ทรชนคนชั่วตัวจัญไร จึงจะใช้วิธีที่ชั่วช้า
รัฐมนตรีนำวิธีพวกมันมา ย่อมชั่วกว่าพวกมันคนจัญไร
สื่อหลายสำนักรายงานว่ารัฐบาลอนุญาตให้รัฐมนตรีโกหกได้ รัฐมนตรีคนหนึ่งจึงออกมาโกหกเกี่ยวกับตัวเลขส่งออกโดยอ้างว่าเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในด้านการลงทุน พออ่านพบครั้งแรกรู้สึกแปลกใจ แต่พอคิดต่อไปจึงเข้าใจกระจ่างขึ้น
แปลกใจว่าทำไมรัฐบาลและรัฐมนตรีจึงมีแนวคิดตื้นๆ และชั่วช้าเช่นนั้น คิดหรือว่าผู้ที่อยู่ในวงการธุรกิจจะโง่เง่าเสียจนไม่เข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร และไม่นึกเลยหรือว่ามันจะทำให้พวกเขาหมดศรัทธามากกว่าเพิ่มความเชื่อมั่น แต่มาคิดอีกทีก็ไม่แปลกใจเพราะในช่วงขวบปีที่รัฐบาลนี้บริหารประเทศมา การคิดแบบตื้นๆ และความชั่วช้าปรากฏออกมาให้เห็นว่าเป็นของธรรมดาอยู่แล้วและการโกหกดูจะเป็นหลักการบริหารที่ได้รับความสำคัญในขั้นต้นๆ
อันที่จริงในด้านการใช้ตัวเลข การไม่พูดความจริงโดยไม่ต้องโกหกนั้นเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปในหมู่ผู้มีความรู้ทางด้านวิชาสถิติและเศรษฐศาสตร์ แต่ไม่แน่ใจว่ารัฐมนตรีคนที่สื่ออ้างถึงจะเคยทำความเข้าใจบ้างหรือไม่ เขาอาจไม่เคยได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งเป็นตำราของการใช้วิชาสถิติเพื่อไม่บอกความจริงชื่อ How to Lie with Statistics หรือ “จะโกหกด้วยสถิติอย่างไร” ของ Darrell Huff หนังสือเล็กๆ เล่มนี้พิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ. ศ. 2497 และยังขายได้อยู่ หลักที่ผู้เขียนเสนอให้ใช้มักเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ มันสามารถนำมาใช้จับการไม่พูดความจริง บิดเบือนความจริง หรือพูดความจริงเพียงครึ่งเดียวก็ได้ ฉะนั้น เมื่อไรรัฐบาลนี้ฉลาดขึ้นและพยายามนำหลักในหนังสือดังกล่าวมาใช้ ผู้รู้ทันควรช่วยกันคัดค้านด้วยการใช้หลักเดียวกันนั่นแหละ
รายงานเรื่องรัฐบาลใช้การพูดเท็จเป็นหลักในการบริหารบ้านเมืองทำให้นึกถึงอาร์เจนตินาขึ้นมาทันทีเนื่องจากรัฐบาลไทยดูจะใช้อาร์เจนตินาเป็นต้นแบบในหลายด้านโดยเฉพาะทางการใช้นโยบายประชานิยมแนวชั่วช้าที่คอลัมน์นี้พูดถึงเมื่อสองสัปดาห์ก่อน (ผู้ต้องการรายละเอียดอาจไปอ่านหนังสือชื่อ “ประชานิยม: ทางสู่ความหายนะ”) สำหรับในด้านการใช้หลักวิชาสถิติบิดเบือนความจริง รัฐบาลอาร์เจนตินาต่อสู้กับนักวิชาการมานานทีเดียวเกี่ยวกับเรื่องการวัดภาวะเงินเฟ้อ รัฐบาลต้องการให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำทั้งเพื่อสร้างภาพว่าการบริหารจัดการของตนประสบความสำเร็จและเพื่อประหยัดงบประมาณ ทั้งนี้เพราะการขึ้นเงินเดือนให้พนักงานของรัฐขึ้นอยู่กับอัตราเงินเฟ้อ
เมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลไม่พอใจในตัวเลขที่สำนักงานสถิติแห่งชาติผลิตออกมา จึงสั่งเปลี่ยนผู้บริหารและพนักงานสำคัญๆ ในสำนักงานนั้นทันที การเปลี่ยนนั้นได้ผลทันตาเห็นเพราะอัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่มันก่อให้เกิดความสงสัยว่าอะไรทำให้มันลดลงเช่นนั้น นักวิชาการจึงเริ่มค้นหาความจริง ข้อมูลที่พวกเขาพบบ่งว่า สำนักงานสถิติได้เปลี่ยนวิธีคำนวณอัตราเงินเฟ้อเสียใหม่และเริ่มใช้วิธีซึ่งไม่มีการยอมรับว่าเป็นหลักสากล รัฐบาลอ้างว่าอัตราเงินเฟ้อตกอยู่ในราว 9% แต่เมื่อนักวิชการคำนวณโดยใช้วิธีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ผลที่ได้ออกมาจะเกินสองเท่านั้น
การเปิดเผยความจริงของนักวิชาการทำให้รัฐบาลหัวเสียมาก จึงพยายามตั้งข้อหาต่างๆ นานาว่าพวกเขากระทำความผิด ส่วนประชาชนและผู้อยู่ในวงการธุรกิจเข้าใจดี จึงพยายามส่งเงินออกนอกประเทศ รัฐบาลตอบโต้ด้วยการปิดกั้นการแลกเงินตราและการใช้ธนาคารส่งเงินออก สุดท้ายต้องใช้หมาดมกลิ่นหลายร้อยตัวช่วยไล่ล่าประชาชนผู้พยายามขนเงินออกนอกประเทศผ่านการซุกซ่อนไว้ในรถยนต์ที่พวกเขาทำทีว่าขับไปพักผ่อนในประเทศเพื่อนบ้าน
อนึ่ง การพยายามยัดเยียดข้อหาว่าประชาชนทำผิดกฎหมายเป็นวิธีการหนึ่งซึ่งรัฐบาลอาร์เจนตินาทำมาเป็นเวลานาน เรื่องที่แดงออกมาล่าสุดได้แก่การตรวจภาษีของผู้ที่โต้แย้งนโยบายและมาตรการที่รัฐบาลประกาศออกมา แม้รัฐบาลจะอ้างว่าไม่ได้จงใจจะตรวจภาษีใครบ่อย หรือเข้มข้นเป็นพิเศษเพราะพวกเขาต่อต้านรัฐบาล แต่นักวิจารณ์พากันมองว่านั่นเป็นการโกหกแบบตาใส
เรื่องการตรวจภาษีแบบถี่ยิบและแบบเข้มข้นเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่ต่อต้าน รัฐบาลไทยคงนำแบบอย่างมาใช้บ้างแล้ว แต่จะใช้มากน้อยเพียงไรยังไม่เป็นที่ประจักษ์เนื่องจากยังขาดการวิจัยอย่างจริงจังทั้งที่มีข่าวออกมาบ่อยๆ ว่ารัฐบาลทำมานานและข้าราชการส่วนหนึ่งก็เต็มใจที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ เรื่องนี้ไม่น่าแปลกใจเพราะการใช้วิธีชั่วช้าถึงขนาดฆ่าตัดตอนรัฐบาลไทยก็เคยใช้มาแล้ว วิธีชั่วช้าอาจถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใช้อีกเมื่อไรก็ได้โดยเฉพาะในด้านการปราบยาเสพติด ทั้งนี้เพราะประชาชนดูจะเอือมระอากับยาเสพติดเต็มทีและมีข่าวเล่าลืออยู่เสมอว่านักการเมืองบางคนมีเอี่ยวกับอันธพาลตามย่านต่างๆ ที่มีการค้ายาเสพติดอย่างแพร่หลาย สภาพเช่นนี้ทำให้ง่ายแก่การกำจัดฝ่ายตรงข้ามโดยใช้การปราบปรามผู้ค้ายาเสพติดเป็นข้ออ้าง
