กทพ. จัดสัมมนาให้ข้อมูลก่อนผุดทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2-N3 และ E-W Corridor ที่ปรึกษาเสนอแนวก่อสร้างจากถ.เกษตร-นวมินทร์ผ่านถ.เสรีไทย-รามคำแหง-กรุงเทพ-ชลบุรีที่ศรีนครินทร์เชื่อมด่วนศรีรัช 23.1กม. ช่วยเติมโครงข่ายเชื่อมตะวันออกสู่ด้านตะวันตกของกรุงเทพฯและปริมณฑล ลดปัญหาการจราจรแออัดของกรุงเทพฯ ชั้นใน
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2555 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)ได้จัดสัมมนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2-N3 และตอน E-W Corridor ที่ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โดยนายชวลิต วัฒนกูล รองผู้ว่าการฝ่ายก่อสร้างและบำรุงรักษา กทพ. กล่าวว่า ภายหลังจากที่ได้มีการสัมมนาให้ข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษาทบทวนโครงการและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการระบบทางด่วน ขั้นที่ 3 สายเหนือ N2และตอน N3 ไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากนั้นกลุ่มบริษัท ที่ปรึกษาได้จัดประชุมกลุ่มย่อยประชาชนในพื้นที่ศึกษาและสัมภาษณ์เชิงลึก รวบรวมเพื่อประกอบการพิจารณาแนวเส้นทางเลือก และรายงานความคิดเห็นมาประกอบการศึกษาเส้นทางเลือกที่เหมาะสม และได้สรุปแนวทางเลือกที่มีผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด แต่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประชาชนมากที่สุด
ทั้งนี้ในการรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่ได้รับผลกระทบทุกส่วน ตามแนวเส้นทางเบื้องต้นที่จัดทำไปแล้วนั้น จะพิจารณาจากองค์ประกอบหลายประการ เช่น จุดต้นทาง-ปลายทาง สภาพภูมิประเทศ โครงสร้างสาธารณูปโภค สถานที่สาธารณประโยชน์ สถานศึกษา เช่น วัด โรงเรียน พื้นที่อนุรักษ์ตามกฎหมาย สถานที่ทรงคุณค่า ทางวัฒนธรรม โบราณคดี พื้นที่ชุมชน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โครงสร้างทางวิศวกรรม และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ซึ่งการศึกษาทบทวนได้มีข้อสรุปเลือกแนวเส้นทางออกมาแล้ว
โดยในการสัมมนาครั้งนี้ กทพ. และกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาจะนำเสนอความคืบหน้าและรายละเอียดของแนวเส้นทางเลือกของโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2-N3 และตอน East-West Corridor มีแนวสายทางที่คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้าง เริ่มต้นจากสี่แยกเกษตรบริเวณถนนประเสริฐมนูกิจ(ถ.เกษตร-นวมินทร์)ของกรมทางหลวง ถึงถนนนวมินทร์และตัดผ่านถนนเสรีไทยและถนนรามคำแหง สิ้นสุดโครงการถนนกรุงเทพ-ชลบุรีสายใหม่ บริเวณถนนศรีนครินทร์ ซึ่งเป็นจุดบรรจบระหว่างทางพิเศษศรีรัช ส่วน D กับถนนกรุงเทพ-ชลบุรีสายใหม่ รวมระยะทางประมาณ 23.1 กิโลเมตร
"การจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำโครงการ นำแนวทางเลือกและรับฟังความคิดเห็นเบื้องต้นของประชาชนในพื้นที่ศึกษา โดยการสัมมนาในครั้งมีผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการเข้าร่วมสัมมนาให้ความเห็น จำนวนมาก ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงาน องค์กรอิสระ สถานประกอบการ สถาบัน การศึกษาและศาสนา นักการเมืองท้องถิ่น ผู้แทนประชาชน/หมู่บ้านจัดสรร ที่ปรึกษาโครงการฯ และสื่อมวลชน สำหรับขั้นตอนในการศึกษาต่อไปนั้น จะต้องนำข้อสรุปทั้งหมดนำเสนอ ผ่านการพิจารณาจากคณะ อนุกรรมการกำกับการศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการฯ และสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม" รองผู้ว่าการฝ่ายก่อสร้างฯ กล่าว
อย่างไรก็ตาม โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ จะช่วยเติมเต็มโครงข่ายทางพิเศษให้ครบถ้วนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสัญจร จากเชื่อมทิศทางระหว่างด้านตะวันออกสู่ด้านตะวันตกของกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการจราจรแออัดของกรุงเทพฯ ชั้นในให้คลี่คลายลงได้ หากประสงค์ให้ข้อเสนอแนะและสอบถามในรายละเอียดสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ข้อมูลผู้ใช้ทางพิเศษ (EXAT Call Center) โทร 1543 สายตรงบริษัท ที่ปรึกษา โทร 090 573 1844-7 หรือ expresswayn3@hotmail.com ได้ตลอด 24 ชั่วโมงและwww.north3rdwexpresswayproject.com
