เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากรได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนของชาวบ้านตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น โดยชาวบ้านเกรงว่าที่ดินสาธารณประโยชน์ที่พวกเขาใช้อยู่จะถูกเปลี่ยนเป็นนิคมอุตสาหกรรม ด้วยกระบวนการที่ไม่ชอบมาพากลรวมทั้งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมที่จะตามมา
โดยส่วนตัว ผมเองรู้สึกว่า ปัจจุบันนี้สังคมไทย (ในบางด้าน) นอกจากจะยังไม่ได้พัฒนาขึ้นแล้ว แต่ยังกลับแย่ลงกว่าเดิมเมื่อเทียบกับยุคสมัย “ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม” เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ผมจะค่อยๆ แสดงเหตุผลตามลำดับดังนี้ครับ
เท่าที่ค้นดูจากอินเทอร์เน็ตพบว่า เพลง “ผู้ใหญ่ลี” (ประพันธ์โดย พิพัฒน์ บริบูรณ์ ขับร้องโดย ศักดิ์ศรี ศรีอักษร) เป็นเพลงลูกทุ่งแนวเสียดสีสังคม บันทึกแผ่นเสียงครั้งแรกเมื่อปี 2507 และโด่งดังอย่างรวดเร็วทั่วประเทศ จนอาจกล่าวได้ว่า ในยุคนั้นแทบจะไม่มีใครไม่เคยฟังเพลงนี้เลย ผมถามนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คนหนึ่งซึ่งร่วมเดินทางไปด้วยว่า “รู้จักเพลงผู้ใหญ่ลีไหม?” เขาตอบว่า “รู้จัก” นั่นสื่อถึงความดังมากของเพลงนี้ ส่วนหนึ่งของเนื้อร้องเป็นดังนี้ครับ
พอศอสองพันห้าร้อยสี่ ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม
ชาวบ้านต่างมาชุมนุม มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี
ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา
ทางการเขาสั่งมาว่า ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร
ฝ่ายตาสีหัวคลอน ถามว่า สุกร นั้นคืออะไร
ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด สุกรนั้นไซร้ คือ หมาน้อยธรรมดา
หมาน้อยธรรมดา หมาน้อยธรรมดา
บางคนอาจจะคิดว่าเพลงผู้ใหญ่ลีเป็นแค่เพลงเสียดสีสังคมธรรมดาๆ เท่านั้น แต่เท่าที่ผมค้นได้พบว่า ผู้แต่งเพลงผู้ใหญ่ลีมีความใกล้ชิดกับนักแต่งเพลงระดับบรมครูคือ ครูไพบูลย์ บุตรขัน ผู้แต่งเพลง “กลิ่นโคลนสาปควาย” ที่ถูกรัฐบาลเผด็จการในขณะนั้นสั่งห้ามเปิดอยู่พักหนึ่งในช่วงการปราบปรามคอมมิวนิสต์ ดังนั้นเนื้อเพลงผู้ใหญ่ลีจึงน่าจะมีความลึกซึ้งต่อการสะท้อนสังคมมากกว่าตัวอักษรที่ปรากฏ
เมื่อเรียงลำดับเหตุการณ์ในยุคนั้นแล้ว พบว่าช่วงที่แต่งเพลงผู้ใหญ่ลี ประเทศไทยเรากำลังอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ในยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นยุคเผด็จการ โครงการพัฒนาต่างๆ รวมถึงการสื่อสารระหว่างนักการเมืองกับข้าราชการส่วนต่างๆ จึงเป็นแบบ “สั่งการจากบนลงล่าง” ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างครบทุกขั้นตอน ตั้งแต่ร่วมคิด วางแผน ทำประเมินผล และรับประโยชน์
