ASTVผู้จัดการรายวัน-ผลทดสอบระบายน้ำทางฝั่งตะวันตกฉลุย "สุขุมพันธุ์"ชี้มีประสิทธิภาพกว่าปีที่แล้ว แต่ยังเป็นห่วงด้านตะวันออก เหตุคลองลาดพร้าว คลองบางบัว ยังขุดไม่เสร็จ ด้านชาวนากรุงเก่าโวย นาข้าวจมน้ำ หลังรัฐบาลปล่อยน้ำ
วานนี้ (5 ก.ย.) ที่ศูนย์ควบคุมป้องกันน้ำท่วม กทม.2 ดินแดง เวลา 09.00 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้บัญชาการการทดสอบระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร เพื่อเตรียมความพร้อมของระบบและตรวจสอบการไหลของน้ำเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพฯ รวมประมาณ 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 09.00-10.00 น. ก่อนปฏิบัติการทดสอบการระบายน้ำในพื้นที่ปลายน้ำฝั่งตะวันตกจะเริ่มขึ้นในเวลา 14.00 น. เพื่อหาข้อบกพร่องและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น โดยสั่งการเปิดประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนา ที่ระดับ 50 ซม.จากนั้นได้เพิ่มเป็น 1 เมตร และเปิดลอยทั้งระบบ ให้น้ำจากคลองมหาสวัสดิ์ เข้าคลองทวีวัฒนา โดยมีเจ้าหน้าที่ กทม.เฝ้าติดตามการไหลของน้ำ และประจำจุดเครื่องผลักดันน้ำพร้อมทั้งเดินเครื่องทุกจุด โดยหน่วยเฝ้าระวังที่อยู่ในพื้นที่จุดเสี่ยงที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ จะรายงานมายังศูนย์ปฏิบัติการเป็นระยะ
ขณะเดียวกัน ได้ทดสอบการควบคุมระดับน้ำคลองสายหลัก ซึ่งจะเดินเครื่องสูบน้ำที่สถานีสูบน้ำคลองชักพระ สถานีสูบน้ำคลองมอญ สถานีสูบน้ำคลองบางกอกใหญ่ สถานีสูบน้ำดาวคะนอง และสถานีสูบน้ำคลองพระยาราชมนตรี และปิดประตูระบายน้ำแนวคลองมหาสวัสดิ์
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าวว่า เครื่องผลักดันน้ำและประตูระบายน้ำทุกจุดทำงานปกติ
**กทม.เฝ้าระวังการทดสอบต่อเนื่อง
จากนั้นเวลา 13.30 น. ที่ศูนย์ควบคุมป้องกันน้ำท่วม กทม. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม. พร้อมสนับสนุนการปฏิบัติตามแผนของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ในการทดสอบประสิทธิภาพในการระบายน้ำฝั่งตะวันตก ในเวลา 14.00 น. โดยจะต้องรักษาระดับน้ำบริเวณประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนาไม่ให้เกิน 1 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง หากปริมาณน้ำสูงกว่านี้ อาจทำให้พื้นที่ปลายคลองทวีวัฒนา ซึ่งตลิ่งมีความสูงไม่มากนักได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ แม้ กบอ.จะปิดการทดสอบระบบระบายน้ำในเวลา 18.00 น.แล้ว แต่ กทม.ยังต้องเฝ้าระวังระดับน้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง จนกว่าน้ำที่ปล่อยเข้ามาในพื้นที่จะระบายออกและเข้าสู่สภาวะปกติ
"ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก เนื่องจากปริมาณน้ำในระหว่างที่มีการทดสอบระบบระบายน้ำครั้งนี้ไม่ใกล้เคียงกับปริมาณน้ำในช่วงที่เกิดเหตุอุทกภัยเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา หากประชาชนมีความกังวลเกี่ยวกับระดับน้ำในพื้นที่สามารถโทรศัพท์สอบถามศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม โทร.0-2248-5155 มีเจ้าหน้าที่ตอบคำถาม 20 คู่สาย"
