วานนี้ (6ก.ย.) นางสาวกัลยาณี รุทระกาญจน์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ องค์กรสาธารณประโยชน์
พร้อมตัวแทนลูกหนี้ ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร กรณีขบวนการทุจริตในการซื้อหนี้ด้อยคุณภาพของวาณิชธนกิจข้ามชาติ ทำการเชิดบริษัทบริหารสินทรัพย์ในไทยให้เป็นเจ้าหนี้แทน จัดตั้งบริษัทนอมินี ทำเพื่อประโยชน์ของคนต่างชาติ หลบเลี่ยงภาษีอากรของรัฐ ตัดต่อปลอมแปลงเอกสารยื่นศาล เพื่อใช้ศาลไทยเป็นเครื่องมือให้ได้ไปซึ่งสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของลูกหนี้เกินจริง ผลประโยชน์มูลค่าหลายหมื่นล้านบาท
กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นได้เกี่ยวพันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน ได้แก่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) และศาลยุติธรรม ทั้งนี้การก่ออาชญากรรมหากินบนหนี้เน่าของประชาชนเกี่ยวพันกับหน่วยงาน ได้แก่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่ละเลยให้ที่การจัดตั้งบริษัทนอมินีถือหุ้นเพื่อประโยชน์ของคนต่างชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องอนุญาตให้บริษัทต่างชาติ เข้าซื้อหนี้จากสถาบันการเงินไทย แล้วอ้างว่าโอนสิทธิให้บริษัทบริหารสินทรัพย์นอมินีภายหลังโดยไม่มีกฎหมายรองรับ หลบเลี่ยงการเสียภาษีอากรให้รัฐ ไม่กำกับดูแลบริษัทบริหารสินทรัพย์ให้เป็นไปตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 และพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ซึ่งถือเป็นสถาบันการเงินถูกครอบงำโดยชาวต่างชาติ มีกรรมการเป็นชาวต่างชาติเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
ทั้งนี้ขอให้กระทรวงการคลัง กำกับดูแลให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ซึ่งมีประกาศให้เป็นสถาบันการเงิน แต่ละเลยไม่กำกับควบคุมดูแลให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ที่มีเงินทุนจดทะเบียนเพียง 25 ล้านบาทให้ อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ไม่กำกับดูแลให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ที่เป็นมหาชนพ้นจากการถูกครอบงำ โดยไม่ตรวจสอบว่ามีผู้ถือหุ้นรายเดียวถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 10 ตามที่กฎหมายกำหนดโดยปล่อยให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ มีผู้ถือหุ้นสูงถึงร้อยละ 40 ซึ่งเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ทั้งที่ธุรกิจสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่มีผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก จำเป็นจะต้องได้รับการตรวจสอบ ควบคุม อย่างเคร่งครัด แต่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องไม่ตรวจสอบแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม เมื่อองค์กรภาคประชาชนแจ้งให้ตรวจสอบแก้ไขลงโทษผู้กระทำผิด กลับจงใจละเว้นไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
ปัจจุบันวาณิชธนกิจชาวต่างชาติเหล่านี้ ได้นำคดีเข้าสู่กระบวนยุติธรรม โดยมีการปลอมแปลงเอกสาร ตัดต่อเอกสารโดยมิได้ยำเกรงต่อกฎหมายไทย มีเหตุมากมายหลายประการทำให้เชื่อได้ว่า อาจมีการครอบงำกระบวนยุติธรรม หวังใช้ศาลฟอกตัวเองให้การกระทำผิดกฎหมาย เป็นการกระทำให้ถูกกฎหมายโดยอาศัยโอกาสที่เป็นสถาบันการเงินเป็นที่น่าเชื่อถือของประชาชน กลบเกลื่อนการกระทำความผิดกฎหมายดังกล่าว ลูกหนี้ที่เปิดโปงการดำเนินการผิดกฎหมายของเจ้าหนี้ กลับถูกกลั่นแกล้งจนในที่สุดลูกหนี้มอบอำนาจให้เลขาธิการศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ ดำเนินคดีอาญาต่อตุลาการศาลล้มละลายกลาง และศาลอาญา ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย เพื่อหวังให้ข้อเท็จจริงได้เข้าสู่ศาล อันจะเป็นประโยชน์ต่อลูกหนี้อีกเป็นจำนวนมาก ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของวาณิชธนกิจต่างชาติดังกล่าว
ดังนั้น ศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ องค์กรสาธารณประโยชน์จึงมายื่นหนังสือเพื่อขอให้คณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามทุจริตประพฤติมิชอบสภาผู้แทนราษฎร ตรวจสอบข้อเท็จจริง สอบสวนผู้เกี่ยวข้องขบวนการดังกล่าวเป็นการด่วน ทั้งนี้เพื่ออำนวยควายุติธรรมให้เกิดแก่ประชาชน และเป็นการเยียวยาความเดือดร้อนของลูกหนี้ที่ได้รับจากขบวนการที่เกี่ยวพันกับการซื้อหนี้ด้อยคุณภาพ ตลอดจนรับรู้ข้อเท็จจริงในการบังคับใช้ พระราชกำหนดบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 ซึ่งตราขึ้นเพื่อรองรับวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ยังไม่ยกเลิกจนถึงปัจจุบัน ทำให้ลูกหนี้หายเสียหายจำนวนมาก และเป็นช่องว่างให้วาณิชธนกิจข้ามชาติเข้ามาสูบเลือดคนไทยได้
