วานนี้( 10 ก.ย.55) ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ส่งหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีร้องเรียนเรื่องที่มีนักการเมืองเข้าไปแทรกแซงการแต่งตั้งผู้บริหารระดับ 9 ในดีเอสไอ 7 ตำแหน่งว่า ไม่ทราบเรื่อง และยังไม่ได้รับรายละเอียดใดๆ แต่ถ้ามีข้อมูลส่งมาก็ต้องรับพิจารณา และดำเนินการไปตามขั้นตอน
เมื่อถามว่า มีข่าวระบุถึงขั้นว่ามีผู้อาวุโสทางการเมืองที่เป็นผู้หญิงไปเรียกตบทรัพย์ในการแต่งตั้งโยกย้าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ยืนยันว่าไม่มีเรื่องการซื้อขายตำแหน่ง และต้องให้ความเป็นธรรมทุกอย่าง ถ้าทราบเรื่องก็ขอให้เอาหลักฐานมา ตนยินดีและพร้อมดำเนินการตามขั้นตอนแม้ว่าคนที่เข้าไปเกี่ยวข้องจะเป็นคนของรัฐบาล อย่างไรก็ตามทั้งหมดต้องดูตามข้อเท็จจริง
“ยืนยันได้ว่าจะไม่มีการปกป้อง เพราะเราอยากให้ทุกอย่างโปร่งใส แต่เนื่องจากเราทำงานอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายไทย จึงต้องมีข้อมูลรายละเอียดเพียงพอก่อนที่จะดำเนินการตามขั้นตอน หากมีข้อมูลเพียงพอยินดีดำเนินการอยู่แล้ว ไม่ปกป้องใครแน่นอน” น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานข่าว ต้นเดือนที่ผ่านมาข้าราชการกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ทำหนังสือ ถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อร้องขอให้ความเป็นธรรมเรื่องการพิจารณา แต่งตั้งผู้บัญชาการ (ผบ.) สำนักระดับ 9 จำนวน 7 ตำแหน่ง
โดยดีเอสไอได้อัตรากำลังเพิ่มตามโครงสร้างใหม่ 22 ตำแหน่ง ระดับอำนวยการเทียบเท่าระดับ 9 แบ่งเป็น ระดับ ผบ.สำนัก 7 ตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ 15 อัตรา ซึ่งตำแหน่ง ผบ.สำนักผ่านการประเมินจากอนุกรรมการข้าราชพลเรือน(อ.ก.พ.) กระทรวงแล้ว ส่วนตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญอยู่ระหว่างรอมติของ อ.ก.พ. ดังนั้นดีเอสไอจึงคัดเลือกบุคคล ในตำแหน่ง ผบ.สำนักก่อน แต่มีการวิ่งเต้นของกลุ่มข้าราชการที่ใกล้ชิด ฝ่ายการเมือง
มีรายงานว่า หากกลุ่มบุคคลดังกล่าว วิ่งเต้นสำเร็จจะเกิดปัญหาในการบริหารงาน ของดีเอสไอ เนื่องจากบุคคลกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ไปช่วยราชการส่วนอื่น ไม่ได้ปฏิบัติงานในดีเอสไอ และทั้ง 7 ตำแหน่ง ดีเอสไอได้คัดเลือกบุคคล มานั่งรักษาการในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วกว่า 1 ปี และมีผลงานจนผ่านการประเมิน หากถึงเวลาแล้วคนอื่นมาเบียดชิงตำแหน่งคนที่ทำงาน จะทำให้เสียขวัญกำลังใจได้
“คนที่นั่งรักษาการทำงานมากว่า 1 ปี น่าจะ พิสูจน์ได้ว่า พวกเขามีความสามารถหรือไม่ อย่างน้อยก็ทำงานจน อ.ก.พ. กระทรวงผ่านการประเมินค่างาน และอนุมัติตำแหน่ง ถ้าเราไป รับพวกที่ไม่ทำงาน แต่มีเงิน พรรคพวกเยอะ เดินตามผู้ใหญ่อย่างเดียว แต่พอถึงช่วงเแต่งตั้งกลับได้ดี ผมว่ามันไม่แฟร์สำหรับคนทำงาน และถ้าผู้ใหญ่เห็นด้วยกับการวิ่งเต้น ทุกอย่างก็ จะล้มเหลว ต่อไปหลายคนจะคิดว่าไม่ต้องทำงาน ใช้เส้นสายก็ได้ดี แล้วกรมจะอยู่อย่างไร”
สำหรับรายชื่อ 14 คนที่นาย ธาริตเสนอไปกระทรวงยุติธรรมเพื่อพิจารณา แต่งตั้ง ประกอบด้วย 1.ตำแหน่ง ผบ.สำนักบริหารกลาง (อำนวยการ ระดับสูง) เสนอชื่อ นางจิราภรณ์ จริยาประสิทธิ์ ผบ.สำนักบริหารกลาง (อำนวยการ ระดับต้น) กับนายธงชัย สมบัติจิราภรณ์ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ สังกัดคดีอาญาพิเศษ 3 ปฏิบัติราชการ ศูนย์บริหารคดี พิเศษ 2.ผบ.สำนักคดีมั่นคง เสนอชื่อ พ.ต.ท. พงศ์อินทร อินทรขาว พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ รักษาการ ผบ.สำนักคดีมั่นคง กับ พ.ต.ท.บรรณฑูรย์ (พณธร) ฉิมกรา ผอ.ส่วนดคีความมั่นคง 1 สังกัดสำนักคดีความมั่นคง 3.ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษ 2 เสนอชื่อ พ.ต.ท.ถวัล มั่งคั่ง
พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ รักษาการ ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษ 2 กับ พ.ต.ท.อนุรักษ์ โรจน์นิรันดร์กิจ ผอ.การส่วนประสานความร่วมมือระหว่างประเทศและ การข่าว สำนักกิจการต่างประเทศและคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ 4.ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษ 3 เสนอชื่อ พ.ต.ท.พเยาว์ ทองเสน พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ รักษาการ ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษ 3 ประกบ พ.ต.ท.สมบูรณ์ สาระสิทธิ์ พนักงานสอบสวน คดีพิเศษชำนาญการพิเศษ ปฏิบัติหน้าที่ผู้เชี่ยว ชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ 5.ผบ.สำนักปฏิบัติการคดีพิเศษภาค เสนอชื่อ พ.ต.ท.กรวัชร์ ปาน ประภากร พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ รักษาการ ผบ.สำนักปฏิบัติการคดีพิเศษภาค ประกบ พ.ต.ท.กรภัทร์ โรจน์แสงรัตน์ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ สำนักคดีการเงินการธนาคาร
6.ผบ.สำนัก ปฏิบัติการพิเศษ เสนอชื่อ พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง พนักงานสอบสวนคดี พิเศษชำนาญการพิเศษ รักษาการ ผบ. สำนักปฏิบัติการพิเศษ ประกบ พ.ต.ท.เชน กาญจนาปัจย์ รอง ผบ.สำนักกิจการต่างประเทศและคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ และ 7.ผบ.สำนักเทคโนโลยี และศูนย์ข้อมูลการตรวจสอบ เสนอชื่อ พ.ต.ท.พัฒนะ ศุกรสุต พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ รักษาการ ผบ.สำนักเทคโนโลยีและ ศูนย์ข้อมูลการตรวจสอบ ประกบ พ.ต.ท.มนตรี บุญยโยธิน พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ
เมื่อถามว่า มีข่าวระบุถึงขั้นว่ามีผู้อาวุโสทางการเมืองที่เป็นผู้หญิงไปเรียกตบทรัพย์ในการแต่งตั้งโยกย้าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ยืนยันว่าไม่มีเรื่องการซื้อขายตำแหน่ง และต้องให้ความเป็นธรรมทุกอย่าง ถ้าทราบเรื่องก็ขอให้เอาหลักฐานมา ตนยินดีและพร้อมดำเนินการตามขั้นตอนแม้ว่าคนที่เข้าไปเกี่ยวข้องจะเป็นคนของรัฐบาล อย่างไรก็ตามทั้งหมดต้องดูตามข้อเท็จจริง
“ยืนยันได้ว่าจะไม่มีการปกป้อง เพราะเราอยากให้ทุกอย่างโปร่งใส แต่เนื่องจากเราทำงานอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายไทย จึงต้องมีข้อมูลรายละเอียดเพียงพอก่อนที่จะดำเนินการตามขั้นตอน หากมีข้อมูลเพียงพอยินดีดำเนินการอยู่แล้ว ไม่ปกป้องใครแน่นอน” น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานข่าว ต้นเดือนที่ผ่านมาข้าราชการกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ทำหนังสือ ถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อร้องขอให้ความเป็นธรรมเรื่องการพิจารณา แต่งตั้งผู้บัญชาการ (ผบ.) สำนักระดับ 9 จำนวน 7 ตำแหน่ง
โดยดีเอสไอได้อัตรากำลังเพิ่มตามโครงสร้างใหม่ 22 ตำแหน่ง ระดับอำนวยการเทียบเท่าระดับ 9 แบ่งเป็น ระดับ ผบ.สำนัก 7 ตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ 15 อัตรา ซึ่งตำแหน่ง ผบ.สำนักผ่านการประเมินจากอนุกรรมการข้าราชพลเรือน(อ.ก.พ.) กระทรวงแล้ว ส่วนตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญอยู่ระหว่างรอมติของ อ.ก.พ. ดังนั้นดีเอสไอจึงคัดเลือกบุคคล ในตำแหน่ง ผบ.สำนักก่อน แต่มีการวิ่งเต้นของกลุ่มข้าราชการที่ใกล้ชิด ฝ่ายการเมือง