จากนั้น ผู้ว่าฯ กทม.พร้อมคณะผู้บริหาร กทม.และสำนักการระบายน้ำ ได้ลงพื้นที่บริเวณหมู่บ้านเศรษฐกิจ เขตบางแค รวมถึงพื้นที่อื่นๆ ซึ่งเป็นจุดเสี่ยง เพื่อตรวจสอบสถานการณ์น้ำและผลกระทบต่างๆ
**ชี้ระบายน้ำดีกว่าปีที่แล้ว
เวลา 15.30 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้เดินทางมายังคลองทวีวัฒนา จุดตัดถนนเพชรเกษม 69 เพื่อติดตามการผลักดันน้ำบริเวณดังกล่าว
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าวว่า หากเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ถือว่าปีนี้ประสิทธิภาพการระบายน้ำดีกว่า เพราะยังมีปริมาณน้ำไหลเข้ามาน้อย ดังนั้น หากจะมีการบริหารจัดการน้ำที่ดีจะต้องเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำ ไม่ใช่พื้นที่ปลายน้ำ ทั้งนี้ ได้รับรายงานสถาณการณ์ทุกจุดปกติ ซึ่งตนได้สั่งการให้เปิดปตร.คลองทวีวัฒนาที่ระดับ 1.50 เมตรแล้ว แต่ฝนที่ตกลงมาบวกกับน้ำที่ปล่อยเข้ามาในขณะนี้จำเป็นต้องมีการทบทวนการเปิดประตูระบายน้ำ (ปตร.) ทุก 15 นาที ว่าควรรี่ปตร.ลงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การระบายน้ำในพื้นที่ดีขึ้น กทม.จะสร้างอุโมงค์ระบายน้ำในบริเวณดังกล่าวด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เดินทางมาถึงจุดดังกล่าวฝนก็ตกลงมาอย่างหนักทำให้มีการสั่งเพิ่มกำลังระบายน้ำ
**"สุขุมพันธุ์"ยิ้มออกผลทดสอบราบรื่น
ต่อมาเวลา 18.15 น. ที่ศาลาว่าการกทม. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ แถลงสรุปผลการทดสอบประสิทธิภาพการระบายน้ำของพื้นที่ฝั่งตะวันตก ว่า การทดสอบการระบายน้ำในครั้งนี้ เป็นไปโดยราบรื่น แม้ว่าจะมีฝนตกหนักขณะที่มีการทดสอบ โดยการทำงานของระบบทุกจุดสามารถทำงานได้เต็มศักยภาพ ทั้งนี้ กทม. ได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2,000 คน เพื่อเตรียมพร้อมทุกด้าน พร้อมเครื่องมืออุปกรณ์คอยเฝ้าระวังประจำจุดเสี่ยงต่างๆ ตั้งแต่เวลา 06.00 น. เพื่อเตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที แต่เป็นที่น่ายินดีที่ไม่มีพื้นที่ใดได้รับผลกระทบ แม้แต่ในจุดที่น่าเป็นห่วงบริเวณคอขวดคลองทวีวัฒนาตัดถนนเพชรเกษม 69 ก็มีการเดินเครื่องผลักดันน้ำของ กทม. ได้อย่างราบรื่น โดยมีกำลังจากกองทัพเรือเข้ามาช่วยอีกแรงหนึ่ง
**ห่วงฝั่งตะวันออกเหตุขุดลอกคลองไม่เสร็จ
ผู้ว่าฯกทม. กล่าวอีกว่า ยังเป็นห่วงการทดสอบระบบระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออก ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 7 ก.ย.นี้ เนื่องจากคลองลาดพร้าว และคลองบางบัว ยังขุดลอกไม่เสร็จ ประกอบกับบริเวณต่อเนื่องที่ริมคลองเปรมประชากร และคลองบางเขต มีประชาชนอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดี ในวันนี้ (6 ก.ย.) เวลา 17.30 น. จะประชุมซักซ้อมครั้งสุดท้ายเพื่อเตรียมพร้อมมาตรการก่อนที่มีการทดสอบระบบในวันรุ่งขึ้นต่อไป
