ของทุนประกันภัย คิดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ 1% ต่อปีของวงเงินความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ กลุ่มสุดท้ายคือ ภาค อุตสาหกรรม มีทุนประกันภัยตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งจะจำกัดความรับผิดของกรมธรรม์ภัยพิบัติที่ไม่เกิน 30% ของทุนประกันภัย คิดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ 1.25% ต่อปีของวงเงินความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ
เกณฑ์การจ่ายค่าสินไหมทดแทนของกรมธรรม์ภัยพิบัติ กรมธรรม์ภัยพิบัติจะครอบคลุมประเภทภัยพิบัติรวม 3 ภัย ได้แก่ น้ำท่วม ลมพายุ และแผ่นดินไหว โดยในส่วนน้ำท่วมนั้นครม. ประกาศสถานการณ์ภัยพิบัติรุนแรงตามคำแนะนำของกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เช่นเดียวกับกรณีการให้เงินช่วยเหลือพิเศษ จำนวน 5,000 บาทต่อครัวเรือนเมื่อเกิดเหตุการณ์อุทกภัยในปี 2554 หรือจำนวนค่าสินไหมทดแทนรวมของผู้เอาประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยพิบัติมากกว่า 5,000 ล้านบาท ต่อหนึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายใน 60 วัน โดยมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป ซึ่งมูลค่าความเสียหายให้เป็นไปตามข้อมูลที่ได้รายงานไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ส่วนกรณีแผ่นดินไหว ความรุนแรงของแผ่นดินไหวตั้งแต่ 7 ริกเตอร์ขึ้นไป หรือกลมพายุ ความเร็วของลมพายุตั้งแต่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นไป ซึ่งเป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล
การจ่ายค่าสินไหมทดแทน วิธีการจ่ายค่าสินไหมทดแทน บริษัทประกันภัยจะสำรวจและประเมินความเสียหาย โดยจะจ่ายตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินวงเงินความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติในทุกกรณี ยกเว้นกรณีอุทกภัยในกลุ่มบ้านอยู่อาศัย เนื่องจากมีผู้เอาประกันภัยจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อความสะดวกและลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการจะพิจารณาที่ระดับน้ำเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน โดยหากน้ำท่วมพื้นอาคารจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่ 30,000 บาท หากระดับน้ำสูง 50 เซ็นติเมตร 75 เซ็นติเมตรและ 100 เซ็นติเมตร จากพื้นอาคารจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่ 50,000 บาท 75,000 บาท และ 100,000 บาท ตามลำดับกลุ่มผู้เอาประกันภัย
ด้านนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ กล่าวว่า คณะกรรมการฯ ที่ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้ประชุมหารืออย่างต่อเนื่องรวมทั้งหมด 5 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 ถึงวันที่ 1 มีนาคม 2555 เพื่อเร่งพิจารณาแนวทางการรับประกันภัยพิบัติที่เหมาะสม และสามารถเริ่มดำเนินการได้อย่างเร็วที่สุด
"คาดว่าแนวทางการรับประกันภัยพิบัติที่คณะกรรมการฯ ได้นำเสนอ และคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วนั้น จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับทุกภาคส่วน ได้แก่ บ้านอยู่อาศัย SMEs และอุตสาหกรรม ในการเข้าถึงและใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงภัยพิบัติ ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศ อันเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาล ที่นอกจากจะมีนโยบายการจัดการและบริหารน้ำให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การประกันภัยพิบัตินี้ก็จะช่วยเติมเต็มการจัดการความเสี่ยงภัยให้ครบถ้วนสมบูรณ์".