มีรายงานว่า หากกลุ่มบุคคลดังกล่าว วิ่งเต้นสำเร็จจะเกิดปัญหาในการบริหารงาน ของดีเอสไอ เนื่องจากบุคคลกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ไปช่วยราชการส่วนอื่น ไม่ได้ปฏิบัติงานในดีเอสไอ และทั้ง 7 ตำแหน่ง ดีเอสไอได้คัดเลือกบุคคล มานั่งรักษาการในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วกว่า 1 ปี และมีผลงานจนผ่านการประเมิน หากถึงเวลาแล้วคนอื่นมาเบียดชิงตำแหน่งคนที่ทำงาน จะทำให้เสียขวัญกำลังใจได้
“คนที่นั่งรักษาการทำงานมากว่า 1 ปี น่าจะ พิสูจน์ได้ว่า พวกเขามีความสามารถหรือไม่ อย่างน้อยก็ทำงานจน อ.ก.พ. กระทรวงผ่านการประเมินค่างาน และอนุมัติตำแหน่ง ถ้าเราไป รับพวกที่ไม่ทำงาน แต่มีเงิน พรรคพวกเยอะ เดินตามผู้ใหญ่อย่างเดียว แต่พอถึงช่วงเแต่งตั้งกลับได้ดี ผมว่ามันไม่แฟร์สำหรับคนทำงาน และถ้าผู้ใหญ่เห็นด้วยกับการวิ่งเต้น ทุกอย่างก็ จะล้มเหลว ต่อไปหลายคนจะคิดว่าไม่ต้องทำงาน ใช้เส้นสายก็ได้ดี แล้วกรมจะอยู่อย่างไร”
สำหรับรายชื่อ 14 คนที่นาย ธาริตเสนอไปกระทรวงยุติธรรมเพื่อพิจารณา แต่งตั้ง ประกอบด้วย 1.ตำแหน่ง ผบ.สำนักบริหารกลาง (อำนวยการ ระดับสูง) เสนอชื่อ นางจิราภรณ์ จริยาประสิทธิ์ ผบ.สำนักบริหารกลาง (อำนวยการ ระดับต้น) กับนายธงชัย สมบัติจิราภรณ์ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ สังกัดคดีอาญาพิเศษ 3 ปฏิบัติราชการ ศูนย์บริหารคดี พิเศษ 2.ผบ.สำนักคดีมั่นคง เสนอชื่อ พ.ต.ท. พงศ์อินทร อินทรขาว พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ รักษาการ ผบ.สำนักคดีมั่นคง กับ พ.ต.ท.บรรณฑูรย์ (พณธร) ฉิมกรา ผอ.ส่วนดคีความมั่นคง 1 สังกัดสำนักคดีความมั่นคง 3.ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษ 2 เสนอชื่อ พ.ต.ท.ถวัล มั่งคั่ง
พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ รักษาการ ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษ 2 กับ พ.ต.ท.อนุรักษ์ โรจน์นิรันดร์กิจ ผอ.การส่วนประสานความร่วมมือระหว่างประเทศและ การข่าว สำนักกิจการต่างประเทศและคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ 4.ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษ 3 เสนอชื่อ พ.ต.ท.พเยาว์ ทองเสน พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ รักษาการ ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษ 3 ประกบ พ.ต.ท.สมบูรณ์ สาระสิทธิ์ พนักงานสอบสวน คดีพิเศษชำนาญการพิเศษ ปฏิบัติหน้าที่ผู้เชี่ยว ชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ 5.ผบ.สำนักปฏิบัติการคดีพิเศษภาค เสนอชื่อ พ.ต.ท.กรวัชร์ ปาน ประภากร พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ รักษาการ ผบ.สำนักปฏิบัติการคดีพิเศษภาค ประกบ พ.ต.ท.กรภัทร์ โรจน์แสงรัตน์ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ สำนักคดีการเงินการธนาคาร
6.ผบ.สำนัก ปฏิบัติการพิเศษ เสนอชื่อ พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง พนักงานสอบสวนคดี พิเศษชำนาญการพิเศษ รักษาการ ผบ. สำนักปฏิบัติการพิเศษ ประกบ พ.ต.ท.เชน กาญจนาปัจย์ รอง ผบ.สำนักกิจการต่างประเทศและคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ และ 7.ผบ.สำนักเทคโนโลยี และศูนย์ข้อมูลการตรวจสอบ เสนอชื่อ พ.ต.ท.พัฒนะ ศุกรสุต พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ รักษาการ ผบ.สำนักเทคโนโลยีและ ศูนย์ข้อมูลการตรวจสอบ ประกบ พ.ต.ท.มนตรี บุญยโยธิน พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