เมื่อเวลา 08.00 น. วานนี้ (5ก.ย.) ที่กระทรวงกลาโหม พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม ได้เป็นประธานการประชุม
คณะกรรมการพิจารณาปรับย้ายนายทหารชั้นนายพลประจำปี 2556 โดยมี พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ
.สส.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) และ
พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) เข้าร่วมการประชุม ทั้งนี้คาดว่า วาระสำคัญในการประชุมคือ เรื่องการแต่ง
ตั้งปลัดกระทรวงกลาโหมคนใหม่ ส่วนพล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ รองปลัดกระกลาโหม ทำหน้าที่รักษาการแทน พล.อ.เสถียร เพิ่ม
ทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหมนั้น ไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างการประชุมนั้น บรรยากาศภายในกระทรวงกลาโหม ได้มีการตัดสัญญาณโทรศัพท์เป็น
ระยะๆ เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัย
จากนั้นเวลา 10.30 น. พล.อ.อ.สุกำพล ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมว่า ทุกอย่างเรียบร้อยดี ส่วนการดำเนินการขั้นตอน
ต่อไปก็อยู่ที่ พล.อ.วิทวัส ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาปรับย้ายนายทหารชั้นนายพลประจำปี เป็นผู้ดำเนินการ หลังจาก
นั้นตนก็จะลงนาม เพื่อเสนอ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีต่อไป
ทั้งนี้ รมว.กลาโหม ได้เสนอชื่อ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ผู้ช่วย ผบ.ทบ. ขึ้นเป็นปลัดกระทรวงกลาโหม แทน พล.อ
.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ที่จะเกษียณอายุราชการในเดือน ก.ย. 55 ซึ่ง ผบ.เหล่าทัพ ไม่ได้ทักท้วงแต่อย่างใด โดย
ทุกฝ่ายเห็นชอบเนื่องจาก พล.อ.ทนงศักดิ์ เป็นนายทหารที่มีอาวุโส มีประสบการณ์ มีความรู้ความสามารถ รวมถึงผ่านการทำหน้าที่ใน
ตำแหน่งที่สำคัญในกองทัพบกมา จึงมีความเหมาะสมที่จะขึ้นเป็น ปลัดกระทรวงกลาโหมคนใหม่
นอกจากนี้รมว.กลาโหมได้สั่งให้ ผบ.เหล่าทัพ ส่งบัญชีรายชื่อภายในสัปดาห์นี้ โดยมอบหมายให้ พล.ท.ชาญ โกมลหิรัญ
รองเจ้ากรมเสมียนตรา เป็นผู้รวบรวมรายชื่อทั้งหมดส่งมาให้รมว.กลาโหม พิจารณาในขั้นตอนสุดท้ายก่อนจะเสนอต่อนายกรัฐมนตรี
ต่อไป
ส่วนกรณีที่ศาลปกครองนัดไต่สวนนั้น ตนได้ส่งตัวแทน คือ พล.ท.รัตนพันธ์ โรจนะภิรมย์ รองเจ้ากรมพระธรรมนูญ และพ
.อ.ภานุ พรหมดิเรก ผอ.กองนิติธรรม กรมพระธรรมนูญ ไปฟังคำร้องที่ศาล ปกครองแล้ว ส่วนจะรู้สึกหนักใจเรื่องการสมานรอยร้าว
เพราะเรื่องถึงศาลแล้วหรือไม่นั้น เป็นเรื่องส่วนตัว เพราะเรื่องทางการจบแล้ว
ขณะที่พล.อ.วิทวัส กล่าวว่า ในวันนี้ตนไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อป้องกันปัญหาความไม่ชัดเจนของข้อกฎหมาย อีกทั้ง
กฎหมายระบุว่า องค์ประชุม 2ใน 3 คือ 5 คนนั้นสามารถดำเนินการประชุม ซึ่งถือว่าครบองค์ประชุมตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ตนจึง
ไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมประชุม รวมทั้งเกรงว่าจะส่งผลกระทบในเรื่องกฎหมายที่โผทหาร อาจจะมีปัญหาในอนาคตได้