พร้อมตัวแทนลูกหนี้ ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร กรณีขบวนการทุจริตในการซื้อหนี้ด้อยคุณภาพของวาณิชธนกิจข้ามชาติ ทำการเชิดบริษัทบริหารสินทรัพย์ในไทยให้เป็นเจ้าหนี้แทน จัดตั้งบริษัทนอมินี ทำเพื่อประโยชน์ของคนต่างชาติ หลบเลี่ยงภาษีอากรของรัฐ ตัดต่อปลอมแปลงเอกสารยื่นศาล เพื่อใช้ศาลไทยเป็นเครื่องมือให้ได้ไปซึ่งสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของลูกหนี้เกินจริง ผลประโยชน์มูลค่าหลายหมื่นล้านบาท
กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นได้เกี่ยวพันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน ได้แก่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) และศาลยุติธรรม ทั้งนี้การก่ออาชญากรรมหากินบนหนี้เน่าของประชาชนเกี่ยวพันกับหน่วยงาน ได้แก่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่ละเลยให้ที่การจัดตั้งบริษัทนอมินีถือหุ้นเพื่อประโยชน์ของคนต่างชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องอนุญาตให้บริษัทต่างชาติ เข้าซื้อหนี้จากสถาบันการเงินไทย แล้วอ้างว่าโอนสิทธิให้บริษัทบริหารสินทรัพย์นอมินีภายหลังโดยไม่มีกฎหมายรองรับ หลบเลี่ยงการเสียภาษีอากรให้รัฐ ไม่กำกับดูแลบริษัทบริหารสินทรัพย์ให้เป็นไปตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 และพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ซึ่งถือเป็นสถาบันการเงินถูกครอบงำโดยชาวต่างชาติ มีกรรมการเป็นชาวต่างชาติเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
ทั้งนี้ขอให้กระทรวงการคลัง กำกับดูแลให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ซึ่งมีประกาศให้เป็นสถาบันการเงิน แต่ละเลยไม่กำกับควบคุมดูแลให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ที่มีเงินทุนจดทะเบียนเพียง 25 ล้านบาทให้ อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ไม่กำกับดูแลให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ที่เป็นมหาชนพ้นจากการถูกครอบงำ โดยไม่ตรวจสอบว่ามีผู้ถือหุ้นรายเดียวถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 10 ตามที่กฎหมายกำหนดโดยปล่อยให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ มีผู้ถือหุ้นสูงถึงร้อยละ 40 ซึ่งเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ทั้งที่ธุรกิจสถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่มีผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก จำเป็นจะต้องได้รับการตรวจสอบ ควบคุม อย่างเคร่งครัด แต่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องไม่ตรวจสอบแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม เมื่อองค์กรภาคประชาชนแจ้งให้ตรวจสอบแก้ไขลงโทษผู้กระทำผิด กลับจงใจละเว้นไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
ปัจจุบันวาณิชธนกิจชาวต่างชาติเหล่านี้ ได้นำคดีเข้าสู่กระบวนยุติธรรม โดยมีการปลอมแปลงเอกสาร ตัดต่อเอกสารโดยมิได้ยำเกรงต่อกฎหมายไทย มีเหตุมากมายหลายประการทำให้เชื่อได้ว่า อาจมีการครอบงำกระบวนยุติธรรม หวังใช้ศาลฟอกตัวเองให้การกระทำผิดกฎหมาย เป็นการกระทำให้ถูกกฎหมายโดยอาศัยโอกาสที่เป็นสถาบันการเงินเป็นที่น่าเชื่อถือของประชาชน กลบเกลื่อนการกระทำความผิดกฎหมายดังกล่าว ลูกหนี้ที่เปิดโปงการดำเนินการผิดกฎหมายของเจ้าหนี้ กลับถูกกลั่นแกล้งจนในที่สุดลูกหนี้มอบอำนาจให้เลขาธิการศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ ดำเนินคดีอาญาต่อตุลาการศาลล้มละลายกลาง และศาลอาญา ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย เพื่อหวังให้ข้อเท็จจริงได้เข้าสู่ศาล อันจะเป็นประโยชน์ต่อลูกหนี้อีกเป็นจำนวนมาก ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของวาณิชธนกิจต่างชาติดังกล่าว
ดังนั้น ศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ องค์กรสาธารณประโยชน์จึงมายื่นหนังสือเพื่อขอให้คณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามทุจริตประพฤติมิชอบสภาผู้แทนราษฎร ตรวจสอบข้อเท็จจริง สอบสวนผู้เกี่ยวข้องขบวนการดังกล่าวเป็นการด่วน ทั้งนี้เพื่ออำนวยควายุติธรรมให้เกิดแก่ประชาชน และเป็นการเยียวยาความเดือดร้อนของลูกหนี้ที่ได้รับจากขบวนการที่เกี่ยวพันกับการซื้อหนี้ด้อยคุณภาพ ตลอดจนรับรู้ข้อเท็จจริงในการบังคับใช้ พระราชกำหนดบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 ซึ่งตราขึ้นเพื่อรองรับวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ยังไม่ยกเลิกจนถึงปัจจุบัน ทำให้ลูกหนี้หายเสียหายจำนวนมาก และเป็นช่องว่างให้วาณิชธนกิจข้ามชาติเข้ามาสูบเลือดคนไทยได้