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2555 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)ได้จัดสัมมนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2-N3 และตอน E-W Corridor ที่ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โดยนายชวลิต วัฒนกูล รองผู้ว่าการฝ่ายก่อสร้างและบำรุงรักษา กทพ. กล่าวว่า ภายหลังจากที่ได้มีการสัมมนาให้ข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษาทบทวนโครงการและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการระบบทางด่วน ขั้นที่ 3 สายเหนือ N2และตอน N3 ไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากนั้นกลุ่มบริษัท ที่ปรึกษาได้จัดประชุมกลุ่มย่อยประชาชนในพื้นที่ศึกษาและสัมภาษณ์เชิงลึก รวบรวมเพื่อประกอบการพิจารณาแนวเส้นทางเลือก และรายงานความคิดเห็นมาประกอบการศึกษาเส้นทางเลือกที่เหมาะสม และได้สรุปแนวทางเลือกที่มีผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด แต่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประชาชนมากที่สุด
ทั้งนี้ในการรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่ได้รับผลกระทบทุกส่วน ตามแนวเส้นทางเบื้องต้นที่จัดทำไปแล้วนั้น จะพิจารณาจากองค์ประกอบหลายประการ เช่น จุดต้นทาง-ปลายทาง สภาพภูมิประเทศ โครงสร้างสาธารณูปโภค สถานที่สาธารณประโยชน์ สถานศึกษา เช่น วัด โรงเรียน พื้นที่อนุรักษ์ตามกฎหมาย สถานที่ทรงคุณค่า ทางวัฒนธรรม โบราณคดี พื้นที่ชุมชน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โครงสร้างทางวิศวกรรม และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ซึ่งการศึกษาทบทวนได้มีข้อสรุปเลือกแนวเส้นทางออกมาแล้ว
โดยในการสัมมนาครั้งนี้ กทพ. และกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาจะนำเสนอความคืบหน้าและรายละเอียดของแนวเส้นทางเลือกของโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2-N3 และตอน East-West Corridor มีแนวสายทางที่คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้าง เริ่มต้นจากสี่แยกเกษตรบริเวณถนนประเสริฐมนูกิจ(ถ.เกษตร-นวมินทร์)ของกรมทางหลวง ถึงถนนนวมินทร์และตัดผ่านถนนเสรีไทยและถนนรามคำแหง สิ้นสุดโครงการถนนกรุงเทพ-ชลบุรีสายใหม่ บริเวณถนนศรีนครินทร์ ซึ่งเป็นจุดบรรจบระหว่างทางพิเศษศรีรัช ส่วน D กับถนนกรุงเทพ-ชลบุรีสายใหม่ รวมระยะทางประมาณ 23.1 กิโลเมตร
"การจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำโครงการ นำแนวทางเลือกและรับฟังความคิดเห็นเบื้องต้นของประชาชนในพื้นที่ศึกษา โดยการสัมมนาในครั้งมีผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการเข้าร่วมสัมมนาให้ความเห็น จำนวนมาก ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงาน องค์กรอิสระ สถานประกอบการ สถาบัน การศึกษาและศาสนา นักการเมืองท้องถิ่น ผู้แทนประชาชน/หมู่บ้านจัดสรร ที่ปรึกษาโครงการฯ และสื่อมวลชน สำหรับขั้นตอนในการศึกษาต่อไปนั้น จะต้องนำข้อสรุปทั้งหมดนำเสนอ ผ่านการพิจารณาจากคณะ อนุกรรมการกำกับการศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการฯ และสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม" รองผู้ว่าการฝ่ายก่อสร้างฯ กล่าว
อย่างไรก็ตาม โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ จะช่วยเติมเต็มโครงข่ายทางพิเศษให้ครบถ้วนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสัญจร จากเชื่อมทิศทางระหว่างด้านตะวันออกสู่ด้านตะวันตกของกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการจราจรแออัดของกรุงเทพฯ ชั้นในให้คลี่คลายลงได้ หากประสงค์ให้ข้อเสนอแนะและสอบถามในรายละเอียดสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ข้อมูลผู้ใช้ทางพิเศษ (EXAT Call Center) โทร 1543 สายตรงบริษัท ที่ปรึกษา โทร 090 573 1844-7 หรือ expresswayn3@hotmail.com ได้ตลอด 24 ชั่วโมงและwww.north3rdwexpresswayproject.com