** ศาลปค.รับฟ้องคดีย้ายปลัดกห.
เวลา 09.00 น. วันเดียวกันนี้ ศาลปกครองกลาง ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวน คดีหมายเลขดำที่ 1746/2555 ที่ พล.อ.ชาตรี ทัตติ
รองปลัดกระทรวงกลาโหม และ คดีหมายเลขดำที่1747/2555 พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ยื่นฟ้องรัฐมนตรีว่า
กระทรวงกลาโหม กรณีขอให้เพิกถอนคำสั่ง กระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ 383/55 เรื่องให้ พล.อ.เสถียร และ พล.อ.ชาตรี ไปช่วย
ปฏิบัติราชการที่สำนักรัฐมนตรีกระทวงกลาโหม ฉบับลงวันที่ 27 ส.ค. 55 เนื่องจากเห็นว่าเป็นคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โดยการไต่สวนในครั้งนี้เป็นไปตามคำขอของ พล.อ.เสถียร และ พล.อ.ชาตรี ผู้ฟ้องคดีที่ขอว่า ระหว่างที่ศาลยังไม่มีคำ
พิพากษาคดีขอให้ศาล มีคำสั่งทุเลาการบังคับใช้คำสั่งทางปกครอง โดยสั่งระงับคำสั่งที่ให้ พล.อ.เสถียร และพล.อ.ชาตรี ไปช่วยปฏิบัติ
ราชการที่สำนักรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมไว้ก่อน ซึ่งทั้งผู้ฟ้องคดี และผู้ถูกฟ้องคดี ต่างไม่ได้เดินทางมาชี้แจงองค์คณะด้วยตนเอง
โดยในส่วนของพล.อ.เสถียร และพล.อ.ชาตรี ได้มอบหมายให้ นายธนพนธ์ ชูชยานนท์ ผู้รับมอบอำนาจทำการชี้แจง ขณะที่ พล.อ
.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม มอบหมายให้ พล.ต.พินิจ ฉัตรเสถียรพงศ์ ผู้ช่วยเจ้ากรมเสมียนตรา และ พ.อ.ภานุ พรหมดิเรก ผอ
.กองนิติธรรม กรมพระธรรมนูญ ทำการชี้แจงแทน ซึ่งหลังการไต่สวนเสร็จสิ้น ในเวลา 16.00 น. ผู้แทนทั้ง 2 ฝ่าย ต่างหลบผู้สื่อข่าวที่
ไปรอทำข่าวออกทางประตูด้านหลังห้องไต่สวน
อย่างไรก็ตาม นายธนพนธ์ เปิดเพียงสั้นๆ ว่า ที่ต้องไต่สวนในช่วงบ่าย เนื่องจากช่วงเช้าเป็นการไต่สวนในส่วนของพล.อ
.เสถียร ช่วงบ่ายจะเป็นเรื่องของ พล.อ.ชาตรี เนื่องจากทั้ง 2 เรื่อง มีความแตกต่างกัน แต่ขณะนี้ศาลได้รับฟ้องคดีของผู้ฟ้องทั้ง 2 รายไว้
พิจารณาแล้ว ซึ่งในกรณีดังกล่าวนี้ ผู้ฟ้องคดีสามารถฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้เลย เนื่องจากตำแหน่งปลัดกระทรวง ถือเป็นตำแหน่ง
สูงสุดที่ไม่ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อหน่วยงานก่อน และหลังการไต่สวนเสร็จ ทางศาลก็ได้แจ้งคู่กรณีทราบว่า จะนำข้อมูลที่ได้ไปพิจารณา
และจะมีคำสั่งแจ้งให้คู่กรณีทราบ แต่ก็ไม่ได้ระบุว่าจะเป็นเมื่อใด
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามขั้นตอนของศาลแล้ว หลังการไต่สวนองค์คณะจะพิจารณาว่าจะรับคำฟ้องดังกล่าวไว้พิจารณา
วินิจฉัยหรือไม่ หากมีความเห็นรับคำฟ้อง ก็จะพิจารณาต่อไปว่าจะมีคำสั่งทุเลาการบังคับใช้คำสั่งทางปกครองตามที่ผู้ฟ้องคดีร้องขอ
หรือไม่ จากนั้นจึงจะมีคำสั่งแจ้งคู่กรณีทราบในคราวเดียวกัน
คณะกรรมการพิจารณาปรับย้ายนายทหารชั้นนายพลประจำปี 2556 โดยมี พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ
.สส.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) และ
พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) เข้าร่วมการประชุม ทั้งนี้คาดว่า วาระสำคัญในการประชุมคือ เรื่องการแต่ง
ตั้งปลัดกระทรวงกลาโหมคนใหม่ ส่วนพล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ รองปลัดกระกลาโหม ทำหน้าที่รักษาการแทน พล.อ.เสถียร เพิ่ม
ทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหมนั้น ไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างการประชุมนั้น บรรยากาศภายในกระทรวงกลาโหม ได้มีการตัดสัญญาณโทรศัพท์เป็น
ระยะๆ เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัย
จากนั้นเวลา 10.30 น. พล.อ.อ.สุกำพล ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมว่า ทุกอย่างเรียบร้อยดี ส่วนการดำเนินการขั้นตอน
ต่อไปก็อยู่ที่ พล.อ.วิทวัส ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาปรับย้ายนายทหารชั้นนายพลประจำปี เป็นผู้ดำเนินการ หลังจาก
นั้นตนก็จะลงนาม เพื่อเสนอ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีต่อไป
ทั้งนี้ รมว.กลาโหม ได้เสนอชื่อ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ผู้ช่วย ผบ.ทบ. ขึ้นเป็นปลัดกระทรวงกลาโหม แทน พล.อ
.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ที่จะเกษียณอายุราชการในเดือน ก.ย. 55 ซึ่ง ผบ.เหล่าทัพ ไม่ได้ทักท้วงแต่อย่างใด โดย
ทุกฝ่ายเห็นชอบเนื่องจาก พล.อ.ทนงศักดิ์ เป็นนายทหารที่มีอาวุโส มีประสบการณ์ มีความรู้ความสามารถ รวมถึงผ่านการทำหน้าที่ใน
ตำแหน่งที่สำคัญในกองทัพบกมา จึงมีความเหมาะสมที่จะขึ้นเป็น ปลัดกระทรวงกลาโหมคนใหม่
นอกจากนี้รมว.กลาโหมได้สั่งให้ ผบ.เหล่าทัพ ส่งบัญชีรายชื่อภายในสัปดาห์นี้ โดยมอบหมายให้ พล.ท.ชาญ โกมลหิรัญ
รองเจ้ากรมเสมียนตรา เป็นผู้รวบรวมรายชื่อทั้งหมดส่งมาให้รมว.กลาโหม พิจารณาในขั้นตอนสุดท้ายก่อนจะเสนอต่อนายกรัฐมนตรี
ต่อไป
ส่วนกรณีที่ศาลปกครองนัดไต่สวนนั้น ตนได้ส่งตัวแทน คือ พล.ท.รัตนพันธ์ โรจนะภิรมย์ รองเจ้ากรมพระธรรมนูญ และพ
.อ.ภานุ พรหมดิเรก ผอ.กองนิติธรรม กรมพระธรรมนูญ ไปฟังคำร้องที่ศาล ปกครองแล้ว ส่วนจะรู้สึกหนักใจเรื่องการสมานรอยร้าว
เพราะเรื่องถึงศาลแล้วหรือไม่นั้น เป็นเรื่องส่วนตัว เพราะเรื่องทางการจบแล้ว
ขณะที่พล.อ.วิทวัส กล่าวว่า ในวันนี้ตนไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อป้องกันปัญหาความไม่ชัดเจนของข้อกฎหมาย อีกทั้ง
กฎหมายระบุว่า องค์ประชุม 2ใน 3 คือ 5 คนนั้นสามารถดำเนินการประชุม ซึ่งถือว่าครบองค์ประชุมตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ตนจึง
ไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมประชุม รวมทั้งเกรงว่าจะส่งผลกระทบในเรื่องกฎหมายที่โผทหาร อาจจะมีปัญหาในอนาคตได้
