ในประวัติศาสตร์การเมืองขั้นคลาสสิกของโลก ได้บันทึกไว้ถึงเหตุการณ์ทางการเมืองที่ต้องศึกษาและวิเคราะห์ เพราะพฤติกรรมมนุษย์ทั้งโลกเหมือนกันในเรื่องกิเลส ตัณหา เพราะฉะนั้น คำสอนและข้อห้ามขององค์ศาสดาทุกศาสนา จะประกาสิตไว้เหมือนกันหมด เช่น ห้ามฆ่า ห้ามขโมย ห้ามเป็นชู้ ห้ามโกหก ห้ามละเมิดสิทธิ ห้ามนับถือความชั่วร้ายหรือลัทธิบูชายันต์
เพราะกิเลสตัณหาบ้าอำนาจ ทำให้ผู้ยิ่งใหญ่ทรราชหลายคนต้องประสบกับการถูกตั้งข้อหาเป็นทรราชและถูกโค่นอำนาจ มีปราชญ์ นักวิชาการ และนักเขียนหลายคนได้กล่าวไว้ว่า “การที่คนมีอำนาจทำให้คนคนนั้นคอร์รัปชัน ถ้าคนคนนั้นยิ่งมีอำนาจมากเท่าใดเขาก็ยิ่งคอร์รัปชันมากเท่านั้น”
จูเลียส ซีซาร์ ผู้ที่ประวัติศาสตร์ตะวันตกยกย่องว่าเป็นมหาบุรุษคนหนึ่งในยุคก่อนคริสตกาล 44 ปี เพราะสามารถเอาชนะพวกโกลส์หรือคนเถื่อนในแถบฝรั่งเศสและเยอรมันโบราณ เข้าครอบครองอาณาจักรโกลส์ทั้งหมด ได้สร้างสะพานและจองถนนซึ่งเป็นเทคโนโลยีทางวิศวกรรมโยธาในสมัยนั้นเชื่อมต่อเมืองต่อเมืองเป็นระยะทางไกล ยกพลขึ้นบุกยึดเกาะอังกฤษโบราณหรือแองโกล สร้างกำแพงป้องกันและเชื่อมถนนในอังกฤษ สกอตต์ และเวลส์โบราณ ปกครองอังกฤษโบราณอยู่เกือบ 3 ศตวรรษ
แต่ด้วยอำนาจกิเลสมักมากในอำนาจสูงสุด จนสามารถเปลี่ยนปฏิทินที่ใช้กันในโลกสากลจนทุกวันนี้ จึงค่อยๆ เปลี่ยนแปลงการปกครองแบบสาธารณรัฐ ซึ่งนิยมกันในยุคนั้นเพราะอิทธิพลกรีก ซึ่งเป็นนครรัฐหลายนครรัฐ และหวังให้เป็นจักรวรรดิ ทำให้นักการเมืองสายสาธารณรัฐนิยมไม่พอใจและต่อต้านนำโดย มาร์กัส บรูทัส ร่วมกับคณะสมาชิกรัฐสภารุมแทงจนจูเลียส ซีซาร์ตายในรัฐสภานั่นเองเพราะหน่วยอารักขาเข้าไม่ได้ เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ฝ่ายนิยมจูเลียส ซีซาร์ชนะเพราะศรัทธาในความสามารถของจูเลียส ซีซาร์ ทำให้อาณาจักรโรมันไม่ได้เป็นสาธารณรัฐอีกเลย เป็นจักรวรรดิ และเกิดทรราชขึ้นอีกหลายคนจนล้มสลายไปตามกฎแห่งกรรมและอนิจจัง
ต่อมาในสมัยนโปเลียน โบนาปาร์ต อดีตนายทหารสามัญจากเกาะคอร์ซิกา ที่ต่ำต้อย แต่พุ่งขึ้นสู่ความยิ่งใหญ่ทางการทหาร สามารถเป็นกลไกรัฐให้กับคณะปฏิวัติฝรั่งเศส นำชัยชนะมาสู่ฝรั่งเศสได้ โดยเฉพาะจากการรุกรานจากภายนอกที่เห็นฝรั่งเศสอ่อนแอและไม่พอใจพวกปฏิวัติล้มพระเจ้าหลุยส์ที่ 16
ความวุ่นวายภายในของคณะปฏิวัติฝรั่งเศสมีความซับซ้อนมาก เกิดการหักหลังกัน ฆ่ากันเองเพื่อแย่งชิงอำนาจ แต่ด้วยความเป็นทหารอาชีพของนโปเลียนก็ปฏิบัติตามที่รัฐบาลคณะปฏิวัติสั่งการ โดยเฉพาะการล่าเมืองขึ้นในปี ค.ศ.1798 นโปเลียนไปรบอยู่ในอียิปต์ เรียนรู้ว่าฝรั่งเศสกำลังพ่ายแพ้สงครามร่วมชาติยุโรป ค.ศ.1798 – 1802 ที่กลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก เช่น ออสเตรีย เยอรมนี และดัตช์รวมตัวกันบุกฝรั่งเศส เพื่อยุติการปฏิวัติในฝรั่งเศส และหวังสถาปนาระบบกษัตริย์ขึ้นมาใหม่
