ศูนย์ข่าวภูมิภาค - น้ำท่วมสุโขทัยเริ่มคลี่คลายหลังแม่ยมลด ด้าน "พิษณุโลก-พิจิตร" ถึงคิวจมรับช่วงต่อ "ตลาดโรงเกลือ" จมบาดาล ”ยิ่งลักษณ์” อ้างปัญหาเกิดเพราะปริมาณน้ำฝนตกฉับพลัน โวระบบป้องกันระบายน้ำยังดี เฝ้าระวังสถานการณ์ต่ออีก 30 วัน "ปลอดประสพ" ยันจะไม่เกิดเหตุน้ำท่วมในพื้นที่สำคัญเด็ดขาด ปภ.สรุป น้ำท่วม 11 จังหวัด ประชาชนเดือดร้อนกว่าแสนคน ด้านกทม.หวั่น 221 ก.ย.นี้
สถานการณ์น้ำท่วมรอบ 2 ในเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี จ.สุโขทัย วานนี้ (18 ก.ย.) เริ่มคลี่คลายแล้ว หลังจากระดับน้ำในแม่น้ำยมเริ่มลดระดับลง ขณะที่นายจักริน เปลี่ยนวงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ได้สั่งระดมกำลังทั้งเจ้าหน้าที่ทหาร ป่าไม้ และ อส.รวม 350 นาย ให้ช่วยกันเร่งขนกระสอบทราย เข้าไปอุดรอยรั่วตรงบิ๊กแบ็กแนวป้องกันน้ำยม รวมทั้งอีก 24 จุดบริเวณริมแม่น้ำยมที่พบมีปัญหารั่วซึม
ขณะเดียวกันก็ได้สั่งให้ทำการเร่งสูบระบายน้ำออก ตลอดทั้งคืนวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมาจนถึงเช้าวานนี้ (18 ก.ย.) ทำให้ปริมาณน้ำที่ท่วมขังในตัวตลาดเทศบาลลดลงกว่า 60% แล้ว คาดว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วถ้าหากไม่มีฝนตกซ้ำในพื้นที่
สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมที่ อ.สวรรคโลก และ อ.ศรีสำโรง นั้นคลี่คลายแล้ว ส่วนที่หมู่ 4 ต.ปากแคว ระดับน้ำท่วมหมู่บ้านลดลงต่อเนื่อง รวมถึงถนนสายสุโขทัย-ศรีสำโรง ตรงหน้าการประปาส่วนภูมิภาค รถเล็กก็สามารถสัญจรผ่านได้แล้วเช่นกัน
**น้ำสุโขทัยท่วมซ้ำพิษณุโลกจม7อำเภอ
สำหรับสถานการณ์น้ำใน จ.พิษณุโลก ขณะนี้น้ำที่ไหลมาจาก จ.สุโขทัย ได้ทะลักเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อ.พรหมพิราม อ.เมือง และ อ.บางระกำ มีพื้นที่ที่เสียหายจากน้ำท่วมครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางการเกษตร 22,500 ไร่ เบื้องต้นทาง ปภ.พิษณุโลก ได้มีการประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากน้ำท่วมแล้ว 7 อำเภอ คือ อ.เมือง อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ อ.วังทอง อ.บางกระทุ่ม อ.ชาติตระการ และ อ.นครไทย
นายบรรดิษฐ์ อินต๊ะ ผอ.โครงการชลประทานพิษณุโลก เปิดเผยว่า น้ำยมที่หลากมาจากสุโขทัยกำลังไหลรวมกันที่ อ.บางระกำ แม่น้ำยมในเขต อ.บางระกำ เพิ่มระดับเฉลี่ยชั่วโมงละ 1 ซม.หรือวันละประมาณ 20 ซม.