ในขณะที่ปัจจุบัน รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ในส่วนที่ว่าด้วย “สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน” มาตรา 57 ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจงและเหตุผลจากหน่วยราชการ…”
เมื่อ 50 ปีที่แล้ว “ตาสีหัวคลอน” แม้ไม่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาดังกล่าวอย่างครบถ้วน แต่เขาก็ได้ใช้สิทธิขอข้อมูล (แต่ไม่ได้ขอเหตุผลนะ!) จากภาครัฐ ผมถือว่า การลุกขึ้นถามอย่างกล้าหาญในที่ประชุมของตาสีหัวคลอนและการลุกขึ้นตอบคำถามของผู้ใหญ่ลีเป็นการกระทำที่จำเป็นต้องกระทำในกระบวนการพัฒนา แม้คำตอบของผู้ใหญ่ลีจะไม่ถูกต้อง แต่ก็น่าจะเป็นไปอย่างตรงไปตรงมา ไม่หลอกลวง ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง ไม่ได้ขายอาหารสัตว์ และไม่สามานย์
คราวนี้ลองมาดูกระบวนการพัฒนาในกรณีที่คณะอนุกรรมการสิทธิฯ ลงไปตรวจสอบกันบ้างครับ จากปากคำที่ชาวบ้านเล่าให้ฟัง ผมรู้สึกว่ามันน่าอับอายจังประเทศไทยเรา! มันแย่กว่ายุคผู้ใหญ่ลีเมื่อ 50 ปีก่อนเสียอีก ผมขอเล่าพร้อมกับการตั้งข้อสังเกตดังต่อไปนี้
เมื่อเวลาประมาณ 2 ทุ่มวันที่ 8 มีนาคม 2554 ชาวบ้านได้ถูกนายกและปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแซงเรียกให้ไปลงลายมือชื่อเพื่อขอรับเบี้ยสูงอายุ รวมทั้งแจกอาหารสัตว์ ยาฉีดวัคซีนสุนัข แมว และรับเกลือไอโอดีน พร้อมกับเปรยขึ้นมาว่าจะมีนิคมอุตสาหกรรมในตำบลหนองแซง
หลังจากนั้นชาวบ้านก็ไม่ได้คิดอะไร แต่ต่อมาลูกหลานของชาวบ้านคนหนึ่งได้อ่านพบในหน้าหนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ต่างๆ ว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแซงได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อต่างๆ ว่า “มีการทำประชาพิจารณ์โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่สาธารณประโยชน์แล้วและชาวบ้านได้ให้ความเห็นชอบแล้ว”
อนุกรรมการสิทธิ์ ได้สอบถามชาวบ้านว่า “เขาบอกไหมว่าอุตสาหกรรมสีเขียวคืออะไร” ชาวบ้านตอบว่า “ไม่รู้ เขาไม่ได้บอก” จนนำไปสู่การแซวกันเล่นว่า สงสัยโรงงานจะทาสีเขียวมั้ง หรือเป็นโรงงานผลิตสีเขียวเพียงสีเดียวมั้ง
ผมลองไล่อ่านตามสื่อต่างๆ ทั้งที่ชาวบ้านเอามาให้ดูและค้นคว้าเพิ่มเติม ก็พบว่าไม่มีสื่อหนังสือพิมพ์ใดเลยได้อธิบายว่า “อุตสาหกรรมสีเขียวคืออะไร” แม้บางฉบับจะเอ่ยถึงคำว่า “สีเขียว” ถึง 5-6 ครั้งก็ตาม
รวมทั้งสื่อของมหาวิทยาลัยขอนแก่นซึ่งเป็น 1 ใน 7 องค์กรที่ร่วมผลักดันโครงการนี้ ทั้งๆ ที่รู้อยู่ว่าชาวบ้านกว่าร้อยละ 80 ไม่เห็นด้วย ดังความตอนหนึ่งในข่าวว่า
“จากการสำรวจผู้นำชุมชน อาทิ นายกอบต. ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน พบว่าผู้นำชุมชนอยากให้เกิดนิคมอุตสาหกรรม ขณะที่ชาวบ้านกว่า 80% ไม่เห็นด้วยกับการสร้างนิคมอุตสาหกรรม โดยเป็นผลมาจากการขาดความเข้าใจในการตั้งนิคมอุตสาหกรรมซึ่งชาวบ้านมองเห็นว่าน่าจะมีผลเสียมากกว่าผลดี เป็นเหตุให้สภาอุตสาหกรรมต้องจัดของบประมาณจากผู้ว่าราชการจังหวัดในการจัดประชาวิจารณ์ครั้งใหญ่เพื่อสร้างความเข้าใจกับชาวบ้านในชุมชน และเชิญชาวบ้านเดินทางไปทัศนศึกษาเรียนรู้นิคมอุตสาหกรรมสีเขียวต้นแบบที่แท้จริง รวมทั้งจัดเวทีเสวนาการผลดีหรือเสียของการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว ซึ่งคาดว่าทุกประเด็นจะแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคมนี้”