ความยุ่งเหยิง การแตกแยกเป็นหลายก๊กในคณะปฏิวัติฝรั่งเศสและกลุ่มจาโกแบงก์ ที่นำโดยแมกซิมิเลียน โรเบิร์ตสแปร์ กระทำการโหดเหี้ยม สังหารคนฝรั่งเศสไปอย่างน้อยสัปดาห์ละ 6,000 – 8,000 คนทั่วฝรั่งเศส ด้วยข้อหาต่อต้านการปฏิวัติ มีการใส่ความกันเอง ฆ่ากันเอง และขาดการบริหารจัดการอย่างเมตตาธรรมจนการปฏิวัติเริ่มเข้าจุดหายนะเรียกว่ายุคหฤโหด
เมื่อฝรั่งเศสเข้าขั้นกลียุค ข้าวยากหมากแพง เงินหมดคลัง ประชาชนเดือดร้อนไปทั่ว หนักหนาสากรรจ์กว่าเมื่อครั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ปกครองเสียอีก แม้ว่าสงครามต่อต้านกลุ่มชาติยุโรปไม่ได้ก้าวหน้าและไม่สามารถยึดฝรั่งเศสได้ แต่ความเลวร้ายในชาติของฝรั่งเศสถึงขีดสุดจุดเดือด กลุ่มความคิดแนวกลางในคณะปฏิวัติจึงขอให้นโปเลียนกระทำการรัฐประหารในปี ค.ศ. 1799 และยกย่องให้นโปเลียนเป็น “ผู้ปกครองแผ่นดิน”
นโปเลียนถูกลอบสังหารหลายครั้ง แต่ก็รอดตัวมาได้ทุกครั้ง และเริ่มรุกตอบโต้ชาติยุโรป นโปเลียนสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1804 และสงครามกับอิตาลีเป็นชัยชนะครั้งแรกของนโปเลียน จึงสถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์แห่งอิตาลีในปี ค.ศ. 1805
นักรัฐศาสตร์สากลมองว่า การรัฐประหารเป็นบทเรียนรัฐศาสตร์สุดท้าย ในเมื่อไม่มีอะไรมาเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการรัฐที่ล้มเหลวได้ เพราะอำนาจรัฐถูกเปลี่ยนจากกลุ่มหนึ่งไปสู่กลุ่มหนึ่ง และอ้างว่าเป็นผู้ที่ทำลายระบอบทรราช ทั้งๆ ที่ตัวเองเป็นทรราชทางรัฐสภาและระบบการเมือง เช่น การบริหารแผ่นดินของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งขาดหลักนิติธรรม ขาดจรรยาบรรณในการเป็นผู้ปกครองบริหารประเทศที่ดี ขาดความรอบรู้และความฉลาด เอาแต่ความละโมบของตัวเองเป็นใหญ่และหวังมีอำนาจอย่างสมบูรณ์แบบ
การรัฐประหาร คือ การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารรัฐอย่างฉับไวจากเนื้อในของรัฐบาล หรือกลไกของรัฐบาลเอง โดยเฉพาะกองทัพซึ่งเป็นเครื่องมือของรัฐแต่มีอาวุธครบมือ มีระเบียบวินัย มีระบบการบังคับบัญขาที่ชัดเจนเด็ดขาดหรือจะเกิดจากประชาชนและข้าราชการที่ต่อต้านพฤติกรรมรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรมทั้งเชิงนิตินัยและพฤตินัยก็ได้ซึ่งเกิดมาแล้ว