ล่าสุดนายชัยโรจน์ มีแดง ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก พร้อมส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้ตั้งศูนย์บัญชาการส่วนหน้าขึ้นที่บ้านวังขี้เหล็ก หมู่ 10 ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก โดยตั้งเต็นท์ประกอบด้วยหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ระดมเครื่องมือในการช่วยเหลือประชาชน
**เตือนริมน้ำยม 4 อำเภอพิจิตรอพยพ
นายสุวิทย์ วัชโรทยางกรู ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ประกาศพื้นที่ 10 หมู่บ้านของ ต.รังนก อ.สามง่าม เป็นพื้นที่ภัยพิบัติจากอุทกภัยทำให้ จ.พิจิตร มีพื้นที่ภัยพิบัติจากอุทกภัยเพิ่มขึ้นอีก 1 อำเภอ จากเดิมที่ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติไปแล้ว 3 อำเภอ คือ อ.สากเหล็ก อ.วังทรายพูน และ อ.ทับคล้อ
นายสุริยันต์ กาญจนศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ลงพื้นที่ ต.รังนก อ.สามง่าม เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ หลังจาก จ.พิจิตร ประกาศพื้นที่ 10 หมู่บ้านของ ต.รังนก เป็นพื้นที่ภัยพิบัติจากอุทกภัย เนื่องจากแม่น้ำยมที่เพิ่มระดับสูงขึ้นจนเข้าท่วมพื้นที่บ้านเรือนประชาชน ถนนในหมู่บ้าน ส่งผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่และเริ่มขายวงกว้างไปในพื้นที่อีก 3 อำเภอได้แก่ อ.โพธิ์ประทับช้าง อ.บึงนาราง และ อ.โพทะเล
"ขณะนี้ได้ประกาศแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำยมทั้ง 4 อำเภอให้เตรียมความพร้อมในการรับมือน้ำก้อนใหม่ที่ไหลมาจากทางตอนเหนือ "
** "ตลาดโรงเกลือ" จมบาดาล
ด้านสถานการณ์น้ำป่าที่ไหลบ่าเข้าท่วมเขตเทศบาลเมืองอรัญประเทศ จ.สระแก้ว ตั้งแต่กลางดึกจนถึงเช้าวานนี้ บริเวณตลาดเทศบาลเมืองอรัญประเทศ ได้กลายเป็นทะเลถนนทุกสายภายในเขตเทศบาลเมืองอรัญประเทศ มีน้ำท่วมสูงตั้งแต่ระดับ 50 ซม.-1.20 ซม.
นอกจากนี้น้ำที่ไหลล้นคลองพรมโหด ได้ไหลเอ่อล้นเข้าท่วมหลายหมู่บ้านของ ต.ท่าข้าม อ.อรัญประเทศ เป็นวงกว้างทั้งตำบล โดยมีน้ำท่วมสูงตั้งแต่ 50 ซม.-1.50 ซม.
ส่วนตลาดโรงเกลือ ซึ่งเป็นตลาดการค้าชายแดนสำคัญของ จ.สระแก้ว และของภูมิภาค โดยเฉพาะตลาด อบจ.หรือตลาดโรงเกลือดั้งเดิม น้ำป่าที่ไหลบ่ามาจาก ต.ป่าไร่ อ.อรัญประเทศ ได้ไหลเข้าท่วมตลาดโรงเกลือตั้งแต่เวลา 05.00 น.จนเวลา 09.00 น.น้ำที่ไหลเข้าท่วมตลาดโรงเกลือได้สูงขึ้นประมาณ 30 ซม.
นายศานิตย์ นาคสุขศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ได้สั่งการให้หน่วยราชการในพื้นที่ที่มีกำลังพลและเรือท้องแบนพร้อมทั้งรถยนต์บรรทุกให้ระดมกำลังพร้อมอุปกรณ์มาช่วยเหลือประชาชนในเขตเทศบาลเมืองอรัญประเทศ อย่างเร่งด่วน
ล่าสุดจังหวัดสระแก้วได้ประกาศเขตภัยพิบัติฉุกเฉินไปแล้ว 6 อำเภอ ที่หนักที่สุดคือ อ.อรัญประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ตลาดเทศบาลเมืองอรัญประเทศ
**ฝนถล่มกรุงทำน้ำท่วมขังหลายจุด
ด้านศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝนตกเมื่อเวลา 16.00 น.วานนี้ว่า มีน้ำท่วมขัง ถนนพหลโยธินขาเข้า จากสนามกีฬาธูปเตมีย์ ถนนลาดพร้าว บริเวณตรงข้ามปากซอย 122 ถนนนครไชยศรีตรงข้ามกรมสรรพสามิต ถนนพระราม 6 ใต้ทางด่วน
นอกจากนี้ ยังมีน้ำท่วมขัง บริเวณถนนดินแดง หน้าโรงเรียนพิบูลย์ ถนนศรีนครินทร์ บริเวณหน้ามอเตอร์เวย์ ถนนพระราม 6 ถนนศรีอยุธยา ถึงแยกตึกชัย ถนนศรีอยุธยา ถนนพระราม 6 ถึงทางรถไฟ ถนนหน้าพระธาตุ บริเวณรอบสนามหลวง ถนนดินแดงปากซอยสุทธิพร 2 ถนนประชาราษฎร์บริเวณแยกเตาปูน
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า หลังจากเกิดฝนตกอย่างหนักทั่วกรุงเทพฯได้ส่งผลให้การจราจรติดขัดอย่างหนักเกือบทุกเส้นทางทั่ว กทม.