สิ่งที่ผมสงสัยมากก็คือ ทำไมสังคมไทยจึงไม่รู้จักสงสัย ตั้งคำถาม หรือร้อง เอ๊ะ เหมือนกับตาสีหัวคลอนในยุค 2504 บ้าง
ผู้ใหญ่บ้านที่ร่วมชี้แจงกับคณะฯ แสดงความเห็นเป็นภาษาอีสานว่า “อย่าได้ไปคึด(คือคิดในภาษากลาง) ว่าเมื่อมีนิคมอุตสาหกรรมแล้ว ชาวบ้านจะขายพืชผลได้ราคาดีขึ้น เพราะเขาอาจจะทำโรงงานอิเล็กทรอนิกส์” พร้อมย้ำอย่างมีอารมณ์ว่า
“อย่าได้ไปคึด!”
ผู้ใหญ่บ้านอีกคนหนึ่งเล่าว่า “วันก่อนผู้ว่าราชการจังหวัดก็ลงพื้นที่บ้านเรา แต่คราวนี้แปลกมากที่ไม่ยอมแจ้งให้บรรดากำนัน ผู้ใหญ่บ้านไปต้อนรับเหมือนทุกๆ ครั้ง เพราะผู้ใหญ่บ้านส่วนใหญ่คัดค้านโครงการ”
ผมพยายามค้นผ่านอินเทอร์เน็ตว่า ทางราชการไทยเข้าใจว่า “นิคมอุตสาหกรรมสีเขียว” คืออะไร ก็ไปพบเอกสารในรูปเพาเวอร์พอยต์ของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งพอสรุปได้ว่า ได้บอกถึงขั้นตอน 5 ขั้นในเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมกับได้ให้คำอธิบายอย่างกว้างๆ ว่า
“อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) หมายถึงอุตสาหกรรมที่ยึดมั่นในการประกอบกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยการมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องรวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งภายในและภายนอกองค์กรตลอดห่วงโซ่อุปทาน”
ในความรู้สึกของผมแล้ว ความหมายดังกล่าวเป็นแค่การนำคำสวยๆ เท่ๆ เช่น เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาอย่างยั่งยืนมาต่อๆ กันเท่านั้นเอง แต่ขาดกระบวนการสำคัญๆ หลักๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติ
เมื่อพูดถึงหลักการปฏิบัติ ผมนึกถึงหลักการสีเขียว 4 ข้อ (Four Pillars of Green Party) ที่พรรคกรีน เยอรมนีและของประเทศอื่นๆ ด้วยได้ยึดถือปฏิบัติกันมากว่า 30 ปีแล้วก็คือ หนึ่ง ต้องใช้ภูมิปัญญาเชิงนิเวศ (Ecological Wisdom) สอง ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมในสังคม (Social Justice) สาม ต้องใช้กระบวนการประชาธิปไตยรากหญ้า (Grassroot Democracy) และ สี่ ไม่ใช้ความรุนแรง (Nonviolence)
ถ้าเริ่มต้นด้วยการหลอกให้ชาวบ้านเซ็นชื่อแล้วเอาไปอ้างว่าทำประชาพิจารณ์แล้ว เริ่มต้นด้วยยึดป่าสาธารณประโยชน์นับพันไร่ที่ชาวบ้านใช้อาศัยเป็นซูเปอร์มาร์เก็ต ใช้เป็นแหล่งน้ำใช้ และอื่นๆ อาจรวมถึงการคุกคามเข่นฆ่าแกนนำชาวบ้านที่ร่วมคัดค้าน (ที่เกิดขึ้นที่อื่นๆ) แล้วมันจะเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวได้หรือ
สมแล้วกับที่ชาวบ้านสรุปว่า “อย่าได้ไปคึด!”
