ASTVผู้จัดการรายวัน-สุดอึ้ง! เมืองไทยมีบริษัทจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์มากถึง 32 ราย บางรายมีเพลงไม่ถึงร้อย “พาณิชย์”โดดจัดระเบียบ ป้องกันผู้ประกอบการสับสน และเดือดร้อนจากปัญหานักบินรีดค่าลิขสิทธิ์ เตรียมเสนอกรมการค้าภายในปรับเงื่อนไขการขออนุญาตเป็นต้องมีเพลงตั้งแต่ 5 พันถึง 1 หมื่นเพลง พร้อมปัดฝุ่นศึกษาตั้งองค์กรจัดเก็บกลาง
นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า นายภูมิ สาระผล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้กรมฯ ไปศึกษาและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง หลังจากเห็นว่าปัจจุบันมีบริษัทจัดเก็บมากถึง 32 บริษัท และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกหากไม่เข้าไปดูแลก็จะทำให้ผู้ประกอบการที่ใช้งานลิขสิทธิ์เพลงในการประกอบธุรกิจ ทั้งร้านคาราโอเกะ เธค ผับ ร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม ห้างสรรพสินค้า หรือธุรกิจอื่นๆ ที่นำเพลงไปเปิดให้บริการหรือให้บริการร้องเพลง จะมีต้นทุนในการจ่ายค่าลิขสิทธิ์เพลงเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ อาจจะมีปัญหากรณีบางเพลงที่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ มีปัญหาความซ้ำซ้อน ซึ่งจะมีบริษัทจัดเก็บลิขสิทธิ์ที่อ้างสิทธิในเพลงหลายบริษัทเข้าไปจัดเก็บ และอาจจะมีปัญหากรณีที่ผู้รับมอบอำนาจของบริษัทจัดเก็บไปจับกุมดำเนินคดีกับผู้ประกอบการที่นำเพลงไปใช้ และเรียกค่ายอมความในอัตราที่สูง
“รัฐมนตรีไม่อยากให้มีปัญหาในเรื่องการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ เพราะปัจจุบันมีบริษัทจัดเก็บมากเกินไป ทำให้ผู้ประกอบการที่ใช้งานเพลงสับสน และไม่รู้ว่าจะต้องติดต่อใคร จ่ายให้ใคร หรือพอจ่ายบางราย ก็จะมีอีกรายมาจับกุม มีการข่มขู่เรียกเงินค่ายอมความ และมีความไม่ชัดเจนของบริษัทจัดเก็บ ทำให้ได้รับความเดือดร้อน จึงขอให้กรมฯ
ไปเร่งแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วน”นางปัจฉิมากล่าว
นางปัจฉิมากล่าวว่า เบื้องต้น กรมฯ ได้เชิญทั้ง 32 บริษัทจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง มาหารือถึงแนวทางในการจัดทำระบบและกำหนดมาตรฐานในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง และยังได้เชิญตำรวจมาร่วมรับฟังแนวทางการดำเนินการในระยะต่อไปด้วย โดยมีข้อสรุป คือ บริษัทจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ที่ต้องการแจ้งจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ต้องมีจำนวนเพลงไม่น้อยกว่า 5,000-10,000 เพลงโดยจะประสานไปยังกรมการค้าภายใน เพื่อให้ปรับเงื่อนไขในการขออนุญาต เพราะบริการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เป็นบริการควบคุมภายใต้ พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542
ส่วนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงในพื้นที่ต่างจังหวัด อาจพิจารณาให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเป็นศูนย์กลางในการรับค่าลิขสิทธิ์แทนบริษัทจัดเก็บ ให้นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขององค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) มาใช้บริหารจัดการบริษัทจัดเก็บเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และให้กำหนดประเภทธุรกิจที่จะสามารถดำเนินการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ให้ชัดเจน
“แนวทางที่กรมฯ เสนอ เป็นแนวทางที่ทำได้ทันที โดยกรมฯ ต้องการให้บริษัทจัดเก็บรายเล็กๆ ที่มีเพลงไม่มาก ได้รวมตัวกันจัดเก็บ และจะได้มีมาตรฐานมากขึ้น รวมทั้งยังช่วยลดต้นทุนของบริษัทจัดเก็บในการออกไปดำเนินการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ด้วย ส่วนรายละเอียดที่ชัดเจน กรมฯ จะมีการประชุมเชิงปฏิบัติการกับนักวิชาการ บริษัทจัดเก็บ และผู้ใช้งานลิขสิทธิ์อีกครั้งเพื่อพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมกับการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในประเทศไทยต่อไป”นางปัจฉิมากล่าว