**สั่งเฝ้าระวังโบราณสถาน
นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ได้สั่งการให้นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ดูแลโบราณสถาน โดยในเขตกรุงเทพฯ ให้สำนักโบราณคดีส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปเฝ้าระวังโบราณสถานสำคัญๆ ริมคลองที่จะมีการปล่อยน้ำผ่าน ส่วนต่างจังหวัดให้สำนักศิลปากรในพื้นที่เข้าไปดูแล
นางโสมสุดากล่าวว่า สั่งการให้สำนักโบราณคดี ส่งเจ้าหน้าที่ไปเฝ้าระวังวัดชัยพฤกษมาลาราชวรวิหาร ตลิ่งชัน ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ริมคลอง จึงกำชับให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังเป็นพิเศษ ส่วนในพื้นที่คลองมหาสวัสดิ์ เป็นพื้นที่ในการดูแลของสำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี ซึ่งมี 2 วัดที่เป็นโบราสถาน ได้แก่ วัดบางไกรในและวัดละมุด จ.นนทบุรี
**"ยงยุทธ-ปลอด"โวทดสอบฉลุย
ทางด้านรัฐบาล นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย กล่าวว่า ไม่มีปัญหาในการทดสอบการระบายน้ำระหว่างรัฐบาลกับกทม. ส่วนคลองที่ยังมีปัญหา ยังไม่ได้ขุดลอก ก็จะเร่งดำเนินการ รวมถึงการเข้าไปดูกรณีมีบ้านเรือนรุกล้ำเข้าไปในบริเวณแม่น้ำ
ขณะที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) กล่าวว่า คลองทวีวัฒนายังมีข้อจำกัดในการระบายน้ำ เพราะคลองแคบและตื้น มีความลึกเฉพาะช่วงกลางคลอง แม้ กบอ. พยายามขุดลอกแล้ว แต่ก็ไม่สามารถขุดให้ลึกกว่านี้ เพราะจะส่งผลกระทบกับเขื่อนบริเวณริมคลองทวีวัฒนา และพบว่ามีสะพานและตอม่ออยู่ตลอดแนวคลอง อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นศักยภาพการระบายน้ำท้ายคลองทวีวัฒนา 5 นาทีแรก สามารถระบายน้ำได้เพียง 2 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่ล่าสุดสามารถระบายน้ำได้ถึง 4.5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีแล้ว ซึ่งภาพรวมถือว่าน่าพอใจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กบอ.ได้ประกาศยุติการปล่อยน้ำก่อนกำหนด โดยยุติเมื่อ 17.00น. เร็วกว่ากำหนดเดิม 1 ชั่วโมง จากเดิมที่จะยุติ 18.00 น. เนื่องจากการระบายน้ำเป็นไปได้ด้วยดี
***ชาวนาโวยรัฐบาลปล่อยน้ำท่วมนาข้าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (5 ก.ย.) นายศุภฤกษ์ กลั่นกล้า นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) สามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมเจ้าหน้าที่ ได้เร่งออกสำรวจความเสียหายของแปลงข้าวนาปรังของชาวนา ในเขตพื้นที่ตำบลสามเรือน และตำบลบ้านสร้าง ที่ออกรวง พร้อมเก็บเกี่ยวกว่า 1,000 ไร่ แต่ต้องจมน้ำเสียหาย โดยมีสาเหตุจากคลองระพีพัฒน์ ที่รับน้ำมาจากแม่น้ำป่าสัก ตรงเขื่อนพระราม 6 ได้เพิ่มปริมาณการปล่อยน้ำเข้าลำคลองระพีพัฒน์ เพื่อส่งน้ำผ่านทุ่งฝั่งตะวันออก เข้าไปทดลองระบบป้องกันน้ำท่วมของกรุงเทพฯ ตามโครงการทดลองการป้องกันน้ำของรัฐบาล จนทำให้น้ำจำนวนมากจากคลองระพีพัฒน์ ไหลเข้าคลองโพธิ์ และไหลต่อมายังทุ่งนาในพื้นที่ตำบลสามเรือน และตำบลบ้านสร้าง
นางมณี รื่นบุตร อายุ 58 ปี ชาวนาตำบลสามเรือน กล่าวว่า ได้มาช่วยเกี่ยวข้าวเพื่อนบ้านที่ถูกน้ำท่วมอย่างกะทันหัน ซึ่งข้าวกำลังออกรวงเสียหายจำนวนมาก จากโครงการทดลองการป้องกันน้ำของรัฐบาล