อะไรทำให้มองว่ารัฐบาลอาจใช้วิธีชั่วช้าเช่นนั้น
คำตอบวางอยู่บนฐานของพุทธพจน์ที่ว่า “คนพูดเท็จไม่ทำชั่วนั้นไม่มี” หากรัฐบาลนี้มีนโยบายที่จะใช้การโกหกเป็นแนวทางบริการราชการแผ่นดิน การที่รัฐบาลจะไม่ทำชั่วนั้นย่อมไม่มี
อนึ่ง ทุกคนคงตระหนักดีแล้วว่า รัฐบาลนี้มีรองนายกรัฐมนตรีที่มีปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยชื่อดังผู้เคยอ้างว่า นักโทษที่หนีคดีไปอยู่ต่างประเทศบางคนมิได้ทำผิดกฎหมาย หากทำในสิ่งที่กฎหมายไม่อนุญาตให้ทำ ถ้านำตรรกแนวเดียวกันมาประยุกต์ใช้ในด้านการจงใจพูดเท็จของรัฐมนตรีที่สื่ออ้างถึงคงได้ความว่า “เปล่า เขามิได้พูดเท็จ แต่พูดเพียงสิ่งที่เขารู้อยู่แก่ใจว่าไม่เป็นความจริงเท่านั้น”
การมีรองนายกรัฐมนตรีจำพวกศรีธนญชัยและการที่รัฐบาลใช้การโกหกเป็นนโยบายทำให้เมืองไทยเดินเข้าสู่ภาวะวิบัติแบบเต็มอัตราแล้ว จะทำอะไรก็ทำกัน มิฉะนั้น บ้านเมืองจะประสบความหายนะในเร็ววันแน่นอน
รัฐมนตรีนำวิธีพวกมันมา ย่อมชั่วกว่าพวกมันคนจัญไร
สื่อหลายสำนักรายงานว่ารัฐบาลอนุญาตให้รัฐมนตรีโกหกได้ รัฐมนตรีคนหนึ่งจึงออกมาโกหกเกี่ยวกับตัวเลขส่งออกโดยอ้างว่าเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในด้านการลงทุน พออ่านพบครั้งแรกรู้สึกแปลกใจ แต่พอคิดต่อไปจึงเข้าใจกระจ่างขึ้น
แปลกใจว่าทำไมรัฐบาลและรัฐมนตรีจึงมีแนวคิดตื้นๆ และชั่วช้าเช่นนั้น คิดหรือว่าผู้ที่อยู่ในวงการธุรกิจจะโง่เง่าเสียจนไม่เข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร และไม่นึกเลยหรือว่ามันจะทำให้พวกเขาหมดศรัทธามากกว่าเพิ่มความเชื่อมั่น แต่มาคิดอีกทีก็ไม่แปลกใจเพราะในช่วงขวบปีที่รัฐบาลนี้บริหารประเทศมา การคิดแบบตื้นๆ และความชั่วช้าปรากฏออกมาให้เห็นว่าเป็นของธรรมดาอยู่แล้วและการโกหกดูจะเป็นหลักการบริหารที่ได้รับความสำคัญในขั้นต้นๆ