กรณีจูเลียส ซีซาร์ และนโปเลียน ซึ่งเกิดต่างยุคต่างสมัยกัน ต่างแต่เหตุการณ์เรื่องราวบริบททางการเมืองที่แตกต่างกัน แต่ข้อเท็จจริงอันเป็นสัจธรรม คือ ความโลภในอำนาจของผู้ปกครองประเทศ ความโหดเหี้ยม ความทุกข์ยากของราษฎร์ ความวุ่นวายสับสนทางสังคม ความเสื่อมทางศีลธรรมจรรยา ความไม่ละอายต่อบาปและเกรงกลัวบาป
สาเหตุเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอำนาจรัฐในการบริหารประเทศ เกิดกฎหมายที่เหมาะสมขึ้นปกครองประเทศ ถ้าผู้นำรัฐประหารมีคุณธรรม สร้างความสมดุล ความยุติธรรม และนำมาซึ่งความผาสุกให้เกิดขึ้นในสังคมได้ ประชาชนจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด ทฤษฎีรัฐศาสตร์นี้เป็นการสร้างอำนาจรัฐด้วยหลักพฤติกรรม ไม่ใช่หลักนิติกรรม เพราะอำนาจรัฐเชิงนิตินัยล้มเหลวอย่างต่อเนื่องจนบ้านเมืองไม่เป็นนิติรัฐ
สัจธรรมที่เกิดเป็นสากล คือ เมื่อใครคนหนึ่ง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ได้และมีอำนาจรัฐจากหลักรัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมแล้ว ก็จะเริ่มสะสมกิเลสตัณหา กลายเป็นเผด็จการจอมทรราช ทำให้หลักรัฐศาสตร์การปกครองเชิงพฤติกรรมล้มเหลว ผู้คนต่อต้าน และก็เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งเชิงสันติและความรุนแรงมาตลอด เราจึงไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ซ้ำซากแต่ต้องการการเปลี่ยนแปลงที่ดีมีสัตย์
เพราะขณะหนึ่งที่ชาติบ้านเมืองกำลังเกิดวิกฤตด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ พลังงาน และศักดิ์ศรีของประเทศ จึงเกิดคำถามว่า “ถ้าเกิดรัฐประหารขึ้น” วัฏจักรของความชั่วช้าจะเกิดขึ้นใหม่ไหม ประชาชนจะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ รัฐประหารจะปรับปรุงให้ชาติบ้านเมืองเข้าสู่ปกติได้ไหม
เราลองมาวิเคราะห์ถึงชาติบ้านเมืองเรากันบ้าง ขณะผู้นำประเทศตัวจริงคือทักษิณเป็นนักโทษหนีคุก ซึ่งมีอำนาจเงินสูง มีอำนาจบารมีที่เกิดจากความหลงใหลบารมีของประชาชนมากกว่าศรัทธาบารมี และมีฝูงเหลือบที่คาดหวังจะได้ประโยชน์จากอำนาจของทักษิณ และน้องสาวเกาะกุมสนับสนุน
แก้วสามประการของทักษิณยังอยู่ในมือทักษิณ อำนาจรัฐยังอยู่ในอาณัติ และได้ครอบครองเบ็ดเสร็จ 2 อำนาจอธิปไตย คือ บริหาร และนิติบัญญัติ มีอิทธิพลเหนือกองทัพผ่านการเมืองและเพื่อนรุ่นเตรียมทหาร
อำนาจเงินเป็นอาวุธหนักของทักษิณในการซื้อประชาชน ข้าราชการ สื่อมวลชน นักวิชาการ พ่อค้า และตำรวจทหาร แต่สิ่งที่ยังไม่สามารถครอบครองได้สนิทคือฝ่ายตุลาการ และคนจริงใจต่อชาติบ้านเมืองและพระมหากษัตริย์ที่ต่อต้านระบอบทักษิณ ที่ทักษิณยังซื้อไม่ได้โดยเด็ดขาด