โดยส่วนตัว ผมเองรู้สึกว่า ปัจจุบันนี้สังคมไทย (ในบางด้าน) นอกจากจะยังไม่ได้พัฒนาขึ้นแล้ว แต่ยังกลับแย่ลงกว่าเดิมเมื่อเทียบกับยุคสมัย “ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม” เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ผมจะค่อยๆ แสดงเหตุผลตามลำดับดังนี้ครับ
เท่าที่ค้นดูจากอินเทอร์เน็ตพบว่า เพลง “ผู้ใหญ่ลี” (ประพันธ์โดย พิพัฒน์ บริบูรณ์ ขับร้องโดย ศักดิ์ศรี ศรีอักษร) เป็นเพลงลูกทุ่งแนวเสียดสีสังคม บันทึกแผ่นเสียงครั้งแรกเมื่อปี 2507 และโด่งดังอย่างรวดเร็วทั่วประเทศ จนอาจกล่าวได้ว่า ในยุคนั้นแทบจะไม่มีใครไม่เคยฟังเพลงนี้เลย ผมถามนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คนหนึ่งซึ่งร่วมเดินทางไปด้วยว่า “รู้จักเพลงผู้ใหญ่ลีไหม?” เขาตอบว่า “รู้จัก” นั่นสื่อถึงความดังมากของเพลงนี้ ส่วนหนึ่งของเนื้อร้องเป็นดังนี้ครับ
พอศอสองพันห้าร้อยสี่ ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม
ชาวบ้านต่างมาชุมนุม มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี
ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา
ทางการเขาสั่งมาว่า ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร
ฝ่ายตาสีหัวคลอน ถามว่า สุกร นั้นคืออะไร
ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด สุกรนั้นไซร้ คือ หมาน้อยธรรมดา
หมาน้อยธรรมดา หมาน้อยธรรมดา
บางคนอาจจะคิดว่าเพลงผู้ใหญ่ลีเป็นแค่เพลงเสียดสีสังคมธรรมดาๆ เท่านั้น แต่เท่าที่ผมค้นได้พบว่า ผู้แต่งเพลงผู้ใหญ่ลีมีความใกล้ชิดกับนักแต่งเพลงระดับบรมครูคือ ครูไพบูลย์ บุตรขัน ผู้แต่งเพลง “กลิ่นโคลนสาปควาย” ที่ถูกรัฐบาลเผด็จการในขณะนั้นสั่งห้ามเปิดอยู่พักหนึ่งในช่วงการปราบปรามคอมมิวนิสต์ ดังนั้นเนื้อเพลงผู้ใหญ่ลีจึงน่าจะมีความลึกซึ้งต่อการสะท้อนสังคมมากกว่าตัวอักษรที่ปรากฏ
เมื่อเรียงลำดับเหตุการณ์ในยุคนั้นแล้ว พบว่าช่วงที่แต่งเพลงผู้ใหญ่ลี ประเทศไทยเรากำลังอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ในยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นยุคเผด็จการ โครงการพัฒนาต่างๆ รวมถึงการสื่อสารระหว่างนักการเมืองกับข้าราชการส่วนต่างๆ จึงเป็นแบบ “สั่งการจากบนลงล่าง” ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างครบทุกขั้นตอน ตั้งแต่ร่วมคิด วางแผน ทำประเมินผล และรับประโยชน์
ในขณะที่ปัจจุบัน รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ในส่วนที่ว่าด้วย “สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน” มาตรา 57 ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจงและเหตุผลจากหน่วยราชการ…”
เมื่อ 50 ปีที่แล้ว “ตาสีหัวคลอน” แม้ไม่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาดังกล่าวอย่างครบถ้วน แต่เขาก็ได้ใช้สิทธิขอข้อมูล (แต่ไม่ได้ขอเหตุผลนะ!) จากภาครัฐ ผมถือว่า การลุกขึ้นถามอย่างกล้าหาญในที่ประชุมของตาสีหัวคลอนและการลุกขึ้นตอบคำถามของผู้ใหญ่ลีเป็นการกระทำที่จำเป็นต้องกระทำในกระบวนการพัฒนา แม้คำตอบของผู้ใหญ่ลีจะไม่ถูกต้อง แต่ก็น่าจะเป็นไปอย่างตรงไปตรงมา ไม่หลอกลวง ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง ไม่ได้ขายอาหารสัตว์ และไม่สามานย์