สำหรับการแก้ไขปัญหาในระยะยาว กรมฯ กำลังศึกษาการจัดตั้งองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์กลางขึ้นมา เพราะปัจจุบันไทยเป็นประเทศที่มีบริษัทที่ดำเนินการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงมากที่สุด ขณะที่ประเทศอาเซียนอื่นๆ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มีองค์กรจัดเก็บเพียง 1 หรือ 2 องค์กรเท่านั้น โดยจะนำรูปแบบและแนวทางการจัดตั้งองค์กรกลางในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ที่เคยได้มีการศึกษาเอาไว้ตั้งแต่ปี 2548 มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า นายภูมิ สาระผล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้กรมฯ ไปศึกษาและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง หลังจากเห็นว่าปัจจุบันมีบริษัทจัดเก็บมากถึง 32 บริษัท และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกหากไม่เข้าไปดูแลก็จะทำให้ผู้ประกอบการที่ใช้งานลิขสิทธิ์เพลงในการประกอบธุรกิจ ทั้งร้านคาราโอเกะ เธค ผับ ร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม ห้างสรรพสินค้า หรือธุรกิจอื่นๆ ที่นำเพลงไปเปิดให้บริการหรือให้บริการร้องเพลง จะมีต้นทุนในการจ่ายค่าลิขสิทธิ์เพลงเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ อาจจะมีปัญหากรณีบางเพลงที่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ มีปัญหาความซ้ำซ้อน ซึ่งจะมีบริษัทจัดเก็บลิขสิทธิ์ที่อ้างสิทธิในเพลงหลายบริษัทเข้าไปจัดเก็บ และอาจจะมีปัญหากรณีที่ผู้รับมอบอำนาจของบริษัทจัดเก็บไปจับกุมดำเนินคดีกับผู้ประกอบการที่นำเพลงไปใช้ และเรียกค่ายอมความในอัตราที่สูง
“รัฐมนตรีไม่อยากให้มีปัญหาในเรื่องการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ เพราะปัจจุบันมีบริษัทจัดเก็บมากเกินไป ทำให้ผู้ประกอบการที่ใช้งานเพลงสับสน และไม่รู้ว่าจะต้องติดต่อใคร จ่ายให้ใคร หรือพอจ่ายบางราย ก็จะมีอีกรายมาจับกุม มีการข่มขู่เรียกเงินค่ายอมความ และมีความไม่ชัดเจนของบริษัทจัดเก็บ ทำให้ได้รับความเดือดร้อน จึงขอให้กรมฯ
ไปเร่งแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วน”นางปัจฉิมากล่าว
นางปัจฉิมากล่าวว่า เบื้องต้น กรมฯ ได้เชิญทั้ง 32 บริษัทจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง มาหารือถึงแนวทางในการจัดทำระบบและกำหนดมาตรฐานในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง และยังได้เชิญตำรวจมาร่วมรับฟังแนวทางการดำเนินการในระยะต่อไปด้วย โดยมีข้อสรุป คือ บริษัทจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ที่ต้องการแจ้งจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ต้องมีจำนวนเพลงไม่น้อยกว่า 5,000-10,000 เพลงโดยจะประสานไปยังกรมการค้าภายใน เพื่อให้ปรับเงื่อนไขในการขออนุญาต เพราะบริการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เป็นบริการควบคุมภายใต้ พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542
ส่วนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงในพื้นที่ต่างจังหวัด อาจพิจารณาให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเป็นศูนย์กลางในการรับค่าลิขสิทธิ์แทนบริษัทจัดเก็บ ให้นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขององค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) มาใช้บริหารจัดการบริษัทจัดเก็บเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และให้กำหนดประเภทธุรกิจที่จะสามารถดำเนินการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ให้ชัดเจน
“แนวทางที่กรมฯ เสนอ เป็นแนวทางที่ทำได้ทันที โดยกรมฯ ต้องการให้บริษัทจัดเก็บรายเล็กๆ ที่มีเพลงไม่มาก ได้รวมตัวกันจัดเก็บ และจะได้มีมาตรฐานมากขึ้น รวมทั้งยังช่วยลดต้นทุนของบริษัทจัดเก็บในการออกไปดำเนินการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ด้วย ส่วนรายละเอียดที่ชัดเจน กรมฯ จะมีการประชุมเชิงปฏิบัติการกับนักวิชาการ บริษัทจัดเก็บ และผู้ใช้งานลิขสิทธิ์อีกครั้งเพื่อพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมกับการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในประเทศไทยต่อไป”นางปัจฉิมากล่าว
สำหรับการแก้ไขปัญหาในระยะยาว กรมฯ กำลังศึกษาการจัดตั้งองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์กลางขึ้นมา เพราะปัจจุบันไทยเป็นประเทศที่มีบริษัทที่ดำเนินการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงมากที่สุด ขณะที่ประเทศอาเซียนอื่นๆ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มีองค์กรจัดเก็บเพียง 1 หรือ 2 องค์กรเท่านั้น โดยจะนำรูปแบบและแนวทางการจัดตั้งองค์กรกลางในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ที่เคยได้มีการศึกษาเอาไว้ตั้งแต่ปี 2548 มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน