กองทุนภัยพิบัติปรับใหม่เอื้อผู้ประกอบการรายใหญ่เล็งคิดค่าเบี้ยประกันอัตราเดียวกันกับเอสเอ็มอี เพิ่มพื้นที่ไม่จำกัดเฉพาะโซนน้ำท่วม พร้อมขยายความคุ้มครอง 30% ไม่จำกัดทุนประเดิม คาดสรุปได้ 1 มี.ค.ก่อนเสนอเข้าครม.สัปดาห์หน้า
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย( ส.อ.ท.) ในฐานะประธานกองทุนภัยพิบัติ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนว่า ได้มีการหารือถึงตัวเลขรายละเอียดของการคิดค่าเบี้ยประกันภัยในแต่ละกลุ่ม โดยจากการประชุมครั้งก่อนที่มีการกำหนดค่าเบี้ยประกันเบื้องต้น ในส่วนของประชาชนรายย่อย 1% ของทุนประกัน ผู้ประกอบการรายย่อยหรือเอสเอ็มอี 1.5% และผู้ประกอบการรายกลางและรายใหญ่ที่ 2% นั้นได้มีการมอบหมายให้อนุกรรมการไปพิจารณาอีกครั้งถึงความเป็นไปได้ในการกำหนดค่าเบี้ยประกันในอัตราเดียวในส่วนของผู้ประกอบการเพื่อแสดงให้เห็นว่าทางกองทุนมีความมั่นใจในการบริหารจัดการน้ำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สำหรับการคิดค่าเบี้ยประกันภาคธุรกิจได้มอบหมายให้ใช้ 2%เป็นตัวเลขตั้งต้นและให้พิจารณาว่าจะปรับลดลงได้มากน้อยเพียงใด โดยให้นำมาหารือในที่ประชุมอีกครั้งวันที่ 1 มีนาคมนี้ คาดว่าจะได้ข้อสรุปสุดท้ายเพื่อนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้ในสัปดาห์ถัดไป
“การทบทวนค่าเบี้ยประกันใหม่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นการผลักภาระไปให้ประชาชนทั่วไปโดยยังคงยึดที่ตัวเลข 1% อยู่แต่อยากให้ส่วนของภาคธุรกิจเป็นตัวเลขเดียวกันและไม่จำกัดโซนหรือพื้นที่ความเสี่ยงภัยทั้งน้ำท่วม แผ่นดินไหว และลมพายุ โดยให้ไปศึกษาดูอาจจะปรับเปลี่ยนหรือคงตัวเลขเดิมไว้ก็ได้อยู่ที่ความสมเหตุสมผล แต่กองทุนภัยพิบัติจะช่วยให้การคิดค่าเบี้ยประกันกลับเข้าสู่ภาวะปกติ จากปัจจุบันแม้จะลดลงต่อเนื่องแต่ก็ยังอยู่ในอัตราสูง 5-6% “นายพยุงศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้ หากครม.อนุมัติก็ก็สามารถลงนามในบันทึกข้อตกลง(เอ็มโอยู)และเปิดขายกรมธรรม์ภัยพิบัติได้ทันทีในเดือนมีนาคมนี้ ส่วนการกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขการจ่ายเงินนั้นต้องนำเสนอครม.ให้ประกาศก่อนจะมีการจ่ายค่าสินไหมด้วยเช่นกัน โดยจะเป็นเกณฑ์ที่รัดกุมกว่าการประกาศของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยจะต้องเป็นมหันตภัยที่ร้ายแรงไม่ใช่ภัยที่เกิดขึ้นทั่วๆ ไป
สำหรับการจ่ายเงินค่าสินไหมนั้นยังยึดที่ตัวเลขเดิม โดยผู้เอาประกันที่เป็นประชาชนทั่วไปกำหนดคุ้มครองไม่เกิน 1 แสนบาท ซึ่งส่วนนี้จะมีประมาณ 1.3 ล้านกรมธรรม์ ทุนประกันรวมที่ภาครัฐต้องเตรียมไว้ 1.3 แสนล้านบาท เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงและพอเพียง จึงกำหนดไว้ที่อัตราดังกล่าวเพราะเก็บค่าเบี้ยไม่แพง อีกทั้งเห็นว่าหากเกิดน้ำท่วมก็จะมีความเสียหายไม่มากนัก เครื่องเรือนยังสามารถโยกย้ายหนีได้
ส่วนของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและรายกลางรายใหญ่นั้นได้ขยายการคุ้มครอง จาก 20% เป็น 30%และไม่จำกัดทุนประกันโดยใช้อัตราเดียวกันทั่วประเทศ แต่เอสเอ็มอีกำหนดไม่เกิน 50 ล้านบาท เนื่องจากเครื่องจักรมีขนาดเล็กบางส่วนสามารถเคลื่อนย้ายได้ ซึ่งเอสเอ็มอีมีประมาณ 2.2 แสนกรมธรรม์ คิดเป็นทุนประกันรวมที่ต้องเตรียมไว้ 2 แสนกว่าล้านบาท ส่วนรายกลางและรายใหญ่มีประมาณ 1.5 หมื่นกรมธรรม์ที่ไม่จำกัดวงเงินเพราะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับความเสียหายมากสุดเนื่องจากเครื่องจักรมีขนาดใหญ่เคลื่อนย้ายลำบาก