ความเลวร้ายของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และการบริหารประเทศ เกิดขึ้นอย่างมากมายเกินพรรณนา เช่น เอแบคโพล ออกมาประกาศผลสำรวจอย่างหน้าระรื่น รายงานว่า “รัฐบาลโกงได้หากเกิดประโยชน์แก่ตน” “โกหกเพื่อเอาตัวรอดไม่เป็นไร” “ส่งเสริมให้รัฐบาลบริหารต่อไปเพราะไม่มีอะไรบกพร่อง” “คำรณวิทย์ไปให้ทักษิณประดับยศไม่ผิด” อันเป็นความเลวร้ายที่ให้อภัยสถาบันโพลเอแบค ไม่ได้เพราะเป็นการชี้นำประชาชนว่า “ทำชั่วไม่ผิด”
รัฐบาลนี้ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ไม่มีจรรยาบรรณ ไม่มีความสามารถในการบริหารประเทศ จนทำให้ประชาชนตลอดแนวกลางจากเหนือจรดที่ลุ่มภาคกลาง ได้รับทุกข์น้ำท่วม ขณะที่ประเทศสูญเสียเงินงบประมาณ 3.5 แสนล้านบาทเพื่อป้องกันน้ำท่วมอย่างน่าอเนจอนาถ มีการแทรกแซงการบริหารหน่วยราชการที่ก็ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว และข้าราชการทหารบางคนเป็นอุปสรรคขวากหนาม จำเป็นต้องขจัดออกไปตามที่เป็นข่าวและได้เขียนไปแล้ว
รัฐบาลนี้ขายผ้าเอาหน้ารอดไปวันๆ หนึ่ง เพื่อเพียงหาจังหวะสร้างกฎหมายและโอกาสทักษิณได้กลับเข้าประเทศอย่างคนไร้มลทินเพียงอย่างเดียว
รัฐบาลนี้หน้าด้านไม่สนใจต่อพฤติกรรมชั่วของข้าราชการ ไร้ความสามารถในการบริหารจัดการ แต่มุ่งเน้นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ไม่สนใจความทุกข์ยากของประเทศชาติและประชาชน
รัฐศาสตร์บทสุดท้ายจะเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหากลียุคของชาติบ้านเมืองได้หรือไม่นั้น เป็นคำถามที่ประชาชนคนไทยต้องถามตัวเอง
เพราะกิเลสตัณหาบ้าอำนาจ ทำให้ผู้ยิ่งใหญ่ทรราชหลายคนต้องประสบกับการถูกตั้งข้อหาเป็นทรราชและถูกโค่นอำนาจ มีปราชญ์ นักวิชาการ และนักเขียนหลายคนได้กล่าวไว้ว่า “การที่คนมีอำนาจทำให้คนคนนั้นคอร์รัปชัน ถ้าคนคนนั้นยิ่งมีอำนาจมากเท่าใดเขาก็ยิ่งคอร์รัปชันมากเท่านั้น”
จูเลียส ซีซาร์ ผู้ที่ประวัติศาสตร์ตะวันตกยกย่องว่าเป็นมหาบุรุษคนหนึ่งในยุคก่อนคริสตกาล 44 ปี เพราะสามารถเอาชนะพวกโกลส์หรือคนเถื่อนในแถบฝรั่งเศสและเยอรมันโบราณ เข้าครอบครองอาณาจักรโกลส์ทั้งหมด ได้สร้างสะพานและจองถนนซึ่งเป็นเทคโนโลยีทางวิศวกรรมโยธาในสมัยนั้นเชื่อมต่อเมืองต่อเมืองเป็นระยะทางไกล ยกพลขึ้นบุกยึดเกาะอังกฤษโบราณหรือแองโกล สร้างกำแพงป้องกันและเชื่อมถนนในอังกฤษ สกอตต์ และเวลส์โบราณ ปกครองอังกฤษโบราณอยู่เกือบ 3 ศตวรรษ