**ปูยันให้ความสำคัญน้ำท่วมทุกพื้นที่
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เหตุที่เกิดน้ำท่สมทุกวันนี้เป็นเรื่องของปริมาณน้ำฝนตกลงมาฉับพลัน ก็อาจจะมีปัญหาในบางพื้นที่บ้าง ซึ่งปัญหาในพื้นที่เราคงต้องไปแก้ในรายละเอียดของพื้นที่ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาแม่ยม
เมื่อถามว่า ในช่วงนี้จะต้องเฝ้าระวังเหตุการณ์น้ำท่วมไปนานแค่ไหน น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า อีกประมาณ 30 วัน และจากที่ประมาณการณ์ของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ก็ดูว่าปริมาณน้ำฝนยังอยู่ในสถานการณ์อีกประมาณ 1 เดือน
เมื่อถามว่า คลองทวีวัฒนาเกิดปัญหาน้ำท่วมทางฝั่งธนบุรีมีรายงานปัญหาประตูระบายน้ำเข้ามาแล้วหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ก็รายงาน แต่ต้องหน่วยงานเข้าไปตรวจสอบก่อน ซึ่งรายงานจะมีเข้ามาอยู่แล้ว แต่เราต้องเอาข้อมูลทั้งหมดมาตรวจสอบด้วย เพราะบางทีปัญหาไม่ได้อยู่ในพื้นที่ ปัญหาอาจจะเกิดจากส่วนอื่นด้วย
เมื่อถามว่าพื้นที่รับน้ำอย่างบางระกำ รัฐบาลควรพิจารณาหลักเกณฑ์การดูแลเป็นพิเศษหรือไม่ เพราะคนในพื้นที่ต้องรับน้ำทุกปี น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ต้องเรียนว่าเรื่องพื้นที่รับน้ำเราดูแลตามเกณฑ์ปกติอยู่แล้ว แต่เราได้ทำเพิ่มคือพื้นที่รับน้ำส่วนใหญ่จะมีปัญหาภาคการเกษตร เรื่องการเกี่ยวข้าวที่จะต้องเกี่ยวก่อนฤดู เราก็ได้เห็นชอบในการที่จะนำข้าวมาเข้าโครงการกรณีพิเศษ 17 จังหวัด อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยเหลือบรรเทาได้
**"ปลอดประสพ"ยันพื้นที่สำคัญไม่จม
น.ส.ศันสนีย์ นาคพงษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม ครม.วานนี้ว่า นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ได้รายงานให้ ครม.ได้ทราบถึงสถานการณ์น้ำท่วมว่า ขณะนี้มีร่องมรสุมพาดผ่านอยู่บริเวณภาคกลาง ซึ่งกำลังจะอ่อนกำลังลงแต่ว่าจะกลับมาแรงอีกครั้งในวันที่ 20-21 ก.ย. นอกจากนั้น ยังได้พูดถึงพายุที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกลูกหนึ่งคือพายุใต้ฝุ่นซันปา แต่ก็อาจจะไม่ส่งผลกระทบกับประเทศไทย เพราะมีทิศทางการเคลื่อนตัวไปยังประเทศญี่ปุ่น
สำหรับเรื่องของปริมาณน้ำได้มีการระบุว่า ปริมาณน้ำในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่านและแม่น้ำเจ้าพระยา ล้วนแล้วแต่ยังต่ำกว่าตลิ่ง
ส่วนนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกฯและ รมว.มหาดไทย กล่าวถึงการใช้ระบบรวมศูนย์ที่เดียวคือ "ซิงเกิล คอมมานเซ็นเตอร์" เป็นการใช้ครั้งแรกที่ จ.สุโขทัย ซึ่งพบว่าระบบได้วางไว้อย่างดีมากทุกขั้นตอน ด้านนายกฯ ได้กล่าวในประชุมอีกว่า อยากให้ กบอ.และ ปภ.ทำงานร่วมกันในการประมวลข้อมูลเพื่อสรุปทางเลือกในการปฏิบัติเพื่อรับมือกับสถานการณ์น้ำและขณะนี้ได้แจ้งที่ประชุมว่าศูนย์ปฏิบัติงานของ กบอ.ได้ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง
**น้ำท่วม 11 จว.เดือดร้อนกว่าแสน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถานการณ์ปัจจุบัน ยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย รวมทั้งสิ้น 11 จังหวัด ข้อมูล ณ วันที่ 18 ก.ย.55 จ.ลำปาง อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ ชัยนาท สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ชัยภูมิ และ ปราจีนบุรี รวม 43 อำเภอ 232 ตำบล 1,278 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 57,729 ครัวเรือน 142,537 คน"สุขุมพันธุ์"ยันสถานการณ์น้ำในกทม.ยังปกติแต่ ด้าน เสนอกทม.ควรเปลี่ยนแปลงระบบท่อระบายน้ำ
**“สุขุมพันธุ์” ห่วงน้ำหนุนสูง 21 ก.ย.นี้
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยภายหลังการแถลงข่าวการอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการบริหารพัฒนาเมือง (มหานครรุ่นที่ 2) ถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่ว่า ในขณะนี้กทม.ยังไม่ถึงจุดที่มีปัญหา สำหรับปริมาณน้ำฝนที่ผ่านมา มีปริมาณ 130-150 มล. กทม.ยังสามารถระบายน้ำได้ ทั้งนี้ต้องติดตามสถานการณ์ในวันที่ 21 กย. ซึ่งมีการคาดการณ์ปริมาณน้ำหนุนสูง
**"พิจิตต"ห่วงน้ำฝนตกใต้เขื่อนกับที่ตกในกทม.
ด้านดร.พิจิตต รัตตกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กล่าวถึงมาตรการการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์น้ำของกทม.ว่า กทม.และสำนักการระบายน้ำ(สนน.)ได้มีการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี แต่ปัญหาน้ำปีที่แล้วเกิดจากกทม.ไม่มีประสบการณ์เรื่องน้ำหลาก และน้ำทุ่ง เพราะที่ผ่านมากทม.บริหารจัดการเฉพาะน้ำฝนและน้ำจากแม่น้ำ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกงมากกว่า น้ำหลากและน้ำทุ่งที่เกิดขึ้นทำให้รู้ว่าจุดอ่อนของกทม.อยู่ตรงไหน สำหรับวันนี้ปริมาณน้ำไหลผ่านภาคกลาง 3,000 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณน้ำมากถึง 12,000 ล้าน ลบ.ม. ต้องติดตามปริมาณน้ำฝนที่ตกใต้เขื่อนกับที่ตกในพื้นที่กรุงเทพฯอย่างใกล้ชิด **ห่วงดินทรุดท่อระบายน้ำลอยตัว
ดร.พิจิตต กล่าวด้วยว่า การทรุดตัวของดินก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญของปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการสำรวจแล้วพบว่าพื้นที่กทม.มีการทรุดตัวไปเรื่อยๆ จริง บางพื้นที่ระดับต่ำกว่าระดับน้ำทะเล เช่น ถนนรามคำแหง จำเป็นต้องคำนึงถึงระบบท่อระบายน้ำ ความสูงของปากท่อ ดังนั้นกทม.ควรต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบท่อ