นายสวัสดิ์ รื่นบุตร อายุ 50 ปี บอกว่า ทำนาจำนวน 30 ไร่ ถูกน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร ท่วมต้นข้าวที่กำลังออกรวง จึงต้องเร่งเกี่ยวเท่าที่ได้ ถ้าทิ้งไว้จะเสียหายทั้งหมด จึงอยากให้เจ้าหน้าที่มาตรวจสอบและช่วยเหลือด่วนด้วย เพราะผลพวงน้ำท่วมนาข้าวครั้งนี้มาจากโครงการทดลองการป้องกันน้ำของรัฐบาลด้วย
***ปชป.ชี้ซ้อมระบายน้ำไร้ผล
นายณัฎฐ์ บรรทัดฐาน รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า จากเดิมรัฐบาลระบุว่าจะทดลองปล่อยน้ำปริมาณ30 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที แต่ปรากฏว่าจะมีการปล่อยน้ำเพียง 3 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งการปล่อยน้ำลักษณะไม่สามารถวัดผลของระบบการระบายน้ำได้อย่างแท้จริง ดังนั้น แทนที่จะทดลองระบบระบายน้ำ รัฐบาลควรกลับมาตรวจสอบว่าได้ดำเนินการขุดลอกคูคลองและเส้นทางระบายน้ำลงสู่ทะเลใน 7 จุดที่เป็นปัญหาจนก่อให้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554เสร็จเรียบร้อยหรือไม่มากกว่า
สำหรับ 7 จุด ได้แก่ 1.แนวคันกั้นน้ำของคลองประปา 2.แนวคลองรังสิต บริเวณจุดกลับรถห้างเซียร์รังสิต 3.ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์บริเวณคลอง 1 4.ประตูระบายน้ำฝั่งตะวันตกของกทม.จำนวน 14 บาน 5.ประตูระบายน้ำฝั่งตะวันออกของคลองระพีพัฒน์ โดยเฉพาะประตูระบายน้ำคลอง 8-13 6.คลองหนอกจอก และ 7.คลองย่อยบริเวณแก้มลิงฝั่งตะวันออกจังหวัดสมุทรปราการ
วานนี้ (5 ก.ย.) ที่ศูนย์ควบคุมป้องกันน้ำท่วม กทม.2 ดินแดง เวลา 09.00 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้บัญชาการการทดสอบระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร เพื่อเตรียมความพร้อมของระบบและตรวจสอบการไหลของน้ำเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพฯ รวมประมาณ 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 09.00-10.00 น. ก่อนปฏิบัติการทดสอบการระบายน้ำในพื้นที่ปลายน้ำฝั่งตะวันตกจะเริ่มขึ้นในเวลา 14.00 น. เพื่อหาข้อบกพร่องและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น โดยสั่งการเปิดประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนา ที่ระดับ 50 ซม.จากนั้นได้เพิ่มเป็น 1 เมตร และเปิดลอยทั้งระบบ ให้น้ำจากคลองมหาสวัสดิ์ เข้าคลองทวีวัฒนา โดยมีเจ้าหน้าที่ กทม.เฝ้าติดตามการไหลของน้ำ และประจำจุดเครื่องผลักดันน้ำพร้อมทั้งเดินเครื่องทุกจุด โดยหน่วยเฝ้าระวังที่อยู่ในพื้นที่จุดเสี่ยงที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ จะรายงานมายังศูนย์ปฏิบัติการเป็นระยะ
ขณะเดียวกัน ได้ทดสอบการควบคุมระดับน้ำคลองสายหลัก ซึ่งจะเดินเครื่องสูบน้ำที่สถานีสูบน้ำคลองชักพระ สถานีสูบน้ำคลองมอญ สถานีสูบน้ำคลองบางกอกใหญ่ สถานีสูบน้ำดาวคะนอง และสถานีสูบน้ำคลองพระยาราชมนตรี และปิดประตูระบายน้ำแนวคลองมหาสวัสดิ์