อันที่จริงในด้านการใช้ตัวเลข การไม่พูดความจริงโดยไม่ต้องโกหกนั้นเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปในหมู่ผู้มีความรู้ทางด้านวิชาสถิติและเศรษฐศาสตร์ แต่ไม่แน่ใจว่ารัฐมนตรีคนที่สื่ออ้างถึงจะเคยทำความเข้าใจบ้างหรือไม่ เขาอาจไม่เคยได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งเป็นตำราของการใช้วิชาสถิติเพื่อไม่บอกความจริงชื่อ How to Lie with Statistics หรือ “จะโกหกด้วยสถิติอย่างไร” ของ Darrell Huff หนังสือเล็กๆ เล่มนี้พิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ. ศ. 2497 และยังขายได้อยู่ หลักที่ผู้เขียนเสนอให้ใช้มักเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ มันสามารถนำมาใช้จับการไม่พูดความจริง บิดเบือนความจริง หรือพูดความจริงเพียงครึ่งเดียวก็ได้ ฉะนั้น เมื่อไรรัฐบาลนี้ฉลาดขึ้นและพยายามนำหลักในหนังสือดังกล่าวมาใช้ ผู้รู้ทันควรช่วยกันคัดค้านด้วยการใช้หลักเดียวกันนั่นแหละ
รายงานเรื่องรัฐบาลใช้การพูดเท็จเป็นหลักในการบริหารบ้านเมืองทำให้นึกถึงอาร์เจนตินาขึ้นมาทันทีเนื่องจากรัฐบาลไทยดูจะใช้อาร์เจนตินาเป็นต้นแบบในหลายด้านโดยเฉพาะทางการใช้นโยบายประชานิยมแนวชั่วช้าที่คอลัมน์นี้พูดถึงเมื่อสองสัปดาห์ก่อน (ผู้ต้องการรายละเอียดอาจไปอ่านหนังสือชื่อ “ประชานิยม: ทางสู่ความหายนะ”) สำหรับในด้านการใช้หลักวิชาสถิติบิดเบือนความจริง รัฐบาลอาร์เจนตินาต่อสู้กับนักวิชาการมานานทีเดียวเกี่ยวกับเรื่องการวัดภาวะเงินเฟ้อ รัฐบาลต้องการให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำทั้งเพื่อสร้างภาพว่าการบริหารจัดการของตนประสบความสำเร็จและเพื่อประหยัดงบประมาณ ทั้งนี้เพราะการขึ้นเงินเดือนให้พนักงานของรัฐขึ้นอยู่กับอัตราเงินเฟ้อ
เมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลไม่พอใจในตัวเลขที่สำนักงานสถิติแห่งชาติผลิตออกมา จึงสั่งเปลี่ยนผู้บริหารและพนักงานสำคัญๆ ในสำนักงานนั้นทันที การเปลี่ยนนั้นได้ผลทันตาเห็นเพราะอัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่มันก่อให้เกิดความสงสัยว่าอะไรทำให้มันลดลงเช่นนั้น นักวิชาการจึงเริ่มค้นหาความจริง ข้อมูลที่พวกเขาพบบ่งว่า สำนักงานสถิติได้เปลี่ยนวิธีคำนวณอัตราเงินเฟ้อเสียใหม่และเริ่มใช้วิธีซึ่งไม่มีการยอมรับว่าเป็นหลักสากล รัฐบาลอ้างว่าอัตราเงินเฟ้อตกอยู่ในราว 9% แต่เมื่อนักวิชการคำนวณโดยใช้วิธีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ผลที่ได้ออกมาจะเกินสองเท่านั้น
การเปิดเผยความจริงของนักวิชาการทำให้รัฐบาลหัวเสียมาก จึงพยายามตั้งข้อหาต่างๆ นานาว่าพวกเขากระทำความผิด ส่วนประชาชนและผู้อยู่ในวงการธุรกิจเข้าใจดี จึงพยายามส่งเงินออกนอกประเทศ รัฐบาลตอบโต้ด้วยการปิดกั้นการแลกเงินตราและการใช้ธนาคารส่งเงินออก สุดท้ายต้องใช้หมาดมกลิ่นหลายร้อยตัวช่วยไล่ล่าประชาชนผู้พยายามขนเงินออกนอกประเทศผ่านการซุกซ่อนไว้ในรถยนต์ที่พวกเขาทำทีว่าขับไปพักผ่อนในประเทศเพื่อนบ้าน