**ชาวสุโขทัยเครียดจัด 26 ราย ต้องดูแลใกล้ชิด
วันเดียวกัน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิตในฐานะประธานศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาผลกระทบด้านสุขภาพอันเนื่องมาจากอุทกภัยของกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผลการตรวจคัดกรองสุขภาพจิตที่จังหวัดสุโขทัย ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงเช่นเป็นโรคทางจิตอยู่แล้ว ผู้ทรัพย์สินเสียหายหรือมีญาติเสียชีวิต ตั้งแต่วันที่ 11-17 ก.ย. 2555 ตรวจทั้งหมด 481 ราย ในจำนวนนี้พบเครียดในระดับเครียดจัด บ่นอยากตาย นอนไม่หลับ 26 ราย มีอาการซึมเศร้า 17 ราย ในจำนวนนี้ส่งเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสวนปรุง 7 รายซึ่งเป็นคนไข้จิตเวชเก่าจากอาการกำเริบหลังน้ำท่วม พบผู้มีความเสี่ยงฆ่าตัวตาย 11 ราย จิตแพทย์ได้ให้คำปรึกษาและให้ยาคลายเครียด คลายวิตกกังวล และติดตามอาการเป็นระยะๆ โดยให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข หรือ อสม.ร่วมกับญาติอย่างใกล้ชิด
สถานการณ์น้ำท่วมรอบ 2 ในเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี จ.สุโขทัย วานนี้ (18 ก.ย.) เริ่มคลี่คลายแล้ว หลังจากระดับน้ำในแม่น้ำยมเริ่มลดระดับลง ขณะที่นายจักริน เปลี่ยนวงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ได้สั่งระดมกำลังทั้งเจ้าหน้าที่ทหาร ป่าไม้ และ อส.รวม 350 นาย ให้ช่วยกันเร่งขนกระสอบทราย เข้าไปอุดรอยรั่วตรงบิ๊กแบ็กแนวป้องกันน้ำยม รวมทั้งอีก 24 จุดบริเวณริมแม่น้ำยมที่พบมีปัญหารั่วซึม
ขณะเดียวกันก็ได้สั่งให้ทำการเร่งสูบระบายน้ำออก ตลอดทั้งคืนวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมาจนถึงเช้าวานนี้ (18 ก.ย.) ทำให้ปริมาณน้ำที่ท่วมขังในตัวตลาดเทศบาลลดลงกว่า 60% แล้ว คาดว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วถ้าหากไม่มีฝนตกซ้ำในพื้นที่
สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมที่ อ.สวรรคโลก และ อ.ศรีสำโรง นั้นคลี่คลายแล้ว ส่วนที่หมู่ 4 ต.ปากแคว ระดับน้ำท่วมหมู่บ้านลดลงต่อเนื่อง รวมถึงถนนสายสุโขทัย-ศรีสำโรง ตรงหน้าการประปาส่วนภูมิภาค รถเล็กก็สามารถสัญจรผ่านได้แล้วเช่นกัน
**น้ำสุโขทัยท่วมซ้ำพิษณุโลกจม7อำเภอ
สำหรับสถานการณ์น้ำใน จ.พิษณุโลก ขณะนี้น้ำที่ไหลมาจาก จ.สุโขทัย ได้ทะลักเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อ.พรหมพิราม อ.เมือง และ อ.บางระกำ มีพื้นที่ที่เสียหายจากน้ำท่วมครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางการเกษตร 22,500 ไร่ เบื้องต้นทาง ปภ.พิษณุโลก ได้มีการประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากน้ำท่วมแล้ว 7 อำเภอ คือ อ.เมือง อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ อ.วังทอง อ.บางกระทุ่ม อ.ชาติตระการ และ อ.นครไทย
นายบรรดิษฐ์ อินต๊ะ ผอ.โครงการชลประทานพิษณุโลก เปิดเผยว่า น้ำยมที่หลากมาจากสุโขทัยกำลังไหลรวมกันที่ อ.บางระกำ แม่น้ำยมในเขต อ.บางระกำ เพิ่มระดับเฉลี่ยชั่วโมงละ 1 ซม.หรือวันละประมาณ 20 ซม.
