เมื่อเวลา10.00 น. วานนี้ (12 ก.ย. ) เครือข่ายนักศึกษา ประชาชน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 100 คน นำโดย นายประภาส โยคะวิสัย ประธานเครือข่ายผู้นำท้องถิ่นกาฬสินธุ์ ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือเรียกร้องต่อสภาผู้แทนราษฎร ให้มีการถอน ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์ พ.ศ.... จำนวน 2 ฉบับ ออกจากระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ลำดับที่ 9-10 เนื่องจากไม่ต้องการให้มีการยุบรวมมหาวิทยาราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ โดยตั้งข้อสังเกตการยุบรวมดังกล่าว น่าจะมีผลประโยชน์แอบแฝงของนายภาวิช ทองโรจน์ รักษาการนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ และนักการเมือง โดยเฉพาะกรณีการซื้อขายที่ดิน และงบประมาณการก่อสร้างการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ ซึ่งมีจำนวนพื้นที่เพียง 1,000 กว่าไร่ ขณะที่พื้นที่เดิมของมหาวิทยาลัยทั้ง 2 แห่ง ในอ.นามน มีพื้นที่ถึง 2,119 ไร่ โดยส่วนหนึ่งได้รับการบริจาคพื้นที่จากชาวบ้าน
ดังนั้น การควบรวมมหาวิทยาลัยและย้ายไปที่แห่งใหม่ใน อ.เขื่อนลำปาว อาจเกิดปัญหาสถานที่แห่งใหม่ไม่เพียงพอรองรับต่อจำนวนนักศึกษา ที่มีเพิ่มขึ้นทุกปี อีกทั้งการย้ายมหาวิทยาลัยโดยจัดทำประชาพิจารณ์ ก็ไม่ครอบคลุมความเห็นของประชาชนในพื้นที่ จึงอยากให้ยุติการดำเนินการดังกล่าวที่ไม่มีความชอบธรรม โดยการถอนพ.ร.บ.ฉบับนี้ออกจากวาระการพิจารณา
ทั้งนี้ นายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นตัวแทนรับเรื่องดังกล่าว โดยนายวัฒนา ระบุว่า จะนำเรื่องนี้ไปแจ้งต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ อย่างไรก็ตาม เมื่อวาระเข้าสู่สภาฯ ก็ขึ้นอยู่ที่สมาชิก หากมีใครความเห็นแย้ง และเห็นว่าเรื่องยังไม่ได้ข้อสรุป อาจเสนอให้ชลอ หรือถอนพ.ร.บ.ดังกล่าว ก็เป็นได้
ดังนั้น การควบรวมมหาวิทยาลัยและย้ายไปที่แห่งใหม่ใน อ.เขื่อนลำปาว อาจเกิดปัญหาสถานที่แห่งใหม่ไม่เพียงพอรองรับต่อจำนวนนักศึกษา ที่มีเพิ่มขึ้นทุกปี อีกทั้งการย้ายมหาวิทยาลัยโดยจัดทำประชาพิจารณ์ ก็ไม่ครอบคลุมความเห็นของประชาชนในพื้นที่ จึงอยากให้ยุติการดำเนินการดังกล่าวที่ไม่มีความชอบธรรม โดยการถอนพ.ร.บ.ฉบับนี้ออกจากวาระการพิจารณา
ทั้งนี้ นายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นตัวแทนรับเรื่องดังกล่าว โดยนายวัฒนา ระบุว่า จะนำเรื่องนี้ไปแจ้งต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ อย่างไรก็ตาม เมื่อวาระเข้าสู่สภาฯ ก็ขึ้นอยู่ที่สมาชิก หากมีใครความเห็นแย้ง และเห็นว่าเรื่องยังไม่ได้ข้อสรุป อาจเสนอให้ชลอ หรือถอนพ.ร.บ.ดังกล่าว ก็เป็นได้