อนึ่ง การพยายามยัดเยียดข้อหาว่าประชาชนทำผิดกฎหมายเป็นวิธีการหนึ่งซึ่งรัฐบาลอาร์เจนตินาทำมาเป็นเวลานาน เรื่องที่แดงออกมาล่าสุดได้แก่การตรวจภาษีของผู้ที่โต้แย้งนโยบายและมาตรการที่รัฐบาลประกาศออกมา แม้รัฐบาลจะอ้างว่าไม่ได้จงใจจะตรวจภาษีใครบ่อย หรือเข้มข้นเป็นพิเศษเพราะพวกเขาต่อต้านรัฐบาล แต่นักวิจารณ์พากันมองว่านั่นเป็นการโกหกแบบตาใส
เรื่องการตรวจภาษีแบบถี่ยิบและแบบเข้มข้นเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่ต่อต้าน รัฐบาลไทยคงนำแบบอย่างมาใช้บ้างแล้ว แต่จะใช้มากน้อยเพียงไรยังไม่เป็นที่ประจักษ์เนื่องจากยังขาดการวิจัยอย่างจริงจังทั้งที่มีข่าวออกมาบ่อยๆ ว่ารัฐบาลทำมานานและข้าราชการส่วนหนึ่งก็เต็มใจที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ เรื่องนี้ไม่น่าแปลกใจเพราะการใช้วิธีชั่วช้าถึงขนาดฆ่าตัดตอนรัฐบาลไทยก็เคยใช้มาแล้ว วิธีชั่วช้าอาจถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใช้อีกเมื่อไรก็ได้โดยเฉพาะในด้านการปราบยาเสพติด ทั้งนี้เพราะประชาชนดูจะเอือมระอากับยาเสพติดเต็มทีและมีข่าวเล่าลืออยู่เสมอว่านักการเมืองบางคนมีเอี่ยวกับอันธพาลตามย่านต่างๆ ที่มีการค้ายาเสพติดอย่างแพร่หลาย สภาพเช่นนี้ทำให้ง่ายแก่การกำจัดฝ่ายตรงข้ามโดยใช้การปราบปรามผู้ค้ายาเสพติดเป็นข้ออ้าง
อะไรทำให้มองว่ารัฐบาลอาจใช้วิธีชั่วช้าเช่นนั้น
คำตอบวางอยู่บนฐานของพุทธพจน์ที่ว่า “คนพูดเท็จไม่ทำชั่วนั้นไม่มี” หากรัฐบาลนี้มีนโยบายที่จะใช้การโกหกเป็นแนวทางบริการราชการแผ่นดิน การที่รัฐบาลจะไม่ทำชั่วนั้นย่อมไม่มี
อนึ่ง ทุกคนคงตระหนักดีแล้วว่า รัฐบาลนี้มีรองนายกรัฐมนตรีที่มีปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยชื่อดังผู้เคยอ้างว่า นักโทษที่หนีคดีไปอยู่ต่างประเทศบางคนมิได้ทำผิดกฎหมาย หากทำในสิ่งที่กฎหมายไม่อนุญาตให้ทำ ถ้านำตรรกแนวเดียวกันมาประยุกต์ใช้ในด้านการจงใจพูดเท็จของรัฐมนตรีที่สื่ออ้างถึงคงได้ความว่า “เปล่า เขามิได้พูดเท็จ แต่พูดเพียงสิ่งที่เขารู้อยู่แก่ใจว่าไม่เป็นความจริงเท่านั้น”
การมีรองนายกรัฐมนตรีจำพวกศรีธนญชัยและการที่รัฐบาลใช้การโกหกเป็นนโยบายทำให้เมืองไทยเดินเข้าสู่ภาวะวิบัติแบบเต็มอัตราแล้ว จะทำอะไรก็ทำกัน มิฉะนั้น บ้านเมืองจะประสบความหายนะในเร็ววันแน่นอน