** ศาลปค.รับฟ้องคดีย้ายปลัดกห.
เวลา 09.00 น. วันเดียวกันนี้ ศาลปกครองกลาง ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวน คดีหมายเลขดำที่ 1746/2555 ที่ พล.อ.ชาตรี ทัตติ
รองปลัดกระทรวงกลาโหม และ คดีหมายเลขดำที่1747/2555 พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ยื่นฟ้องรัฐมนตรีว่า
กระทรวงกลาโหม กรณีขอให้เพิกถอนคำสั่ง กระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ 383/55 เรื่องให้ พล.อ.เสถียร และ พล.อ.ชาตรี ไปช่วย
ปฏิบัติราชการที่สำนักรัฐมนตรีกระทวงกลาโหม ฉบับลงวันที่ 27 ส.ค. 55 เนื่องจากเห็นว่าเป็นคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โดยการไต่สวนในครั้งนี้เป็นไปตามคำขอของ พล.อ.เสถียร และ พล.อ.ชาตรี ผู้ฟ้องคดีที่ขอว่า ระหว่างที่ศาลยังไม่มีคำ
พิพากษาคดีขอให้ศาล มีคำสั่งทุเลาการบังคับใช้คำสั่งทางปกครอง โดยสั่งระงับคำสั่งที่ให้ พล.อ.เสถียร และพล.อ.ชาตรี ไปช่วยปฏิบัติ
ราชการที่สำนักรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมไว้ก่อน ซึ่งทั้งผู้ฟ้องคดี และผู้ถูกฟ้องคดี ต่างไม่ได้เดินทางมาชี้แจงองค์คณะด้วยตนเอง
โดยในส่วนของพล.อ.เสถียร และพล.อ.ชาตรี ได้มอบหมายให้ นายธนพนธ์ ชูชยานนท์ ผู้รับมอบอำนาจทำการชี้แจง ขณะที่ พล.อ
.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม มอบหมายให้ พล.ต.พินิจ ฉัตรเสถียรพงศ์ ผู้ช่วยเจ้ากรมเสมียนตรา และ พ.อ.ภานุ พรหมดิเรก ผอ
.กองนิติธรรม กรมพระธรรมนูญ ทำการชี้แจงแทน ซึ่งหลังการไต่สวนเสร็จสิ้น ในเวลา 16.00 น. ผู้แทนทั้ง 2 ฝ่าย ต่างหลบผู้สื่อข่าวที่
ไปรอทำข่าวออกทางประตูด้านหลังห้องไต่สวน
อย่างไรก็ตาม นายธนพนธ์ เปิดเพียงสั้นๆ ว่า ที่ต้องไต่สวนในช่วงบ่าย เนื่องจากช่วงเช้าเป็นการไต่สวนในส่วนของพล.อ
.เสถียร ช่วงบ่ายจะเป็นเรื่องของ พล.อ.ชาตรี เนื่องจากทั้ง 2 เรื่อง มีความแตกต่างกัน แต่ขณะนี้ศาลได้รับฟ้องคดีของผู้ฟ้องทั้ง 2 รายไว้
พิจารณาแล้ว ซึ่งในกรณีดังกล่าวนี้ ผู้ฟ้องคดีสามารถฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้เลย เนื่องจากตำแหน่งปลัดกระทรวง ถือเป็นตำแหน่ง
สูงสุดที่ไม่ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อหน่วยงานก่อน และหลังการไต่สวนเสร็จ ทางศาลก็ได้แจ้งคู่กรณีทราบว่า จะนำข้อมูลที่ได้ไปพิจารณา
และจะมีคำสั่งแจ้งให้คู่กรณีทราบ แต่ก็ไม่ได้ระบุว่าจะเป็นเมื่อใด
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามขั้นตอนของศาลแล้ว หลังการไต่สวนองค์คณะจะพิจารณาว่าจะรับคำฟ้องดังกล่าวไว้พิจารณา
วินิจฉัยหรือไม่ หากมีความเห็นรับคำฟ้อง ก็จะพิจารณาต่อไปว่าจะมีคำสั่งทุเลาการบังคับใช้คำสั่งทางปกครองตามที่ผู้ฟ้องคดีร้องขอ
หรือไม่ จากนั้นจึงจะมีคำสั่งแจ้งคู่กรณีทราบในคราวเดียวกัน