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าวว่า เครื่องผลักดันน้ำและประตูระบายน้ำทุกจุดทำงานปกติ
**กทม.เฝ้าระวังการทดสอบต่อเนื่อง
จากนั้นเวลา 13.30 น. ที่ศูนย์ควบคุมป้องกันน้ำท่วม กทม. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม. พร้อมสนับสนุนการปฏิบัติตามแผนของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ในการทดสอบประสิทธิภาพในการระบายน้ำฝั่งตะวันตก ในเวลา 14.00 น. โดยจะต้องรักษาระดับน้ำบริเวณประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนาไม่ให้เกิน 1 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง หากปริมาณน้ำสูงกว่านี้ อาจทำให้พื้นที่ปลายคลองทวีวัฒนา ซึ่งตลิ่งมีความสูงไม่มากนักได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ แม้ กบอ.จะปิดการทดสอบระบบระบายน้ำในเวลา 18.00 น.แล้ว แต่ กทม.ยังต้องเฝ้าระวังระดับน้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง จนกว่าน้ำที่ปล่อยเข้ามาในพื้นที่จะระบายออกและเข้าสู่สภาวะปกติ
"ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก เนื่องจากปริมาณน้ำในระหว่างที่มีการทดสอบระบบระบายน้ำครั้งนี้ไม่ใกล้เคียงกับปริมาณน้ำในช่วงที่เกิดเหตุอุทกภัยเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา หากประชาชนมีความกังวลเกี่ยวกับระดับน้ำในพื้นที่สามารถโทรศัพท์สอบถามศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม โทร.0-2248-5155 มีเจ้าหน้าที่ตอบคำถาม 20 คู่สาย"
จากนั้น ผู้ว่าฯ กทม.พร้อมคณะผู้บริหาร กทม.และสำนักการระบายน้ำ ได้ลงพื้นที่บริเวณหมู่บ้านเศรษฐกิจ เขตบางแค รวมถึงพื้นที่อื่นๆ ซึ่งเป็นจุดเสี่ยง เพื่อตรวจสอบสถานการณ์น้ำและผลกระทบต่างๆ
**ชี้ระบายน้ำดีกว่าปีที่แล้ว
เวลา 15.30 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้เดินทางมายังคลองทวีวัฒนา จุดตัดถนนเพชรเกษม 69 เพื่อติดตามการผลักดันน้ำบริเวณดังกล่าว
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าวว่า หากเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ถือว่าปีนี้ประสิทธิภาพการระบายน้ำดีกว่า เพราะยังมีปริมาณน้ำไหลเข้ามาน้อย ดังนั้น หากจะมีการบริหารจัดการน้ำที่ดีจะต้องเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำ ไม่ใช่พื้นที่ปลายน้ำ ทั้งนี้ ได้รับรายงานสถาณการณ์ทุกจุดปกติ ซึ่งตนได้สั่งการให้เปิดปตร.คลองทวีวัฒนาที่ระดับ 1.50 เมตรแล้ว แต่ฝนที่ตกลงมาบวกกับน้ำที่ปล่อยเข้ามาในขณะนี้จำเป็นต้องมีการทบทวนการเปิดประตูระบายน้ำ (ปตร.) ทุก 15 นาที ว่าควรรี่ปตร.ลงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การระบายน้ำในพื้นที่ดีขึ้น กทม.จะสร้างอุโมงค์ระบายน้ำในบริเวณดังกล่าวด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เดินทางมาถึงจุดดังกล่าวฝนก็ตกลงมาอย่างหนักทำให้มีการสั่งเพิ่มกำลังระบายน้ำ