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (6 มี.ค.) ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการรับประกันภัยพิบัติภายใต้ พ.ร.ก.กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. 2555 ตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติเสนอ รายละเอียดการประกันภัยให้ แบ่งความคุ้มครองการผู้เอาประกันภัยเป็น 3 ประเภท ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ประกอบด้วย กลุ่มแรกบ้านคืออยู่อาศัย วงเงินความคุ้มครองไม่เกิน 1 แสนบาท คิดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ 0.5% ต่อปีของวงเงินความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ
กลุ่มที่สอง คือ เอสเอ็มอีที่มีทุนประกันภัย ไม่เกิน 50 ล้านบาท จะจำกัดความรับผิดของกรมธรรม์ภัยพิบัติที่ไม่เกิน 30% ของทุนประกันภัย คิดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ 1% ต่อปีของวงเงินความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ กลุ่มสุดท้ายคือ ภาค อุตสาหกรรม มีทุนประกันภัยตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งจะจำกัดความรับผิดของกรมธรรม์ภัยพิบัติที่ไม่เกิน 30% ของทุนประกันภัย คิดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ 1.25% ต่อปีของวงเงินความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ
เกณฑ์การจ่ายค่าสินไหมทดแทนของกรมธรรม์ภัยพิบัติ กรมธรรม์ภัยพิบัติจะครอบคลุมประเภทภัยพิบัติรวม 3 ภัย ได้แก่ น้ำท่วม ลมพายุ และแผ่นดินไหว โดยในส่วนน้ำท่วมนั้นครม. ประกาศสถานการณ์ภัยพิบัติรุนแรงตามคำแนะนำของกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เช่นเดียวกับกรณีการให้เงินช่วยเหลือพิเศษ จำนวน 5,000 บาทต่อครัวเรือนเมื่อเกิดเหตุการณ์อุทกภัยในปี 2554 หรือจำนวนค่าสินไหมทดแทนรวมของผู้เอาประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยพิบัติมากกว่า 5,000 ล้านบาท ต่อหนึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายใน 60 วัน โดยมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป ซึ่งมูลค่าความเสียหายให้เป็นไปตามข้อมูลที่ได้รายงานไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ส่วนกรณีแผ่นดินไหว ความรุนแรงของแผ่นดินไหวตั้งแต่ 7 ริกเตอร์ขึ้นไป หรือกลมพายุ ความเร็วของลมพายุตั้งแต่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นไป ซึ่งเป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล
การจ่ายค่าสินไหมทดแทน วิธีการจ่ายค่าสินไหมทดแทน บริษัทประกันภัยจะสำรวจและประเมินความเสียหาย โดยจะจ่ายตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินวงเงินความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติในทุกกรณี ยกเว้นกรณีอุทกภัยในกลุ่มบ้านอยู่อาศัย เนื่องจากมีผู้เอาประกันภัยจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อความสะดวกและลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการจะพิจารณาที่ระดับน้ำเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน โดยหากน้ำท่วมพื้นอาคารจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่ 30,000 บาท หากระดับน้ำสูง 50 เซ็นติเมตร 75 เซ็นติเมตรและ 100 เซ็นติเมตร จากพื้นอาคารจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่ 50,000 บาท 75,000 บาท และ 100,000 บาท ตามลำดับกลุ่มผู้เอาประกันภัย
ด้านนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ กล่าวว่า คณะกรรมการฯ ที่ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้ประชุมหารืออย่างต่อเนื่องรวมทั้งหมด 5 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 ถึงวันที่ 1 มีนาคม 2555 เพื่อเร่งพิจารณาแนวทางการรับประกันภัยพิบัติที่เหมาะสม และสามารถเริ่มดำเนินการได้อย่างเร็วที่สุด
"คาดว่าแนวทางการรับประกันภัยพิบัติที่คณะกรรมการฯ ได้นำเสนอ และคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วนั้น จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับทุกภาคส่วน ได้แก่ บ้านอยู่อาศัย SMEs และอุตสาหกรรม ในการเข้าถึงและใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงภัยพิบัติ ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศ อันเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาล ที่นอกจากจะมีนโยบายการจัดการและบริหารน้ำให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การประกันภัยพิบัตินี้ก็จะช่วยเติมเต็มการจัดการความเสี่ยงภัยให้ครบถ้วนสมบูรณ์".