แต่ด้วยอำนาจกิเลสมักมากในอำนาจสูงสุด จนสามารถเปลี่ยนปฏิทินที่ใช้กันในโลกสากลจนทุกวันนี้ จึงค่อยๆ เปลี่ยนแปลงการปกครองแบบสาธารณรัฐ ซึ่งนิยมกันในยุคนั้นเพราะอิทธิพลกรีก ซึ่งเป็นนครรัฐหลายนครรัฐ และหวังให้เป็นจักรวรรดิ ทำให้นักการเมืองสายสาธารณรัฐนิยมไม่พอใจและต่อต้านนำโดย มาร์กัส บรูทัส ร่วมกับคณะสมาชิกรัฐสภารุมแทงจนจูเลียส ซีซาร์ตายในรัฐสภานั่นเองเพราะหน่วยอารักขาเข้าไม่ได้ เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ฝ่ายนิยมจูเลียส ซีซาร์ชนะเพราะศรัทธาในความสามารถของจูเลียส ซีซาร์ ทำให้อาณาจักรโรมันไม่ได้เป็นสาธารณรัฐอีกเลย เป็นจักรวรรดิ และเกิดทรราชขึ้นอีกหลายคนจนล้มสลายไปตามกฎแห่งกรรมและอนิจจัง
ต่อมาในสมัยนโปเลียน โบนาปาร์ต อดีตนายทหารสามัญจากเกาะคอร์ซิกา ที่ต่ำต้อย แต่พุ่งขึ้นสู่ความยิ่งใหญ่ทางการทหาร สามารถเป็นกลไกรัฐให้กับคณะปฏิวัติฝรั่งเศส นำชัยชนะมาสู่ฝรั่งเศสได้ โดยเฉพาะจากการรุกรานจากภายนอกที่เห็นฝรั่งเศสอ่อนแอและไม่พอใจพวกปฏิวัติล้มพระเจ้าหลุยส์ที่ 16
ความวุ่นวายภายในของคณะปฏิวัติฝรั่งเศสมีความซับซ้อนมาก เกิดการหักหลังกัน ฆ่ากันเองเพื่อแย่งชิงอำนาจ แต่ด้วยความเป็นทหารอาชีพของนโปเลียนก็ปฏิบัติตามที่รัฐบาลคณะปฏิวัติสั่งการ โดยเฉพาะการล่าเมืองขึ้นในปี ค.ศ.1798 นโปเลียนไปรบอยู่ในอียิปต์ เรียนรู้ว่าฝรั่งเศสกำลังพ่ายแพ้สงครามร่วมชาติยุโรป ค.ศ.1798 – 1802 ที่กลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก เช่น ออสเตรีย เยอรมนี และดัตช์รวมตัวกันบุกฝรั่งเศส เพื่อยุติการปฏิวัติในฝรั่งเศส และหวังสถาปนาระบบกษัตริย์ขึ้นมาใหม่
ความยุ่งเหยิง การแตกแยกเป็นหลายก๊กในคณะปฏิวัติฝรั่งเศสและกลุ่มจาโกแบงก์ ที่นำโดยแมกซิมิเลียน โรเบิร์ตสแปร์ กระทำการโหดเหี้ยม สังหารคนฝรั่งเศสไปอย่างน้อยสัปดาห์ละ 6,000 – 8,000 คนทั่วฝรั่งเศส ด้วยข้อหาต่อต้านการปฏิวัติ มีการใส่ความกันเอง ฆ่ากันเอง และขาดการบริหารจัดการอย่างเมตตาธรรมจนการปฏิวัติเริ่มเข้าจุดหายนะเรียกว่ายุคหฤโหด
เมื่อฝรั่งเศสเข้าขั้นกลียุค ข้าวยากหมากแพง เงินหมดคลัง ประชาชนเดือดร้อนไปทั่ว หนักหนาสากรรจ์กว่าเมื่อครั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ปกครองเสียอีก แม้ว่าสงครามต่อต้านกลุ่มชาติยุโรปไม่ได้ก้าวหน้าและไม่สามารถยึดฝรั่งเศสได้ แต่ความเลวร้ายในชาติของฝรั่งเศสถึงขีดสุดจุดเดือด กลุ่มความคิดแนวกลางในคณะปฏิวัติจึงขอให้นโปเลียนกระทำการรัฐประหารในปี ค.ศ. 1799 และยกย่องให้นโปเลียนเป็น “ผู้ปกครองแผ่นดิน”
นโปเลียนถูกลอบสังหารหลายครั้ง แต่ก็รอดตัวมาได้ทุกครั้ง และเริ่มรุกตอบโต้ชาติยุโรป นโปเลียนสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1804 และสงครามกับอิตาลีเป็นชัยชนะครั้งแรกของนโปเลียน จึงสถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์แห่งอิตาลีในปี ค.ศ. 1805