คราวนี้ลองมาดูกระบวนการพัฒนาในกรณีที่คณะอนุกรรมการสิทธิฯ ลงไปตรวจสอบกันบ้างครับ จากปากคำที่ชาวบ้านเล่าให้ฟัง ผมรู้สึกว่ามันน่าอับอายจังประเทศไทยเรา! มันแย่กว่ายุคผู้ใหญ่ลีเมื่อ 50 ปีก่อนเสียอีก ผมขอเล่าพร้อมกับการตั้งข้อสังเกตดังต่อไปนี้
เมื่อเวลาประมาณ 2 ทุ่มวันที่ 8 มีนาคม 2554 ชาวบ้านได้ถูกนายกและปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแซงเรียกให้ไปลงลายมือชื่อเพื่อขอรับเบี้ยสูงอายุ รวมทั้งแจกอาหารสัตว์ ยาฉีดวัคซีนสุนัข แมว และรับเกลือไอโอดีน พร้อมกับเปรยขึ้นมาว่าจะมีนิคมอุตสาหกรรมในตำบลหนองแซง
หลังจากนั้นชาวบ้านก็ไม่ได้คิดอะไร แต่ต่อมาลูกหลานของชาวบ้านคนหนึ่งได้อ่านพบในหน้าหนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ต่างๆ ว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแซงได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อต่างๆ ว่า “มีการทำประชาพิจารณ์โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่สาธารณประโยชน์แล้วและชาวบ้านได้ให้ความเห็นชอบแล้ว”
อนุกรรมการสิทธิ์ ได้สอบถามชาวบ้านว่า “เขาบอกไหมว่าอุตสาหกรรมสีเขียวคืออะไร” ชาวบ้านตอบว่า “ไม่รู้ เขาไม่ได้บอก” จนนำไปสู่การแซวกันเล่นว่า สงสัยโรงงานจะทาสีเขียวมั้ง หรือเป็นโรงงานผลิตสีเขียวเพียงสีเดียวมั้ง
ผมลองไล่อ่านตามสื่อต่างๆ ทั้งที่ชาวบ้านเอามาให้ดูและค้นคว้าเพิ่มเติม ก็พบว่าไม่มีสื่อหนังสือพิมพ์ใดเลยได้อธิบายว่า “อุตสาหกรรมสีเขียวคืออะไร” แม้บางฉบับจะเอ่ยถึงคำว่า “สีเขียว” ถึง 5-6 ครั้งก็ตาม
รวมทั้งสื่อของมหาวิทยาลัยขอนแก่นซึ่งเป็น 1 ใน 7 องค์กรที่ร่วมผลักดันโครงการนี้ ทั้งๆ ที่รู้อยู่ว่าชาวบ้านกว่าร้อยละ 80 ไม่เห็นด้วย ดังความตอนหนึ่งในข่าวว่า
“จากการสำรวจผู้นำชุมชน อาทิ นายกอบต. ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน พบว่าผู้นำชุมชนอยากให้เกิดนิคมอุตสาหกรรม ขณะที่ชาวบ้านกว่า 80% ไม่เห็นด้วยกับการสร้างนิคมอุตสาหกรรม โดยเป็นผลมาจากการขาดความเข้าใจในการตั้งนิคมอุตสาหกรรมซึ่งชาวบ้านมองเห็นว่าน่าจะมีผลเสียมากกว่าผลดี เป็นเหตุให้สภาอุตสาหกรรมต้องจัดของบประมาณจากผู้ว่าราชการจังหวัดในการจัดประชาวิจารณ์ครั้งใหญ่เพื่อสร้างความเข้าใจกับชาวบ้านในชุมชน และเชิญชาวบ้านเดินทางไปทัศนศึกษาเรียนรู้นิคมอุตสาหกรรมสีเขียวต้นแบบที่แท้จริง รวมทั้งจัดเวทีเสวนาการผลดีหรือเสียของการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว ซึ่งคาดว่าทุกประเด็นจะแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคมนี้”
สิ่งที่ผมสงสัยมากก็คือ ทำไมสังคมไทยจึงไม่รู้จักสงสัย ตั้งคำถาม หรือร้อง เอ๊ะ เหมือนกับตาสีหัวคลอนในยุค 2504 บ้าง
ผู้ใหญ่บ้านที่ร่วมชี้แจงกับคณะฯ แสดงความเห็นเป็นภาษาอีสานว่า “อย่าได้ไปคึด(คือคิดในภาษากลาง) ว่าเมื่อมีนิคมอุตสาหกรรมแล้ว ชาวบ้านจะขายพืชผลได้ราคาดีขึ้น เพราะเขาอาจจะทำโรงงานอิเล็กทรอนิกส์” พร้อมย้ำอย่างมีอารมณ์ว่า
“อย่าได้ไปคึด!”