**"สุขุมพันธุ์"ยิ้มออกผลทดสอบราบรื่น
ต่อมาเวลา 18.15 น. ที่ศาลาว่าการกทม. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ แถลงสรุปผลการทดสอบประสิทธิภาพการระบายน้ำของพื้นที่ฝั่งตะวันตก ว่า การทดสอบการระบายน้ำในครั้งนี้ เป็นไปโดยราบรื่น แม้ว่าจะมีฝนตกหนักขณะที่มีการทดสอบ โดยการทำงานของระบบทุกจุดสามารถทำงานได้เต็มศักยภาพ ทั้งนี้ กทม. ได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2,000 คน เพื่อเตรียมพร้อมทุกด้าน พร้อมเครื่องมืออุปกรณ์คอยเฝ้าระวังประจำจุดเสี่ยงต่างๆ ตั้งแต่เวลา 06.00 น. เพื่อเตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที แต่เป็นที่น่ายินดีที่ไม่มีพื้นที่ใดได้รับผลกระทบ แม้แต่ในจุดที่น่าเป็นห่วงบริเวณคอขวดคลองทวีวัฒนาตัดถนนเพชรเกษม 69 ก็มีการเดินเครื่องผลักดันน้ำของ กทม. ได้อย่างราบรื่น โดยมีกำลังจากกองทัพเรือเข้ามาช่วยอีกแรงหนึ่ง
**ห่วงฝั่งตะวันออกเหตุขุดลอกคลองไม่เสร็จ
ผู้ว่าฯกทม. กล่าวอีกว่า ยังเป็นห่วงการทดสอบระบบระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออก ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 7 ก.ย.นี้ เนื่องจากคลองลาดพร้าว และคลองบางบัว ยังขุดลอกไม่เสร็จ ประกอบกับบริเวณต่อเนื่องที่ริมคลองเปรมประชากร และคลองบางเขต มีประชาชนอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดี ในวันนี้ (6 ก.ย.) เวลา 17.30 น. จะประชุมซักซ้อมครั้งสุดท้ายเพื่อเตรียมพร้อมมาตรการก่อนที่มีการทดสอบระบบในวันรุ่งขึ้นต่อไป
**สั่งเฝ้าระวังโบราณสถาน
นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ได้สั่งการให้นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ดูแลโบราณสถาน โดยในเขตกรุงเทพฯ ให้สำนักโบราณคดีส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปเฝ้าระวังโบราณสถานสำคัญๆ ริมคลองที่จะมีการปล่อยน้ำผ่าน ส่วนต่างจังหวัดให้สำนักศิลปากรในพื้นที่เข้าไปดูแล
นางโสมสุดากล่าวว่า สั่งการให้สำนักโบราณคดี ส่งเจ้าหน้าที่ไปเฝ้าระวังวัดชัยพฤกษมาลาราชวรวิหาร ตลิ่งชัน ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ริมคลอง จึงกำชับให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังเป็นพิเศษ ส่วนในพื้นที่คลองมหาสวัสดิ์ เป็นพื้นที่ในการดูแลของสำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี ซึ่งมี 2 วัดที่เป็นโบราสถาน ได้แก่ วัดบางไกรในและวัดละมุด จ.นนทบุรี
**"ยงยุทธ-ปลอด"โวทดสอบฉลุย
ทางด้านรัฐบาล นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย กล่าวว่า ไม่มีปัญหาในการทดสอบการระบายน้ำระหว่างรัฐบาลกับกทม. ส่วนคลองที่ยังมีปัญหา ยังไม่ได้ขุดลอก ก็จะเร่งดำเนินการ รวมถึงการเข้าไปดูกรณีมีบ้านเรือนรุกล้ำเข้าไปในบริเวณแม่น้ำ
ขณะที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) กล่าวว่า คลองทวีวัฒนายังมีข้อจำกัดในการระบายน้ำ เพราะคลองแคบและตื้น มีความลึกเฉพาะช่วงกลางคลอง แม้ กบอ. พยายามขุดลอกแล้ว แต่ก็ไม่สามารถขุดให้ลึกกว่านี้ เพราะจะส่งผลกระทบกับเขื่อนบริเวณริมคลองทวีวัฒนา และพบว่ามีสะพานและตอม่ออยู่ตลอดแนวคลอง อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นศักยภาพการระบายน้ำท้ายคลองทวีวัฒนา 5 นาทีแรก สามารถระบายน้ำได้เพียง 2 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่ล่าสุดสามารถระบายน้ำได้ถึง 4.5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีแล้ว ซึ่งภาพรวมถือว่าน่าพอใจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กบอ.ได้ประกาศยุติการปล่อยน้ำก่อนกำหนด โดยยุติเมื่อ 17.00น. เร็วกว่ากำหนดเดิม 1 ชั่วโมง จากเดิมที่จะยุติ 18.00 น. เนื่องจากการระบายน้ำเป็นไปได้ด้วยดี
***ชาวนาโวยรัฐบาลปล่อยน้ำท่วมนาข้าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (5 ก.ย.) นายศุภฤกษ์ กลั่นกล้า นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) สามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมเจ้าหน้าที่ ได้เร่งออกสำรวจความเสียหายของแปลงข้าวนาปรังของชาวนา ในเขตพื้นที่ตำบลสามเรือน และตำบลบ้านสร้าง ที่ออกรวง พร้อมเก็บเกี่ยวกว่า 1,000 ไร่ แต่ต้องจมน้ำเสียหาย โดยมีสาเหตุจากคลองระพีพัฒน์ ที่รับน้ำมาจากแม่น้ำป่าสัก ตรงเขื่อนพระราม 6 ได้เพิ่มปริมาณการปล่อยน้ำเข้าลำคลองระพีพัฒน์ เพื่อส่งน้ำผ่านทุ่งฝั่งตะวันออก เข้าไปทดลองระบบป้องกันน้ำท่วมของกรุงเทพฯ ตามโครงการทดลองการป้องกันน้ำของรัฐบาล จนทำให้น้ำจำนวนมากจากคลองระพีพัฒน์ ไหลเข้าคลองโพธิ์ และไหลต่อมายังทุ่งนาในพื้นที่ตำบลสามเรือน และตำบลบ้านสร้าง
นางมณี รื่นบุตร อายุ 58 ปี ชาวนาตำบลสามเรือน กล่าวว่า ได้มาช่วยเกี่ยวข้าวเพื่อนบ้านที่ถูกน้ำท่วมอย่างกะทันหัน ซึ่งข้าวกำลังออกรวงเสียหายจำนวนมาก จากโครงการทดลองการป้องกันน้ำของรัฐบาล
นายสวัสดิ์ รื่นบุตร อายุ 50 ปี บอกว่า ทำนาจำนวน 30 ไร่ ถูกน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร ท่วมต้นข้าวที่กำลังออกรวง จึงต้องเร่งเกี่ยวเท่าที่ได้ ถ้าทิ้งไว้จะเสียหายทั้งหมด จึงอยากให้เจ้าหน้าที่มาตรวจสอบและช่วยเหลือด่วนด้วย เพราะผลพวงน้ำท่วมนาข้าวครั้งนี้มาจากโครงการทดลองการป้องกันน้ำของรัฐบาลด้วย
***ปชป.ชี้ซ้อมระบายน้ำไร้ผล
นายณัฎฐ์ บรรทัดฐาน รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า จากเดิมรัฐบาลระบุว่าจะทดลองปล่อยน้ำปริมาณ30 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที แต่ปรากฏว่าจะมีการปล่อยน้ำเพียง 3 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งการปล่อยน้ำลักษณะไม่สามารถวัดผลของระบบการระบายน้ำได้อย่างแท้จริง ดังนั้น แทนที่จะทดลองระบบระบายน้ำ รัฐบาลควรกลับมาตรวจสอบว่าได้ดำเนินการขุดลอกคูคลองและเส้นทางระบายน้ำลงสู่ทะเลใน 7 จุดที่เป็นปัญหาจนก่อให้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554เสร็จเรียบร้อยหรือไม่มากกว่า
สำหรับ 7 จุด ได้แก่ 1.แนวคันกั้นน้ำของคลองประปา 2.แนวคลองรังสิต บริเวณจุดกลับรถห้างเซียร์รังสิต 3.ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์บริเวณคลอง 1 4.ประตูระบายน้ำฝั่งตะวันตกของกทม.จำนวน 14 บาน 5.ประตูระบายน้ำฝั่งตะวันออกของคลองระพีพัฒน์ โดยเฉพาะประตูระบายน้ำคลอง 8-13 6.คลองหนอกจอก และ 7.คลองย่อยบริเวณแก้มลิงฝั่งตะวันออกจังหวัดสมุทรปราการ