ล่าสุดนายชัยโรจน์ มีแดง ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก พร้อมส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้ตั้งศูนย์บัญชาการส่วนหน้าขึ้นที่บ้านวังขี้เหล็ก หมู่ 10 ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก โดยตั้งเต็นท์ประกอบด้วยหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ระดมเครื่องมือในการช่วยเหลือประชาชน
**เตือนริมน้ำยม 4 อำเภอพิจิตรอพยพ
นายสุวิทย์ วัชโรทยางกรู ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ประกาศพื้นที่ 10 หมู่บ้านของ ต.รังนก อ.สามง่าม เป็นพื้นที่ภัยพิบัติจากอุทกภัยทำให้ จ.พิจิตร มีพื้นที่ภัยพิบัติจากอุทกภัยเพิ่มขึ้นอีก 1 อำเภอ จากเดิมที่ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติไปแล้ว 3 อำเภอ คือ อ.สากเหล็ก อ.วังทรายพูน และ อ.ทับคล้อ
นายสุริยันต์ กาญจนศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ลงพื้นที่ ต.รังนก อ.สามง่าม เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ หลังจาก จ.พิจิตร ประกาศพื้นที่ 10 หมู่บ้านของ ต.รังนก เป็นพื้นที่ภัยพิบัติจากอุทกภัย เนื่องจากแม่น้ำยมที่เพิ่มระดับสูงขึ้นจนเข้าท่วมพื้นที่บ้านเรือนประชาชน ถนนในหมู่บ้าน ส่งผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่และเริ่มขายวงกว้างไปในพื้นที่อีก 3 อำเภอได้แก่ อ.โพธิ์ประทับช้าง อ.บึงนาราง และ อ.โพทะเล
"ขณะนี้ได้ประกาศแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำยมทั้ง 4 อำเภอให้เตรียมความพร้อมในการรับมือน้ำก้อนใหม่ที่ไหลมาจากทางตอนเหนือ "
** "ตลาดโรงเกลือ" จมบาดาล
ด้านสถานการณ์น้ำป่าที่ไหลบ่าเข้าท่วมเขตเทศบาลเมืองอรัญประเทศ จ.สระแก้ว ตั้งแต่กลางดึกจนถึงเช้าวานนี้ บริเวณตลาดเทศบาลเมืองอรัญประเทศ ได้กลายเป็นทะเลถนนทุกสายภายในเขตเทศบาลเมืองอรัญประเทศ มีน้ำท่วมสูงตั้งแต่ระดับ 50 ซม.-1.20 ซม.
นอกจากนี้น้ำที่ไหลล้นคลองพรมโหด ได้ไหลเอ่อล้นเข้าท่วมหลายหมู่บ้านของ ต.ท่าข้าม อ.อรัญประเทศ เป็นวงกว้างทั้งตำบล โดยมีน้ำท่วมสูงตั้งแต่ 50 ซม.-1.50 ซม.
ส่วนตลาดโรงเกลือ ซึ่งเป็นตลาดการค้าชายแดนสำคัญของ จ.สระแก้ว และของภูมิภาค โดยเฉพาะตลาด อบจ.หรือตลาดโรงเกลือดั้งเดิม น้ำป่าที่ไหลบ่ามาจาก ต.ป่าไร่ อ.อรัญประเทศ ได้ไหลเข้าท่วมตลาดโรงเกลือตั้งแต่เวลา 05.00 น.จนเวลา 09.00 น.น้ำที่ไหลเข้าท่วมตลาดโรงเกลือได้สูงขึ้นประมาณ 30 ซม.
นายศานิตย์ นาคสุขศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ได้สั่งการให้หน่วยราชการในพื้นที่ที่มีกำลังพลและเรือท้องแบนพร้อมทั้งรถยนต์บรรทุกให้ระดมกำลังพร้อมอุปกรณ์มาช่วยเหลือประชาชนในเขตเทศบาลเมืองอรัญประเทศ อย่างเร่งด่วน
ล่าสุดจังหวัดสระแก้วได้ประกาศเขตภัยพิบัติฉุกเฉินไปแล้ว 6 อำเภอ ที่หนักที่สุดคือ อ.อรัญประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ตลาดเทศบาลเมืองอรัญประเทศ
**ฝนถล่มกรุงทำน้ำท่วมขังหลายจุด
ด้านศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝนตกเมื่อเวลา 16.00 น.วานนี้ว่า มีน้ำท่วมขัง ถนนพหลโยธินขาเข้า จากสนามกีฬาธูปเตมีย์ ถนนลาดพร้าว บริเวณตรงข้ามปากซอย 122 ถนนนครไชยศรีตรงข้ามกรมสรรพสามิต ถนนพระราม 6 ใต้ทางด่วน
นอกจากนี้ ยังมีน้ำท่วมขัง บริเวณถนนดินแดง หน้าโรงเรียนพิบูลย์ ถนนศรีนครินทร์ บริเวณหน้ามอเตอร์เวย์ ถนนพระราม 6 ถนนศรีอยุธยา ถึงแยกตึกชัย ถนนศรีอยุธยา ถนนพระราม 6 ถึงทางรถไฟ ถนนหน้าพระธาตุ บริเวณรอบสนามหลวง ถนนดินแดงปากซอยสุทธิพร 2 ถนนประชาราษฎร์บริเวณแยกเตาปูน
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า หลังจากเกิดฝนตกอย่างหนักทั่วกรุงเทพฯได้ส่งผลให้การจราจรติดขัดอย่างหนักเกือบทุกเส้นทางทั่ว กทม.