นักรัฐศาสตร์สากลมองว่า การรัฐประหารเป็นบทเรียนรัฐศาสตร์สุดท้าย ในเมื่อไม่มีอะไรมาเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการรัฐที่ล้มเหลวได้ เพราะอำนาจรัฐถูกเปลี่ยนจากกลุ่มหนึ่งไปสู่กลุ่มหนึ่ง และอ้างว่าเป็นผู้ที่ทำลายระบอบทรราช ทั้งๆ ที่ตัวเองเป็นทรราชทางรัฐสภาและระบบการเมือง เช่น การบริหารแผ่นดินของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งขาดหลักนิติธรรม ขาดจรรยาบรรณในการเป็นผู้ปกครองบริหารประเทศที่ดี ขาดความรอบรู้และความฉลาด เอาแต่ความละโมบของตัวเองเป็นใหญ่และหวังมีอำนาจอย่างสมบูรณ์แบบ
การรัฐประหาร คือ การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารรัฐอย่างฉับไวจากเนื้อในของรัฐบาล หรือกลไกของรัฐบาลเอง โดยเฉพาะกองทัพซึ่งเป็นเครื่องมือของรัฐแต่มีอาวุธครบมือ มีระเบียบวินัย มีระบบการบังคับบัญขาที่ชัดเจนเด็ดขาดหรือจะเกิดจากประชาชนและข้าราชการที่ต่อต้านพฤติกรรมรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรมทั้งเชิงนิตินัยและพฤตินัยก็ได้ซึ่งเกิดมาแล้ว
กรณีจูเลียส ซีซาร์ และนโปเลียน ซึ่งเกิดต่างยุคต่างสมัยกัน ต่างแต่เหตุการณ์เรื่องราวบริบททางการเมืองที่แตกต่างกัน แต่ข้อเท็จจริงอันเป็นสัจธรรม คือ ความโลภในอำนาจของผู้ปกครองประเทศ ความโหดเหี้ยม ความทุกข์ยากของราษฎร์ ความวุ่นวายสับสนทางสังคม ความเสื่อมทางศีลธรรมจรรยา ความไม่ละอายต่อบาปและเกรงกลัวบาป
สาเหตุเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอำนาจรัฐในการบริหารประเทศ เกิดกฎหมายที่เหมาะสมขึ้นปกครองประเทศ ถ้าผู้นำรัฐประหารมีคุณธรรม สร้างความสมดุล ความยุติธรรม และนำมาซึ่งความผาสุกให้เกิดขึ้นในสังคมได้ ประชาชนจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด ทฤษฎีรัฐศาสตร์นี้เป็นการสร้างอำนาจรัฐด้วยหลักพฤติกรรม ไม่ใช่หลักนิติกรรม เพราะอำนาจรัฐเชิงนิตินัยล้มเหลวอย่างต่อเนื่องจนบ้านเมืองไม่เป็นนิติรัฐ
สัจธรรมที่เกิดเป็นสากล คือ เมื่อใครคนหนึ่ง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ได้และมีอำนาจรัฐจากหลักรัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมแล้ว ก็จะเริ่มสะสมกิเลสตัณหา กลายเป็นเผด็จการจอมทรราช ทำให้หลักรัฐศาสตร์การปกครองเชิงพฤติกรรมล้มเหลว ผู้คนต่อต้าน และก็เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งเชิงสันติและความรุนแรงมาตลอด เราจึงไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ซ้ำซากแต่ต้องการการเปลี่ยนแปลงที่ดีมีสัตย์