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย( ส.อ.ท.) ในฐานะประธานกองทุนภัยพิบัติ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนว่า ได้มีการหารือถึงตัวเลขรายละเอียดของการคิดค่าเบี้ยประกันภัยในแต่ละกลุ่ม โดยจากการประชุมครั้งก่อนที่มีการกำหนดค่าเบี้ยประกันเบื้องต้น ในส่วนของประชาชนรายย่อย 1% ของทุนประกัน ผู้ประกอบการรายย่อยหรือเอสเอ็มอี 1.5% และผู้ประกอบการรายกลางและรายใหญ่ที่ 2% นั้นได้มีการมอบหมายให้อนุกรรมการไปพิจารณาอีกครั้งถึงความเป็นไปได้ในการกำหนดค่าเบี้ยประกันในอัตราเดียวในส่วนของผู้ประกอบการเพื่อแสดงให้เห็นว่าทางกองทุนมีความมั่นใจในการบริหารจัดการน้ำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สำหรับการคิดค่าเบี้ยประกันภาคธุรกิจได้มอบหมายให้ใช้ 2%เป็นตัวเลขตั้งต้นและให้พิจารณาว่าจะปรับลดลงได้มากน้อยเพียงใด โดยให้นำมาหารือในที่ประชุมอีกครั้งวันที่ 1 มีนาคมนี้ คาดว่าจะได้ข้อสรุปสุดท้ายเพื่อนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้ในสัปดาห์ถัดไป
“การทบทวนค่าเบี้ยประกันใหม่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นการผลักภาระไปให้ประชาชนทั่วไปโดยยังคงยึดที่ตัวเลข 1% อยู่แต่อยากให้ส่วนของภาคธุรกิจเป็นตัวเลขเดียวกันและไม่จำกัดโซนหรือพื้นที่ความเสี่ยงภัยทั้งน้ำท่วม แผ่นดินไหว และลมพายุ โดยให้ไปศึกษาดูอาจจะปรับเปลี่ยนหรือคงตัวเลขเดิมไว้ก็ได้อยู่ที่ความสมเหตุสมผล แต่กองทุนภัยพิบัติจะช่วยให้การคิดค่าเบี้ยประกันกลับเข้าสู่ภาวะปกติ จากปัจจุบันแม้จะลดลงต่อเนื่องแต่ก็ยังอยู่ในอัตราสูง 5-6% “นายพยุงศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้ หากครม.อนุมัติก็ก็สามารถลงนามในบันทึกข้อตกลง(เอ็มโอยู)และเปิดขายกรมธรรม์ภัยพิบัติได้ทันทีในเดือนมีนาคมนี้ ส่วนการกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขการจ่ายเงินนั้นต้องนำเสนอครม.ให้ประกาศก่อนจะมีการจ่ายค่าสินไหมด้วยเช่นกัน โดยจะเป็นเกณฑ์ที่รัดกุมกว่าการประกาศของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยจะต้องเป็นมหันตภัยที่ร้ายแรงไม่ใช่ภัยที่เกิดขึ้นทั่วๆ ไป
สำหรับการจ่ายเงินค่าสินไหมนั้นยังยึดที่ตัวเลขเดิม โดยผู้เอาประกันที่เป็นประชาชนทั่วไปกำหนดคุ้มครองไม่เกิน 1 แสนบาท ซึ่งส่วนนี้จะมีประมาณ 1.3 ล้านกรมธรรม์ ทุนประกันรวมที่ภาครัฐต้องเตรียมไว้ 1.3 แสนล้านบาท เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงและพอเพียง จึงกำหนดไว้ที่อัตราดังกล่าวเพราะเก็บค่าเบี้ยไม่แพง อีกทั้งเห็นว่าหากเกิดน้ำท่วมก็จะมีความเสียหายไม่มากนัก เครื่องเรือนยังสามารถโยกย้ายหนีได้
ส่วนของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและรายกลางรายใหญ่นั้นได้ขยายการคุ้มครอง จาก 20% เป็น 30%และไม่จำกัดทุนประกันโดยใช้อัตราเดียวกันทั่วประเทศ แต่เอสเอ็มอีกำหนดไม่เกิน 50 ล้านบาท เนื่องจากเครื่องจักรมีขนาดเล็กบางส่วนสามารถเคลื่อนย้ายได้ ซึ่งเอสเอ็มอีมีประมาณ 2.2 แสนกรมธรรม์ คิดเป็นทุนประกันรวมที่ต้องเตรียมไว้ 2 แสนกว่าล้านบาท ส่วนรายกลางและรายใหญ่มีประมาณ 1.5 หมื่นกรมธรรม์ที่ไม่จำกัดวงเงินเพราะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับความเสียหายมากสุดเนื่องจากเครื่องจักรมีขนาดใหญ่เคลื่อนย้ายลำบาก