**ปูยันให้ความสำคัญน้ำท่วมทุกพื้นที่
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เหตุที่เกิดน้ำท่สมทุกวันนี้เป็นเรื่องของปริมาณน้ำฝนตกลงมาฉับพลัน ก็อาจจะมีปัญหาในบางพื้นที่บ้าง ซึ่งปัญหาในพื้นที่เราคงต้องไปแก้ในรายละเอียดของพื้นที่ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาแม่ยม
เมื่อถามว่า ในช่วงนี้จะต้องเฝ้าระวังเหตุการณ์น้ำท่วมไปนานแค่ไหน น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า อีกประมาณ 30 วัน และจากที่ประมาณการณ์ของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ก็ดูว่าปริมาณน้ำฝนยังอยู่ในสถานการณ์อีกประมาณ 1 เดือน
เมื่อถามว่า คลองทวีวัฒนาเกิดปัญหาน้ำท่วมทางฝั่งธนบุรีมีรายงานปัญหาประตูระบายน้ำเข้ามาแล้วหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ก็รายงาน แต่ต้องหน่วยงานเข้าไปตรวจสอบก่อน ซึ่งรายงานจะมีเข้ามาอยู่แล้ว แต่เราต้องเอาข้อมูลทั้งหมดมาตรวจสอบด้วย เพราะบางทีปัญหาไม่ได้อยู่ในพื้นที่ ปัญหาอาจจะเกิดจากส่วนอื่นด้วย
เมื่อถามว่าพื้นที่รับน้ำอย่างบางระกำ รัฐบาลควรพิจารณาหลักเกณฑ์การดูแลเป็นพิเศษหรือไม่ เพราะคนในพื้นที่ต้องรับน้ำทุกปี น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ต้องเรียนว่าเรื่องพื้นที่รับน้ำเราดูแลตามเกณฑ์ปกติอยู่แล้ว แต่เราได้ทำเพิ่มคือพื้นที่รับน้ำส่วนใหญ่จะมีปัญหาภาคการเกษตร เรื่องการเกี่ยวข้าวที่จะต้องเกี่ยวก่อนฤดู เราก็ได้เห็นชอบในการที่จะนำข้าวมาเข้าโครงการกรณีพิเศษ 17 จังหวัด อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยเหลือบรรเทาได้
**"ปลอดประสพ"ยันพื้นที่สำคัญไม่จม
น.ส.ศันสนีย์ นาคพงษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม ครม.วานนี้ว่า นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ได้รายงานให้ ครม.ได้ทราบถึงสถานการณ์น้ำท่วมว่า ขณะนี้มีร่องมรสุมพาดผ่านอยู่บริเวณภาคกลาง ซึ่งกำลังจะอ่อนกำลังลงแต่ว่าจะกลับมาแรงอีกครั้งในวันที่ 20-21 ก.ย. นอกจากนั้น ยังได้พูดถึงพายุที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกลูกหนึ่งคือพายุใต้ฝุ่นซันปา แต่ก็อาจจะไม่ส่งผลกระทบกับประเทศไทย เพราะมีทิศทางการเคลื่อนตัวไปยังประเทศญี่ปุ่น
สำหรับเรื่องของปริมาณน้ำได้มีการระบุว่า ปริมาณน้ำในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่านและแม่น้ำเจ้าพระยา ล้วนแล้วแต่ยังต่ำกว่าตลิ่ง
ส่วนนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกฯและ รมว.มหาดไทย กล่าวถึงการใช้ระบบรวมศูนย์ที่เดียวคือ "ซิงเกิล คอมมานเซ็นเตอร์" เป็นการใช้ครั้งแรกที่ จ.สุโขทัย ซึ่งพบว่าระบบได้วางไว้อย่างดีมากทุกขั้นตอน ด้านนายกฯ ได้กล่าวในประชุมอีกว่า อยากให้ กบอ.และ ปภ.ทำงานร่วมกันในการประมวลข้อมูลเพื่อสรุปทางเลือกในการปฏิบัติเพื่อรับมือกับสถานการณ์น้ำและขณะนี้ได้แจ้งที่ประชุมว่าศูนย์ปฏิบัติงานของ กบอ.ได้ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง
**น้ำท่วม 11 จว.เดือดร้อนกว่าแสน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถานการณ์ปัจจุบัน ยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย รวมทั้งสิ้น 11 จังหวัด ข้อมูล ณ วันที่ 18 ก.ย.55 จ.ลำปาง อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ ชัยนาท สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ชัยภูมิ และ ปราจีนบุรี รวม 43 อำเภอ 232 ตำบล 1,278 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 57,729 ครัวเรือน 142,537 คน"สุขุมพันธุ์"ยันสถานการณ์น้ำในกทม.ยังปกติแต่ ด้าน เสนอกทม.ควรเปลี่ยนแปลงระบบท่อระบายน้ำ
**“สุขุมพันธุ์” ห่วงน้ำหนุนสูง 21 ก.ย.นี้
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยภายหลังการแถลงข่าวการอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการบริหารพัฒนาเมือง (มหานครรุ่นที่ 2) ถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่ว่า ในขณะนี้กทม.ยังไม่ถึงจุดที่มีปัญหา สำหรับปริมาณน้ำฝนที่ผ่านมา มีปริมาณ 130-150 มล. กทม.ยังสามารถระบายน้ำได้ ทั้งนี้ต้องติดตามสถานการณ์ในวันที่ 21 กย. ซึ่งมีการคาดการณ์ปริมาณน้ำหนุนสูง
**"พิจิตต"ห่วงน้ำฝนตกใต้เขื่อนกับที่ตกในกทม.
ด้านดร.พิจิตต รัตตกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กล่าวถึงมาตรการการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์น้ำของกทม.ว่า กทม.และสำนักการระบายน้ำ(สนน.)ได้มีการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี แต่ปัญหาน้ำปีที่แล้วเกิดจากกทม.ไม่มีประสบการณ์เรื่องน้ำหลาก และน้ำทุ่ง เพราะที่ผ่านมากทม.บริหารจัดการเฉพาะน้ำฝนและน้ำจากแม่น้ำ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกงมากกว่า น้ำหลากและน้ำทุ่งที่เกิดขึ้นทำให้รู้ว่าจุดอ่อนของกทม.อยู่ตรงไหน สำหรับวันนี้ปริมาณน้ำไหลผ่านภาคกลาง 3,000 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณน้ำมากถึง 12,000 ล้าน ลบ.ม. ต้องติดตามปริมาณน้ำฝนที่ตกใต้เขื่อนกับที่ตกในพื้นที่กรุงเทพฯอย่างใกล้ชิด **ห่วงดินทรุดท่อระบายน้ำลอยตัว
ดร.พิจิตต กล่าวด้วยว่า การทรุดตัวของดินก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญของปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการสำรวจแล้วพบว่าพื้นที่กทม.มีการทรุดตัวไปเรื่อยๆ จริง บางพื้นที่ระดับต่ำกว่าระดับน้ำทะเล เช่น ถนนรามคำแหง จำเป็นต้องคำนึงถึงระบบท่อระบายน้ำ ความสูงของปากท่อ ดังนั้นกทม.ควรต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบท่อ
**ชาวสุโขทัยเครียดจัด 26 ราย ต้องดูแลใกล้ชิด
วันเดียวกัน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิตในฐานะประธานศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาผลกระทบด้านสุขภาพอันเนื่องมาจากอุทกภัยของกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผลการตรวจคัดกรองสุขภาพจิตที่จังหวัดสุโขทัย ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงเช่นเป็นโรคทางจิตอยู่แล้ว ผู้ทรัพย์สินเสียหายหรือมีญาติเสียชีวิต ตั้งแต่วันที่ 11-17 ก.ย. 2555 ตรวจทั้งหมด 481 ราย ในจำนวนนี้พบเครียดในระดับเครียดจัด บ่นอยากตาย นอนไม่หลับ 26 ราย มีอาการซึมเศร้า 17 ราย ในจำนวนนี้ส่งเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสวนปรุง 7 รายซึ่งเป็นคนไข้จิตเวชเก่าจากอาการกำเริบหลังน้ำท่วม พบผู้มีความเสี่ยงฆ่าตัวตาย 11 ราย จิตแพทย์ได้ให้คำปรึกษาและให้ยาคลายเครียด คลายวิตกกังวล และติดตามอาการเป็นระยะๆ โดยให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข หรือ อสม.ร่วมกับญาติอย่างใกล้ชิด