เพราะขณะหนึ่งที่ชาติบ้านเมืองกำลังเกิดวิกฤตด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ พลังงาน และศักดิ์ศรีของประเทศ จึงเกิดคำถามว่า “ถ้าเกิดรัฐประหารขึ้น” วัฏจักรของความชั่วช้าจะเกิดขึ้นใหม่ไหม ประชาชนจะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ รัฐประหารจะปรับปรุงให้ชาติบ้านเมืองเข้าสู่ปกติได้ไหม
เราลองมาวิเคราะห์ถึงชาติบ้านเมืองเรากันบ้าง ขณะผู้นำประเทศตัวจริงคือทักษิณเป็นนักโทษหนีคุก ซึ่งมีอำนาจเงินสูง มีอำนาจบารมีที่เกิดจากความหลงใหลบารมีของประชาชนมากกว่าศรัทธาบารมี และมีฝูงเหลือบที่คาดหวังจะได้ประโยชน์จากอำนาจของทักษิณ และน้องสาวเกาะกุมสนับสนุน
แก้วสามประการของทักษิณยังอยู่ในมือทักษิณ อำนาจรัฐยังอยู่ในอาณัติ และได้ครอบครองเบ็ดเสร็จ 2 อำนาจอธิปไตย คือ บริหาร และนิติบัญญัติ มีอิทธิพลเหนือกองทัพผ่านการเมืองและเพื่อนรุ่นเตรียมทหาร
อำนาจเงินเป็นอาวุธหนักของทักษิณในการซื้อประชาชน ข้าราชการ สื่อมวลชน นักวิชาการ พ่อค้า และตำรวจทหาร แต่สิ่งที่ยังไม่สามารถครอบครองได้สนิทคือฝ่ายตุลาการ และคนจริงใจต่อชาติบ้านเมืองและพระมหากษัตริย์ที่ต่อต้านระบอบทักษิณ ที่ทักษิณยังซื้อไม่ได้โดยเด็ดขาด
ความเลวร้ายของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และการบริหารประเทศ เกิดขึ้นอย่างมากมายเกินพรรณนา เช่น เอแบคโพล ออกมาประกาศผลสำรวจอย่างหน้าระรื่น รายงานว่า “รัฐบาลโกงได้หากเกิดประโยชน์แก่ตน” “โกหกเพื่อเอาตัวรอดไม่เป็นไร” “ส่งเสริมให้รัฐบาลบริหารต่อไปเพราะไม่มีอะไรบกพร่อง” “คำรณวิทย์ไปให้ทักษิณประดับยศไม่ผิด” อันเป็นความเลวร้ายที่ให้อภัยสถาบันโพลเอแบค ไม่ได้เพราะเป็นการชี้นำประชาชนว่า “ทำชั่วไม่ผิด”
รัฐบาลนี้ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ไม่มีจรรยาบรรณ ไม่มีความสามารถในการบริหารประเทศ จนทำให้ประชาชนตลอดแนวกลางจากเหนือจรดที่ลุ่มภาคกลาง ได้รับทุกข์น้ำท่วม ขณะที่ประเทศสูญเสียเงินงบประมาณ 3.5 แสนล้านบาทเพื่อป้องกันน้ำท่วมอย่างน่าอเนจอนาถ มีการแทรกแซงการบริหารหน่วยราชการที่ก็ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว และข้าราชการทหารบางคนเป็นอุปสรรคขวากหนาม จำเป็นต้องขจัดออกไปตามที่เป็นข่าวและได้เขียนไปแล้ว
รัฐบาลนี้ขายผ้าเอาหน้ารอดไปวันๆ หนึ่ง เพื่อเพียงหาจังหวะสร้างกฎหมายและโอกาสทักษิณได้กลับเข้าประเทศอย่างคนไร้มลทินเพียงอย่างเดียว
รัฐบาลนี้หน้าด้านไม่สนใจต่อพฤติกรรมชั่วของข้าราชการ ไร้ความสามารถในการบริหารจัดการ แต่มุ่งเน้นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ไม่สนใจความทุกข์ยากของประเทศชาติและประชาชน
รัฐศาสตร์บทสุดท้ายจะเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหากลียุคของชาติบ้านเมืองได้หรือไม่นั้น เป็นคำถามที่ประชาชนคนไทยต้องถามตัวเอง