ผู้ใหญ่บ้านอีกคนหนึ่งเล่าว่า “วันก่อนผู้ว่าราชการจังหวัดก็ลงพื้นที่บ้านเรา แต่คราวนี้แปลกมากที่ไม่ยอมแจ้งให้บรรดากำนัน ผู้ใหญ่บ้านไปต้อนรับเหมือนทุกๆ ครั้ง เพราะผู้ใหญ่บ้านส่วนใหญ่คัดค้านโครงการ”
ผมพยายามค้นผ่านอินเทอร์เน็ตว่า ทางราชการไทยเข้าใจว่า “นิคมอุตสาหกรรมสีเขียว” คืออะไร ก็ไปพบเอกสารในรูปเพาเวอร์พอยต์ของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งพอสรุปได้ว่า ได้บอกถึงขั้นตอน 5 ขั้นในเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมกับได้ให้คำอธิบายอย่างกว้างๆ ว่า
“อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) หมายถึงอุตสาหกรรมที่ยึดมั่นในการประกอบกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยการมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องรวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งภายในและภายนอกองค์กรตลอดห่วงโซ่อุปทาน”
ในความรู้สึกของผมแล้ว ความหมายดังกล่าวเป็นแค่การนำคำสวยๆ เท่ๆ เช่น เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาอย่างยั่งยืนมาต่อๆ กันเท่านั้นเอง แต่ขาดกระบวนการสำคัญๆ หลักๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติ
เมื่อพูดถึงหลักการปฏิบัติ ผมนึกถึงหลักการสีเขียว 4 ข้อ (Four Pillars of Green Party) ที่พรรคกรีน เยอรมนีและของประเทศอื่นๆ ด้วยได้ยึดถือปฏิบัติกันมากว่า 30 ปีแล้วก็คือ หนึ่ง ต้องใช้ภูมิปัญญาเชิงนิเวศ (Ecological Wisdom) สอง ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมในสังคม (Social Justice) สาม ต้องใช้กระบวนการประชาธิปไตยรากหญ้า (Grassroot Democracy) และ สี่ ไม่ใช้ความรุนแรง (Nonviolence)
ถ้าเริ่มต้นด้วยการหลอกให้ชาวบ้านเซ็นชื่อแล้วเอาไปอ้างว่าทำประชาพิจารณ์แล้ว เริ่มต้นด้วยยึดป่าสาธารณประโยชน์นับพันไร่ที่ชาวบ้านใช้อาศัยเป็นซูเปอร์มาร์เก็ต ใช้เป็นแหล่งน้ำใช้ และอื่นๆ อาจรวมถึงการคุกคามเข่นฆ่าแกนนำชาวบ้านที่ร่วมคัดค้าน (ที่เกิดขึ้นที่อื่นๆ) แล้วมันจะเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวได้หรือ
สมแล้วกับที่ชาวบ้านสรุปว่า “อย่าได้ไปคึด!”